ตีตลาด E-commerceในประเทศไทย ต้องรู้อะไรบ้าง?

ตารางคอนเทนต์

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

เวลาในการอ่าน: 2 นาที

อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยสร้างรายได้มหาศาลมูลค่า 8.5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021  ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าประทับใจสำหรับทุกประเทศใน APAC อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และมีบริษัทใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ผู้ประกอบการหลายๆ เจ้าต้องการขยายกิจการของตนตนเองโดยการตีตลาดในประเทศไทย 

แพลตฟอร์มออนไลน์เป็นช่องทางใหม่ในการกระจายสินค้าและบริการไปทั่วโลก เพราะผู้คนนิยมช้อปปิ้งออนไลน์ และที่สำคัญคือ ราคาถูกกว่า เข้าถึงง่ายด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียว มีสินค้าหลากหลาย บริการจัดส่งฟรี แถมยังดูแลลูกค้าดีอีกด้วย และนี่ก็คือเหตุผลส่วนหนึ่งที่ลูกค้าในประเทศไทยเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ

การจัดตั้งธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ก็ถือว่าไม่ใช่ว่ามีเงินทุนมาเปิดกิจการและจะสร้างยอดขายได้พุ่งกระฉูด คุณจะต้องศึกษาและวางแผนมากกว่านั้น  วันนี้ Locad Thailand ขอมีข้อควรปฏิบัติสำหรับใครที่กำลังมองหาช่องทางเพื่อตีตลาดในประเทศไทย 

หาพื้นที่เพื่อเจาะตลาด 

  • การหาช่องทางในการขายสินค้า : ให้ตั้งคำถามกับตนเองว่า ขายอะไร? เป็นที่ต้องการของคนในประเทศนี้หรือไม่?  มีกี่บริษัทที่ทำผลิตภัณฑ์แบบนี้แล้ว? และคำถามอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
  • ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้คน : ดูสิว่าพวกเขาต้องการอะไรในตลาดอีคอมเมิร์ซ ช่องทางไหนบ้างที่พวกเขาจะเห็นแบรนด์และสินค้าของคุณได้ อะไรคือสิ่งที่พวกเขาไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน รวมทถึงความต้องการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเมื่อมาซื้อสินค้าจากคุณ และนี่ก็เป็นการหากลุ่มลูกค้าให้กับสินค้าและธุรกิจของคุณนั่นเอง 
  • การเข้าถึงช่องทางการขาย และการจัดส่ง : หลังจากเจาะตลาดได้แล้ว ลองคิดดูว่าคุณจะจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าอย่างไร ทำให้ลูกค้าเข้ามาซื้อของผ่านเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นได้อย่างไร พวกเขาจะชำระเงินผ่านช่องทางไหนได้บ้าง แ

ตั้งชื่อแบรนด์ให้เป็นเอกลักษณ์

เลือกชื่อธุรกิจที่ไม่ซ้ำใคร เป็นชื่อที่ควรบ่งบอกถึงธุรกิจและควบคุมถึงสินค้าทั้งหมด ตั้งชื่อโดเมนที่ไม่ซ้ำกับบริษัทอื่น เมื่อคุณเลือกชื่อเฉพาะได้แล้ว แนะนำให้จดลิขสิทธิ์ให้เรียบร้อยโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้จดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทได้ 

เรียนรู้คำศัพท์บนโลกอีคอมเมิร์ซกันเถอะ  

ในตลาดอีคอมเมิร์ซ มีคำศัพท์มากมายที่ผู้ประกอบการควรรู้ จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปชมกันเลย! 

  • Accurate information : เป็นข้อมูลประกอบสินค้าและแบรนด์ท ซึ่งจะปรากฏบนเว็ปไซต์หรือแอพพลิเคชั่น ที่ลูกค้าควรรับรู้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยขจัดความสับสนของลูกค้า จากการสำรวจ พบว่า 54% ของลูกค้าส่งสินค้าคืนเนื่องจากพวกเขาไม่พอใจในตัวสินค้า
  • Terms of Sale: เงื่อนไขในการขายของ คุณต้องระบุอายุการใช้งานของสินค้านั้นๆ หรือข้อควรระวัง เช่น สินค้าประเภทนี้ไม่ควรให้เด็กสำผัส เป็นต้น 
  • Mode of payments หรือ วิธีการชำระเงิน: ในประเทศไทยมีวิธีการชำระเงินเพียงสองวิธีเท่านั้นก็คือ การโอนเงินผ่านธนาคาร และการจ่ายเงินสด เนื่องจากคนไทยมรการเข้าถึงบัตรเครดิตต่ำ ดังนั้นแนะนำให้ ระบุตัวเลือกการชำระเงินเหล่านี้อย่างชัดเจนบนเว็บไซต์ของคุณ
  • Shipping & Delivery: ตั้งค่าเวลาที่คาดว่าของจะส่งถึงมือลูกค้า หากเป็นไปได้ให้จ้างบริษัทขนส่ง (3PL) เพื่อการจัดส่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พบว่า 45% ของลูกค้าเปลี่ยนใจไม่ซื้อของจากร้านค้านั้นๆ เพราะบริการจัดส่งที่ราคาแพง หรือไม่น่าพึงพอใจ ดังนั้นวางแผนการจัดส่งสินค้าให้รอบคอบ
  • ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property): ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น คุณต้องสร้างชื่อหรือโลโก้.ให้ไม่ซ้ำใคร  หากเป็นไปได้แนะนำให้ไปจดลิขสิทธิ์ด้วย

การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจะช่วยคุณสงวนสิทธิ์ทั้งหมดของแบรนด์ ทั้งชื่อ โลโก้ ตัวสินค้า และอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิกลิขสิทธิ์ เอกสารที่คุณจะต้องเตรียมมีดังต่อไปนี้… 

1. โลโก้ของเครื่องหมายการค้า

2. สำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

3. สำเนาหนังสือรับรองบริษัทของผู้สมัครหากอยู่ต่างประเทศ และสำเนาหนังสือรับรองบริษัทฉบับจริงในกรณีที่เป็นบริษัทไทย

4. หนังสือมอบอำนาจที่ลงนามแล้ว (ควรมีการรับรองหากลงนามจากต่างประเทศ)

  • Disclaimer of Liability : เป็นการชี้แจงเมื่อเกิดเสียหาย ให้ระบุในรายละเอียดว่าบริษัทต้องรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร 
  • External Links: เป็นลิงค์ที่นำลูกค้าออกไปหน้าเว็บไซต์อื่น สร้างการแจ้งเตือนลูกค้าบนเว็บไซต์ก่อนเปลี่ยนเส้นทาง เพื่อให้ลูกค้าของคุณสามารถตัดสินใจได้ว่าต้องการซื้อสินค้าต่อหรือไม่

ตีตลาดให้แตกและศึกษาคู่แข่ง

ประเทศไทยมีช่องทางออนไลน์ 4 ประเภทหลักๆ

  1. E-marketplace– สถานที่ที่ผู้ซื้อสามารถค้นหาสินค้าได้หลากหลายบนเว็บไซต์ เช่น Lazada, Shopee, 11Street, Looksi และอื่น ๆ อีกมากมาย
  2. Brand Webstore- ช่องทางที่ลูกค้าซื้อสินค้าโดยตรงได้จากเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้คุณเข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้ และนำไปใช้กับวิเคราะห์การตลาดได้ในอนาคต
  3. E-retailer- แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับผู้ค้าปลีก ต่างจาก E-marketplace ตรงที่อนุญาตให้บุคคลที่สาม เช่น เทสโก้โลตัส โรบินสัน และอื่น ๆ อีกมากมายมาขายสินค้าในตลาดแห่งนี้ได้ 
  4. โซเชียลมีเดีย- การขายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram และ LINE

สิ่งที่ต้องระวังก่อนที่จะเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ได้แก่ 

  • แนวโน้มการตลาดที่พื้นที่นั้นๆ 
  • กลุ่มเป้าหมายของคุณ 
  • กลุ่มลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าร้านของคุณ 
  • การโฆษณาที่มีประสิทธิภาพและปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย

จากนั้นก็ถึงเวลาหาว่าใครคือคู่แข่งของคุณในตลาด ศึกษาและวิเคราห์ว่าพวกเขาทำอะไร มีแผนธุรกิจและการตลาดอย่างไร เพื่อนำมา หาจุดด้วยของแบรนด์ตัวเองและปรับใช้กับแรนด์ตัวเอง

สร้างแผนธุรกิจและการตลาด

การทำการตลาดเพื่อโปรโมทแบรนด์และสินค้ามีอยู่หลายวิธี คุณสามารถสร้างการรับรู้ด้วยสื่อและโซเชียล

ทีเดียที่อยู่ในมือ และใช้เครื่องมือ เช่น  Google Ads โฆษณาบนโซเชียลมีเดีย หรือส่งให้อินฟลูเอ็นเซอร์รีวิว ในส่วนของเว็บไซต์ การทำ SEO หรือ Search Engine Optimization ช่วยสร้างการรับรู้และเป็นประโยชน์

เมื่อลูกค้าต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและแบรนด์ของคุณ 

ในการจัดตั้งธุรกิจอีคอมเมิร์ซ คุณจะต้องจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ธพ.) ในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้… 

  • เอกสานขอจดทะเบียนพาณิชย์
  • สำเนาทะเบียนการค้าและบัตรประจำตัวประชาชนของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือคณะกรรมการผู้มีอำนาจของคุณ
  • สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือหุ้นส่วน (กรณีบุคคลธรรมดา)
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

นอกจากนี้ ชื่อกิจการของคุณ และชื่อโดเมนบนเว็บไซต์จะต้องไม่ซ้ำใคร ส่งรายละเอียดเว็บไซต์พื้นฐาน แบบฟอร์มการจดทะเบียนพาณิชย์ พร้อมนำชื่อโดเมนไปจดทะเบียนกับมูลนิธิศูนย์ข้อมูลเครือข่ายเธาว์ (THNIC) เจ้าของบริษัทมีสิทธิ์เลือกใช้เครื่องหมายการค้าภายใต้ชื่อบริษัท ซึ่งหมายถึงการสงวนสิทธิ์ให้กับตนเอง

ในจดทะเบียนชื่อโดเมน (นามสกุล .co.th)  คุณจะต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้ 

  • ใบรับรองการลงทะเบียน
  • เอกสารการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • เอกสารขอแก้ไขภาษีมูลค่าเพิ่ม

ซึ่งขึ้นตอนนี้จะใช้เวลา 6 เดือนถึง 1 ปี ในการทำการ นับตั้งแต่วันที่เริ่มยื่นเอกสาร 

สิทธิ์และใบอนุญาตที่จำเป็นต้องมีเพื่อดำเนินธุรกิจในประเทศไทย

เมื่อคุณได้เริ่มดำเนินกิจการในประเทศแล้ว สิ่งที่ต้องมีคือใบอนุญาตอีคอมเมิร์ซแบบพิเศษที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD ภายในระยะเวลา 30 วัน ใบอนุญาตอีคอมเมิร์ซนี้จำเป็นหากคุณมีเว็บไซต์ที่ขายสินค้าและบริการในประเทศไทยตั้งแต่หนึ่งเว็บไซต์ขึ้นไป

แต่…ช้าก่อน แม้ว่าคุณจะมีร้านค้าอีคอมเมิร์บโซเชียลมีเดีย คุณก็ยังต้องใช้ใบอนุญาตนี้ ซึ่งโดยทั่วไปใบอนุญาตจะมีราคา 9,500 บาท 

ในการยื่นขอใบอนุญาตบริษัทอีคอมเมิร์ซ มีข้อปฏิบัติตามดังต่อไปนี้… 

  • ตั้งชื่อเว็บไซต์ 
  • บอกลักษณะของสินค้าและบริการที่ขายบนเว็บไซต์
  • ระบะวันที่คุณจะเปิดใช้งานเว็บไซต์
  • ระบุวิธีการชำระเงินสำหรับลูกค้า 
  • เอกสารยืนยันการจดทะเบียนชื่อโดเมนหรือใบรับรองจากผู้ให้บริการ (ISP หรือโฮสต์เว็บ)

หากคุณต้องการให้ลูกค้าชำระเงินด้วยบัตรเครดิต คุณจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของธนาคารแห่ง

ประเทศไทยอย่างเคร่งครัด

ใบอนุญาตนำเข้า

สำหรับสินค้าทั่วไป เช่น เสื้อผ้าและเฟอร์นิเจอร์ สามารถนำเข้ามาในประเทศไทยได้โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ แต่สำหรับสินค้าบางอย่าง เช่น ยา อาหารและผลิตภัณฑ์เสริม พืชและสัตว์ป่า โบราณวัตถุ และสิ่งของตามธรรมชาติ

ต้องขออนุญาตและออกใบอนุญาตก่อน 

สำหรับสินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตที่กล่าวไปข้างต้น แต่ละชนิดก็มีองค์กรเฉพาะทางที่แตกต่างกันออกไปช่วยดูแล ยกตัวอย่างเช่น การนำเข้ายาหรืออาหารต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นต้น

บริษัทที่ให้บริการด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ช่วยธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยได้

หากคุณพึ่งเริ่มเข้ามาตีตลาดในประเทศไทย และต้องการเครือข่ายธุรกิจด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ที่น่าเชื่อถือ และสามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าของคุณได้ง่ายขึ้น กลไกด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์จากภายนอกองค์กรจึงตอบโจทย์ Locad เป็นหนึ่งในบริการเก็บ-แพ็ค-ส่งแบบครบวงจร เรามีคลังสินค้าที่ยืดหยุ่น เราหยิบและแพ็คสินค้าได้ภายในวัน เดียว แบรนด์ที่มาใช้บริการของเราจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการขายสินค้าเชิงลึกแบบเรียลไทม์  

บทสรุป

เป็นอย่างไรกันบ้าง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังเริ่มขยายธุรกิจและตีตลาดในประเทศไทย ขั้นตอนต่อไปของคุณคือการประเมินความสนใจในตลาดและวางตำแหน่งธุรกิจ

ทดลองเปิดประสบการณ์ Fulfillment กับ Locad

สร้างธุรกิจให้เติบโตได้ด้วยระบบ Fulfillment ที่ใช้ง่าย และจัดการให้คุณอัตโนมัติจาก Locad

  • คลังเก็บสินค้าไม่จำกัด และขยายได้
  • จ่ายเท่าที่คุณจัดเก็บ
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายแฝง ไม่กำหนดระยะเวลา
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมหรือแลกเข้า
  • รวบรวมมาร์เก็ตเพลส
  • จัดการ และจัดส่งสินค้าอัตโนมัติ

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

Don't miss out on the latest news!

Get the latest industry news, best practices, and product updates!

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!