Multi-Channel Fulfillment in E-Commerce ค้าขายหลายช่องทาง ดีอย่างไร?

ตารางคอนเทนต์

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

ปัจจุบันมีช่องทางการขายใหม่ๆ เกิดขึ้นหลากหลายช่องทางให้พ่อค้าแม่ขายออนไลน์ได้เลือกเพื่อวางจำหน่ายสินค้า หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่า การกระจายสินค้าไปจัดจำหน่ายหลายๆ ช่องทาง ไม่แย่งลูกค้ากันหรอ? ในบทความนี้มีคำตอบ เราจะพูดถึงความหมายและประโยชน์ของระบบการขายของหลายช่องทาง (Multi-Channel Fulfillment) กัน 

Multi-Channel Fulfillment คืออะไร? 

Multi-channel fulfillment (MCF) คือระบบการขายหลากหลายช่องทาง เป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงลูกค้าผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียและช่องทางอีคอมเมิร์ซหลายๆ แห่ง ซึ่งมีไว้เพื่อรับออเดอร์สินค้า ขายสินค้า และติดต่อกับลูกค้านั่นเอง 

ระบบการขายหลากหลายช่องทางนั้นสะดวกสำหรับผู้ค้าที่มีเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ชึ่งระบบนี้จะช่วยให้คุณได้กระจายสินค้าและเพิ่มยอดขายในช่องทางต่างๆ และสามารถจัดส่งได้ทั่วโลก 

ทำไมต้องขายหลายช่องทาง? 

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซส่วนมากมีช่องทางการขายสินค้าที่หลากหลาย เพื่อให้ลูกค้าช้อปปิ้งออนไลน์ได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรียกว่าเป็นตัวพลิกเกมในตลาดอีคอมเมิร์ซเลยก็ว่าได้ ดังนั้นการขายสินค้าในแพลตฟอร์มที่หลากหลายมีประโยชน์ต่อทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ วันนี้ Locad Thailand ลิสต์ประโยชน์ของการขายสินค้าไปยังหลายๆ แพลตฟอร์มที่ทำงานไปพร้อมๆ กับการจัดการคลังสินค้า จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปชมกันเลย! 

ตัวเลือกในการจัดส่งที่หลากหลาย

เมื่อมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดเก็บ-แพ็ค-ส่งแบบครบวงจร จะช่วยให้แบรนด์ของคุณตัวเลือกการจัดส่งที่หลายหลาย เพราะบริษัท Fulfillment เหล่านี้มีเครือข่ายทางด้านการจัดส่งสินค้าหลายแห่ง ดังนั้นผู้ประกอบการจึงไม่จำเป็นต้องไปติดต่อหาคลังสินค้าแยกต่างหาก 

Multi-Channel Fulfillment in E-Commerce ค้าขายหลายช่องทาง ดีอย่างไร?

ยอดขายและรายได้เพิ่มขึ้น

ตลาดอีคอมเมิร์ซกลายเป็นเครื่องมือที่เหล่านักช้อปใช้ค้นหาสินค้า เปรียบเที่ยบราคา ศึกษาข้อมูลของสินค้าและรีวิว ซึ่งพวกใช้แพลตฟอร์มออนไลน์มากกว่าค้นหาข้อมูลต่างๆ และสั่งซื้อผ่าน Google และนี่ก็เป็นโอกาสในการเพิ่มยอดขายและรายได้ให้กับธุรกิจผ่านการกระจายสินค้าไปขายหลายๆ ช่องทาง เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายและมีอิสระที่จะเลือกแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่ตนเองสะดวกที่สุด 

เพิ่มการมองเห็นให้กับแบรนด์ 

การมีช่องทางการขายสินค้าที่หลากหลาย จะช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซที่มีการแข่งขันสูง และทำให้ผลิตภัณฑ์ของคุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น ในฐานะผู้ประกอบการ คุณควรวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้ปังและมีประสิทธิภาพ เพราะมันจะทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่น่าจดจำในสายตาของลูกค้า เกิดการบอกต่อ หรือ ซื้อซ้ำนั่นเอง 

ธุรกิจไปต่อได้ในสมรภูมิการแข่งขันของตลาดอีคอมเมิร์ซ

หากธุรกิจของคุณสามารถเชื่อต่อช่องทางการขายและการขนส่งที่หลากหลาย จะทำให้คุณรักษาลูกค้าได้ดีกว่าขายสินค้าผ่านช่องทางเดียว วิธีที่ดีที่สุดคือให้คุณวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของคู่แข่ง พยายามทำความเข้าใจช่องทางการขายที่พวกเขาใช้กัน และนี่ก็อาจจะเป็นโอกาสที่จะได้ส่วงแบ่งทางการตลาด (Market share) นั่นเอง

ปรับปรุงประสบการณ์การช้อปของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น 

เราขอเสนอ 4 สิ่งที่จะสร้างความประทับใจในการซื้อสินค้าให้กับลูกค้า มีดังนี้ 

  1. มีช่วงทางการขายสินค้าหลายๆ ช่องทาง 
  2. หมั่นปรับปรุงแพลตฟอร์มให้เข้าถึงง่าย ใช้งานง่ายอยู่เสมอ 
  3. มีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายให้ลูกค้าได้เลือกตามความสะดวก 
  4. มีตัวเลือกในการจัดส่งที่หลากหลายให้กับลูกค้า

จัดการคลังสินค้าได้อย่างคล่องตัว

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะใช้ระบบการขายสินค้าหลายๆ ช่องทาง คุณจะต้องวางแผนการจัดการคลังสินค้าเพิ่มเติมในอนาคต เพราะถ้าหากธุรกิจขยายใหญ่ขึ้น คำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้น คุณก็จะต้องปรับเปลี่ยนระบบการจัดการคลังสินค้าไปตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การมีผู้ให้บริการคลังสินค้าออนไลน์นั้นเป็นทางออกที่น่าสนใจไม่น้อย คุณจะไม่ต้องมามัวกังวเรื่องการจัดเก็บสินค้า จัดการออเดอร์ที่ล้นมือ แพ็คและจัดส่งสินค้า นอกจากนั้น การมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลยังช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาสต๊อกขาดและสินค้าค้างสต็อก และขจัดความสับสนของรายการสินค้าถึงแม้ว่าคุณจะขายสินค้ามากกว่า 1 แพลตฟอร์มก็ตาม 

การจัดการสินค้าเพื่อขายหลายๆ ช่องทาง 

ระบบจัดการคลังสินค้าแบบหลายช่องทางช่วยให้คุณจัดการออเดอร์ที่เข้ามาจากหลายๆ ช่องทางการขายได้ คุณสามารถลงเบียนได้ง่ายๆ ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

  • กระจายสินค้าไปยังศูนย์บริการคลังสินค้าหลายๆ แห่ง 
  • ลูกค้าจะส่งคำสั่งซื้อเข้ามาในระบบ 
  • ศูนย์บริการคลังสินค้าและจัดส่งจะจัดการคำสั่งซื้อทั้งหมดภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ 1 วันทำการในกรณี

เร่งด่วนมาก (Priority) 2 วันทำการในกรณีเร่งด่วน (Expedited) และ 3-5 วันทำการตามมาตรฐาน (Standard) ของการจัดเก็บ-แพ็ค-ส่งแบบครบวงจร นับตั้งแต่วันที่จัดส่งคำสั่งซื้อ

Multi-Channel Fulfillment in E-Commerce ค้าขายหลายช่องทาง ดีอย่างไร?

คำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับระบบการขายหลายช่วงทาง (MCF) ผู้ให้บริการคลังสินค้า

และโลจิสติกส์ (3PL) และศูนย์บริการจัดส่งสินค้า 

การคำนวณต้นทุนในการจัดการคลังสินค้าและจัดส่งนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ค้า เพราะจะช่วยให้คุณตัดสินค้าได้ดีขึ้นว่าจะคัดแยกสินค้าเพื่อจัดเก็บในแต่ละศูนย์บริการคลังสินค้าอย่างไร ซึ่งในส่วนนี้เราทำเพื่อลดต้นทุนนั่นเอง ดังนั้นผู้ค้าจะต้องทำความเข้าใจเรื่องค่าเฉลี่ยต่างๆ ต้นทุนของแต่ละรายการ พร้อมวางแผนงบประมาณและการค่าบริการจากลูกค้าอย่างรอบคอบ ศูนย์บริการคลังสินค้าส่วนใหญ่ก็จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมซึ่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละที่อีกแหละ การบริการก็จะแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดของคลังสินค้า ปริมาณของคำสั่งซื้อ ขนาดและน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ สถานที่ และปัจจัยอื่นๆ ดังนั้นผู้ประกอบการอาจจะต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเพื่อเลือกผู้ให้บริการด้านคลังสินค้าที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเองมากที่สุด 

ค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ใหห้บริการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ (3PL) 

โดยทั่วไป บริษัท 3PL จะมีโครงสร้างของค่าธรรมเนียมที่ซับซ้อน ต้นทุนในการดำเนินการอาจจะแตกต่างจากการบริการในรูปแบบอื่น ดังนั้นผู้ค้าต้องยืนยันค่าใช้จ่ายล่วงหน้า

ผู้ค้าควรยืนยันค่าธรรมเนียมต่อไปนี้ก่อนที่จะได้รับใบแจ้งหนี้ ซึ่งขั้นตอนมีดังต่อไปนี้ 

  1. ติดตั้ง 
  2. จัดเก็บสินค้าคงคลังและจัดการคลังสินค้า 
  3. รับสินค้าเข้ามาในคลัง 
  4. เลือกวัสดุที่เหมาะสมสำหรับแพ็คสินค้า 
  5. ติดฉลากบนพัศดุ 
  6. ทำการแพ็คสินค้าเพื่อจัดส่ง 
  7. เริ่มจัดส่ง
  8. คืนสินค้า 
  9. การจัดการบัญชี 

ค่าธรรมเนียมของผู้ให้บริการลังสินค้าและจัดส่ง (3PL Fulfillment) 

ค่าติดตั้ง 

เป็นการเรียกเก็บธรรมเนียมเพียงครั้งเดียวเท่า ซึ่งค่าใช้จ่ายจะควบคุมไปถึงซอฟเเวร์ ต้นทุนทั้งหมดของการดำเนินของ 3PL

ค่าธรรมเนียมในการรับสินค้าเข้ามา

การรับสินค้าเข้ามาในระบบ 3PL จากผู้ผลิตนั้นมีค่าใช้จ่าย ซึ่งอัตราค่าธรรมเนียจะแตกต่างกันออกไป หลายๆ ครั้งผู้ค้ามักจะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นรายชั่วโมง กรณีนี้อาจจะเป็นเพราะบริษัทผู้ให้บริการนั้นมีจำนวนพนักงานที่จะมาช่วยคุณเก็บ-แพ็ค-ส่งให้กับคุณค่อนข้างน้อย และค่าบริการก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนคำสั่งซื้อที่อยู่บนที่แท่นวางสินค้าใน 1 พาแลท 

จัดเก็บสินค้าคงคลัง และ จัดการคลังสินค้า 

ผู้ให้บริการ 3PLs ส่วนใหญ่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ค้าตามปริมาณพื้นที่ที่ใช้ พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ คิดเงินตามแท่นขนาดของวางสินค้าหรือพาเลทนั่นเอง ซึ่งหน่วยการวัดก็จะออกมาเป็นตารางเมตร ตารางฟุต หรือจำนวนพาเลท

จัดหาภาชนะบรรจุและแพ็คพัสดุเพื่อจัดส่ง 

ขั้นตอนการแพ็คพัสดุเพื่อจัดส่งก็มีค่าธรรมเนียมกล่องและภาชนะบรรจุเช่นกัน ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอาจแตกต่างกันไปตามขนาดและการปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการของผู้ค้านั่นเอง 

ใบส่งสินค้า หรือ ใบส่งของ

ต้นทุนการดำเนินการจะแบ่งออกเป็น 2 ค่าธรรมเนียม ได้แค่ ค่าจัดเก็บสินค้า (Storage Fees) และ ค่าจัดการคำสั่งซื้อ แพ็คและจัดส่ง (Fulfillment Fees) ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมทั้งเหล่านี้กันเถอะ 

ค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บสินค้า

ในศูนย์บริการคลังสินค้าคิดค่าธรรมเนียมการจัดเก็บสินค้าเป็นลูกบาศก์ฟุตต่อเดือน และยังมีค่าจัดเก็บสินค้าคงคลังที่มีอยู่แล้วอีกด้วย แต่ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บเพิ่มนี้ก็ยังไม่โหดเท่าค่าธรรมเนียม Fulfillment By Amazon (FBA) ที่ให้ Amazon ดูแลเรื่องการเก็บและกระจายสินค้า 

ค่าใช้จ่ายของระบบ Fulfillment 

ค่าธรรมเนียมการดำเนินการที่รวมทุกอย่าง ครอบคลุมทุกด้านแล้ว ตั้งแต่เก็บ จำการคำสั่งซื้อ แพ็ค และจัดส่งไปยังลูกค้าปลายทาง 

Multi-Channel Fulfillment in E-Commerce ค้าขายหลายช่องทาง ดีอย่างไร?

การทำงานกับ Multi-Channel Fulfillment

Multi-channel fulfillment ทำงานคล้ายกับผู้ให้บริการด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ (3PL) ซึ่งจะค่อนข้างตรงไปตรงมาในการช่วยธุรกิจอีคอมเมิร์ซจัดเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าครบวงจร 

จัดเก็บสินค้าไว้ที่ศูนย์บริการ Fulfillment 

ปัจจุบันศูนย์บริการ Multi-channel fulfillment มีคลังสินค้าหลายแห่งทั่วโลกผู้ค้าสามารถส่งสินค้าไปยังผู้ให้บริการจัดการคลังสินค้าแบบหลายช่องทางได้ และพวกเขาจะเสนอแนวทางการจัดเก็บสินค้าว่าสินค้าตัวไหนต้องจัดเก็บในคลังใด

ศูนย์บริการ Fulfillment เป็นผู้รับสินค้าเข้ามาในระบบ

เมื่อผู้ค้าได้ลิงค์เว็บไซต์ของตนเองกับระบบ Fulfillment หลากหลายช่องทาง คำสั่งซื้อทั้งหมดก็จะไปรวมไว้ที่ผู้ให้บริการคลังสินค้า

จัดการคำสั่งซื้อโดยการเก็บ-แพ็ค-ส่ง 

ศูนย์จัดการออเดอร์หลายๆ ช่วงทางจะดำเนินการจัดเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าที่ผ้าค้าได้เลือกเอาไว้ 

มีช่องทางการจัดส่งที่หลากหลาย

แนะนำให้มีตัวเลือกในการจัดส่งที่หลากหลายให้กับลูกค้า เมื่อมีออเดอร์เข้ามา ระบบจะส่งข้อมูลไปที่ศูนย์บริการคลังสินค้าและจัดส่งเพื่อทำการเก็บ-แพ็ค-ส่ง 

หลายๆ ธุรกิจมี 3 ตัวเลือกในการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าดังนี้ 

  • Next-day shipping พัสดุจะถูกจัดส่งในวันถัดไป
  • Two-day shipping  พัสดุจะถูกจัดส่งภายใน 2 วัน 
  • Standard shipping จัดส่งด้วยวิธีธรรมดา คำนวณตามน้ำหนักสินค้าและวิธีการจัดส่ง 

ด้วยตัวเลือกการจัดส่งที่ได้มาตรฐาน ลูกจะได้รับสินค้าภายใน 1 สัปดาห์หลังจากทำการสั่งซื้อตามที่คาดหวังเอาไว้ ซึ่งใช้เวลาหนึ่งวันในการจัดการออเดอร์และจัดส่งในวันที่ 3-5 

การส่งสินค้าคือในระบบ Multi-Channel Fulfillment 

หากผู้ค้ามี Multi-Channel Fulfillment เป็นเพื่อนคู่คิดด้านการจัดการสินค้าและโลจิสติกส์ เมื่อลูกค้าส่งคืนสินค้า คุณจะเลือกได้ว่าจะให้สินค้าส่งกลับไปที่ธุรกิจของคุณโดยตรงหรือที่ศูนย์บริการ บริษัทจัดการสินค้าในรูปแบบนี้ จะช่วยคุณแพ็คและสต๊อกสินค้าไว้เพื่อขาย อีกทั้งยังช่วยหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม หลังจากนำสินค้าออกจากคลังอีกด้วย แต่ถ้าสินค้าของคุณเก็บได้ไม่นานหรือเน่าเสียง่าย แนะนำให้ลูกค้าส่งสินค้ากลับมาที่คุณโดยตรงจะดีกว่า

 

การยกเลิกคำสั่งซื้อในระบบ Multi-Channel Fulfillment

หลายๆ  ศูนย์บริการจัดการสินค้าที่ดำเนินการให้ธุรกิจที่มีหลากหลายช่องทางอนุญาตให้ลูกค้ากดยกเลิกสินค้าได้ตามต้องการ ลูกค้าสามารถเข้าไปที่หมวด ‘manage orders’ หรือ ‘การจัดการคำสั่งซื้อ’และกดยกเลิกคำสั่งซื้อภายในไม่กี่นาทีได้ทันทีหลังจากกดสั่งซื้อสินค้าแล้ว 

International Multi-Channel Fulfillment Orders

การจัดการคำสั่งซื้อหลายๆ แพลตฟอร์มระหว่างประเทศ

หากต้องการส่งสินค้าระหว่างประเทศ แนะนำให้มองหาศูนย์บริการ  Multi-Channel Fulfillment ระหว่างประเทศไว้ซักแห่งหนึ่งเพื่อให้การจัดการออเดอร์และจัดส่งของคุณเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น 

อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตามหลายช่องทางระหว่างประเทศนั้นค่อนข้างจำกัด เนื่องจากการจัดส่งระหว่างประเทศมักจะทำให้เวลาจัดส่งนานขึ้น ดังนั้น หากธุรกิจของคุณต้องพึ่งพาลูกค้าต่างประเทศและขายสินค้าอื่นนอกเหนือจากผลิตภัณฑ์สื่อ MCF ก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดี

Omnichannel Fulfillment vs. Multi-Channel Fulfillment

Omnichannel Fulfillment

เป็นรูปแบบของการจัดการสินค้าและคำสั่งซื้อแบบที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา ทำหน้าที่ดูแลคำสั่งซื้อในทุกๆ แพลตฟอร์มที่คุณมี ซึ่งจะโฟกัสไปที่ประสบการณ์การช้อปปิ้งของลูกค้า กระจายสินค้าไปขายในหลายๆ ช่องทางเพื่อความสะดวกสบาย ผู้ค้าสามารถเสนอทางเลือกในการเก็บ แพ็ค ส่ง และคืนสินค้า ได้กว้างขึ้น ยืดหยุ่น และสะดวกสบาย 

Multi-Channel Fulfillment

การจัดการคลังสินค้าออนไลน์ในรูปแบบนี้จะโฟกัสไปที่สินค้า คัดแยกสินค้าไว้ตามแต่ละช่องทางการขาย สินค้าจะเป็นศูนย์กลางของประสบการณ์การช้อปปิ้ง ซึ่งลูกค้าจะสามารถซื้อสินค้าได้ในช่องทางเดียวเท่านั้น  

ข้อดีและข้อเสียของ Multi-Channel Fulfillment 

  • ฟังก์ชัน Fulfillment ในรูปแบบนี้ไม่สามารถใช้ได้กับทุกตลาด
  • ศูนย์บริการบางแห่งมีข้อจำกัดที่เข้มงวดสำหรับปัจจัยบางอย่างเช่น สารที่เน่าเสียง่าย ติดไฟได้ แบตเตอรี่ หรือผลิตภัณฑ์สเปรย์
  • ศูนย์บริการ multi-channel fulfillment ส่วนมากไม่รองรับเรื่องการคืนสินค้า 
  • ส่วนมากมีค่าใช้จ่ายที่แพงแต่ครอบคลุมการบริการได้น้อย 
  • จำกัดตัวเลือกในการจัดส่งให้กับผู้ค้าและลูกค้า

Auto Multi-Channel Fulfillment 

ผู้ค้าสามารถตั้งค่าระบบการจัดการสินค้าเพื่อจำหน่ายในหลายๆ ช่องทางแบบอัตโนมัติได้ และซิงค์แพ็คเกจเดียวและรายการต่างๆ ได้อีกด้วย เรามาดูคุณลักษณะที่โดดเด่นของ Auto Multi-Channel Fulfillment กันเถอะ 

  •  จัดการคำสั่งซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ 
  • ซิงค์คำสั่งซื้อระหว่างร้านค้าของคุณ ระบบจัดการคลังสินค้าและช่องทางการขายอื่นๆ 
  •  ซิงค์สินค้าในคลัง
  • จัดกลุ่มสินค้าให้
  •  มีตัวเลือกในการจัดส่ง 
  • มี Customer support ช่วยเหลือลูกค้าเมื่อประสบปัญหา

บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Fulfillment

แสกนปุ๊บ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลย!

คุณกำลังมองหาบริการคลังสินค้าเพื่อธุรกิจอยู่ใช่ไหม?

Locad นำเสนอบริการที่จะมาเติมเต็มธุรกิจอีคอมเมิร์ซระดับพรีเมียมสำหรับธุรกิจทุกขนาด เชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์กับผู้เชี่ยวชาญด้านคลังสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ เพื่อลดต้นทุนการจัดส่ง เพิ่มเวลาขนส่ง และปรับปรุงความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าได้แล้ววันนี้!

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!

Locad raises $9 million in Pre-Series B funding round for smart digital logistics and global expansion
Free Locad 2023 Calendar!