ตั้งแต่มีการระบาดของไวรัส Covid-19 กลไกธุรกิจทั่วโลกก็เปลี่ยนไป ทุกวันนี้ผู้คนใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมากกว่าหน้าร้านเนื่องจากได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่า
หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินสำนวนนี้ “Hit the iron why it’s not.” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า ให้ตีเหล็กในขณะที่หม้อยังร้อนอยู่ สำนวนนี้สามารถนำมาใช้ได้หากคุณอยากจับกลุ่มเป้าหมายลูกค้าในเมืองไทย เพราะประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 26 มีรายได้ประมาณ 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่ 2021 ถึงสิ้นปี 2022 ซึ่งรายได้เพิ่มขึ้นมากถึง 13% เลยทีเดียว
แล้วจะขายของออนไลน์ในเมื่อไทยอย่างไรดีหล่ะ?
การขายของออนไลน์ แน่นอนว่าต้องแตกต่างจากการขายหน้าร้าน ผู้ขายจะต้องเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคเสียก่อน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่สินค้าที่พวกเขาสนใจเท่านั้น แต่คุณจะต้องศึกษา…
- ข้อมูลประชากร เช่น อายุ เพศ เขตที่อยู่อาศัย ช่วงวัย เป็นต้น
- ข้อมูลทางด้านพฤติกรรมการใช้เครื่องมือสื่อสาร สื่อ โซเชียลมีเดียช่องทางต่างๆ
- ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่ิตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย
นอกจากนี้ จากการสำรวจพบว่า 34.5% ของผู้บริโภคคนไทยอัปเดตรหัสผ่านและใช้รหัส OTP ในการช้อปปิ้งออนไลน์ และนี่ก็คือสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง นั่นก็คือความปลอดภัยของผู้บริโภค
การทำการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ตลอดจนทำให้เกิดการซื้อสินค้า คุณสามารถสร้างคอนเทนท์บนโซเชียลมีเดีย อีเมล และสร้างบทความที่เกี่ยวข้องบน Google ได้
อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่คุณต้องทำก็คือ จัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าปลายทางตรงเวลาและปลอดภัย ถ้าหากมีบริการจัดส่งฟรี ผู้คนสนใจแน่นอน
ข้อกำหนดทางกฎหมายสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้รับการคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETA) ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เราสามารถใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินธุรกิจออนไลน์ที่ให้บริการทั้งสินค้าและบริการผ่านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยไม่ขัดต่อข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
หากคุณเปิดธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย มีเว็บไซต์สำหรับขายสินค้าและบริการหนึ่งเว็บไซต์หรือมากกว่านั้น คุณจำเป็นต้องมีใบอนุญาตเพื่อดำเนินธุรกิจ และปฏิบัติตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
- คุณต้องสมัครขอใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ภายใน 30 วันนับจากวันที่เริ่มธุรกิจ
- ในระหว่างการดำเนินการ ให้กรอกข้อกำหนดการชำระเงินและกำหนดราคาให้เรียบร้อย
- ชื่อเว็บไซต์ควรสอดคล้องกับตัวสินค้าและบริการ
- การสมัครขอใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ควรทำภายใน 30 วันนับจากวันเริ่มต้นของเว็บไซต์
- จากนั้นเลือกวิธีการชำระเงิน
- ส่งเอกสารการจดทะเบียนชื่อโดเมนพร้อมกับใบสมัคร
- องค์กรที่รับผิดชอบในการทำธุรกรรมบัตรเครดิตควรปฏิบัติตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย
หากคุณมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ จะต้องลงทะเบียนภายใต้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อปกป้องสิทธิ์ของผู้บริโภค
A. มีการโอนเงินมากกว่า 3,000 รายการใน 1 ปี
B. ถ้ามีการโอนเงิน 400 ราการใน 1 ปี จะได้ 2 ล้าน
กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีอะไรบ้าง?
หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องมีกฏหมายสำหรับการเปิดกิจการอีคอมเมิร์ซด้วยหล่ะ วัตถุประสงค์ของการออกข้อบังคับมีดังต่อไปนี้…
- เพื่อพัฒนาผลประโยชน์ทางการเงิน การเมือง และสังคมในประเทศ
- เพื่อกำหนดการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาด
- เพื่ออำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการค้าและการพาณิชย์ของประเทศ
- เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย
เพื่อให้การดำเนินการอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเป็นไปอย่างมั่นคงและราบรื่น รัฐบาลได้ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาคธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2 ฉบับ มีดังนี้
พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นกฎหมายกลางที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติฉบับนี้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อย่างเข้มงวด ซึ่งประกอบด้วยความผิด 3 ประเภท ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือที่ใช้ในการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
แต่ก็มีบทบัญญัติทางกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองข้อมูล และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
วิธีการจดทะเบียนธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย
ขั้นตอนการจดทะเบียนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีดังนี้:
ขั้นตอนที่ 1 : ศึกษากิจกรรมต่างๆ ด้ายอีคอมเมิร์ซ
กิจกรรมด้านอีคอมเมิร์ซแบ่ง drop shipping หรือที่เรียกว่า การนำสินค้าของคนอื่นมาขายผ่านช่องทางออนไลน์ (E-Commerce) และสามารถบวกกำไรเพิ่มได้ และ หรือเปิดแบรนด์ของตนเองในช่องทางอีคอมเมิร์ซ หากขายสินค้าต่างชนิด ก็ต้องมีใบอนุญาติที่แตกต่างกัน แนะนำให้ติดต่อสำนักงานกฏหมายเพื่อขอคำแนะนำ
ขั้นตอนที่ 2 : ปฏิบัติตามข้อกฏหมายเพื่อสร้างเว็บไซต์ที่ถูกต้อง
สำหรับการจดทะเบียนชื่อโดเมนของเว็บไซต์ แนะนำให้ปรึกษาศูนย์ข้อมูลเครือข่ายไทย (THNIC) เพื่อที่จะได้นามสกุล .co.th จะต้องเตรียมเอกสารยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ดังนี้…
- ใบรับรองการลงทะเบียน
- เอกสารการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เอกสารคำขอแก้ไขภาษีมูลค่าเพิ่ม
แม้ว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะไม่บังคับในอีคอมเมิร์ซประเทศไทย แต่การมีเครื่องหมายการค้าหรือเอกสารรับรองก็จะช่วยปกป้องแบรนด์ของคุณจากการถูกล่วงละเมิด ในการจดทะเบียนขอเครื่องหมายการค้า จะต้องมีเอกสารของโลโก้ที่ได้ออกแบบด้วยสีที่แน่นอน หนังสือมอบอำนาจที่มีการรับรอง และสำเนาหนังสือเดินทางของคุณที่รับรองโดยกรรมการผู้มีอำนาจ
ขั้นตอนที่ 3: ทราบเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และสิ่งจูงใจของใบอนุญาต BOI และ FBL
ตามกฎหมาย ทุกบริษัทต้องมีผู้ถือหุ้นชาวไทยที่ถือหุ้น 51% หรือผู้ถือหุ้นที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2525 อย่างไรก็ตาม ชาวต่างชาติยังสามารถจัดตั้งธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยได้ แต่ต้องได้รับใบอนุญาติจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI ) เสียก่อน
ขั้นตอนที่ 4: การลงทะเบียนขั้นสุดท้าย
คุณต้องจดทะเบียนบริษัทต่อหน้ากรมพัฒนาธุรกิจการค้าของประเทศไทย เมื่อกรรมการเสร็จสิ้นการประชุมตามกฎหมาย คุณมีเวลา 3 เดือนในการจดทะเบียนบริษัทของคุณ การประชุมตามกฎหมายเป็นโมฆะหากเกินกำหนด
องค์ประกอบสำคัญในการสร้างธุรกิจมีอะไรบ้าง ไปดูกัน!
- แต่งตั้งกรรมการอย่างน้อย 1 คน
- กำหนดส่วนแบ่งทุนของบริษัท
- มีออฟฟิสที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
- มีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คนเพื่อสร้างบริษัทจำกัด
ขั้นตอนที่ 5: การยื่นขอวีซ่า
หากคุณเป็นชาวต่างชาติและต้องการเปิดธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย คุณต้องได้รับวีซ่าสำหรับทำงาน 1 ปี แนะนำให้ยื่นขอวีซ่าชั่วคราวก่อนที่จะก้าวเข้ามาในประเทศไทย นอกจากนี้
ยื่นขอวีซ่าสำหรับทำงานได้ที่ไหน?
ยื่นคำร้องได้ที่กรมอนุญาตชาวต่างชาติภายใต้กระทรวงพาณิชย์ในประเทศไทย นอกจากนี้คุณจะต้องมีเงินทุนอย่างน้อย 2 ล้านบาทในการจดทะเบียนบริษัท เมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ หรือ Foreign Business Licenses ถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้น
ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?
สำหรับการจดทะเบียนใบอนุญาต เอกสารที่ต้องยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีดังนี้
- ใบสมัครลงทะเบียนอีคอมเมิร์ซ
- บัตรประชาชน
- หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาตัวจริง
- จดหมายชี้แจงหากคุณลงทะเบียนล่าช้า
ภาษีที่เกี่ยวข้อง
การตั้งธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ย่อมมีเรื่องภาษีตามมา ซึ่งมันเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาษษที่เรียกจะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย!
- ในประเทศไทย อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นศูนย์สำหรับการส่งออกและนำเข้าบริการและสินค้า
- ตามกฎหมายภาษีธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ผู้ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซต่างประเทศทุกรายจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ให้กับกรมสรรพากรของประเทศไทย
- หากธุรกิจออนไลน์ของคุณมียอดขายต่อปีมากกว่า 1.8 ล้านบาท คุณต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
บทสรุป
กล่าวโดยสรุป เมืองไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจประเทศหนึ่งสำหรับการค้าขายออนไลน์ แต่ทุกๆ อย่างต้องเป็นไป ตามกฏหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เราได้กล่าวไปข้างต้น เมื่อคุณยื่นเอกสารและได้รับใบอนุญาติประกอบกิจการอีคอมเมิร์ซเป็นที่เรียบร้อย คุณก็จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นและไม่ขัดกับกฏหมาย หากคุณมีข้อสงสัยหรือติดขัดในกระบวนการใด แนะนำให้ขอความช่วยเหลือจากสำนักงานกฏหมายที่มีชื่อเสียง ไว้ใจได้ และทำงานเป็นมืออาชีพ