อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซประเทศไทย : หลายสิ่งที่คุณพลาดไม่ได้

ตารางคอนเทนต์

อ่านเพิ่มเติม

กดติดตาม

ตารางคอนเทนต์

แชร์บทความ

อ่านเพิ่มเติม

กดติดตาม

เวลาในการอ่าน: 2 นาที

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเกิดขึ้นมากมายในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเป็น 1 ใน 11 ประเทศที่มีที่เติบโตเร็วที่สุด เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามา ผู้คนนิยมใช้ช้อปปิงออนไลน์ผ่านร้านค้าอีคอมเมิร์ซ เว็บไซต์ และโซเชียลอีคอมเมิร์ซ​

คนไทยให้ความสนใจกับการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา จากการสำรวจในปี 2022 ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 54 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 16-64 ปี การมีฐานลูกค้าจำนวนมากเช่นนี้ทำให้แบรนด์อีคอมเมิร์ซต่างกระตือรือร้นที่จะก่อตั้งตัวเองในประเทศไทย

ในบทความนี้ เราจะมาพิจารณาอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของประเทศไทย แนวโน้มทั่วไป และประชากรในประเทศไทยกัน 

เทรนด์ใหม่มาแรง เขย่าวงการอีคอมเมิร์ซใน 10 ข้างหน้า 

ผู้คนประมาณเกือบ 57 ล้านคน (คิดเป็น 82.4% ของประชากรทั้งหมด) ใช้อินเทอร์เน็ต และมีอัตราการเติบโตของอินเทอร์เน็ตต่อปีมากกว่า 11% ซึ่งหมายความว่าผู้คนมากกว่าครึ่งต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ตและใช้งานทุกวัน

ความสำเร็จของธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั้นเชื่อมโยงกับรูปแบบธุรกิจในภูมิภาค รูปแบบธุรกิจมี 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 

1. Customer to Customer (C2C) – รูปแบบการขายสินค้าและบริการระหว่างลูกค้า ตัวอย่างทั่วไปเช่น eBay, Hipflat, Kaidee และอื่น ๆ อีกมากมาย

2. Business to Customers (B2C)– ธุรกิจรูปแบบนี้จะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในตลาดอีคอมเมิร์ซ ตัวอย่างทั่วไปเช่น Lazada, Shopee เป็นต้น

3. Business to Business (B2B)–รูปแบบนี้เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมระหว่าง 2 บริษัท หน่วยงานหรือหน่วยงานที่แลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์และบริการ ตัวอย่างเช่น Officemate ในประเทศไทย

เมื่อคุณได้วิเคราะห์โมเดลที่ใช้ได้ผลแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องระบุประเภทธุรกิจของคุณด้วย มีหลากหลายธุรกิจที่เกิดขึ้นในประเภทไทย ลองพิจารณาว่าแบรนด์ของคุณค้าสินค้าประเภทไหน 

  • มือถือและอิเล็กทรอนิกส์ – เป็นสินค้าอันดับหนึ่งที่มียอดขายมากที่สุดในประเทศไทย ผู้คนค่อนข้างสนใจที่จะซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ ลาซาด้า อีคอมเมิร์ซอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 14.7 ล้านรายการบนเว็บไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
  • Fashion & Lifestyle– แฟชั่นและไลฟ์สไตล์มาแรงมากในขณะนี้ คนไทยให้ความสำคัญกับแฟชั่น เช่น เว็บไซต์และโซเชียลมีเดียเต็มไปด้วยเสื้อผ้า เครื่องประดับ และสินค้าเครื่องแต่งกาย ยกตัวอย่างเช่นแพลตฟอร์มรายใหญ่อย่าง Lazada, Shopee, 11Street และช่องทางอื่นๆ อีกมากมาย
  • ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม– ผู้คนไม่ว่าจะเพศไหนๆ ต่างก็ให้ความสำคัญกับความสวยความงามและผิวพรรณ จากรายงานของ International Trade Administration พบว่าตลาดในประเทศไทยมีความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อความงามด้วยค่าเฉลี่ยดังต่อไปนี้ตามลำดับ 
  •  ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (42%) 
  • ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม (15%) 
  • สบู่และสุขอนามัย (14%) 
  • ช่องปากและฟัน การดูแล (12%) 
  • และการแต่งหน้า (12%)

ตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ความต้องการในตลาดอีคอมเมิร์ซทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ วัน มีพื้นที่ให้ผู้ขายได้นำเสนอ

สินค้าและบริการของตนเอง ใครๆ ก็เปิดร้านค้าออนไลน์ได้ด้วยตนเองในยุคนี้ วันนี้เรามีตัวอย่างแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำหรับใครที่กำลังมองหาช่องทางเพื่อต่อยอดธุรกิจ จะมีช่องทางไหนที่น่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย! 

Lazada

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีชื่อเสียงระบบโลก มีสินค้าวางขายจำนวนมาก 

ไม่ว่าจะเป็นสินค้าในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ สุขภาพและความงาม ของใช้ในชีวิตประจำวัน ของเล่น รถยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย เรียกได้ว่าครบครัน 

Shopee

บริษัทข้ามชาติสัญชาติสิงคโปร์ที่มีรากฐานอันแข็งแกร่งในประเทศไทย เป็นตลาดอันดับหนึ่งของประเทศไทย รวมถึงหมวดไลฟ์สไตล์ เช่น เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดส่ง 

Jib

แพลตฟอร์มนี้มีไว้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีโดยเฉพาะ ซึ่งเสนอสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลายให้กับลูกค้าในราคาย่อมเยา ตลาดนี้มีไว้สำหรับผู้ชมที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีซึ่งต้องการซื้อสินค้าและแกดเจ็ตใหม่ๆ ทางออนไลน์

Power Buy

อีกหนึ่งมาร์เก็ตเพลสสุดคลาสสิกสำหรับเมืองไทยคือ เพาเวอร์บาย ผู้นำร้านค้าปลีกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าไอที โทรศัพท์มือถือ และสินค้าอื่นๆ อีกมากมาย เป็นเจ้าของร้านค้ามากกว่า 90 แห่งในประเทศไทยและมีผู้เยี่ยมชม 1.5 ล้านคนทุกเดือน

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศไทย 

กลุ่มลูกค้าประเทศไทยเรานั้นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่… 

กลุ่มที่ 1 : Baby boomers (อายุประมาณ 51-71 ปี) 

กลุ่มที่ 2: Gen X (อายุประมาณ 37-50 ปี ) 

กลุ่มที่ 3 : Gen Y (อายุประเมาณ 17-36 ปี) 

ผลการสำรวจคือ กลุ่มแรกมีส่วนร่วมในตลาดอีคอมเมิร์ซ 5.39% กลุ่มที่ 2 คิดเป็น 5.39% และกลุ่มสุดท้ายอัตราการมีส่วนร่วมอยู่ที่ 61.92% หมายความว่าวัยรุ่นมีการซื้อและขายสินค้าหรือบริการในตลาดอีคอมเมิร์ซมากกว่าวัยผู้ใหญ่นั่นเอง

จะเห็นได้ว่าคนใน Gen Y เป็นกลุ่มเป้าหมายทางธุรกิจ ไม่แค่ช้อปปิ้งเท่านั้นนะ พวกเขายังใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในการทำเงินอีกด้วย 

ลูกค้าชาวไทยให้การตอบรับเชิงบวกต่อตลาดออนไลน์ ผลสำรวจพบว่า 60.30% ของประชากรเข้าชมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ 2 ครั้งต่อเดือน จะเห็นได้ว่ากำลังซื้อของลูกค้าชาวไทยค่อยๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้นการค้าขายในตลาดอีคอมเมิร์ซจึงเป็นอาชีพที่น่าจับตามองในประเทศไทย 

ถ้าเปรียบเทียบจากสมัยก่อน ผู้คนก็เดินไปที่ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้า แล้วทำไมยุคนี้คนไทยถึงหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นหล่ะ? เราทราบว่าคุณมีคำตอบในใจก่อนแล้วแหละ ลองมาดูว่าเหตุผลเหล่านี้ตรงกับกับคำตอบในใจของคุณหรือไม่ 

  1. ราคาเป็นมิตร จ่ายไหว
  2. มีสินค้าให้เลือกมากมายในตลาด 
  3. บริการจัดส่งฟรี 
  4. มีวิธีการจ่ายให้เลือกมากมาย 
  5. แอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ถูกออกแบบมาให้ใช้ง่าย 
  6. การบริการลูกค้ามีประสิทธิภาพ น่าพึงพอใจ  

สิ่งที่ควรรู้ก่อนลงมือทำและขายให้กับคนไทย

เราได้ดูปัจจัยที่สนับสนุนธุรกิจ แต่มีบางสิ่งที่คุณต้องพิจารณาก่อนที่จะลงขายสินค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซแห่งนี้ 

จากที่เราได้พูดคุยกันข้างต้น สินค้ายอดนิยมในประเทศไทย ได้แก่ 

  1. โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค 
  2. แฟชั่นและไลฟ์สไตล์
  3. ผลิตภัณฑ์เพื่อความสวยความงาม

เมื่อคุณระบุได้แล้วว่าต้องการสร้างธุรกิจประเภทไหน หรือนำเสนผลิตภัณฑ์อะไร หรือมีบริการรูปแบบใดให้แก่ลูกค้า จากนั้นให้คุณพิจารณาต้นทุน ค่าใช้จ่ายทั้งหมด พร้อมทั้งคำนวณกำไรที่คุณจะได้รับ เพื่อตั้งราคาขายสินค้าหรือบริการนั้นๆ 

อย่าลืมพิจารณเรื่องช่องทางการชำระเงิน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบให้ลูกค้าเลือกใช้ ประเทศไทยมีอัตราการใช้บัตรเครดิตต่ำ คนไทยไม่ค่อยถือบัตรเคดิตกัน ผู้คนมักชอบชำระเงินด้วยการโอนเงินผ่านธนาคารหรือเก็บเงินปลายทาง (COD) ดังนั้นหากคุณให้ลูกค้าชำระเงินแค่บัตรเคดิตอย่างเดียว ร้านค้าของคุณอาจจะไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ไม่มีบัตรเคดิต 

กล่าวโดยสรุป หากคุณต้องการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งในประเทศไทย ผู้ประกอบการต้องมีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ การใช้ระบบ ช่องทางชำระเงิน และต้องออกแบบแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่ใช้งานง่ายและราบรื่นให้กับลูกค้า

ผู้ให้บริการขนส่งรายใหญ่ที่สุดและบริษัทขนส่งบุคคลที่สามในประเทศไทย

เนื่องจากอุตสาหกรรมนำเข้าและส่งออกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน บริษัทโลจิสติกส์ 3PL จึงเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาด ยิ่งสำหรับธุรกิจที่จำเป็นต้องขนส่งสินค้าข้ามประเทศ 

และนี่ก็เป็น 3 บริษัทโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 

1. CEVA Logistics

บริษัทโลจิสติกส์ระดับโลกที่ให้บริการขนส่งและซัพพลายเชนสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก มีรายได้รวม 56,000 ล้านดอลลาร์และกระจายอยู่ 170 ประเทศ

2. DHL

หนึ่งในบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ มีกิจการอยู่ 220 ประเทศซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี 

3. Yusen Logistics

ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศระดับโลก ให้บริการทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ส่งมอบบริการตั้งแต่ จัดการซัพพลายเชนและจัดส่งสินค้าแบบครบวงจร ปัจจุบันมีกิจการอยู่ 47 ประเทศ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย จะประสบความเสร็จได้อย่างไร? 

เอาจริงๆ มันไม่มีข้อปฏิบัติที่ตายตัว ทุกธุรกิจประสบความสำเร็จได้ด้วยกลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไป เรามีทริคเล็กๆ น้อยมาฝาก จะมีอะไรน่าสนใจบ้างไปดูกันเลย! 

เราขอแตกกลยุทธ์ในการต่อยอดธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้ประสบความเสร็จในประเทศไทยเป็น 4 ข้อดังต่อไปนี้   

  1. E-marketplace 
  2. Brand webstore 
  3. E-retailer
  4. Social media

แนะนำให้พิจารณาและเปรียบเทียบแต่ละกลยุทธ์ให้ละเอียดและรอบคอบ แล้วเลือกที่เหมาะกับความต้องการของธุรกิจคุณ 

ขึ้นตอนถัดไป ถึงเวลาสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด เช่น การตลาดผ่านอีเมล โซเชียลมีเดีย เขียนคอนเทนท์ เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นยอดขาย นอกจากนี้กลยุทธ์แต่ละประเภทก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ดังนั้นคุณควรเลือกอันที่เหมาะกับเป้าหมายและการดำเนินงานของธุรกิจคุณ 

สิ่งที่สำคัญคือ ให้มองในมุมลูกค้า สวมบทบาทลูกค้า ศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติของพสกเขา ดูว่าพวกเขาต้องการอะไร เราขอแนะนำ 3 เสาหลักเบื้องต้นสำหรับธุรกิจ 

  1. ออกแบบเว็บไซต์ที่ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน 
  2. มีช่องทางชำระเงินที่หลากหลาย 
  3. มีบริการจัดส่งสินค้าที่ตรงเวลา

การขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทย 

หลายๆ ธุรกิจเกิดขึ้นในตลาดอีคอมเมิร์ซ การขยายธุรกิจในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งที่จะทำให้คุณโดดเด่นจากคู่แข่งในตลอดก็คือ ตัวสินค้า การตีตลาดให้แตก การจัดการเรื่องคลังสินค้าและโลจิสติกส์ ตลอดจนการหาแหล่งซัพพลายเออร์ในการผลิตสินค้าที่น่าเชื่อถือและคุ้มค่าแก่การลงทุนนั่งเอง 

ทดลองเปิดประสบการณ์ Fulfillment กับ Locad

สร้างธุรกิจให้เติบโตได้ด้วยระบบ Fulfillment ที่ใช้ง่าย และจัดการให้คุณอัตโนมัติจาก Locad

  • คลังเก็บสินค้าไม่จำกัด และขยายได้
  • จ่ายเท่าที่คุณจัดเก็บ
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายแฝง ไม่กำหนดระยะเวลา
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมหรือแลกเข้า
  • รวบรวมมาร์เก็ตเพลส
  • จัดการ และจัดส่งสินค้าอัตโนมัติ

แสกนปุ๊บ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลย!

Get the latest industry news, best practices, and product updates!

Don't miss out on the latest news!

Get the latest industry news, best practices, and product updates!

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!