ขอใบอนุญาตธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย

ตารางคอนเทนต์

อ่านเพิ่มเติม

กดติดตาม

ตารางคอนเทนต์

แชร์บทความ

อ่านเพิ่มเติม

กดติดตาม

เวลาในการอ่าน: 2 นาที

ตั้งแต่มีการระบาดของไวรัส Covid-19 กลไกธุรกิจทั่วโลกก็เปลี่ยนไป ทุกวันนี้ผู้คนใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมากกว่าหน้าร้านเนื่องจากได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่า

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินสำนวนนี้ “Hit the iron why it’s not.” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า ให้ตีเหล็กในขณะที่หม้อยังร้อนอยู่ สำนวนนี้สามารถนำมาใช้ได้หากคุณอยากจับกลุ่มเป้าหมายลูกค้าในเมืองไทย เพราะประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 26 มีรายได้ประมาณ 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่ 2021 ถึงสิ้นปี 2022 ซึ่งรายได้เพิ่มขึ้นมากถึง 13% เลยทีเดียว

แล้วจะขายของออนไลน์ในเมื่อไทยอย่างไรดีหล่ะ? 

การขายของออนไลน์ แน่นอนว่าต้องแตกต่างจากการขายหน้าร้าน ผู้ขายจะต้องเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคเสียก่อน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่สินค้าที่พวกเขาสนใจเท่านั้น แต่คุณจะต้องศึกษา…

  • ข้อมูลประชากร เช่น อายุ เพศ เขตที่อยู่อาศัย ช่วงวัย เป็นต้น 
  • ข้อมูลทางด้านพฤติกรรมการใช้เครื่องมือสื่อสาร สื่อ โซเชียลมีเดียช่องทางต่างๆ 
  • ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่ิตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย

นอกจากนี้ จากการสำรวจพบว่า 34.5% ของผู้บริโภคคนไทยอัปเดตรหัสผ่านและใช้รหัส OTP ในการช้อปปิ้งออนไลน์ และนี่ก็คือสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง นั่นก็คือความปลอดภัยของผู้บริโภค

การทำการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ตลอดจนทำให้เกิดการซื้อสินค้า คุณสามารถสร้างคอนเทนท์บนโซเชียลมีเดีย อีเมล และสร้างบทความที่เกี่ยวข้องบน Google ได้ 

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่คุณต้องทำก็คือ จัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าปลายทางตรงเวลาและปลอดภัย ถ้าหากมีบริการจัดส่งฟรี ผู้คนสนใจแน่นอน 

ข้อกำหนดทางกฎหมายสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย 

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้รับการคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETA)  ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เราสามารถใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินธุรกิจออนไลน์ที่ให้บริการทั้งสินค้าและบริการผ่านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยไม่ขัดต่อข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ 

หากคุณเปิดธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย มีเว็บไซต์สำหรับขายสินค้าและบริการหนึ่งเว็บไซต์หรือมากกว่านั้น คุณจำเป็นต้องมีใบอนุญาตเพื่อดำเนินธุรกิจ และปฏิบัติตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ 

  • คุณต้องสมัครขอใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ภายใน 30 วันนับจากวันที่เริ่มธุรกิจ
  • ในระหว่างการดำเนินการ ให้กรอกข้อกำหนดการชำระเงินและกำหนดราคาให้เรียบร้อย 
  • ชื่อเว็บไซต์ควรสอดคล้องกับตัวสินค้าและบริการ 
  • การสมัครขอใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ควรทำภายใน 30 วันนับจากวันเริ่มต้นของเว็บไซต์
  • จากนั้นเลือกวิธีการชำระเงิน
  • ส่งเอกสารการจดทะเบียนชื่อโดเมนพร้อมกับใบสมัคร
  • องค์กรที่รับผิดชอบในการทำธุรกรรมบัตรเครดิตควรปฏิบัติตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย

หากคุณมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ จะต้องลงทะเบียนภายใต้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อปกป้องสิทธิ์ของผู้บริโภค 

A. มีการโอนเงินมากกว่า 3,000 รายการใน 1 ปี

B. ถ้ามีการโอนเงิน 400 ราการใน 1 ปี จะได้ 2 ล้าน

กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีอะไรบ้าง?

หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องมีกฏหมายสำหรับการเปิดกิจการอีคอมเมิร์ซด้วยหล่ะ วัตถุประสงค์ของการออกข้อบังคับมีดังต่อไปนี้… 

  • เพื่อพัฒนาผลประโยชน์ทางการเงิน การเมือง และสังคมในประเทศ
  • เพื่อกำหนดการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาด
  • เพื่ออำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการค้าและการพาณิชย์ของประเทศ
  • เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย 

เพื่อให้การดำเนินการอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเป็นไปอย่างมั่นคงและราบรื่น รัฐบาลได้ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาคธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2 ฉบับ มีดังนี้

พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นกฎหมายกลางที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย 

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

พระราชบัญญัติฉบับนี้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อย่างเข้มงวด ซึ่งประกอบด้วยความผิด 3 ประเภท ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือที่ใช้ในการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 

แต่ก็มีบทบัญญัติทางกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองข้อมูล และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค 

วิธีการจดทะเบียนธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย 

ขั้นตอนการจดทะเบียนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีดังนี้: 

ขั้นตอนที่ 1 : ศึกษากิจกรรมต่างๆ ด้ายอีคอมเมิร์ซ 

กิจกรรมด้านอีคอมเมิร์ซแบ่ง drop shipping หรือที่เรียกว่า การนำสินค้าของคนอื่นมาขายผ่านช่องทางออนไลน์ (E-Commerce) และสามารถบวกกำไรเพิ่มได้ และ หรือเปิดแบรนด์ของตนเองในช่องทางอีคอมเมิร์ซ หากขายสินค้าต่างชนิด ก็ต้องมีใบอนุญาติที่แตกต่างกัน แนะนำให้ติดต่อสำนักงานกฏหมายเพื่อขอคำแนะนำ

ขั้นตอนที่ 2 : ปฏิบัติตามข้อกฏหมายเพื่อสร้างเว็บไซต์ที่ถูกต้อง 

สำหรับการจดทะเบียนชื่อโดเมนของเว็บไซต์ แนะนำให้ปรึกษาศูนย์ข้อมูลเครือข่ายไทย (THNIC)   เพื่อที่จะได้นามสกุล .co.th จะต้องเตรียมเอกสารยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ดังนี้… 

  • ใบรับรองการลงทะเบียน
  • เอกสารการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • เอกสารคำขอแก้ไขภาษีมูลค่าเพิ่ม

แม้ว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะไม่บังคับในอีคอมเมิร์ซประเทศไทย แต่การมีเครื่องหมายการค้าหรือเอกสารรับรองก็จะช่วยปกป้องแบรนด์ของคุณจากการถูกล่วงละเมิด ในการจดทะเบียนขอเครื่องหมายการค้า จะต้องมีเอกสารของโลโก้ที่ได้ออกแบบด้วยสีที่แน่นอน หนังสือมอบอำนาจที่มีการรับรอง และสำเนาหนังสือเดินทางของคุณที่รับรองโดยกรรมการผู้มีอำนาจ

ขั้นตอนที่ 3: ทราบเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และสิ่งจูงใจของใบอนุญาต BOI และ FBL

ตามกฎหมาย ทุกบริษัทต้องมีผู้ถือหุ้นชาวไทยที่ถือหุ้น 51% หรือผู้ถือหุ้นที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2525 อย่างไรก็ตาม ชาวต่างชาติยังสามารถจัดตั้งธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยได้ แต่ต้องได้รับใบอนุญาติจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI ) เสียก่อน 

ขั้นตอนที่ 4: การลงทะเบียนขั้นสุดท้าย

คุณต้องจดทะเบียนบริษัทต่อหน้ากรมพัฒนาธุรกิจการค้าของประเทศไทย เมื่อกรรมการเสร็จสิ้นการประชุมตามกฎหมาย คุณมีเวลา 3 เดือนในการจดทะเบียนบริษัทของคุณ การประชุมตามกฎหมายเป็นโมฆะหากเกินกำหนด 

องค์ประกอบสำคัญในการสร้างธุรกิจมีอะไรบ้าง ไปดูกัน! 

  • แต่งตั้งกรรมการอย่างน้อย 1 คน
  • กำหนดส่วนแบ่งทุนของบริษัท
  • มีออฟฟิสที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
  • มีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คนเพื่อสร้างบริษัทจำกัด

ขั้นตอนที่ 5: การยื่นขอวีซ่า

หากคุณเป็นชาวต่างชาติและต้องการเปิดธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย คุณต้องได้รับวีซ่าสำหรับทำงาน 1 ปี แนะนำให้ยื่นขอวีซ่าชั่วคราวก่อนที่จะก้าวเข้ามาในประเทศไทย นอกจากนี้ 

ยื่นขอวีซ่าสำหรับทำงานได้ที่ไหน? 

ยื่นคำร้องได้ที่กรมอนุญาตชาวต่างชาติภายใต้กระทรวงพาณิชย์ในประเทศไทย นอกจากนี้คุณจะต้องมีเงินทุนอย่างน้อย 2 ล้านบาทในการจดทะเบียนบริษัท เมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ หรือ Foreign Business Licenses ถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้น 

ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? 

สำหรับการจดทะเบียนใบอนุญาต เอกสารที่ต้องยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีดังนี้

  • ใบสมัครลงทะเบียนอีคอมเมิร์ซ
  • บัตรประชาชน 
  • หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาตัวจริง
  • จดหมายชี้แจงหากคุณลงทะเบียนล่าช้า

ภาษีที่เกี่ยวข้อง

การตั้งธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ย่อมมีเรื่องภาษีตามมา ซึ่งมันเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  ภาษษที่เรียกจะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย! 

  • ในประเทศไทย อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นศูนย์สำหรับการส่งออกและนำเข้าบริการและสินค้า
  • ตามกฎหมายภาษีธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ผู้ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซต่างประเทศทุกรายจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ให้กับกรมสรรพากรของประเทศไทย
  • หากธุรกิจออนไลน์ของคุณมียอดขายต่อปีมากกว่า 1.8 ล้านบาท คุณต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

บทส รุป 

กล่าวโดยสรุป เมืองไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจประเทศหนึ่งสำหรับการค้าขายออนไลน์ แต่ทุกๆ อย่างต้องเป็นไป

ตามกฏหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เราได้กล่าวไปข้างต้น เมื่อคุณยื่นเอกสารและได้รับใบอนุญาติประกอบกิจการอีคอมเมิร์ซเป็นที่เรียบร้อย คุณก็จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นและไม่ขัดกับกฏหมาย หากคุณมีข้อสงสัยหรือติดขัดในกระบวนการใด แนะนำให้ขอความช่วยเหลือจากสำนักงานกฏหมายที่มีชื่อเสียง ไว้ใจได้ และทำงานเป็นมืออาชีพ 

ทดลองเปิดประสบการณ์ Fulfillment กับ Locad

สร้างธุรกิจให้เติบโตได้ด้วยระบบ Fulfillment ที่ใช้ง่าย และจัดการให้คุณอัตโนมัติจาก Locad

  • คลังเก็บสินค้าไม่จำกัด และขยายได้
  • จ่ายเท่าที่คุณจัดเก็บ
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายแฝง ไม่กำหนดระยะเวลา
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมหรือแลกเข้า
  • รวบรวมมาร์เก็ตเพลส
  • จัดการ และจัดส่งสินค้าอัตโนมัติ

แสกนปุ๊บ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลย!

Get the latest industry news, best practices, and product updates!

Don't miss out on the latest news!

Get the latest industry news, best practices, and product updates!

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!