คำศัพท์เฉพาะที่ควรรู้ A-Z ในระบบจัดส่ง, Fulfilment และโลจิสติกส์

ตารางคอนเทนต์

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

เวลาในการอ่าน: 4 นาที

ในแวดวงโลจิสติกส์ มีคำศัพท์เฉพาะทางมากมายที่คุณอาจจะไม่คุ้นชินในช่วงต้นของธุรกิจการ นำการนำเข้า-ส่งออก ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับคำศัพท์เฉพาะในการบริการจัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อการสื่อสารและการดำเนินงานในอุตสาหกรรมนี้

3PL: Third-Party Logistics หมายถึง ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ในรูปแบบ Outsorucing Logistics Service มีการจัดจ้างบุคคลหรือธุรกิจภายนอกตั้งแต่การจัดส่งสินค้าไปจนถึง การเรียกเก็บเงินค่าขนส่ง

4PL:  Fourth-Party Logistics คือ ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์จากภายนอกที่พัฒนามาจาก 3PL แต่เพิ่มการบริการ

ด้านเทคโลยี ทำหน้าที่จัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) สำหรับธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) และผู้ค้าส่ง รวมถึงเป็นที่ปรึกษาเรื่อง  โลจิสติกส์ บรรจุภัณฑ์ คลังสินค้า การส่งมอบพัสดุ การจัดการโครงการ การวางแผนธุรกิจ และกลยุทธ์การจัดการการขนส่ง

A

คลังสินค้า ABC: เป็นการจัดสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลาย มีการแยกสินค้าที่ขายดีที่สุดและขายไม่ออกออกจากกัน โดยพิจารณาจากอายุการเก็บรักษา ความสามารถในการทำกำไร และเปอร์เซ็นต์ของสินค้าในคลังทั้งหมด

Active Stock: หมายถึง สต็อกสินค้าที่มีการเคลื่อนไหว ที่จะถูกจัดเก็บไว้ในพื้นที่ที่เข้าถึงง่ายและติดตามคำสั่งซื้อได้สะดวก

Advanced Shipping Notice (ASN): การแจ้งเตือนไปยังคลังสินค้าว่ามีการจัดส่งสินค้าขาเข้าที่รอดำเนินการอยู่

Application Programming Interface (API): คือ ชุดคำสั่งและมาตรฐานในการเขียนโปรแกรม มักจะถูกใช้อยู่บ่อยๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ระบบซอฟต์แวร์อื่นๆเชื่อต่อและคุยกันได้

Arrival Notice: ใบแจ้งว่าเรือได้มาถึง เรียกอีกอย่างว่าใบแจ้งการจัดส่ง ที่จะมาในรูปแบบของข้อความอัตโนมัติโดยผู้ให้บริการจะแจ้งฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าสินค้ามาถึงแล้ว

Automated Fulfillment: ระบบปฏิบัติการอัตโนมัติ ดูแลตั้งแต่รับสินค้าเข้ามา จัดเก็บ คัดเลือกสินค้า แพ็คลงกล่องพัสดุ อัปเดตสินค้าคงคลัง ติดฉลากและจัดส่งไปสู่ลูกค้าปลายทาง ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สายพานลำเลียง สายพาน หอหยิบ เครื่องคัดแยก และหุ่นยนต์ และผ่าน API และแดชบอร์ด

B

Backorder: การรับออเดอร์ระหว่างรอสินค้าเข้าโกดัง เป็นคำสั่งซื้อสินค้าหรือบริการที่ไท่สำเร็จลุล่วง เนื่องจากสินค้าอาจจะติดอยู่ในกระบวนการผลิต

Balloon Payment: คือการชำระเงินแบบบอลลูน เป็นการชำระเงินก้อนเมื่อสิ้นสุดสัญญา เงื่อนไข หรือระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะต้องจ่ายมากกว่าการชำระเงินทั้งหมดก่อนหน้านั้น โดยทั่วไปจะเป็นยอดค้างชำระ

Base Currency (สกุลเงินหลัก) : เมื่อมีการทำธุรกรรมระหว่างสองประเทศสกุลเงินหลักเป็นสิ่งจำเป็นในการเสนอราคา ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการนำเข้าสินค้าจากจีนไปยังสหรัฐอเมริกา สกุลเงินหลักที่ใช้มักจะเป็นดอลลาร์สหรัฐ ส่วนจีนจะเป็นเงินหยวน

Bill of Lading (BOL): หมายถึง ใบตรงส่งสินค้า ใช้เพื่อระบุว่าการขนส่งกำลังจะไปที่ใด น้ำหนักของการขนส่ง สินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น โดยปกติจะมี 3 สำเนาสำหรับการอ้างอิง ได้แก่ สำเนาสำหรับบริษัทขนส่ง สำหรับ 3PL และสำหรับลูกค้า

Bundling: หมายถึงข้อเสนอแพ็คเกจ เป็นการซื้อสินค้าตั้งแต่สองรายการขึ้นไปในคำสั่งซื้อเดียวในราคาเดียว ยกตัวอย่างเช่น ซื้อของจากโปรซื้อ 1 แถม 1

C

Cancellation Rate (CR): คือคำสั่งซื้อที่ผู้ขายยกเลิกทั้งหมด ซึ่งจะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของคำสั่งซื้อทั้งหมดในช่วงระยะเวลา 7 วันที่ทำการยกเลิกคำสั่งซื้อ อย่างไรก็ถาม CR ใช้กับคำสั่งซื้อที่ดำเนินการตามผู้ขายเท่านั้น

Carrier: ผู้ให้บริการธุรกิจจัดส่งสินค้า ซึ่งมักเรียกว่าบริษัทจัดส่งหรือบริษัทขนส่ง

Carrier Liability: คือการประกันภัยสำหรับผู้ประกอบการขนส่ง เป็นสถานการณ์ ที่ผู้ให้บริการต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายให้กับสต็อกสินค้าของคุณ ผู้ให้บริการขนส่งมักจะจำกัด ความรับผิดสำหรับการจัดส่งในแต่ละรายการ และยอดรวมสินค้าที่จะจัดส่งทั้งหมด ดังนั้นต้องระวัง และแน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ของคุณได้รับการประกันอย่างเต็มที่ในระหว่างการขนส่ง

Case Picking: หมายถึง การหยิบสินค้าตามใบสั่ง จะเลือกหยิบอบบเต็มหน่วย ไม่เลือกหยิบแต่ละรายการสินค้า

Chargeable Weight: คือจำนวนน้ำหนักที่ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าสามารถเรียกเก็บได้ น้ำหนักที่เรียกเก็บได้จะคำนวณจากค่าที่สูงกว่าของ a) น้ำหนักจริงของบรรจุภัณฑ์ (กก.) และ b) น้ำหนักตามปริมาตร ของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นฟังก์ชันของขนาดของการขนส่ง และคำนวณเป็น (ยาว x กว้าง x สูง)/ตัวส่วน ตัวส่วนในบางครั้งจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเทศและประเภทการขนส่ง (การขนส่งทางอากาศและการขนส่งทางทะเล) ซึ่งมักจะอยู่ในช่วง 3,500 ถึง 6,000 ถามผู้ให้บริการขนส่งของคุณให้แน่ใจเกี่ยวกับน้ำหนัก 

Code 128: บาร์โค้ดชนิดหนึ่ง มักใช้ในการขนส่ง และสำหรับบาร์โค้ดผลิตภัณฑ์แทน UPC

ใบกำกับสินค้า: เอกสารที่ผู้ขายสร้างขึ้นพร้อมข้อมูลติดต่อและข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่จัดส่ง เช่น มูลค่าของภาษีศุลกากรและการประกันภัย

Commodity Code: คือ พิกัดรหัสสถิติ รหัสที่ใช้กำหนดประเภทของสินค้าและอัตราภาษีที่เกี่ยวข้องเมื่อนำเข้าหรือส่งออกสินค้า

Consignee: เป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้เรียกผู้รับการขนส่งสินค้า เช่น ผู้ซื้อคือผู้รับตราส่ง

Container: เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่ง เช่น กล่อง ลัง กล่อง มัด และกระเป๋า

Containerization: การจัดตู้คอนเทนเนอร์ เป็นวิธีการจัดส่งโดยวางสินค้าไว้ในตู้คอนเทนเนอร์ จากนั้นขนส่งไปยังปลายทาง

Courier Service: หมายถึง บริการส่งพัสดุหรือเอกสารทั้งในประเทศและข้ามประเทศ เป็นจัดส่งแบบ door-to-door ระดับพรีเมียมและรวดเร็ว 

Customs: ภาษาไทยเรียกว่า ศุลกากร เป็นหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกสินค้า

Customs Value: คือ ราคาศุลกากร มูลค่าของสินค้านำเข้าที่ใช้เป็นพื้นฐานในการประเมิณภาษีอากร มักจะรวมราคาของสินค้าเองและราคาตามสัดส่วนของค่าขนส่งสินค้าทางอากาศ

D

Distributed Fulfillment: หมายถึงการแยกสินค้าทางกายภาพในศูนย์จัดการสินค้าต่างๆ ที่คุณเลือก ซึ่งจะช่วยให้สินค้าคงคลังใกล้ชิดกับลูกค้าปลายทางมากขึ้น และทำให้สินค้าของคุณพร้อมจัดส่งไปยังบริเวรใกล้เคียง ลดเวลาและค่าจัดสนให้ถูกลงอีกด้วย

Distribution: เป็นกระบวนการโลจิสติกส์ทั้งหมด ตั้งแต่จบกระบวนการผลิต ไปจนถึงจัดส่งไปยังลูกค้าปลายทาง

Distribution Center (DC): คือ ศูนย์กระจายสินค้า หรืออาคารคลังสินค้า มีเพื่อจัดเก็บสินค้าคงคลังก่อนส่งไปยังลูกค้าปลายทาง

Distribution Channel: หมายถึง ช่องทางการจำหน่าย ซึ่งเป็นรูปแบบของบริษัทหรือบุคคลที่มีส่วนร่วมในการจำหน่ายสินค้า

Distributor: คือ ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์

Dock to Dock: เป็นคำที่ใช้เพื่อตรวจสอบว่า มีประตูลิฟต์หรือท่าเรืออยู่ที่ตำแหน่งสุดท้ายหรือไม่ เพื่อให้รถบรรทุกสามารถรับสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่ต้องใช้ประตูลิฟต์

Dock to Stock: เป็นวิธีการรับสินค้าที่ตรงตามข้อกำหนดด้านคุณภาพและบรรจุภัณฑ์ที่กำหนดไว้ ก่อนที่จะปล่อยสินค้า ไปยังจุดจัดเก็บสินค้าโดยตรง ซึ่งข้ามการตรวจสอบการรับสินค้าโดยปกติไปได้เลย 

Dropship: คือ การขายสินค้าในรูปแบบ การสมัครตัวแทนจำหน่าย ร้านค้าอีคอมเมิร์ซหรือพ่อค้าแม่ขายไม่จำเป็นต้องมีสินค้าที่จะขายในมือ ไม่ต้องสต๊อกสินค้า หรือส่งสินค้าด้วยตัวเอง

E

Expediting: เป็นการจัดส่งให้เร็วกว่าปกติ

Export: คือ การส่งออก ส่งสินค้าไปยังประเทศอื่น

Export Broker: หมายถึง นายหน้าส่งออก บริษัทที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย มีค่าตอบแทนการบริการเป็นค่าธรรมเนียม

F

First Mile: First mile delivery เป็นขั้นตอนแรกของการขนส่งในซัพพลายเซนของระบบโลจิสติกส์ ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบธุรกิจ Business to Business (B2C)

Flat Rate Shipping: การจัดส่งในอัตราคงที่ เป็นราคาในการจัดส่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับน้ำหนัก รูปร่าง หรือขนาดของสินค้าที่จะจัดส่งเป็นการประเมินสินค้าคงคลังเป็นการคาดการณ์สินค้าคงคลังในอนาคตโดยคาดการณ์ยอดขายตามแผนการตลาด และปัจจัยอื่นๆ ที่ควบคุมไม่ได้

Freight: เป็นสินค้าต่างๆ ที่ถูกขนส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

Fulfillment: การดำเนินการตามคำสั่งซื้อของลูกค้า การปฏิบัติตามข้อกำหนดรวมถึงการจัดการคำสั่งซื้อ การเลือก การบรรจุ และการจัดส่ง ซึ่ง Locad เรามีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้

Fulfillment Services Provider:  บริษัทที่ให้บริการ Fulfillment Services

G

General-Merchandise Warehouse:  คลังสินค้าทั่วไป ไม่มีข้อกำหนดพิเศษ

GTIN (Global Trade Item Number): ระบบตัวเลขที่ให้รหัสเฉพาะสำหรับสินค้าและบริการทั่วโลก เช่น UPC, ISBN และ NDC

H

Handling Costs: เป็นต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย การโอน การจัดเตรียม และการจัดการสินค้าคงคลัง

Hub: คือจุดเชื่อมต่อทั่วไปในการขนส่ง

Hyperlocal Fulfillment: การบริหารคลังสินค้าที่อาศัยศูนย์บริการ Fulfillment ขนาดเล็กจำนวนมากที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองและนอกเมือง เพื่อสต็อกและจัดส่งสินค้าสำหรับคำสั่งซื้ออีคอมเมิร์ซ เพื่อให้สินค้าอยู่ใกล้ลูกค้ามากขึ้น  จะได้ทำการสั่งซื้อเร็วขึ้นเนื่องจากระยะทางลดลง พร้อมทั้งมีโซลูชั่นจากนวัฒกรรมใหม่ๆ มาช่วยพัฒนาระบบการบริหารจัดการคลังสินค้าอีกด้วย 

I

Import: สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ

Inbound logistics: โลจิสติกส์ขาเข้า เป็นการจัดหา จัดเก็บและจัดส่งวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนให้โรงงานหรือธุรกิจต่างๆ จัดการเรื่องการผลิต

Inventory: สินค้าคงคลัง: ปริมาณของสินค้าที่คุณเป็นเจ้าของและจัดเก็บเพื่อจัดจำหน่ายต่อไป

Invoice: หมายถึง ใบแจ้งหนี้ ใบแจ้งรายละเอียดของสินค้าที่ขายหรือจัดส่ง และจำนวนเงินสำหรับแต่ละรายการ

Item: คือ รายการต่างๆ เช่น ชิ้นส่วน วัสดุ ส่วนประกอบย่อยและส่วนประกอบอื่นๆ  หรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นหรือซื้อมา

J

Just-in-Time Inventory: กระบวนการการผลิตที่ตรงตามความต้องการ ซึ่งจะต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ

เพื่อให้คุณสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ อีกทั้งยังเพิ่มคุณภาพของสินค้าอีกด้วย

K

Kitting: กระบวนการรวมสินค้า SKU ที่แตกต่างกัน เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดเป็น SKU ใหม่ มักถูกใช้บ่อยในระดับโรงงานหรือคลังสินค้า

L

Landed Cost: คือ ต้นทุนของผลิตภัณฑ์บวกต้นทุนโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การขนส่ง คลังสินค้า การจัดการ เป็นต้น

Last Mile: ขั้นสุดท้ายของการส่งมอบ โดยที่การจัดส่งจะถูกส่งไปยังลูกค้า

Less-Than-Truckload (LTL): เมื่อสินค้าใช้พื้นที่น้อยกว่ารถบรรทุกเต็ม

Localized Fulfillment: การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่นของประเทศ เช่น คลังสินค้า พนักงาน และกองเรือส่งสินค้า และทำการปฏิบัติตามระดับประเทศ อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ การจ้างผู้ให้บริการภายนอกเพื่อทำการโลคัลไลซ์เซชั่นให้คุณ

Logistics: โลจิสติกส์ คือ ระบบการจัดการสินค้าและอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างมีประสิทธภาพ กระบวนการเริ่มต้นตั้งแต่การจัดเก็บสินค้าในคงคลัง ตลอดจนการส่งมอบไปยังลูกค้าปลายทาง

Logistics Channel: ช่องทางโลจิสติกส์ เป็นเครือข่ายของผู้เข้าร่วมในห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ การจัดเก็บ-แพ็ค-ส่งและมีฟังก์ชันในการสื่อสารที่เอื้อต่อการไหลเวียนของสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

M

Marketplace Seller Rating: หมายถึง การให้คะแนนผู้ขาย คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับการบริการลูกค้า ความเร็วและความสะดวกในการจัดส่ง และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ในฐานที่เป็นผู้ขาย ยิ่งคุณมีคะแนนสูงเท่าใดผลิตภัณฑ์ของคุณก็จะยิ่งมองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น

Manifest: คือ บัญชีสินค้าที่บรรทุกมากับเรือ ซึ่งเป็นเอกสารที่อธิบายคำสั่งซื้อในแต่ละรายการที่อยู่ในการจัดส่ง

Master Carton: กล่องมาสเตอร์ เป็นการรวมกันของหน่วยสินค้าแต่ละชนิดเข้าด้วยกัน การจัดส่งผลิตภัณฑ์ในกล่องชนิดนี้หลักช่วยให้ลูกค้าประหยัดเงินเพราะเป็นการรวมการจัดส่ง

Multi-Channel Fulfillment: คือการจัดการคำสั่งซื้อในหลายๆ ช่องทางการขาย ซึ่งพาร์ทเนอร์ผู้ให้บริการจัดการคลังสินค้าจะปฏิบัติตามกฎระเบียบการจัดเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้า เพื่อจัดจำหน่ายในช่องทางออนไลน์ต่างๆ

N

Net Weight: น้ำหนักสุทธิ  น้ำหนักของสินค้าที่ยังไม่ได้บรรจุ

Node:  สถานที่ในระบบโลจิสติกส์ที่มีสินค้าเหลืออยู่ – โรงงาน คลังสินค้า ฯลฯ

O

Omni-Channel: ช่องทางการสื่อสารและการบริการลูกค้า ลูกค้าจะโต้ตอบกับผู้ขายปลีกผ่านหลายๆ ช่องทาง ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดของลูกค้า เพื่อให้ง่ายและรวดเร็วต่อการเข้าถึงข้อมูลของพวกเขา

Order: คำสั่งซื้อ พูดง่ายๆ ก็คือ คำขอให้จัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ซึ่งสามารถรับและประมวลผลคำสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ของร้านค้าอีคอมเมิร์ซหรือผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ 

Order Fulfillment: การดำเนินการตามคำสั่งซื้อ ซึ่งเป็นกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบของคำสั่งซื้อสินค้านั้นๆ จัดเตรียม บรรจุภัณฑ์และจัดส่งให้กับลูกค้าปลายทาง

Order Fulfillment Lead Time: คือระยะเวลาในการดำเนินการตามคำสั่งซื้อ นี่แหละเป็นการวัดความสามารถขององค์กรหรือร้านค้า ว่ามีประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วหรือไม่  ตัวเลขนี้จะวัดความเร็วของการบริการ พร้อมระบุเวลาเฉลี่ยจากคำสั่งซื้อ ตลอดจนเมื่อสินค้าถึงมือลูกค้าปลายทาง

Order Tracking: หมายถึง การแจ้งสถานะการจัดส่งสินค้า เป็นระบบการตรวจสอบสถานะการจัดส่ง ผู้ค้าและลูกค้าจะติดตามสถานะของพัสดุได้จากหมายเลขพัสดุ (Tracking number)

Outbound Logistics:  หมายถึง โลจิสติกส์ขาออก ซึ่งเป็นกระจายสินค้าที่ผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้วจากโรงงานไปสู่ตัวแทน เพื่อจัดจำหน่ายสินค้า

P

Packing:  การเตรียมภาชนะบรรจุ “ผลิตภัณฑ์” ที่พร้อมจัดส่ง

Packing List: รายการบรรจุภัณฑ์ คำสั่งซื้อที่จัดส่งทั้งหมด รวมถึงรายการที่แสดง SKU พร้อมคำอธิบายและปริมาณของสินค้าทุกรายการในหนึ่งคำสั่งซื้อ ซึ่งรายการเหล่านี้จัดทำโดยศูนย์บริการคลังสินค้า

Periodic Inventory: หมายถึง วิธีการติดตามสินค้าคงคลังที่มีการนับสต็อคเป็นประจำ (รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี) สินค้าในคลังที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะกรณีใดก็ตามหลังจากการนับจำนวนสินค้า จะไม่ถูกบันทึกจนกว่าจะถึงการนับครั้งถัดไป

Perpetual Inventory: คือระบบที่คุณจะอัปเดตสินค้าคงคลังทุกครั้งที่มีคำสั่งซื้อ หรือมีการเคลื่อนย้ายสต็อค ซึ่งจะรักษาจำนวนสินค้าคงคลังแบบเรียลไทม์

Pick and Pack: กระบวนการดึงสินค้าตามออร์เดอร์จากพื้นที่จัดเก็บ จากนั้นบรรจุหีบห่อเพื่อเตรียมจัดส่ง

Picking: คือการหยิบสินค้าออกจากคลังสำหรับการสั่งซื้อ

Port of Entry:  ท่าเรือขาเข้า เป็นท่าเรือที่รับสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ

Prepaid Freight: ค่าขนส่งที่จ่ายโดยผู้ขนส่งให้กับผู้ให้บริการขนส่ง

Purchase Order (PO): หมายถึง ใบสั่งซื้อ ผู้ซื้อสามารถทำการสั่งซื้ออย่างกับซัพพลายเออร์ได้เลย

R

Reorder Point: จุดสั่งซื้อซ้ำ เป็นการกำหนดปริมาณของสินค้าคงคลัง   ซึ่งบ่งชี้ว่าระดับสินค้าคงคลังใกล้จะถึงจำนวนที่ต่ำ และถึงเวลาต้องจัดลำดับใหม่เพื่อรักษาสต็อกให้อยู่ในระดับที่ต้องการ

Return Merchandise Authorization (RMA): การอนุมัติการคืนสินค้า ที่ช่วยให้ผู้ค้า E-Commerce จัดเก็บบันทึกการส่งคืนได้อย่างเป็นระเบียบ ในการส่งคืนสินค้า ลูดค้าจะต้องมีหมายเลขอ้างอิงสินค้าด้วย 

Reverse Logistics: กระบวนการจัดการสินค้าในรูปแบบ การส่งคืนและซ่อมแซม

คำศัพท์เฉพาะที่ควรรู้ A-Z ในระบบจัดส่ง, Fulfilment และโลจิสติกส์

S

Safety Stock: หมายถึง สต็อคเพื่อความปลอดภัย หรือสต็อคที่สำรองไว้ป้องกันวินค้าขาดแคลน 

Seasonality:  การทำการตลาดตามฤดูการ ความต้องการซื้อหรืออุปสงค์จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับฤดูการ 

Serial Number: คือหมายเลขประจำผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อแสดงรายการสินค้าผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 

Shipment Cut-off Time: หมายถึง เวลาปิดรับคำสั่งซื้อเพื่อจัดส่งในวันนั้นๆ

Shipping Notice: ข้อความอัตโนมัติเพื่อแจ้งว่าสินค้าได้ถูกจัดส่งไปยังปลายทางเรียบร้อยแล้ว

Shipper: ผู้ส่งสินค้า

Shipping: การจัดส่งสินค้าขาออก รวมถึงการบรรจุภัณฑ์ ชั่งน้ำหนัก ติดฉลาก และขนถ่านสินค้าเพื่อจัดส่ง

Slotting: ตำแหน่งการวางสินค้าในคลังหรือตู้เก็บสินค้า 

SKU: ย่อมาจาก Stock Keeping Unit เป็นรหัสของสินค้าซึ่งใช้ติดตามสินค้าคงคลัง

Shopping Cart Integration: หมายถึง ซอฟต์เเวร์ตะกร้าสินค้าหรือรถเข็น ใช้ระหว่างการเลือกสินค้าบนเว็บไซต์  ทำหน้าที่บรรจุคำและส่งคำสั่งซื้อของลูกค้าไปยังศูนย์บริการคลังสินค้าโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาสำหรับการประมวลผลคำสั่งซื้อของร้านค้าอีคอมเมิร์ซต่างๆ

Staging: หมายถึง การดึงสินค้าออกจากคลังไปไว้อีกที่หนึ่ง เพื่อระบุปัญหาสินค้าขาดแคลน

Stockout (out of stock): (สินค้าหมด): ภาวะสินค้าคงคลังไม่เพียงพอกับความต้องการในปัจจุบัน

Supply Chain: ห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) เป็นกระบวนการตั้งแต่จัดหาวัตถุดิบ ตลอดจนจัดส่งสินค้าสำเร็จรูปไปยังลูกค้าปลายทาง

T

Tariff Code: รหัสภาษี ซึ่งเป็นการดำเนินงานในระบบศุลกากร ช่วยจัดประเภทสินค้าอย่างชัดเจนว่าสินค้านั้นคืออะไร

U

Uniform Product Code (UPC): บาร์โค้ดทั่วไป

V

Vendor:  ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายสินค้าหรือสายผลิตภัณฑ์

W

Warehouse: โกดังสินค้าสำหรับจัดเก็บสินค้า

Waybill: ใบตราส่งสินค้า เป็นเอกสารที่มีคำอธิบายสินค้าในการขนส่ง

Web Portal: เว็บไซต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเข้าถึงข้อมูลการบริการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น จำนวนสินค้าคงคลัง การติดตาม ตลอดจนการติดตามคำสั่งซื้อ

แหล่งที่มา:

Datex Warehouse Dictionary 

Miriam-Webster Dictionary

fulfillrite

The Law Dictionary

ทดลองเปิดประสบการณ์ Fulfillment กับ Locad

สร้างธุรกิจให้เติบโตได้ด้วยระบบ Fulfillment ที่ใช้ง่าย และจัดการให้คุณอัตโนมัติจาก Locad

  • คลังเก็บสินค้าไม่จำกัด และขยายได้
  • จ่ายเท่าที่คุณจัดเก็บ
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายแฝง ไม่กำหนดระยะเวลา
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมหรือแลกเข้า
  • รวบรวมมาร์เก็ตเพลส
  • จัดการ และจัดส่งสินค้าอัตโนมัติ

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

Don't miss out on the latest news!

Get the latest industry news, best practices, and product updates!

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!