ตีตลาด E-commerceในประเทศไทย ต้องรู้อะไรบ้าง?

ตารางคอนเทนต์

อ่านเพิ่มเติม

กดติดตาม

ตารางคอนเทนต์

แชร์บทความ

อ่านเพิ่มเติม

กดติดตาม

เวลาในการอ่าน: 2 นาที

อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยสร้างรายได้มหาศาลมูลค่า 8.5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021  ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าประทับใจสำหรับทุกประเทศใน APAC อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และมีบริษัทใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ผู้ประกอบการหลายๆ เจ้าต้องการขยายกิจการของตนตนเองโดยการตีตลาดในประเทศไทย 

แพลตฟอร์มออนไลน์เป็นช่องทางใหม่ในการกระจายสินค้าและบริการไปทั่วโลก เพราะผู้คนนิยมช้อปปิ้งออนไลน์ และที่สำคัญคือ ราคาถูกกว่า เข้าถึงง่ายด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียว มีสินค้าหลากหลาย บริการจัดส่งฟรี แถมยังดูแลลูกค้าดีอีกด้วย และนี่ก็คือเหตุผลส่วนหนึ่งที่ลูกค้าในประเทศไทยเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ

การจัดตั้งธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ก็ถือว่าไม่ใช่ว่ามีเงินทุนมาเปิดกิจการและจะสร้างยอดขายได้พุ่งกระฉูด คุณจะต้องศึกษาและวางแผนมากกว่านั้น  วันนี้ Locad Thailand ขอมีข้อควรปฏิบัติสำหรับใครที่กำลังมองหาช่องทางเพื่อตีตลาดในประเทศไทย 

หาพื้นที่เพื่อเจาะตลาด 

  • การหาช่องทางในการขายสินค้า : ให้ตั้งคำถามกับตนเองว่า ขายอะไร? เป็นที่ต้องการของคนในประเทศนี้หรือไม่?  มีกี่บริษัทที่ทำผลิตภัณฑ์แบบนี้แล้ว? และคำถามอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
  • ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้คน : ดูสิว่าพวกเขาต้องการอะไรในตลาดอีคอมเมิร์ซ ช่องทางไหนบ้างที่พวกเขาจะเห็นแบรนด์และสินค้าของคุณได้ อะไรคือสิ่งที่พวกเขาไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน รวมทถึงความต้องการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเมื่อมาซื้อสินค้าจากคุณ และนี่ก็เป็นการหากลุ่มลูกค้าให้กับสินค้าและธุรกิจของคุณนั่นเอง 
  • การเข้าถึงช่องทางการขาย และการจัดส่ง : หลังจากเจาะตลาดได้แล้ว ลองคิดดูว่าคุณจะจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าอย่างไร ทำให้ลูกค้าเข้ามาซื้อของผ่านเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นได้อย่างไร พวกเขาจะชำระเงินผ่านช่องทางไหนได้บ้าง แ

ตั้งชื่อแบรนด์ให้เป็นเอกลักษณ์

เลือกชื่อธุรกิจที่ไม่ซ้ำใคร เป็นชื่อที่ควรบ่งบอกถึงธุรกิจและควบคุมถึงสินค้าทั้งหมด ตั้งชื่อโดเมนที่ไม่ซ้ำกับบริษัทอื่น เมื่อคุณเลือกชื่อเฉพาะได้แล้ว แนะนำให้จดลิขสิทธิ์ให้เรียบร้อยโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้จดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทได้ 

เรียนรู้คำศัพท์บนโลกอีคอมเมิร์ซกันเถอะ  

ในตลาดอีคอมเมิร์ซ มีคำศัพท์มากมายที่ผู้ประกอบการควรรู้ จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปชมกันเลย! 

  • Accurate information : เป็นข้อมูลประกอบสินค้าและแบรนด์ท ซึ่งจะปรากฏบนเว็ปไซต์หรือแอพพลิเคชั่น ที่ลูกค้าควรรับรู้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยขจัดความสับสนของลูกค้า จากการสำรวจ พบว่า 54% ของลูกค้าส่งสินค้าคืนเนื่องจากพวกเขาไม่พอใจในตัวสินค้า
  • Terms of Sale: เงื่อนไขในการขายของ คุณต้องระบุอายุการใช้งานของสินค้านั้นๆ หรือข้อควรระวัง เช่น สินค้าประเภทนี้ไม่ควรให้เด็กสำผัส เป็นต้น 
  • Mode of payments หรือ วิธีการชำระเงิน: ในประเทศไทยมีวิธีการชำระเงินเพียงสองวิธีเท่านั้นก็คือ การโอนเงินผ่านธนาคาร และการจ่ายเงินสด เนื่องจากคนไทยมรการเข้าถึงบัตรเครดิตต่ำ ดังนั้นแนะนำให้ ระบุตัวเลือกการชำระเงินเหล่านี้อย่างชัดเจนบนเว็บไซต์ของคุณ
  • Shipping & Delivery: ตั้งค่าเวลาที่คาดว่าของจะส่งถึงมือลูกค้า หากเป็นไปได้ให้จ้างบริษัทขนส่ง (3PL) เพื่อการจัดส่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พบว่า 45% ของลูกค้าเปลี่ยนใจไม่ซื้อของจากร้านค้านั้นๆ เพราะบริการจัดส่งที่ราคาแพง หรือไม่น่าพึงพอใจ ดังนั้นวางแผนการจัดส่งสินค้าให้รอบคอบ
  • ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property): ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น คุณต้องสร้างชื่อหรือโลโก้.ให้ไม่ซ้ำใคร  หากเป็นไปได้แนะนำให้ไปจดลิขสิทธิ์ด้วย

การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจะช่วยคุณสงวนสิทธิ์ทั้งหมดของแบรนด์ ทั้งชื่อ โลโก้ ตัวสินค้า และอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิกลิขสิทธิ์ เอกสารที่คุณจะต้องเตรียมมีดังต่อไปนี้… 

1. โลโก้ของเครื่องหมายการค้า

2. สำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

3. สำเนาหนังสือรับรองบริษัทของผู้สมัครหากอยู่ต่างประเทศ และสำเนาหนังสือรับรองบริษัทฉบับจริงในกรณีที่เป็นบริษัทไทย

4. หนังสือมอบอำนาจที่ลงนามแล้ว (ควรมีการรับรองหากลงนามจากต่างประเทศ)

  • Disclaimer of Liability : เป็นการชี้แจงเมื่อเกิดเสียหาย ให้ระบุในรายละเอียดว่าบริษัทต้องรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร 
  • External Links: เป็นลิงค์ที่นำลูกค้าออกไปหน้าเว็บไซต์อื่น สร้างการแจ้งเตือนลูกค้าบนเว็บไซต์ก่อนเปลี่ยนเส้นทาง เพื่อให้ลูกค้าของคุณสามารถตัดสินใจได้ว่าต้องการซื้อสินค้าต่อหรือไม่

ตีตลาดให้แตกและศึกษาคู่แข่ง

ประเทศไทยมีช่องทางออนไลน์ 4 ประเภทหลักๆ

  1. E-marketplace– สถานที่ที่ผู้ซื้อสามารถค้นหาสินค้าได้หลากหลายบนเว็บไซต์ เช่น Lazada, Shopee, 11Street, Looksi และอื่น ๆ อีกมากมาย
  2. Brand Webstore- ช่องทางที่ลูกค้าซื้อสินค้าโดยตรงได้จากเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้คุณเข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้ และนำไปใช้กับวิเคราะห์การตลาดได้ในอนาคต
  3. E-retailer- แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับผู้ค้าปลีก ต่างจาก E-marketplace ตรงที่อนุญาตให้บุคคลที่สาม เช่น เทสโก้โลตัส โรบินสัน และอื่น ๆ อีกมากมายมาขายสินค้าในตลาดแห่งนี้ได้ 
  4. โซเชียลมีเดีย- การขายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram และ LINE

สิ่งที่ต้องระวังก่อนที่จะเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ได้แก่ 

  • แนวโน้มการตลาดที่พื้นที่นั้นๆ 
  • กลุ่มเป้าหมายของคุณ 
  • กลุ่มลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าร้านของคุณ 
  • การโฆษณาที่มีประสิทธิภาพและปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย

จากนั้นก็ถึงเวลาหาว่าใครคือคู่แข่งของคุณในตลาด ศึกษาและวิเคราห์ว่าพวกเขาทำอะไร มีแผนธุรกิจและการตลาดอย่างไร เพื่อนำมา หาจุดด้วยของแบรนด์ตัวเองและปรับใช้กับแรนด์ตัวเอง

สร้างแผนธุรกิจและการตลาด

การทำการตลาดเพื่อโปรโมทแบรนด์และสินค้ามีอยู่หลายวิธี คุณสามารถสร้างการรับรู้ด้วยสื่อและโซเชียล

ทีเดียที่อยู่ในมือ และใช้เครื่องมือ เช่น  Google Ads โฆษณาบนโซเชียลมีเดีย หรือส่งให้อินฟลูเอ็นเซอร์รีวิว ในส่วนของเว็บไซต์ การทำ SEO หรือ Search Engine Optimization ช่วยสร้างการรับรู้และเป็นประโยชน์

เมื่อลูกค้าต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและแบรนด์ของคุณ 

ในการจัดตั้งธุรกิจอีคอมเมิร์ซ คุณจะต้องจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ธพ.) ในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้… 

  • เอกสานขอจดทะเบียนพาณิชย์
  • สำเนาทะเบียนการค้าและบัตรประจำตัวประชาชนของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือคณะกรรมการผู้มีอำนาจของคุณ
  • สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือหุ้นส่วน (กรณีบุคคลธรรมดา)
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

นอกจากนี้ ชื่อกิจการของคุณ และชื่อโดเมนบนเว็บไซต์จะต้องไม่ซ้ำใคร ส่งรายละเอียดเว็บไซต์พื้นฐาน แบบฟอร์มการจดทะเบียนพาณิชย์ พร้อมนำชื่อโดเมนไปจดทะเบียนกับมูลนิธิศูนย์ข้อมูลเครือข่ายเธาว์ (THNIC) เจ้าของบริษัทมีสิทธิ์เลือกใช้เครื่องหมายการค้าภายใต้ชื่อบริษัท ซึ่งหมายถึงการสงวนสิทธิ์ให้กับตนเอง

ในจดทะเบียนชื่อโดเมน (นามสกุล .co.th)  คุณจะต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้ 

  • ใบรับรองการลงทะเบียน
  • เอกสารการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • เอกสารขอแก้ไขภาษีมูลค่าเพิ่ม

ซึ่งขึ้นตอนนี้จะใช้เวลา 6 เดือนถึง 1 ปี ในการทำการ นับตั้งแต่วันที่เริ่มยื่นเอกสาร 

สิทธิ์และใบอนุญาตที่จำเป็นต้องมีเพื่อดำเนินธุรกิจในประเทศไทย

เมื่อคุณได้เริ่มดำเนินกิจการในประเทศแล้ว สิ่งที่ต้องมีคือใบอนุญาตอีคอมเมิร์ซแบบพิเศษที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD ภายในระยะเวลา 30 วัน ใบอนุญาตอีคอมเมิร์ซนี้จำเป็นหากคุณมีเว็บไซต์ที่ขายสินค้าและบริการในประเทศไทยตั้งแต่หนึ่งเว็บไซต์ขึ้นไป

แต่…ช้าก่อน แม้ว่าคุณจะมีร้านค้าอีคอมเมิร์บโซเชียลมีเดีย คุณก็ยังต้องใช้ใบอนุญาตนี้ ซึ่งโดยทั่วไปใบอนุญาตจะมีราคา 9,500 บาท 

ในการยื่นขอใบอนุญาตบริษัทอีคอมเมิร์ซ มีข้อปฏิบัติตามดังต่อไปนี้… 

  • ตั้งชื่อเว็บไซต์ 
  • บอกลักษณะของสินค้าและบริการที่ขายบนเว็บไซต์
  • ระบะวันที่คุณจะเปิดใช้งานเว็บไซต์
  • ระบุวิธีการชำระเงินสำหรับลูกค้า 
  • เอกสารยืนยันการจดทะเบียนชื่อโดเมนหรือใบรับรองจากผู้ให้บริการ (ISP หรือโฮสต์เว็บ)

หากคุณต้องการให้ลูกค้าชำระเงินด้วยบัตรเครดิต คุณจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของธนาคารแห่ง

ประเทศไทยอย่างเคร่งครัด

ใบอนุญาตนำเข้า

สำหรับสินค้าทั่วไป เช่น เสื้อผ้าและเฟอร์นิเจอร์ สามารถนำเข้ามาในประเทศไทยได้โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ แต่สำหรับสินค้าบางอย่าง เช่น ยา อาหารและผลิตภัณฑ์เสริม พืชและสัตว์ป่า โบราณวัตถุ และสิ่งของตามธรรมชาติ

ต้องขออนุญาตและออกใบอนุญาตก่อน 

สำหรับสินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตที่กล่าวไปข้างต้น แต่ละชนิดก็มีองค์กรเฉพาะทางที่แตกต่างกันออกไปช่วยดูแล ยกตัวอย่างเช่น การนำเข้ายาหรืออาหารต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นต้น

บริษัทที่ให้บริการด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ช่วยธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยได้

อย่างไรบ้าง?  

หากคุณพึ่งเริ่มเข้ามาตีตลาดในประเทศไทย และต้องการเครือข่ายธุรกิจด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ที่น่าเชื่อถือ และสามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าของคุณได้ง่ายขึ้น กลไกด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์จากภายนอกองค์กรจึงตอบโจทย์ Locad เป็นหนึ่งในบริการเก็บ-แพ็ค-ส่งแบบครบวงจร เรามีคลังสินค้าที่ยืดหยุ่น เราหยิบและแพ็คสินค้าได้ภายในวัน เดียว แบรนด์ที่มาใช้บริการของเราจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการขายสินค้าเชิงลึกแบบเรียลไทม์  

Conclusion

เป็นอย่างไรกันบ้าง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังเริ่มขยายธุรกิจและตีตลาดในประเทศไทย ขั้นตอนต่อไปของคุณคือการประเมินความสนใจในตลาดและวางตำแหน่งธุรกิจ

ทดลองเปิดประสบการณ์ Fulfillment กับ Locad

สร้างธุรกิจให้เติบโตได้ด้วยระบบ Fulfillment ที่ใช้ง่าย และจัดการให้คุณอัตโนมัติจาก Locad

  • คลังเก็บสินค้าไม่จำกัด และขยายได้
  • จ่ายเท่าที่คุณจัดเก็บ
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายแฝง ไม่กำหนดระยะเวลา
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมหรือแลกเข้า
  • รวบรวมมาร์เก็ตเพลส
  • จัดการ และจัดส่งสินค้าอัตโนมัติ

แสกนปุ๊บ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลย!

Get the latest industry news, best practices, and product updates!

Don't miss out on the latest news!

Get the latest industry news, best practices, and product updates!

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!