คู่มือ Fulfillment สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ: ความหมาย ขั้นตอน และสิ่งอำนวยความสะดวก

ตารางคอนเทนต์

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

Fulfillment ที่โดดเด่นเติบโตไปพร้อมกับตลาดอีคอมเมิร์ซ นี่คือคู่มือ Fulfillment บนโลกอีคอมเมิร์ซและความสำคัญของระบบ Fulfillment ที่มีต่อธุรกิจ

ร้านค้าอีคอมเมิร์ซได้เข้ามาแทนที่ร้านค้าปลีกทั่วไปอย่างรวดเร็ว ทั้งยังส่งผลต่อระบบ Fulfillment และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคให้หันมาจับจ่ายบนโลกออนไลน์กันมากขึ้น ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซขยายตัวขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต จนข้ามไปถึงการซื้อของผ่านมาร์เก็ตเพลสต่าง ๆ ด้วยมูลค่าประมาณการจำนวน 120 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเติบโตขยายใหญ่ และถือว่าเป็นตลาดหลักของโลกในด้านอีคอมเมิร์ซอีกด้วย

นั่นทำให้เราตั้งคำถามว่า อะไรคือกุญแจหลักในการทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซประสบความสำเร็จ?

ในโลกที่หมุนอย่างรวดเร็ว ธุรกิจออนไลน์จำเป็นต้องจัดการ Fulfillment ให้มีประสิทธิภาพเพื่อนำหน้าคู่แข่งของพวกเขา และเพื่อตอบสนองความคาดหวังในด้านการจัดส่งที่เร็วให้กับลูกค้าด้วย ในปี 2019 ขณะที่เอเชียแปซิฟิกได้เริ่มควบคุมตลาดผ่านการจัดส่งภายในวันเดียว (Same-day delivery) ตลาดธุรกิจจัดส่งด่วนในภูมิภาคคาดประมาณว่าถึง 171,477.25 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี 2027 ด้วยอัตราเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้น (CAGR) 7.3% ระหว่างปี 2020 ถึง 2027

ในขณะที่อีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างต่อเนื่อง มันมีความสำคัญและคุ้มค่าอย่างยิ่งที่จะทำความเข้าใจว่าอะไรคือตัวขับเคลื่อนให้ธุรกิจที่ทำผ่านเว็บไซต์ประสบความสำเร็จ เจาะลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Fulfillment และหน้าที่ของระบบ Fulfillment ว่าทำไมถึงกลายมาเป็นผู้พลิกเกมสำหรับร้านค้าออนไลน์นี้

คู่มือ Fulfillment บนโลกอีคอมเมิร์ซ: ความหมาย, ขั้นตอน, สิ่งอำนวยความสะดวก

Fulfillment คืออะไร?

Fulfillment คือ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ด้วยความหมายที่ตรงตัวของ Fulfillment แล้ว Fulfillment หมายถึงขั้นตอนการเตรียมออเดอร์และจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้า สำหรับธุรกิจออนไลน์และธุรกิจอีคอมเมิร์ซแล้ว บริการ Fulfillment คือทุกขั้นตอนหลังจากที่ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าจากร้านค้านั้น ๆ เช่น การหยิบ การแพ็ค การส่งของออกจากคลัง และการส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้า ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนของการทำ Fulfillment

Fulfillment สำหรับอีคอมเมิร์ซ คืออะไร?

Fulfillment สำหรับอีคอมเมิร์ซ หมายถึง การหยิบ การแพ็ค และส่งออกสินค้าเมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าผ่านการช้อปออนไลน์ อย่างไรก็ตาม การทำ Fulfillment สำหรับอีคอมเมิร์ซมีรายละเอียดที่มากกว่านั้น เพราะมันเป็นการนำระบบเข้ามาประยุกต์ใช้ และนำมาจัดการออเดอร์ จนสินค้าถูกนำส่งไปยังหน้าบ้านลูกค้าอย่างปลอดภัย โดยหัวข้อดังกล่าวต่อไปนี้ คือขั้นตอนการทำ Fulfillment ที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ขั้นตอนการทำ Fulfillment

ขั้นตอนการทำ Fulfillment อาจทำในศูนย์กระจายสินค้าที่เดียวหรือผ่านหลายที่ ซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วย การจัดการสินค้าในคลัง การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การดำเนินการตามคำสั่งซื้อของลูกค้า การควบคุมคุณภาพ และการสนับสนุนลูกค้า เป็นต้น

1.การนำสินค้าเข้าระบบคลัง

ขั้นตอนแรกของ Fulfillment คือ การนำสินค้าเข้าระบบคลัง จัดสต๊อก และประเมินเงื่อนไขการดูแลของสินค้า ทั้งหมดนี้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของจำนวน และคุณภาพของสินค้า สินค้าอาจถูกส่งมาจากคลังสินค้าของบริษัทเจ้าของแบรนด์ จากบริษัทโลจิสติกส์ภายนอก หรือจากบริษัทที่มีแหล่งที่มาจากภายในและนอกองค์กร การมีบาร์โค้ด หรือ SKU บนสินค้าก่อนที่จะนำสินค้าเข้าคลังช่วยให้การจัดเก็บเข้าระบบง่ายขึ้น และยังช่วยให้การค้นหาสินค้าง่ายขึ้นด้วย

2. การจัดเก็บสินค้าเข้าคลัง

ทันทีที่สินค้าเดินทางมาถึงคลังสินค้า สินค้าเหล่านี้อาจถูกส่งออกไปทันที หรืออาจถูกเก็บไว้ในคลัง ทั้งในระยะสั้นหรือระยะยาว แทนที่จะเก็บสินค้าล็อตใหม่เพื่อวางขายในอนาคต สินค้ายังถูกจัดเก็บในระยะยาวเพื่อการขายในรอบปัจจุบันอีกด้วย ดังนั้น การจัดเรียง แบ่งหมวดหมู่ดัชนี และการติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้า ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าจะถูกส่งออกไปทันทีอย่างไม่ล่าช้าเมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้า เราควรเตรียมสินค้าให้พร้อมอยู่เสมอ

3. การรับออเดอร์คำสั่งซื้อ

ขั้นตอนต่อมาของ Fulfillment คือการหยิบสินค้าตามออเดอร์ การนำสินค้าไปใส่แพ็คให้เรียบร้อย และเมื่อสินค้าผ่านการตรวจสอบความเสียหาย สินค้าที่ได้รับการแพ็คจะถูกนำไปรวมกันเพื่อเตรียมจัดส่งออกไปจากคลัง การจัดการออเดอร์นี้มีขั้นตอนที่พิถีพิถัน และมีเอกสารข้อมูลของสินค้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ใบกำกับหีบห่อ เอกสารข้อมูลขนาดน้ำหนักของสินค้า เป็นต้น เพื่อแบ่งแยกการขนส่งตามความเร็วและค่าจัดส่ง

4. การส่งสินค้าออกจากคลัง

เมื่อสินค้าพร้อมแล้ว สินค้าจะถูกส่งต่อไปยังบริษัทขนส่งเพื่อทำการจัดส่งต่อไปลูกค้า บริษัทขนส่งจะเป็นผู้กำหนดวิธีการจัดส่งโดยพิจารณาจากน้ำหนัก ขนาดของสินค้า และข้อกำหนดเฉพาะของสินค้านั้นๆ นอกจากนี้ บริษัทขนส่งส่วนใหญ่จะทำตามข้อกำหนดต่าง ๆ สำหรับบรรจุภัณฑ์ และคำนวณพื้นที่ที่ใช้ในการจัดส่งเพื่อทำกำไร เมื่อทุกอย่างพร้อม สินค้าจะถูกเปลี่ยนขึ้นสถานะเป็นถูกส่งออกแล้ว

5. การจัดการการเปลี่ยนและคืนสินค้า

เนื่องจากผู้ซื้อคาดหวังการเปลี่ยนและคืนสินค้าที่สะดวกรวดเร็ว ขั้นตอนสุดท้ายของ Fulfillment นี้จึงต้องเกี่ยวข้องกับการบริการลูกค้าและลูกค้าสัมพันธ์ เพื่อจัดการกับคำติชม การคืนสินค้า และการเปลี่ยนสินค้า อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนนี้ต้องมีการตรวจคุณภาพสินค้าอย่างเข้มงวด เพราะการเปลี่ยนคืนสินค้าเป็นการนำสินค้ากลับไปยังคลังใหม่หากสินค้าไม่มีตำหนิหรือชำรุด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพของสินค้า สินค้าอาจถูกนำเข้ากลับสต๊อก (Restock) ถูกรีไซเคิล หรือถูกส่งคืนไปยังผู้ผลิตเพื่อรับเงินคืนได้

Fulfillment สำหรับ B2B

คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า การทำ Fulfillment ระหว่างส่งให้ผู้บริโภคโดยตรงและร้านค้าปลีก มีความแตกต่างที่สำคัญอะไรบ้าง? ในเมื่อการจัดการล้วนแล้วแต่ใช้เทคนิคพื้นฐาน ทั้งสองนี้ไม่น่าจะแตกต่างจากกันใช่หรือไม่?

ตรงนี้เอง คือที่มาของการทำ Fulfillment แบบ B2B (Business-to-business) และแบบ B2C (Business-to-consimer) ในขณะที่แต่ละประเภทมีการขนส่งและนำเข้าส่งออกจากคลังที่ต่างกัน ฉะนั้น Fulfillment ของทั้งสองประเภทมีขั้นตอนและวิธีการที่แตกต่างกันด้วย ทั้งนี้ ยังมี C2B (Consumer-to-business) และ C2C (Consumer-to-consumer) ทั้งหมดนี้ที่กล่าวมา เราเรียกว่า ประเภทของอีคอมเมิร์ซ

ในแบบ B2B สินค้าจะถูกส่งไปยังบริษัทและร้านค้าโดยตรง แทนที่สินค้าจะถูกส่งไปยังมือผู้บริโภค B2B Fulfillment มีหน้าที่ช่วยให้ธุรกิจจัดเรียงสต๊อกสินค้าสำหรับการนำมาขายสู่ลูกค้าทั่วไปผ่านช่องทางการขายหลากหลายช่องทาง ธุรกิจ B2B Fulfillment เน้นการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าที่ทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และกับลูกค้าที่เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ที่ทำสัญญาเป็นปี ทั้งสองแบบนี้ มักจะใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง 2 องค์กร (EDI) ในการทำงานเพื่อลดข้อผิดพลาดและความล่าช้าในการทำงาน

B2B Fulfillment ปกติแล้วใช้กับสินค้าที่มาเป็นกองใหญ่ ไม่เหมือน B2C ที่จะมีจำนวนสินค้าน้อยกว่า ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว Fulfillment การขนส่งโลจิสติกส์สำหรับ B2B ค่อนข้างมีความซ้ำซ้อนเนื่องจากขนาดและจำนวนสินค้าที่มาก มักขนส่งแบบบรรทุก ยกเว้นว่าออเดอร์นั้นมีขนาดสินค้าที่เล็กสามารถใส่กล่องได้ การทำ Fulfillment แบบ B2B ต้องทำตามกฎต่าง ๆ อย่างเข้มงวด เช่น กฎภาษีนำเข้า และกฎสำหรับสินค้าต้องห้าม/ต้องจำกัด เพราะสินค้าส่วนใหญ่มักมีน้ำหนักที่มาก และอาจมีส่วนประกอบของวัสดุตั้งต้นที่เป็นอันตราย

ต้นทุนการส่งและความรวดเร็วสำหรับสินค้าแบบ B2B เป็นปัจจัยที่สำคัญในการพิจารณา เนื่องจากการส่งนั้น มีขนาดที่ใหญ่ กินพื้นที่ และมาเป็นจำนวนมาก การจัดการกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่นี้ มีความหมายว่า สินค้ามีต้นทุนการจัดส่งที่มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ และต้องอาศัยความช่ำชองในการดูแลจัดการ และใช้อุปกรณ์เฉพาะทางอีกด้วย

นอกจากต้นทุนการจัดส่งแล้ว เวลาการจัดส่งสำหรับ B2B ยังเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน แม้ว่าจะไม่มีการระบุว่าต้องจัดส่งภายใน 2 วัน ซึ่งเป็นเวลาจัดส่งที่เป็นมาตรฐานและสมเหตุสมผล แต่การการันตีเวลาจัดส่งถือว่าเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้าร้านย่อยและหลายธุรกิจที่พึ่งพาการจัดส่งแบบ B2B

คู่มือ Fulfillment บนโลกอีคอมเมิร์ซ: ความหมาย, ขั้นตอน, สิ่งอำนวยความสะดวก

คลังสินค้าสำหรับอีคอมเมิร์ซ และการติดตามข้อมูลสินค้าคงคลัง

การบริการที่เป็นหัวใจสำคัญของระบบ Fulfillment คือ คลังสินค้าและการจัดการบริหารสินค้าคงคลัง ด้วยจำนวนธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจว่าสต๊อกจัดเก็บที่ไหน และการจัดการโดยรวมทำงานกันเช่นไร

การจัดคลังสินค้า

จัดว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการทำคลังสินค้าเพื่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นขั้นตอนในการจัดเรียงและเก็บสินค้าก่อนที่จะถูกวางขายบนตลาดออนไลน์ การจัดคลังสินค้าต้องมีการจัดเก็บอย่างปลอดภัย สามารถตรวจสอบที่จัดวางของสินค้า ระยะเวลาที่จัดเก็บ และจำนวนในคลังได้

ในขณะที่หลาย ๆ ธุรกิจเลือกที่จะใช้ Fulfillment แบบเดิม ซึ่งโดยปกติแล้ว Fulfillment แบบเดิมไม่สามารถรองรับธุรกิจร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่มีความหลากหลายของสินค้าได้ ดังนั้น การเลือกคลังสินค้าที่ให้บริการ Fulfillment ควรเลือกที่ที่ทันสมัย สามารถรองรับการขยายของธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านพื้นที่ ความต้องการของสินค้าที่ผันผวน สิ่งอำนวยความสะดวก ประเภท และปริมาณของสินค้า

การติดตามข้อมูลสินค้าคงคลัง

แหล่งที่มา การจัดเก็บ การติดตามสินค้า และการส่ง ทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าในคลังและการติดตามข้อมูลสินค้าสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซขอคุณประสบความสำเร็จ ได้แก่ การจัดการสินค้าในคลัง การรู้ถึงจำนวนสินค้าที่มี การตั้งราคา สถานที่ในการจัดเก็บ และการกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บ

การทำความเข้าใจศึกษาการติดตามสินค้าคงคลังเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับธุรกิจทุกขนาด เพราะการเข้าใจอย่างถ่องแท้ช่วยลดการจมเงินกับสินค้าค้างในคลัง ป้องกันการเสียเปล่า ลดปัญหาสินค้าขาดแคลนไม่เพียงพอ และช่วยยังช่วยเพิ่มยอดขาย ยิ่งไปกว่านั้น การติดตามข้อมูลอย่างเรียลไทม์และอัปเดตส่งเสริมช่วยให้การจ่ายออกของสินค้าไปยังลูกค้าดีขึ้น ซึ่งช่วยสร้างความพึงพอใจและความจงรักภักดีที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์

คู่มือ Dropshipping Fulfillment E-commerce Order Management Processes | Locad Blog

คู่มือ Dropshipping Fulfillment

Dropshipping เป็นหนึ่งในรูปแบบธุรกิจการค้าปลีกที่เหมาะสำหรับร้านค้าอีคอมเมิร์ซขนาดเล็ก และที่กำลังจะเติบโต ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับผู้ขายที่ได้รับคำสั่งซื้อของลูกค้าโดยไม่ต้องมีสต็อกของไว้ คล้ายกับการจัดการซัพพลายเชน ซึ่งผู้ขายจะต้องส่งรายละเอียดคำสั่งซื้อ และรายละเอียดการจัดส่งไปยังผู้ค้าส่ง ผู้ผลิต คลังสินค้า หรือผู้ค้าปลีกที่ดูแลการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าอีกทีหนึ่ง ในส่วนนี้ผู้ค้าปลีกจะดูแลเฉพาะฝั่งการตลาด ไม่สามารถควบคุมการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ คุณภาพ การจัดการสินค้าคงคลัง และแม้แต่การจัดส่ง ทั้งหมดนี้อยู่ในมือของ Dropshipper และเป็นตัวเลือกที่ทำกำไรได้สำหรับผู้มาใหม่ในอีคอมเมิร์ซ เพราะพวกเขาลดต้นทุนค่าบำรุงรักษา และการดำเนินงานที่จำเป็นในการบริหารคลังสินค้า ธุรกิจ  Dropshipping คืออะไร  ในอีคอมเมิร์ซ โมเดลธุรกิจดรอปชิปปิ้งเป็นธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน สามารถใช้ร่วมกับรูปแบบธุรกิจการจัดการคลังสินค้าและจัดส่ง…

โลจิสติกส์สำหรับอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจร มีความสำคัญต่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซของคุณอย่างไร?

ด้วยเหตุการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมาซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปห่วงโซ่อุปทานครั้งใหญ่ จึงทำให้บริษัทโลจิสติกส์อีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรต้องกลับมาคิดทบทวนธุรกิจของตนกันใหม่ โลจิสติกส์ครบวงจรมีลำดับตั้งแต่การจัดคลังสินค้า การเรียงจัดวางสินค้า และการจัดการออเดอร์จนส่งไปยังลูกค้า ทั้งหมดนี้ผู้ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซต้องนำกลับมาคิดกลยุทธ์ของตนเองใหม่เพื่อให้แตกต่างจากคู่แข่ง

โครงสร้างพื้นฐานของโลจิสติกส์สำหรับอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรเป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องคอยปรับพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า และเพื่อยกคุณภาพการเชื่อมต่อกันอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเข้าใจถึงความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานของโลจิสติกส์ที่มีต่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เราได้สรุป 6 ข้อดีของโลจิสติกส์สำหรับอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรตามด้านล่างนี้

โลจิสติกส์แบบครบวงจรช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถควบคุม Fulfillment ของธุรกิจตนเองได้ ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบตั้งต้น จนถึงช่วยจัดส่ง และการดูแลหลังการขาย

ด้วยโลจิสติกส์แบบครบวงจรช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สร้างความสัมพันธ์อย่างแข็งแกร่งขึ้นกับซัพพลายเออร์ของพวกเขา และสามารถหาแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งยังช่วยเร่งการหมุนเวียนของสินค้า และเวลาในการลงตลาดอีกด้วย

ธุรกิจสามารถตีตัวออกห่างนำคู่แข่งได้เนื่องจากประสบการณ์การจัดส่งที่ดีกว่า ลูกค้าสัมผัสบริการที่ดีกว่าตรงตามความคาดหวังของลูกค้า ซึ่งช่วยสร้างความภักดีที่ลูกค้ามีต่อร้านเรา

เนื่องจากการบริการที่ครบวงจร เจ้าของธุรกิจสามารถลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าในคลัง และลดต้นทุนการขนส่ง ทำให้สามารถนำเงินที่เหลือไปลงทุนเพื่อรองรับด้านอื่น ๆ ของธุรกิจ

การบริการที่ครบวงจรช่วยลดบรรเทาความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ความล่าช้าในการจัดส่ง หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน โดยไม่ส่งผลกระทบเสียหายแก่ธุรกิจ

ที่สำคัญที่สุด การใช้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจรที่ช่วยจัดการห่วงโซ่อุปทานนี้ ช่วยให้คุณได้ข้อมูลของตลาด อุตสาหกรรม และลูกค้าในเชิงลึกขึ้น ช่วยให้คุณสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้

บริษัทให้บริการ Fulfillment สำหรับอีคอมเมิร์ซทำหน้าที่อะไร?

โดยปกติแล้ว ร้านค้าอีคอมเมิร์ซมักเลือกใช้บริษัทโลจิสติกส์ขนส่งจากภายนอกหรือบริษัทที่ให้บริการ Fulfillment สำหรับการเป็นพาร์ทเนอร์ในการจัดการ Fulfillment สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ให้บริการ Fulfillment จะมีการบริการที่ครบวงจรมากกว่าในด้านการสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อลูกค้า เพราะมีระบบที่รองรับพร้อมให้บริการในการขาย ตั้งแต่การทำคลังสินค้า การหยิบ การแพ็ค และการส่ง รวมถึงการคืนสินค้าและจัดการคำติชม

บริษัทที่ให้บริการ Fulfillment เหล่านี้ มีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าไปข้างหน้าอย่างไม่สะดุด

การใช้บริการคลังสินค้าและขนส่งจากภายนอกช่วยลดภาระปัญหาการหาพื้นที่ว่างในการจัดเก็บสินค้า และยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมจัดการสินค้าในคลัง ช่วยให้การจัดส่งกระจายสินค้าออกไปได้อย่างง่ายขึ้น บริษัทโลจิสติกส์ขนส่งเหล่านี้ยังให้บริการที่ครอบคลุม พร้อมด้วยประสบการณ์ที่ชำนาญ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจออนไลน์ขยายใหญ่เติบโต และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ถ้าคิดโดยรวมแล้ว ยังสามารถช่วยลดต้นทุน พร้อมยังรักษาประสิทธิภาพไว้อีกด้วย

คู่มือ Fulfillment บนโลกอีคอมเมิร์ซ: ความหมาย, ขั้นตอน, สิ่งอำนวยความสะดวก

ข้อดีของการทำ Fulfillment สำหรับอีคอมเมิร์ซภายในองค์กร

ในขณะที่การใช้บริการ Fulfillment จากบริษัทภายนอกมีข้อดีต่าง ๆ มากมายและเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี การทำ Fulfillment ด้วยตนเองก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน โดยเฉพาะกับร้านค้าอีคอมเมิร์ซธุรกิจที่มีขนาดเล็ก

การทำ Fulfillment ภายในองค์กรหรือด้วยตนเอง คือ การที่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งจัดการทุกขั้นตอนด้วยตนเองแทนการจ้างบริษัทพาร์ทเนอร์ภายนอก ทุกขั้นตอนจะอยู่ภายในสถานที่เดียวกัน ตั้งแต่การจัดเก็บ การหยิบ การแพ็ค ไปจนถึงการจัดการสต๊อกสินค้าในคลัง รวมถึงการนำส่งสินค้า การทำ Fulfillment ด้วยตนเองเหมาะสมกับธุรกิจสตาร์ทอัพ ธุรกิจซัพพลายเออร์เจ้าใหม่ ธุรกิจสินค้า Customized ธุรกิจที่มีปริมาณการซื้อขายที่ต่ำ ธุรกิจที่เน้นขายให้คนในพื้นที่ หรือธุรกิจที่มีโครงสร้างพื้นฐานในการทำคลังสินค้าพร้อมของตน เป็นต้น

ข้อดีของการทำ Fulfillment ภายในองค์กร มีดังนี้

  • การทำ Fulfillment ด้วยตนเองช่วยลดค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเจ้าของธุรกิจสามารถจัดการทุกอย่างด้วยทีมงานของตนเองได้
  • ด้วยการทำ Fulfillment ด้วยตนเอง ผู้ประกอบการเจ้าของร้านค้าอีคอมเมิร์ซสามารถควบคุมขั้นตอนทั้งหมดได้ ลดปัญหาสต๊อกสินค้าขาดได้
  • การทำ Fulfillment ด้วยตนเองทำให้สามารถปรับรูปแบบการแพ็คสินค้าได้ ไม่ว่าจะเป็นกล่องหรือวัสดุต่างๆ พร้อมทั้งยังสามารถเลือกรูปแบบการส่งได้ ช่วยให้สินค้ามีความแปลกแตกต่างจากผู้อื่น

ข้อเสียของการทำ Fulfillment สำหรับอีคอมเมิร์ซภายในองค์กร

แม้ว่าการทำ Fulfillment ด้วยตนเองจะเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญสำหรับห่วงโซ่อุปทาน แต่รูปแบบโมเดลดังกล่าวไม่ได้เหมาะสมกับทุกธุรกิจ เพราะการทำในรูปแบบนี้ทำให้ต้นทุนในการจ้างงานสูงขึ้น และมีค่าใช้จ่ายในการเช่าและดูแลรักษาคลังสินค้าที่สูง นอกจากนี้ เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องเสียเวลาและทรัพยากรต่าง ๆ ในการดูแล และจัดการในแต่ละส่วนให้เรียบร้อยอีกด้วย

ด้านล่างนี้ เราได้ทำการสรุปข้อเสียของการทำ Fulfillment ด้วยตนเองว่าทำไมถึงไม่เหมาะกับธุรกิจออนไลน์หลาย ๆ ประเภท

  • ค่าใช้จ่ายสำหรับแพคเกจจิ้ง วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ อาจมีการปรับขึ้นลง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการมักไม่ได้ส่วนลดหากมีการซื้อของเหล่านี้ในจำนวนมาก
  • การทำ Fulfillment ด้วยตนเองกินเวลาและทรัพยากรค่อนข้างสูง ทำให้เจ้าของธุรกิจไม่สามารถโฟกัสด้านอื่น ๆ ของธุรกิจได้เต็มที่ เช่น การตลาดและการขาย ทำให้ธุรกิจขาดความยั่งยืนเมื่อมองในระยะยาว
  • แม้ว่าการทำ Fulfillment ด้วยตนเองจะสามารถปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับลูกค้าได้ แต่ผู้ประกอบการอาจจะไม่สามารถควบคุมและดูแลจัดส่งได้หากสินค้ามีความต้องการสูงโดยที่ไม่ทันตั้งตัว
  • ความผิดพลาดที่เกิดที่ขึ้นจากมนุษย์อาจมีให้เห็นบ่อย ๆ ในการทำ Fulfillment ด้วยตนเอง เนื่องจากทุกขั้นตอนเป็นการจัดการแบบแมนนวล แม้ข้อผิดพลาดเล็ก ๆ อาจส่งผลและทำให้ธุรกิจสูญเสียเป็นจำนวนมากได้

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซหลายเจ้าจึงได้ตัดสินใจใช้บริการ Fulfillment จากภายนอกเพื่อให้การทำงานมีความแม่นยำมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการทำด้วยตนเองภายในองค์กร

แยกช่องทางการขาย (Multi-channel) VS ใช้ระบบเดียวเชื่อมต่อทุกช่องทางการขาย (Omnichannel)

การมีร้านค้าบน Shopify ขายของบน Facebook หรือ Amazon ช่วยให้มีรายได้เข้าหลายช่องทาง การแยกช่องทางการขายยังช่วยสร้างยอดขาย และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างขึ้น เจ้าของธุรกิจสามารถแยกระบบสินค้าในคลังของแต่ละแพลตฟอร์ม และคาดการความต้องการของสินค้าได้เมื่อแยกช่องทางการขาย

แม้ว่าการแยกช่องทางการขายออกเป็นหลากหลายช่องทางช่วยให้ธุรกิจวางขายสินค้าได้หลายแพลตฟอร์ม แต่อาจทำให้ระบบถูกแยกกันโดยสิ้นเชิง ลูกค้าไม่สามารถเข้าถึงแบรนด์ได้อย่างง่าย นี่จึงเป็นที่มาของ Ommichannel Fulfillment หรือการทำ Fulfillment ที่เชื่อมช่องทางการขายไว้ในระบบเดียว

Ommichannel Fulfillment หมายถึง การรวบรวมข้อมูลจากทุกช่องทางการขายเข้ามาไว้ในระบบเดียวเพื่อช่วยจัดการสินค้าในคลังและช่วยจัดการออเดอร์ ด้วยระบบนี้ เจ้าของธุรกิจสามารถควบคุมจำนวนสินค้าในคลังได้จากทุกช่องทางภายในระบบเดียว นอกจากจะช่วยจัดการการขายผ่านออนไลน์แล้ว ยังช่วยจัดการร้านค้าแบบออฟไลน์ด้วย

Fulfillment สำหรับอีคอมเมิร์ซส่งผลต่อหน้าบ้านอย่างไร

ในโลกอีคอมเมิร์ซ การใช้กลยุทธ์ทำเว็บไซต์หน้าบ้านให้พร้อม คือการเปลี่ยนจากผู้แวะเวียนกลายมาเป็นลูกค้า มันคือสิ่งที่ลูกค้าจะเห็นเมื่อได้ทำการเยี่ยมชมเว็บไซต์หน้าร้านอีคอมเมิร์ซของคุณ เว็บไซต์หน้าบ้าน (Front-end) ในที่นี้ประกอบด้วยลูกเล่นต่าง ๆ บนหน้าเว็บไซต์ เช่น โทนสี ฟอนต์ตัวหนังสือ การจัดเรียงเมนู กล่องค้นหา สไลด์รูปภาพ เพจของสินค้า รวมไปถึงตะกร้าสินค้า ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ลูกค้าสามารถเพลิดเพลินกับการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ กลยุทธ์การทำหน้าเว็บไซต์หน้าบ้านให้มีประสิทธิภาพนั้น ต้องทำให้ได้รับประสบการณ์ในการเยี่ยมชมที่ดี เพลิดเพลินด้วยการออกแบบฟังก์ชันต่าง ๆ บนหน้าเพจ

อย่างไรก็ตาม บริการ Fulfillment ที่ดี สามารถช่วยให้หน้าเว็บไซต์มีผู้ชมมากขึ้น รวมถึงยอดขายก็เติบโตมากขึ้นเช่นกัน

การมีเว็บไซต์หรือหน้าจอที่ถูกออกแบบให้เหมาะกับผู้ใช้งาน (User) สามารถช่วยดึงดูดลูกค้าได้ แต่ธุรกิจสามารถเพิ่มยอดขายและเพิ่มจำนวนลูกค้าที่กลับมาซื้อซ้ำได้โดยการทำ Fulfillment ที่เป็นระบบควบคู่กันกับการทำเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยความคาดหวังจากลูกค้าในเวลาการจัดส่งแล้ว การทำ Fulfillment ที่มีประสิทธิภาพช่วยสร้างความภักดีของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์มากขึ้นอีกด้วย

คู่มือ Fulfillment บนโลกอีคอมเมิร์ซ: ความหมาย, ขั้นตอน, สิ่งอำนวยความสะดวก

กลยุทธ์ Fulfillment เพื่อการปิดการขาย ยกระดับประสบการณ์ก่อนปิดการขาย

ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ งานของคุณไม่ได้จบที่การขายเท่านั้น 82.49%ของลูกค้าเลือกที่จะทิ้งตะกร้าเนื่องจากประสบการณ์แย่ที่ได้รับจากการช้อปปิ้ง ดังนั้นแล้ว ธุรกิจอีคอมเมิร์ซควรโฟกัสด้านนี้มากกว่าการดึงดูดลูกค้าเพียงอย่างเดียว หากลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดี ร้านค้าของคุณจะได้รับการซื้อซ้ำและความภักดีของลูกค้าแน่นอน

บริการ Fulfillment ที่ดีเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานที่จะช่วยให้ลูกค้าประทับใจหลังจากการกดสั่งซื้อ ทั้งหมดนี้คือกลยุทธ์ Fulfillment ที่ได้ผลสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่สามารถนำลองไปใช้ได้ ช่วยดึงดูดลูกค้ากลับมา มีดังนี้

1. ควบคุมและจัดการสินค้าคงคลังอย่างถูกต้อง

การควบคุมและจัดการสินค้าคงคลังอย่างถูกต้องช่วยให้คุณสามารถจัดการเพิ่มปริมาณสินค้าเข้าสต๊อกได้อย่างเหมาะสมพอดี สามารถคาดเดาความต้องการของลูกค้าได้ ลดปัญหาสินค้าขาด หรือสินค้าที่มีมากเกินไป นอกจากนี้ การจัดการที่ดียังช่วยให้คุณสามารถจัดการควบคุมต้นทุนสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยรองรับความต้องการได้ทันเวลาทันที การจัดการและการควบคุมสินค้าคงคลัง ประกอบไปด้วย การคาดการความต้องการของลูกค้า การหมุนเวียนของสินค้าในคลัง การไหลถ่ายเทของคลังสินค้า และการวางแผนทรัพยากร

2. รวบรวมระบบจัดการคำสั่งซื้อ (OMS)

หากคุณทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และทำการสั่งซื้อสินค้ามาอีกทีจากบริษัทซัพพลายเออร์อื่น ๆ คุณจำเป็นต้องรวบรวมซัพพลายเออร์ในระบบจัดการคำสั่งซื้อ หรือ OMS ระบบนี้ช่วยให้คุณสามารถติดตามทุกคำสั่งซื้อของตั้งแต่การนำรายการสั่งซื้อเข้าระบบ ยอดขาย จำนวนสินค้าในคลัง การทำFufillment และบริการหลังการขาย เป็นต้น การรวบรวมโดยการใช้ระบบ OMS ช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับใบวางบิล สินค้าขาดสต๊อก และปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมา

3. เลือกที่ตั้งของคลังสินค้าอย่างมีชั้นเชิง

การส่งของอย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพกลายเป็นพื้นฐานในอุตสาหกรรมนี้ไปแล้ว แม้แต่บริษัทใหญ่ ๆ อย่าง Amazon ยังให้บริการจัดส่งภายในวันเดียว หรือจัดส่งภายใน 2 วัน กุญแจสำคัญในการจัดส่งที่รวดเร็ว คือ ที่ตั้งของคลังสินค้า การกระจายสินค้าไปยังคลังสินค้าที่ใกล้ที่อยู่ของลูกค้าช่วยให้สินค้าถูกส่งถึงมือเร็วขึ้น และยังช่วยลดค่าส่งอีกด้วย ในอีกมุมหนึ่ง ถ้าคุณส่งของผ่านทางอากาศ เลือกคลังสินค้าที่สามารถดำเนินการออเดอร์ทันที

4. เลือกบริษัทขนส่งที่ใช่

บริษัทขนส่งที่คุณเลือกใช้สามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ และสามารถทำลายความน่าเชื่อถือได้เช่นกัน ขณะที่คุณเลือกใช้ขนส่งที่เหมาะกับสินค้าของคุณ คุณต้องคอยตรวจสอบการจัดส่งอยู่สม่ำเสมอว่าเสียหายหรือจัดส่งล่าช้าหรือไม่ นอกจากนี้ ต้องตรวจสอบด้วยว่าบริษัทขนส่งมีบริการตรวจสอบพัสดุแบบเรียลไทม์หรือไม่

5. ออกแบบนโยบายการคืนสินค้าและคืนเงินที่เป็นธรรม

การคืนสินค้าสำหรับร้านค้าอีคอมเมิร์ซเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ปกติในปัจจุบัน คุณต้องวางแผนจัดการโลจิสติกส์ให้ดีเพื่อให้ยุติธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย กำหนดนโยบายการคืนสินค้าให้ชัดเจนบนหน้าเพจของคุณเพื่อเลี่ยงความสับสนที่อาจเกิดขึ้นกับลูกค้า และเสนอบริการคืนสินค้าได้เพื่อให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ ในทางกลับกัน ซัพพลายเออร์ที่คุณซื้อของมาขายก็ควรมีนโยบายคืนเงิน คืนสินค้า หรือเปลี่ยนสินค้าที่เป็นธรรมด้วยเช่นกัน

6. รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

การจัดการออเดอร์ และทำ Fulfillment จะเริ่มทันทีที่ลูกค้ากดสั่งซื้อสินค้า ในฐานะผู้ขาย คุณต้องคอยอัปเดตข้อมูลต่าง ๆ สถานะของสินค้าให้ลูกค้ารับรู้อยู่ตลอดเวลา และกำหนดวันที่จะได้รับสินค้าอย่างคร่าว ๆ คอยรักษาความสัมพันธ์ผ่านการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า สามารถทำผ่านอีเมล หรือข้อความต่าง ๆ เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า และยังช่วยยกระดับการบริการลูกค้าอีกด้วย

วิธีเลือกกลยุทธ์ทำ Fulfillment ให้เหมาะกับธุรกิจ

การทำ Fulfillment มีขั้นตอนที่มีความละเอียดและซับซ้อน ในฐานะเจ้าของธุรกิจ คุณจำเป็นต้องก้าวไปข้างหน้าอย่างระมัดระมัดและดีที่สุด เพื่อให้สินค้าถูกจัดส่งถึงมือตรงเวลา

จากวิจัย Saleforce Reserch 92% ของผู้บริโภคเลือกที่จะกลับมาซื้อซ้ำอีกเป็นครั้งที่สองหากพวกเขาได้รับบริการและประสบการณ์ที่ดี และอีก 83% คาดหวังให้ร้านค้ามีตัวเลือกการจัดส่งที่หลากหลายให้กับพวกเขา ดังนั้น บริษัทแบบ B2B และ B2C จึงมองหาระบบการทำ Fulfillment ที่เหมาะสมกับธุรกิจของเขาให้ได้มากที่สุด เพื่อลดต้นทุน และสร้างบริการที่ดีต่อลูกค้า

ในที่นี้ ผู้ประกอบการมีทางเลือกทั้งหมด 4 ทางเลือกใหญ่ ๆ ในการทำ Fulfillment สรุปออกมาได้ดังนี้

1. การจัดทำ Fulfillment ด้วยตนเอง (Self-fulfillment)

การจัดการทำ Fulfillment ด้วยตนเองหรือภายในองค์กร คือ การที่ผู้ขายจัดการทำ Fulfillment โดยไม่ผ่านบริษัทภายนอก การทำ Fulfillment ด้วยตนเองเหมาะเป็นอย่างมากกับธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีขนาดเล็กที่กำลังมองหาวิธีลดต้นทุนการจัดส่ง พร้อมทั้งมีโครงสร้างพื้นที่ฐานพร้อมสำหรับการจัดส่งให้ถึงมือลูกค้าโดยตรง

2. การขายสินค้าโดยไม่ต้องสต๊อกสินค้าด้วยตัวเอง (Dropshipping)

ในการเลือกใช้กลยุทธ์ Dropshipping นั้น ผู้ขายไม่ต้องสต๊อกสินค้าด้วยตนเอง แต่ผู้ขายจะทำการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทขายส่ง หรือจากบริษัทโรงงานผลิต จากนั้นพวกเขาจะทำการจัดส่งไปยังลูกค้าโดยตรง ดังนั้น เมื่อลูกค้าทำการสั่งซื้อสินค้า ผู้ขายจะส่งข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ให้กับบริษัทหรือโรงงานผลิต และทำการจัดส่งออกไป การทำรูปแบบนี้ ช่วยให้ผู้ขายไม่ต้องกังวลกับการจัดการสินค้าในคลัง หรือปัญหาหาสินค้าขาดสต๊อก และทำการสั่งซื้อสินค้าก็ต่อเมื่อลูกค้าสั่งซื้อเข้ามาอีกทีเท่านั้น

3. การใช้บริการจากบริษัทพาร์ทเนอร์ภายนอก (Third-party fulfillment)

บริษัทที่ให้บริการ Fulfillment จากภายนอก หรือ 3PL คือ การผู้ขายให้บริษัทภายนอกจัดการงาน Fulfillment ทั้งหมด โดยบริษัทภายนอกนี้จะจัดการทุกอย่าง ตั้งแต่เตรียมพื้นที่ในคลังสินค้า หยิบ แพ็ค และส่งสินค้าออกไป ทั้งหมดนี้ช่วยให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีทันทีที่พวกเขากดสั่งซื้อสินค้า ดังนั้น วิธีเช่นนี้ จึงมีความแตกต่างจาก Dropshipping ซึ่งโรงงานหรือผู้ขายส่งจะจัดส่งโดยตรงไปยังลูกค้า

4. การผสมรูปแบบ (Integrated service)

การทำ Fulfillment แบบ Integrated service เป็นผสมผสานระหว่างการทำ Fulfillment ด้วยตนเองผสมกับ Dropshipping หรือการทำ Fulfillment ด้วยตนเองผสมกับการใช้บริษัทภายนอกให้มาช่วยจัดการ ถ้าหากว่าเจ้าของกิจการต้องจัดการกับการซื้อขายที่สูงและสินค้ามีกำไรที่ต่ำ พวกเขาสามารถเลือกใช้แบบ Self-fulfillment ผสมกับบริษัทขนส่งภายนอก ในอีกทางหนึ่ง การทำแบบ Self-fulfillment ผสมกับ Dropshipping จะใช้ได้ผลดีกับสินค้าที่มีกำไรมาก ดังนั้นการผสมรูปแบบจึงมีความยืดหยุ่น และสามารถปรับให้ตรงตามกับรูปแบบของสินค้าได้

ศูนย์กระจายสินค้าสำหรับอีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จทำงานอย่างไร?

หัวใจสำคัญของการให้บริการ Fulfillment เพื่ออีคอมเมิร์ซ คือ ศูนย์กระจายสินค้า Fulfillment ซึ่งมีความแตกต่างจากคลังสินค้าที่มีหน้าที่เพียงแค่เก็บสินค้าเพียงอย่างเดียว ศูนย์กระจายสินค้า Fulfillment นี้ถูกออกแบบมาเพื่อจัดการออเดอร์และการส่งออกที่เร็วกว่า เจ้าของร้านค้าอีคอมเมิร์ซสามารถนำสินค้าของตนเองมาเก็บสต๊อกสินค้าไว้กับศูนย์กระจายสินค้าที่ใกล้กับฐานลูกค้าของตนเอง เพื่อช่วยลดต้นทุนและระยะเวลาในการจัดส่ง

ในขณะที่คลังสินค้ายังคงเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กระจายสินค้า Fulfillment และยังมีไว้เพื่อจัดเก็บสินค้า จุดประสงค์หลักสำหรับศูนย์กระจายสินค้า Fulfillment คือ เพื่อจัดการการทำงานต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่นระหว่างการสั่งซื้อไปยังการส่งของไปถึงบ้านลูกค้า ถือว่าเป็นปัจจัยหลักของขั้นตอนการทำ Fulfillment เลยก็ว่าได้ และด้านล่างนี้ คือวิธีและขั้นตอนการทำงานของศูนย์กระจายสินค้า Fulfillment

  • ศูนย์กระจายสินค้าจัดเก็บสินค้าเพื่อสำรองรองรับออเดอร์ของลูกค้า
  • เมื่อลูกค้าทำการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว สินค้าจะถูกหยิบ แพ็ค และเตรียมส่งออกจากศูนย์กระจายสินค้า
  • ศูนย์กระจายสินค้าโดยปกติแล้วจะรองรับออเดอร์แบบ B2C และส่งสินค้าไปยังลูกค้าโดยตรง สำหรับแบบ B2B มักจะใช้เมื่อสินค้ามียอดซื้อขายที่สูง และสินค้าจะถูกส่งไปยังผู้ขายปลีกอีกที
  • ศูนย์กระจายสินค้า จะจัดการตั้งแต่รับสินค้าเข้าคลัง จัดเก็บ แพ็ค ส่งออก รวมไปถึงขั้นตอนอื่น ๆ ทำหน้าที่แทนผู้ขายโดยตรง โดยที่ผู้ขายหรือเจ้าของร้านค้าสามารถมีเวลาเพื่อไปโฟกัสกับธุรกิจในด้านอื่นได้
คู่มือ Fulfillment บนโลกอีคอมเมิร์ซ: ความหมาย, ขั้นตอน, สิ่งอำนวยความสะดวก

ข้อดีและข้อเสียของบริการ Fulfillment สำหรับอีคอมเมิร์ซ

เจ้าของร้านค้าออนไลน์ต้องตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะกับร้านค้าของตนเองที่สุด และเนื่องด้วย Fulfillment เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการทำธุรกิจคอมเมิร์ซ ความสำเร็จของมันจึงขึ้นอยู่กับยอดสั่งซื้อและการจัดการ Fulfillment เป็นส่วนใหญ่

การรู้ถึงข้อดีและข้อเสียของบริการ Fulfillment สำหรับอีคอมเมิร์ซช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่า เมื่อไหร่ที่คุณควรหาพาร์ทเนอร์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อมาช่วยจัดการ Fulfillment ให้ธุรกิจของคุณ

ข้อดี

ช่วยให้จัดส่งรวดเร็วขึ้น

บริษัทที่ให้บริการ Fulfillment จะช่วยเร่งการจัดส่ง ช่วยให้ธุรกิจของคุณรักษาระดับการจัดส่งที่รวดเร็ว

ลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น

การทำ Fulfillment ด้วยตนเองภายในองค์กรหมายความว่าคุณต้องเผชิญหน้ากับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอง การใช้บริการจากพาร์ทเนอร์สามารถช่วยลดต้นทุนตรงนี้ได้ ทั้งประหยัดเงินและประหยัดเวลา

ลดต้นทุนการจัดส่ง

เจ้าของร้านค้าออนไลน์มักจะต้องจ่ายในเรตราคาที่สูงกว่าการจ้างบริษัทพาร์ทเนอร์โดยตรง สาเหตุนั้นมาจากบริษัททำ Fulfillment เหล่านี้มีการทำสัญญากับบริษัทโลจิสติกส์ ช่วยให้ราคาขนส่งถูกลง

ช่วยสร้างยอดขาย

ลูกค้ามีความคาดหวังสูงในด้านการจัดส่ง และหากร้านค้าแบรนด์ต่าง ๆ ไม่สามารถทำการจัดส่งได้ตรงตามเวลา อาจทำให้ลูกค้าผิดหวัง การใช้บริการ Fulfillment กับบริษัทพาร์ทเนอร์ช่วยให้ยอดขายเติบโตขึ้น เนื่องจากลูกค้าจะกลับมาซื้อซ้ำ เพราะการจัดส่งที่รวดเร็ว ตามที่ลูกค้าคาดหวังไว้

ช่วยให้ธุรกิจพัฒนาและขยายได้

ในขณะที่ธุรกิจเติบโต การทำ Fulfillment ภายในองค์กรอาจจะไม่สามารถรองรับการขยายเติบโตนี้ได้ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ หากเจ้าของธุรกิจได้ร่วมงานกับพาร์ทเนอร์ Fulfillment จะช่วยให้คลายกังวลในด้านของพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เพราะบริษัท Fulfillment มีรองรับพอสำหรับการขยายตัวของธุรกิจ

อ่านเพิ่มเติม: ทำไมการมีพาร์ทเนอร์ผู้เชี่ยวชาญ Fulfillment ถึงสำคัญต่อธุรกิจ

ข้อดี

สูญเสียการควบคุม

การใช้บริการจากพาร์ทเนอร์ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ สูญเสียการควบคุมและการมองเห็นในขั้นตอนต่าง ๆ แม้ว่าบริษัท Fulfillment จะช่วยดูแลการจัดส่งและสินค้า แต่เจ้าของธุรกิจหลาย ๆ คนยังทำใจยากที่จะปล่อยวางตรงนี้

ไม่สามารถปรับแผนการจัดส่งได้

การใช้บริษัท Fulfillment ภายนอก หมายความว่า เจ้าของธุรกิจไม่สามารถปรับรูปแบบแผนหรือขั้นตอนต่าง ๆ ได้เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ บริษัท Fulfillment ส่วนใหญ่ไม่มีบริการ Customization เพราะการทำเช่นนี้กินเวลาในการจัดส่ง

มีค่าใช้จ่าย

แม้ว่าการใช้บริการ Fulfillment จะช่วยลดต้นทุนต่าง ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้บริการจากพาร์ทเนอร์เหล่านี้อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูง เพราะขึ้นอยู่กับยอดจำนวนการสั่งซื้อและข้อตกลงต่าง ๆ

หน้าที่การทำงานของผู้เชี่ยวชาญ Fulfillment Specialist

คลังสินค้า Fulfillment จะขาดผู้เชี่ยวชาญ Fulfillment ไม่ได้เลย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญนี้มีหน้าที่ดูแลจัดการพื้นฐานต่าง ๆ และดูแลคลังให้เรียบร้อย

ผู้เชี่ยวชาญยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับออเดอร์ และจัดการออเดอร์ให้ถูกจัดส่งออกไปให้ได้เร็วที่สุด พวกเขาจะได้รับเอกสารคำสั่งซื้อ และจัดเตรียมสินค้าให้ถูกต้องเพื่อนำส่งไปยังลูกค้า นอกจากนี้ พวกเขายังคอยตรวจสอบสถานะการจัดส่ง และต้องคอยตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้าถูกส่งอย่างปลอดภัย ไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นระหว่างทาง

หน้าที่อื่น ๆ สำหรับผู้ดูแลจัดการ Fulfillment ยังต้องช่วยนำสินค้าเข้าคลัง และออกจากคลัง จัดเตรียมพื้นที่ในการสตอกสินค้า ดูแลตรวจสอบสินค้าในคลัง และวางแผนการทำ Fulfillment ให้ราบรื่น ผู้ดูแลหรือผู้เชี่ยวชาญ Fulfillment ทำงานและรายงานปัญหากับผู้จัดการคลังสินค้าโดยตรง

บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Fulfillment

แสกนปุ๊บ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลย!

คุณกำลังมองหาบริการคลังสินค้าเพื่อธุรกิจอยู่ใช่ไหม?

Locad นำเสนอบริการที่จะมาเติมเต็มธุรกิจอีคอมเมิร์ซระดับพรีเมียมสำหรับธุรกิจทุกขนาด เชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์กับผู้เชี่ยวชาญด้านคลังสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ เพื่อลดต้นทุนการจัดส่ง เพิ่มเวลาขนส่ง และปรับปรุงความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าได้แล้ววันนี้!

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!

Locad raises $9 million in Pre-Series B funding round for smart digital logistics and global expansion
Free Locad 2023 Calendar!