ในฐานะผู้ค้า คลังสินค้าอีคอมเมิร์ซเชิงกลยุทธ์ไม่เพียงช่วยให้คุณประหยัดเงิน แต่ยังทำให้คุณก้าวล้ำหน้าคู่แข่งไปก้าวหนึ่ง ในการเพิ่มคลังสินค้า คุณสามารถปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ตั้งพื้นที่คลังสินค้าให้ใกล้ชิดกับที่อยู่ของกลุ่มลูกค้าของคุณ
- ปรับปรุงกลไกการจัดการสินค้าคงคลังให้ดียิ่งขึ้น
- ควบคุมสต็อกอย่างประสิทธิภาพ
กลไกคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพสำคัญกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ค้าขายหลายๆ ช่องทาง และมีความต้องการขยายธุรกิจให้เติบโต ปัญหาและความยุ่งยากของคนทำธุรกิจที่พบได้บ่อยๆ
- พื้นที่เก็บไม่พอ
- การวางสินค้าคงคลังผิดตำแหน่ง
- ไม่มีระบบติดตามสถานะสินค้า ต้องติดตามด้วยตนเอง
ความท้าทายที่เกิดขึ้นสำหรับ E-commerce WarehousinG
ก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือกรูปแบบคลังสินค้าอีคอมเมิร์ซที่ถูกต้อง จำเป็นต้องเรียนรู้ความท้าทายโดยธรรมชาติที่ผู้ค้าปลีกอีคอมเมิร์ซกำลังเผชิญอยู่ มาดูสิ่งที่พวกเขามักจะประสบกับคลังสินค้ากัน:
การนำสินค้าใหม่เข้าคลัง – ดูเหมือนง่าย แต่ไม่ใช่เลย เมื่อคุณมีสินค้าหลายรายการที่จะต้องจัดเก็บในคลัง คุณจะต้องมีระบบการจัดเก็บและแยกประเภทสินค้าที่มีคุณภาพ สินค้าถูกสต๊อกอย่างถูกที่ถูกทางเพื่อง่ายต่อการหยิบไปแพ็คและจัดส่งในขั้นตอนถัดไป ไม่อย่างนั้นคุณก็จะเสียทั้งเวลาและทรัพยากรไปโดยใช่เหตุนั่นเอง
การจัดออเดอร์ไม่แม่นยำ – เมื่อออเดอร์เข้ามารัวๆ ก็เริ่มจัดการลำบากแล้วใช่ไหมหล่ะ หากไม่มีกลไกในการจัดการออเดอร์ที่ดี ความผิดพลาดก็อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งความผิดพลาดที่เกิดจากแรงงานคนนั้นหลีกเลี่ยงได้ยาก ยกตัวอย่างเช่น เบิกสินค้าและแพ็คผิดหรือไม่ตรงตามออเดอร์ หรือสินค้าไม่ครบ เป็นต้น ทำให้ลูกค้าร้องเรียน และนั่นก็หมายความว่าคุณจะต้องนำจุดด้อยนี้มาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
ใช้สอยพื้นที่เพื่อสต๊อกสินค้าแบบไร้ประสิทธิภาพ – พื้นที่จัดเก็บสินค้าไม่เหมาะสม สิ่งของวางไม่เป็นที่เป็นทาง เกิดความคับแคบ และนี่ก็เป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติของธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่มีสินค้าในมือเยอะแต่ไม่มีที่จัดเก็บนั่นเอง จะให้ไปเช่าคลัง งบก็บานปลาย และค่าเช่าก็แพงเหลือเกิน
แล้วคลังสินค้าอีคอมเมิร์ซที่เหมาะสมเป็นอย่างไร?
เมื่อเลือกโมเดลคลังสินค้าอีคอมเมิร์ซ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ความต้องการของธุรกิจ วันนี้ Locad Thailand ลิสต์มาให้เน้นๆ ว่าคลังสินค้าที่เหมาะสมควรจะเป็นอย่างไร เริ่มเลย!
1. สต๊อกสินค้าที่บ้าน
หลายๆ ธุรกิจเริ่มสต๊อกสินค้าที่บ้าน ใช้ห้องเก็บของบ้างแหละ โรงรถบ้างแหละ หรือแบรนด์เก็บสินค้าไว้แม้กระทั้งในห้องนอนของตนเอง แต่ถ้าสินค้ามีจำนวนมาก บ้านหรือห้องเล็กๆ อาจจะไม่ตอบโจทย์แล้วแหละ การสต๊อกสินค้าไว้ที่บ้านจึงเหมาะกับสินค้าจำนวนน้อย ซึ่งจะช่วยลดต้องทุน ไม่ต้องเช่าพื้นที่สต๊อกสินค้า
2. ศูนย์บริการคลังสินค้าและโลจิสติกส์
การมีผู้ให้บริการด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์เป็นเพื่อนร่วมทางถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวางและระบบความปลอดภัยให้คุณได้สต๊อกสินค้า พร้อมบริการแพ็คและติดต่อบริษัทขนส่งให้แบรนด์คุณแบบเสร็จสับ ทำให้จัดการแพ็คและจัดส่งให้มือลูกค้าปลายทางตรงเวลา
3. เช่าโกดังเพื่อสต๊อกสินค้า
ในการเช่าโกดังหรือพื้นที่จัดเก็บสินค้า คุณจะต้องเซ็นสัญญาเช่าพื้นที่ในคลัง ซึ่งเหมาะกับธุรกิจที่ขายสินค้าตามฤดูกาล
4. Dropshipping
ให้นึกถึงว่า เมื่อมีออเดอร์เข้ามาทางช่องทางอีคอมเมิร์ซ สินค้าจะถูกส่งจากโรงงานหรือบริษัทผลิตสินค้าไปยังลูกค้าโดยตรง ซึ่งทางเจ้าของแบรนด์จะไม่ต้องมามัวกังวลเกี่ยวกับเรื่อง เก็บ-แพ็ค-ส่ง เลย แต่ข้อเสียก็คือ ใช้เวลาขนส่งค่อนข้างนานเลยทีเดียว ส่วนมากจะเป็นการจัดส่งข้างประเทศ
จากประเภทของการจัดเก็บสินค้าที่เราได้พูดถึงไปข้างต้น ให้คุณลองมองกลับไปที่ธุรกิจของคุณว่าเหมาะสมกับการจัดเก็บสินค้าแบบไหน จำไว้ว่าระบบจัดการคลังสินค้าที่ดี จะต้องประหยัดต้นทุนและเวลาในการดำเนินการเก็บ-แพ็ค-ส่งแบบครบวงจรให้กับคุณได้ พร้อมทั้งสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ด้วย
ข้อปฏิบัติของผู้ค้าอีคอมเมิร์ซ
1. ใช้กลไกเพื่อจัดการคลังสินค้า
กลไกการจัดการคลังสินค้าสามารถบอกข้อมูลเชิงลึกของสินค้าในคลังให้เจ้าของธุรกิจได้แบบเรียลไทม์ บอกปริมาณสินค้าในสต๊อก เพื่อคุณได้นำไปพิจารณาเพื่อสั่งผลิตสินค้าเพิ่มหรือลดนั่นเอง และข้อมูลส่วนนี้ยังสามารถนำไปพัฒนาการดำเนินงานภายในคลังสินค้าให้ดียิ่งขึ้นด้วย
มีซอฟต์แวร์การจัดการคลังสินค้าหลายๆ ช่องทางอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจของคุณจะสามารถกำหนดความพร้อมของสต็อกได้แบบเรียลไทม์ คาดการณ์สินค้าคงคลังได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งป้องกันสต๊อกขาดหรือสต๊อกเกินได้อีกด้วย
3. ศูนย์กระจายสินค้าอยู่ไม่ไกลจากมือลูกค้า
จะเป็นอะไรที่ดีมากๆ หากศูนย์กระจายสินค้าของธุรกิจคุณตั้งอยู่ใกล้กับที่อยู่ของลูกค้า ทำให้ลดต้นทุนค่าจัดส่ง ย่นระยะเวลา ของถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็วทันใจ
4. หยิบและแพ็คสินค้าได้แม่นยำ ไร้ความผิดพลาด
หยิบและแพ็คผิดนี่เรื่องใหญ่เลยนะวิ! มีระบบการหยิบหรือเบิกสินค้ามากมายให้คุณได้เลือกใช้ สำหรับธุรกิจไหนที่มีสินค้าน้อยก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร แต่เมื่อสินค้ามีจำนวนมาก คุณอาจจะต้องวางระบบเพื่อหยิบสินค้าเพื่อป้องกันความผิดพลาด
บทสรุป
การจัดการคลังสินค้าอีคอมเมิร์ซอาจดูยุ่งยาก จะจัดการเองก็ปวดหัวเหลือเกิน การมีตัวช่วยด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์จึงตอบโจทย์กับผู้ค้าอีคอมเมิร์ซไม่ใช่น้อย แต่คุณจะต้องพิจารณาบริการดังกล่าวอย่างละเอียดก่อนที่จะตัดสินใจว่าจ้าง หาบริษัทที่พร้อมส่งมอบประสบการณ์เฉพาะด้านและมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า