อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซประเทศไทย : หลายสิ่งที่คุณพลาดไม่ได้

ตารางคอนเทนต์

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

เวลาในการอ่าน: 2 นาที

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเกิดขึ้นมากมายในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเป็น 1 ใน 11 ประเทศที่มีที่เติบโตเร็วที่สุด เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามา ผู้คนนิยมใช้ช้อปปิงออนไลน์ผ่านร้านค้าอีคอมเมิร์ซ เว็บไซต์ และโซเชียลอีคอมเมิร์ซ​

คนไทยให้ความสนใจกับการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา จากการสำรวจในปี 2022 ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 54 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 16-64 ปี การมีฐานลูกค้าจำนวนมากเช่นนี้ทำให้แบรนด์อีคอมเมิร์ซต่างกระตือรือร้นที่จะก่อตั้งตัวเองในประเทศไทย

ในบทความนี้ เราจะมาพิจารณาอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของประเทศไทย แนวโน้มทั่วไป และประชากรในประเทศไทยกัน 

เทรนด์ใหม่มาแรง เขย่าวงการอีคอมเมิร์ซใน 10 ข้างหน้า 

ผู้คนประมาณเกือบ 57 ล้านคน (คิดเป็น 82.4% ของประชากรทั้งหมด) ใช้อินเทอร์เน็ต และมีอัตราการเติบโตของอินเทอร์เน็ตต่อปีมากกว่า 11% ซึ่งหมายความว่าผู้คนมากกว่าครึ่งต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ตและใช้งานทุกวัน

ความสำเร็จของธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั้นเชื่อมโยงกับรูปแบบธุรกิจในภูมิภาค รูปแบบธุรกิจมี 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 

1. Customer to Customer (C2C) – รูปแบบการขายสินค้าและบริการระหว่างลูกค้า ตัวอย่างทั่วไปเช่น eBay, Hipflat, Kaidee และอื่น ๆ อีกมากมาย

2. Business to Customers (B2C)– ธุรกิจรูปแบบนี้จะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในตลาดอีคอมเมิร์ซ ตัวอย่างทั่วไปเช่น Lazada, Shopee เป็นต้น

3. Business to Business (B2B)–รูปแบบนี้เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมระหว่าง 2 บริษัท หน่วยงานหรือหน่วยงานที่แลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์และบริการ ตัวอย่างเช่น Officemate ในประเทศไทย

เมื่อคุณได้วิเคราะห์โมเดลที่ใช้ได้ผลแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องระบุประเภทธุรกิจของคุณด้วย มีหลากหลายธุรกิจที่เกิดขึ้นในประเภทไทย ลองพิจารณาว่าแบรนด์ของคุณค้าสินค้าประเภทไหน 

  • มือถือและอิเล็กทรอนิกส์ – เป็นสินค้าอันดับหนึ่งที่มียอดขายมากที่สุดในประเทศไทย ผู้คนค่อนข้างสนใจที่จะซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ ลาซาด้า อีคอมเมิร์ซอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 14.7 ล้านรายการบนเว็บไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
  • Fashion & Lifestyle– แฟชั่นและไลฟ์สไตล์มาแรงมากในขณะนี้ คนไทยให้ความสำคัญกับแฟชั่น เช่น เว็บไซต์และโซเชียลมีเดียเต็มไปด้วยเสื้อผ้า เครื่องประดับ และสินค้าเครื่องแต่งกาย ยกตัวอย่างเช่นแพลตฟอร์มรายใหญ่อย่าง Lazada, Shopee, 11Street และช่องทางอื่นๆ อีกมากมาย
  • ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม– ผู้คนไม่ว่าจะเพศไหนๆ ต่างก็ให้ความสำคัญกับความสวยความงามและผิวพรรณ จากรายงานของ International Trade Administration พบว่าตลาดในประเทศไทยมีความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อความงามด้วยค่าเฉลี่ยดังต่อไปนี้ตามลำดับ 
  •  ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (42%) 
  • ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม (15%) 
  • สบู่และสุขอนามัย (14%) 
  • ช่องปากและฟัน การดูแล (12%) 
  • และการแต่งหน้า (12%)

ตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ความต้องการในตลาดอีคอมเมิร์ซทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ วัน มีพื้นที่ให้ผู้ขายได้นำเสนอ

สินค้าและบริการของตนเอง ใครๆ ก็เปิดร้านค้าออนไลน์ได้ด้วยตนเองในยุคนี้ วันนี้เรามีตัวอย่างแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำหรับใครที่กำลังมองหาช่องทางเพื่อต่อยอดธุรกิจ จะมีช่องทางไหนที่น่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย! 

Lazada

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีชื่อเสียงระบบโลก มีสินค้าวางขายจำนวนมาก 

ไม่ว่าจะเป็นสินค้าในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ สุขภาพและความงาม ของใช้ในชีวิตประจำวัน ของเล่น รถยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย เรียกได้ว่าครบครัน 

Shopee

บริษัทข้ามชาติสัญชาติสิงคโปร์ที่มีรากฐานอันแข็งแกร่งในประเทศไทย เป็นตลาดอันดับหนึ่งของประเทศไทย รวมถึงหมวดไลฟ์สไตล์ เช่น เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดส่ง 

Jib

แพลตฟอร์มนี้มีไว้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีโดยเฉพาะ ซึ่งเสนอสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลายให้กับลูกค้าในราคาย่อมเยา ตลาดนี้มีไว้สำหรับผู้ชมที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีซึ่งต้องการซื้อสินค้าและแกดเจ็ตใหม่ๆ ทางออนไลน์

Power Buy

อีกหนึ่งมาร์เก็ตเพลสสุดคลาสสิกสำหรับเมืองไทยคือ เพาเวอร์บาย ผู้นำร้านค้าปลีกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าไอที โทรศัพท์มือถือ และสินค้าอื่นๆ อีกมากมาย เป็นเจ้าของร้านค้ามากกว่า 90 แห่งในประเทศไทยและมีผู้เยี่ยมชม 1.5 ล้านคนทุกเดือน

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศไทย 

กลุ่มลูกค้าประเทศไทยเรานั้นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่… 

กลุ่มที่ 1 : Baby boomers (อายุประมาณ 51-71 ปี) 

กลุ่มที่ 2: Gen X (อายุประมาณ 37-50 ปี ) 

กลุ่มที่ 3 : Gen Y (อายุประเมาณ 17-36 ปี) 

ผลการสำรวจคือ กลุ่มแรกมีส่วนร่วมในตลาดอีคอมเมิร์ซ 5.39% กลุ่มที่ 2 คิดเป็น 5.39% และกลุ่มสุดท้ายอัตราการมีส่วนร่วมอยู่ที่ 61.92% หมายความว่าวัยรุ่นมีการซื้อและขายสินค้าหรือบริการในตลาดอีคอมเมิร์ซมากกว่าวัยผู้ใหญ่นั่นเอง

จะเห็นได้ว่าคนใน Gen Y เป็นกลุ่มเป้าหมายทางธุรกิจ ไม่แค่ช้อปปิ้งเท่านั้นนะ พวกเขายังใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในการทำเงินอีกด้วย 

ลูกค้าชาวไทยให้การตอบรับเชิงบวกต่อตลาดออนไลน์ ผลสำรวจพบว่า 60.30% ของประชากรเข้าชมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ 2 ครั้งต่อเดือน จะเห็นได้ว่ากำลังซื้อของลูกค้าชาวไทยค่อยๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้นการค้าขายในตลาดอีคอมเมิร์ซจึงเป็นอาชีพที่น่าจับตามองในประเทศไทย 

ถ้าเปรียบเทียบจากสมัยก่อน ผู้คนก็เดินไปที่ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้า แล้วทำไมยุคนี้คนไทยถึงหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นหล่ะ? เราทราบว่าคุณมีคำตอบในใจก่อนแล้วแหละ ลองมาดูว่าเหตุผลเหล่านี้ตรงกับกับคำตอบในใจของคุณหรือไม่ 

  1. ราคาเป็นมิตร จ่ายไหว
  2. มีสินค้าให้เลือกมากมายในตลาด 
  3. บริการจัดส่งฟรี 
  4. มีวิธีการจ่ายให้เลือกมากมาย 
  5. แอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ถูกออกแบบมาให้ใช้ง่าย 
  6. การบริการลูกค้ามีประสิทธิภาพ น่าพึงพอใจ  

สิ่งที่ควรรู้ก่อนลงมือทำและขายให้กับคนไทย

เราได้ดูปัจจัยที่สนับสนุนธุรกิจ แต่มีบางสิ่งที่คุณต้องพิจารณาก่อนที่จะลงขายสินค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซแห่งนี้ 

จากที่เราได้พูดคุยกันข้างต้น สินค้ายอดนิยมในประเทศไทย ได้แก่ 

  1. โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค 
  2. แฟชั่นและไลฟ์สไตล์
  3. ผลิตภัณฑ์เพื่อความสวยความงาม

เมื่อคุณระบุได้แล้วว่าต้องการสร้างธุรกิจประเภทไหน หรือนำเสนผลิตภัณฑ์อะไร หรือมีบริการรูปแบบใดให้แก่ลูกค้า จากนั้นให้คุณพิจารณาต้นทุน ค่าใช้จ่ายทั้งหมด พร้อมทั้งคำนวณกำไรที่คุณจะได้รับ เพื่อตั้งราคาขายสินค้าหรือบริการนั้นๆ 

อย่าลืมพิจารณเรื่องช่องทางการชำระเงิน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบให้ลูกค้าเลือกใช้ ประเทศไทยมีอัตราการใช้บัตรเครดิตต่ำ คนไทยไม่ค่อยถือบัตรเคดิตกัน ผู้คนมักชอบชำระเงินด้วยการโอนเงินผ่านธนาคารหรือเก็บเงินปลายทาง (COD) ดังนั้นหากคุณให้ลูกค้าชำระเงินแค่บัตรเคดิตอย่างเดียว ร้านค้าของคุณอาจจะไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ไม่มีบัตรเคดิต 

กล่าวโดยสรุป หากคุณต้องการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งในประเทศไทย ผู้ประกอบการต้องมีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ การใช้ระบบ ช่องทางชำระเงิน และต้องออกแบบแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่ใช้งานง่ายและราบรื่นให้กับลูกค้า

ผู้ให้บริการขนส่งรายใหญ่ที่สุดและบริษัทขนส่งบุคคลที่สามในประเทศไทย

เนื่องจากอุตสาหกรรมนำเข้าและส่งออกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน บริษัทโลจิสติกส์ 3PL จึงเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาด ยิ่งสำหรับธุรกิจที่จำเป็นต้องขนส่งสินค้าข้ามประเทศ 

และนี่ก็เป็น 3 บริษัทโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 

1. CEVA Logistics

บริษัทโลจิสติกส์ระดับโลกที่ให้บริการขนส่งและซัพพลายเชนสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก มีรายได้รวม 56,000 ล้านดอลลาร์และกระจายอยู่ 170 ประเทศ

2. DHL

หนึ่งในบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ มีกิจการอยู่ 220 ประเทศซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี 

3. Yusen Logistics

ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศระดับโลก ให้บริการทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ส่งมอบบริการตั้งแต่ จัดการซัพพลายเชนและจัดส่งสินค้าแบบครบวงจร ปัจจุบันมีกิจการอยู่ 47 ประเทศ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย จะประสบความเสร็จได้อย่างไร? 

เอาจริงๆ มันไม่มีข้อปฏิบัติที่ตายตัว ทุกธุรกิจประสบความสำเร็จได้ด้วยกลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไป เรามีทริคเล็กๆ น้อยมาฝาก จะมีอะไรน่าสนใจบ้างไปดูกันเลย! 

เราขอแตกกลยุทธ์ในการต่อยอดธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้ประสบความเสร็จในประเทศไทยเป็น 4 ข้อดังต่อไปนี้   

  1. E-marketplace 
  2. Brand webstore 
  3. E-retailer
  4. Social media

แนะนำให้พิจารณาและเปรียบเทียบแต่ละกลยุทธ์ให้ละเอียดและรอบคอบ แล้วเลือกที่เหมาะกับความต้องการของธุรกิจคุณ 

ขึ้นตอนถัดไป ถึงเวลาสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด เช่น การตลาดผ่านอีเมล โซเชียลมีเดีย เขียนคอนเทนท์ เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นยอดขาย นอกจากนี้กลยุทธ์แต่ละประเภทก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ดังนั้นคุณควรเลือกอันที่เหมาะกับเป้าหมายและการดำเนินงานของธุรกิจคุณ 

สิ่งที่สำคัญคือ ให้มองในมุมลูกค้า สวมบทบาทลูกค้า ศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติของพสกเขา ดูว่าพวกเขาต้องการอะไร เราขอแนะนำ 3 เสาหลักเบื้องต้นสำหรับธุรกิจ 

  1. ออกแบบเว็บไซต์ที่ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน 
  2. มีช่องทางชำระเงินที่หลากหลาย 
  3. มีบริการจัดส่งสินค้าที่ตรงเวลา

การขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทย 

หลายๆ ธุรกิจเกิดขึ้นในตลาดอีคอมเมิร์ซ การขยายธุรกิจในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งที่จะทำให้คุณโดดเด่นจากคู่แข่งในตลอดก็คือ ตัวสินค้า การตีตลาดให้แตก การจัดการเรื่องคลังสินค้าและโลจิสติกส์ ตลอดจนการหาแหล่งซัพพลายเออร์ในการผลิตสินค้าที่น่าเชื่อถือและคุ้มค่าแก่การลงทุนนั่งเอง 

ทดลองเปิดประสบการณ์ Fulfillment กับ Locad

สร้างธุรกิจให้เติบโตได้ด้วยระบบ Fulfillment ที่ใช้ง่าย และจัดการให้คุณอัตโนมัติจาก Locad

  • คลังเก็บสินค้าไม่จำกัด และขยายได้
  • จ่ายเท่าที่คุณจัดเก็บ
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายแฝง ไม่กำหนดระยะเวลา
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมหรือแลกเข้า
  • รวบรวมมาร์เก็ตเพลส
  • จัดการ และจัดส่งสินค้าอัตโนมัติ

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

Don't miss out on the latest news!

Get the latest industry news, best practices, and product updates!

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!