การบริหารจัดการคลังสินค้า – Warehouse Management

ตารางคอนเทนต์

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

การบริหารจัดการคลังสินค้า: คู่มือฉบับสมบูรณ์สำหรับบริการ Fulfillment เพื่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซ


พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการคลังสินค้า


พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการคลังสินค้า

ตารางคอนเทนต์



More Warehousing Content






กดติดตาม

ตารางคอนเทนต์



More Warehousing Content

แชร์บทความ






กดติดตาม

ตารางคอนเทนต์



แชร์บทความ






More Warehousing Content

แชร์บทความ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นมากกว่าการสร้างเว็บไซต์และนั่งรอคำสั่งซื้อจากลูกค้า การวางแผนกลยุทธ์และการปรับพร้อมลงมือทำ คือสูตรหลักสำคัญในการทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ การศึกษาข้อมูลให้ได้มากที่สุดเกี่ยวกับโมเดลธุรกิจก่อนที่คุณจะลงสนามมีความสำคัญเป็นอย่างมาก สถานที่เก็บสินค้าและวิธีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังเป็นเรื่องที่ต้องกำหนดให้แน่ชัด และนี่เอง คือจุดเริ่มต้นของคลังสินค้าและการจัดการคลังสินค้าได้เข้ามามีบทบาท ซึ่งทั้งสองนี้จัดว่าเป็นแกนสำคัญหลักของการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาที่สำคัญของการบริหารคลังสินค้าอีคอมเมิร์ซ และการปรับร้านค้าของคุณเพื่อเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจ

การบริหารจัดการคลังสินค้าคืออะไร?

การบริหารจัดการคลังสินค้า คือ การนำสินค้าหรือวัสดุเข้ามาจัดเก็บในโกดังหรือคลังสินค้าเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการจัดส่งต่อเข้าสู่กระบวนการซัพพลายเชน เกือบธุรกิจทุกประเภทมีการใช้คลังสินค้าสำหรับการจัดเก็บสินค้าของพวกเขาก่อนนำส่งออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ หรือส่งไปยังมือลูกค้า

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้เข้ามาเพิ่มความซับซ้อนให้กับอุตสาหกรรมคลังสินค้า จากสถิติระบุว่า ตลาดนี้ได้มีการเจริญเติบโตขึ้นถึงสองเท่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา สาเหตุนั้นมาจากการที่นักลงทุนหรือเจ้าของกิจการทั่วโลกได้เริ่มหันมาลงทุนเป็นจำนวนมหาศาลให้กับระบบซัพพลายเชนในธุรกิจของตนเอง เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คลังสินค้าคืออะไร

คลังสินค้า คือ พื้นที่อำนวยความสะดวกสบายในการจัดเก็บและจัดการสินค้า คลังสินค้าเป็นเหมือนพื้นที่ศูนย์กลางในการจัดการสินค้าที่ถูกนำเข้าและจ่ายออกไป สำหรับธุรกิจที่มีการขายสินค้าที่เป็นรูปธรรม จำต้องได้ การมีคลังสินค้าสำคัญเป็นอย่างมากต่อธุรกิจ ความต้องการในพื้นที่ในการจัดเก็บและการดูแลสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดีจะสูงขึ้นตามสัดส่วนของการเติบโตของธุรกิจ

ประเภทของคลังสินค้า

คลังสินค้ามีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัท ความต้องการ และความเหมาะสมของธุรกิจ แม้ว่าคลังสินค้าสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะให้บริการด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นเท่านั้น แต่คลังสินค้าแต่ละประเภทมีบริการและข้อดีแตกต่างกันไป

ประเภทของคลังสินค้าหลัก ๆ มีดังนี้

คลังสินค้าสำหรับสินค้าปลีก

คลังสินค้าสำหรับสินค้าปลีกส่วนใหญ่มักเป็นอาคารชั้นเดียว มีขนาดไม่เกิน 1000 ตารางเมตร คลังสินค้าสำหรับสินค้าปลีกสามารถใช้แสดงสินค้า ซึ่งคลังสินค้าประเภทนี้มีไว้เพื่อจัดวางเฉพาะสินค้าที่ไม่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ไม่แตกหักง่าย หรือสินค้าที่ไม่ใช่สำหรับทางการแพทย์

คลังสินค้าวัตถุอันตราย

คลังสินค้าวัตถุอันตรายถูกออกแบบมาเพื่อสินค้าหรือวัสดุที่อันตราย เช่น วัตถุไวไฟ สารเคมี และสินค้าที่ต้องได้รับการดูแลควบคุมเป็นพิเศษเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม โดยต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาล

คลังสินค้าสาธารณะ

คลังสินค้าสาธารณะมีเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดเก็บสินค้าโดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าของ และมีตัวเลือกที่หลากหลาย ราคาจับต้องได้ เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กที่กำลังมองหาพื้นที่ในการจัดเก็บระยะสั้น คลังสินค้าประเภทนี้ไม่ได้มีเทคโนโลยีในการดูแลจัดการมากนัก มีเพียงอุปกรณ์อำนวยความสะดวกพื้นฐานในการให้บริการเท่านั้น

คลังสินค้าเอกชน

คลังสินค้าเอกชนมักจะมีเจ้าของเป็นผู้ประกอบการขายส่ง ทำกิจการอุตสาหกรรม หรือเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้ารายใหญ่ โดยคลังสินค้าประเภทนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับคลังสินค้าสาธารณะ นอกจากนี้ ยังให้บริการด้วยระบบและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ในตลาดเฉพาะกลุ่มอีกด้วย

คลังสินค้ารัฐบาล

คลังสินค้ารัฐบาลเป็นคลังสินค้าที่มาพร้อมเครื่องอำนวยความสะดวกและถูกดูแลโดยรัฐบาล คลังสินค้ารัฐบาลมีการดูแลควบคุมที่ดีกว่าคลังสินค้าสาธารณะ ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีราคาไม่สูงสำหรับธุรกิจที่ขายสินค้าที่มีมูลค่า อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของธุรกิจขาดการชำระเงิน รัฐบาลมีอำนาจในในการบังคับให้เจ้าของกิจการชำระค่าปรับส่วนต่างโดยการขายสินค้าที่ฝากไว้ที่คลัง

คลังสินค้าสำหรับสหกรณ์

คลังสินค้าสำหรับสหกรณ์มีเจ้าของเป็นกลุ่มอาชีพหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง และมีการใช้พื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มสหกรณ์ผลิตไวน์ กลุ่มเกษตรกร โดยสมาชิกสามารถใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในคลังสินค้าได้โดยการจ่ายเงินด้วยเรตราคาที่ต่ำ อย่างไรก็ตาม บุคคลภายนอกก็สามารถใช้บริการคลังสินค้าสำหรับสหกรณ์ได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าอาจต้องชำระค่าใช้บริการคลังสินค้าในราคาเต็ม

การบริหารจัดการคลังสินค้า - Warehouse Management

ศูนย์กระจายสินค้าที่ให้บริการ Fulfillment

พื้นที่ในการจัดเก็บถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของผู้ประกอบการ เรียกสั้น ๆ ว่า “ศูนย์กระจายสินค้า” คลังสินค้าประเภทนี้มีไว้เพื่อจัดเก็บสินค้าเพียงชั่วคราว หรือถูกใช้สำหรับธุรกิจที่ต้องการกระจายสินค้าและส่งต่อไปยังซัพพลายเชน ศูนย์กระจายสินค้ามีการทำงาน 2 แบบ หนึ่ง ในกรณีที่มีหน้าที่กระจายสินค้าโดยตรง ศูนย์กระจายสินค้าจะรับสินค้าจำนวนมาก จากนั้นจะกระจายสินค้าไปยังร้านค้าปลีกและตัวแทนจำหน่ายภายในเวลาไม่กี่วัน สอง ในกรณีที่เป็นสินค้าเน่าเสียง่าย ศูนย์กระจายสินค้าจะส่งสินค้าและนำเข้าสู่กระบวนการซัพพลายเชนภายใน 24-48 ชั่วโมง

คลังสินค้าอัจฉริยะ

คลังสินค้าอัจฉริยะ หรือ Smart Warehouse มีการทำงานอย่างเป็นระบบโดยใช้เทคโนโลยีในการบริหารคลังสินค้า คลังสินค้าอัจฉริยะใช้ AI ในการจัดการพื้นที่พร้อมให้บริการ Fulfillment โดยมีการนำซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีล่าสุดมาปรับใช้กับการจัดการสินค้าคงคลัง บริษัทที่มีตัวอย่างคลังสินค้าประเภทนี้ที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ Amazon, Alibaba และอื่น ๆ

คลังสินค้าทัณฑ์บน

คลังสินค้าทัณฑ์บนมีไว้สำหรับธุรกิจที่ต้องการจัดเก็บสินค้าทั้งขาเข้าและขาออก โดยมีการชำระภาษีอากรก่อนที่จะนำสินค้าออกจากคลัง บริษัทสามารถใช้พื้นที่ในคลังได้โดยไม่จำเป็นต้องชำระเงินและภาษีจนกว่าจะนำสินค้าออกจากคลัง โดยคลังสินค้าประเภทนี้มีความปลอดภัยต่อสินค้า และเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการค้าขายระหว่างประเทศ

คลังสินค้าประเภทรวมตัวกัน

คลังสินค้าประเภทรวมตัวกัน หรือ Consolidated Warehouse มีให้บริการสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและกลาง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ โดยคลังสินค้าประเภทนี้จะรวบรวมสินค้าและการจัดส่งจากซัพพลายเออร์ต่าง ๆ จนกลายเป็นการจัดส่งที่มีขนาดใหญ่ และจัดส่งไปยังร้านค้าปลีกหรือลูกค้า

คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ

คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิมีเพื่อรองรับสินค้าที่ต้องได้รับการดูแลเรื่องอุณหภูมิเป็นพิเศษ เช่น เนื้อสัตว์ ผลไม้ตามฤดูกาล ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม สินค้าทางการแพทย์ และอื่น ๆ คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิมีโครงสร้างที่เหมาะสำหรับการรักษาอุณหภูมิ ความชื้น และจุลินทรีย์

การบริหารจัดการคลังสินค้า - Warehouse Management

คลังสินค้า vs ศูนย์กระจายสินค้า

คลังสินค้า คือ อาคารที่จัดเก็บสินค้าและวัตถุไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์ใด คลังสินค้าในแรกเริ่มถูกใช้เพื่อการจัดเก็บสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นมาจากบริษัทใดบริษัทหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ดี ศูนย์กระจายสินค้าจัดว่าเป็นหนึ่งในประเภทของคลังสินค้าที่มีการออกแบบเพื่อจัดการกับสินค้า ก่อนเข้าสู่กระบวนการซัพพลายเชน

ศูนย์กระจายสินค้าช่วยในการเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังมือลูกค้า ในขณะที่คลังสินค้าทำหน้าที่เพียงแค่จัดเก็บสินค้าเท่านั้น โดยศูนย์กระจายสินค้าจะมีการนำระบบซัพพลายเชนมาประยุกต์ใช้ในการกระจายสินค้า เช่น การแยกประเภทสินค้า การหยิบสินค้า การแพ็คสินค้า และการนำสินค้าจัดส่ง เป็นต้น

ทำไมการบริหารจัดการคลังสินค้าจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ?

การบริหารจัดการคลังสินค้าเป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญของซัพพลายเชนสำหรับทุกธุรกิจมีการจำหน่ายสินค้า

  • สำหรับธุรกิจที่ขายสินค้าโดยตรงไปยังผู้บริโภค คลังสินค้าจะทำหน้าที่จัดเก็บสินค้าที่จะถูกนำจ่ายไปยังลูกค้าปลีกรายย่อย สำหรับกรณีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจแบบ B2B สินค้าจะถูกจัดส่งไปยังลูกค้าที่เป็นบริษัทและจัดเตรียมในสำหรับในขั้นตอนถัดไป
  • ในกรณีร้านค้าปลีกและธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การจัดการคลังสินค้าช่วยให้บริษัทสามารถซื้อสินค้าในปริมาณมากซึ่งทำให้ได้ราคาที่ถูกกว่าจากซัพพลายเออร์ การทำเช่นนี้ยังช่วยให้กำไรจากยอดขายเติบโตมากขึ้น และยังสามารถกำหนดความต้องการของตลาดได้อีกด้วย
  • การบริหารคลังสินค้าช่วยลดระยะเวลาและค่าจัดส่ง เนื่องจากการวางแผนการกระจายสินค้าไปยังคลังสินค้าในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น บริษัทแห่งหนึ่งทำธุรกิจขายสินค้าไปยังลูกค้าโดยตรงทั่วประเทศ และจำเป็นต้องกระจายสินค้าและจัดเก็บไปยังภาคต่าง ๆ ของประเทศ แต่ถ้าหากว่า พวกเขาต้องการที่จะขายสินค้าไปยังต่างประเทศ พวกเขาจำเป็นต้องวางแผน ดูเงื่อนไขในแต่ละประเทศ เพื่อให้การทำ Fulfillment ถูกดำเนินการได้อย่างราบรื่น

ปัจจัยที่สำคัญของการบริหารจัดการคลังสินค้า

เช่นเดียวกันกับการจัดการซัพพลายเชน การบริหารจัดการคลังสินค้าจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญและการฝึกฝนเพื่อให้การทำงานในภาครวมมีผลลัพธ์ในเชิงบวก โดยมีปัจจัยที่สำคัญดังนี้

มีการนำพื้นที่ว่างมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

พื้นที่คือทรัพยากรพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการทำคลังสินค้า ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการวางแผนนำพื้นที่มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เข้าถึงสินค้าได้ง่าย

คลังสินค้าจำเป็นต้องถูกออกแบบให้สามารถใช้งานและจัดเก็บง่าย ไม่ว่าจะด้วยราว ชั้นวาง หรือกลไกต่าง ๆ

มีความปลอดภัย

การดูแลคลังสินค้าให้ปลอดภัยจากการโจรกรรมหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก

มีระบบจัดการที่มีประสิทธิภาพ

ระบบดูแลจัดการคลังสินค้าช่วยให้คลังสินค้าและสินค้าคงคลังอยู่ภายใต้การควบคุม และยังสามารถช่วยติดตามการทำงานของพนักงาน ทำให้มั่นใจได้ว่ามีสภาพคล่องและการพัฒนาภายในคลังสินค้าเพื่อรองรับการเปลี่ยนในอนาคต

มีระบบควบคุมอุณหภูมิ

สำหรับสินค้าที่เน่าเสียง่าย เช่น อาหาร สินค้าทางการแพทย์ หรือสินค้าที่ต้องรักษาความสดหรือแช่แข็งตลอดเวลา คลังสินค้าต้องมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับและควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และความกดอากาศ

มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับคลังสินค้า

ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็นต่อการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้า เช่น รถยก สายพาน ผ้าใบกันน้ำ รถลากพาเลท ขาหุ้มชั้นวาง อุปกรณ์กั้นรถ และอื่น ๆ ทั้งหมดนี้ต้องมีพร้อมเพื่อการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บสินค้า

มีการจัดเก็บใหม่ตลอดเวลา

การดูแลตรวจตราอย่างต่อเนื่องและการจัดเก็บใหม่ให้เรียบร้อยเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยหากมีการเปลี่ยนแปลงของการจัดวาง พนักงานต้องทำการอัปเดตข้อมูลในระบบอย่างสม่ำเสมอ

มีขนส่งสำหรับนำสินค้าเข้าออกที่มีประสิทธิภาพ

ระบบขนส่งที่สะดวกและคุ้มค่าเป็นที่ต้องการสำหรับคลังสินค้าเพื่อขั้นตอนรับส่งสินค้าที่ดีกว่า

การบริหารจัดการคลังสินค้า - Warehouse Management

การบริหารจัดการคลังสินค้าสำหรับซัพพลายเชน

การจัดการคลังสินค้าเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทานสำหรับโลกอีคอมเมิร์ซ ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ในการจัดเก็บสินค้า แต่ยังมีบริการเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับธุรกิจที่ช่วยให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในภาครวมได้ เช่น บริหารการจัดซื้อสินค้า ลดค่าจัดส่ง และลดระยะเวลาการจัดส่งได้

ในขณะที่คลังสินค้าเป็นพื้นฐานหลักสำหรับหลายธุรกิจ บริษัทจึงต้องมั่นใจก่อนว่าพวกเขาได้รวบรวมร้านค้าอีคอมเมิร์ซไว้ในระบบเดียวเพื่อให้ง่ายต่อการติดตามความเคลื่อนไหวของสินค้า ซึ่งประกอบไปด้วยการรับคำสั่งซื้อ การหยิบ การแพ็ค การส่ง และอื่น ๆ ดังนั้นแล้ว คลังสินค้าช่วยลดภาระหน้าที่ และทำให้เจ้าของธุรกิจมีเวลาไปโฟกัสในด้านอื่น ๆ ของธุรกิจได้ นอกจากนี้ ยังช่วยให้สินค้าผ่านกระบวนการซัพพลายเชนไปจนถึงมือลูกค้าพร้อมสร้างสัมผัสประสบการณ์ที่ดีโดยทำหน้าที่แทนเจ้าของธุรกิจ

ระบบการจัดการคลังสินค้าตอบโจทย์อีคอมเมิร์ซได้อย่างไร

การจัดการคลังสินค้าอีคอมเมิร์ซ หมายถึง การจัดเก็บสินค้าที่ขายบนร้านค้าออนไลน์ไว้ในคลังสินค้า โดยมีขั้นตอนดังนี้

การจัดเก็บสินค้า

การจัดเก็บสินค้า หมายถึง การนำสินค้าจัดเก็บไปยังพื้นที่ที่กำหนดในคลังสินค้า ซึ่งมีข้อดีดังนี้

  • ช่วยให้ระบุและตามหาที่จัดเก็บได้อย่างแม่นยำ
  • ช่วยคำนวณสินค้าได้อย่างครอบคลุม
  • ช่วยการหมุนเวียนสต๊อกสินค้า

การส่งและรับสินค้า

การทำงานในการจัดการคลังสินค้า มีความหมายรวมไปถึงการรับสินค้าเข้ามาและเตรียมสินค้าเข้าสู่กระบวนการถัดไปโดยการดำเนินการต้องมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด นอกจากนี้ การส่งสินค้าออกถือว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากที่สินค้ามีการแพ็ค โดยบริษัทขนส่งจะทำการจัดส่งไปยังที่อยู่ของลูกค้า

ศูนย์กระจายสินค้า

บริษัทที่มีขนาดใหญ่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ศูนย์กระจายสินค้าทั้งแบบออนไลน์และแบบที่ตั้งอยู่จริง ศูนย์กระจายสินค้ามักใช้เพื่อการจัดเก็บระยะสั้น โดยหลังจากนั้นสินค้าจะถูกส่งออกไปยังผู้บริโภค ทั่วไปแล้ว ศูนย์กระจายสินค้าจะมีเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดและเพื่อความรวดเร็วสำหรับการทำโลจิสติกส์

การคืนสินค้า

บริการคลังสินค้าที่ดี ต้องสามารถรองรับการรับคืนสินค้าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อบริษัทนั้นไม่มีหน้าร้านเพื่อรองรับการคืนแลกเปลี่ยนสินค้า

หน้าที่และการทำงานของคลังสินค้ามีอะไรบ้าง?

แม้ว่าหน้าที่การทำงานหลักของคลังสินค้าคือการจัดเก็บสินค้าให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพก่อนถูกส่งต่อไปยังกระบวนการซัพพลายเชน แต่อย่างไรก็ตาม คลังสินค้ายังมีหน้าที่ดังนี้

จัดเก็บสินค้าที่เป็นสต๊อกส่วนเกิน

คลังสินค้าที่ดีจะให้บริการจัดเก็บสินค้าประเภทอื่น ๆ ของบริษัทนั้น เช่น สินค้าที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานในบริษัท และสินค้าที่ถูกผลิตมาเพื่อรองรับความต้องการที่สูงของตลาดในอนาคต

รักษาเสถียรภาพของราคา

การจัดการคลังสินค้าช่วยรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าในตลาด เมื่อซัพพลายของสินค้ามีมากเกินไปในตลาด ปัญหาการร่วงลงของราคาสินค้าเฉพาะสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการจัดเก็บสินค้าเข้าไปยังสต๊อก และในกรณีที่คล้ายกัน หากสินค้านั้นเป็นที่ต้องการสูงในตลาด ราคาที่อาจจะสูงขึ้นตามมาเนื่องจากการเฟ้อสามารถถูกควบคุมได้เช่นกันผ่านการปล่อยสินค้าออกมาจากสต๊อก ดังนั้น คลังสินค้าจึงช่วยรักษาเสถียรภาพของราคาได้ และยังช่วยให้ธุรกิจเผชิญหน้ากับอันตรายที่มาจากความผันผวนของตลาดน้อยลง

บริหารความเสี่ยง

การอดทนรับความเสี่ยงได้เป็นหนึ่งในหน้าที่สำคัญของการบริหารจัดการคลังสินค้า เมื่อผู้ค้าหรือซัพพลายเออร์ได้ส่งสินค้ามายังคลังสินค้า หมายความว่า คลังสินค้าต้องมีหน้าที่ดูแลสินค้าทั้งหมด ไม่ว่าจะจากความเสี่ยงหรือความเสียหายต่าง ๆ

เป็นศูนย์กลางในการรับและจัดส่งสินค้า

คลังสินค้าที่มีชำนาญในด้านพื้นที่ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับและจัดส่งสินค้า จนกระทั่งพวกเขาย้ายที่ไปพื้นที่จัดสรรที่อื่น

มีพื้นที่ให้เช่า

ในกรณีที่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมีคลังสินค้าที่มีพื้นที่ใหญ่จนเกินไปแต่มีสินค้าน้อย หรือเป็นฤดูที่ยอดขายเป็นขาลง การปล่อยเช่าพื้นที่ในคลังสินค้าให้กับธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่ต้องการใช้พื้นที่ ถือว่าเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดี

ประกอบสินค้า

ในกรณีที่สินค้าถูกส่งมาเป็นชิ้นส่วนจากหลายที่ เช่น จากซัพพลายเออร์ หรือจากบริษัท คลังสินค้าสามารถนำพื้นที่มาจัดสรรให้กลายมาเป็นที่ประกอบสินค้าเพื่อส่งไปยังร้านค้าปลีกหรือลูกค้าโดยตรง

การบริหารจัดการคลังสินค้า - Warehouse Management

ข้อดีของการบริหารจัดการคลังสินค้า

การบริหารจัดการคลังสินค้ามีข้อดีมากมายที่สามารถช่วยธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น โดยข้อดีของการบริหารจัดการคลังสินค้าประกอบไปด้วย:

ช่วยในการไหลลื่นของสินค้า

การบริหารคลังสินค้าที่ดีช่วยบริหารสินค้าตามฤดูกาลได้อย่างราบรื่นและมั่นคงในแต่ละปี เช่น ข้าว ข้าวสาลี และอื่น ๆ

ช่วยป้องกันสินค้าและรักษาสินค้า

การจัดการคลังสินค้ามาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยให้การเก็บสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจนกว่าสินค้าจะถูกขายออก โดยมาตรการรักษาความปลอดภัยช่วยลดความเสียหาย ความเสื่อมสภาพ การแตกหัก และการเน่าเสียของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ช่วยให้การผลิตเป็นไปอย่างราบรื่น

คลังสินค้าช่วยให้ภาคโรงงานอุตสาหกรรมได้ดูแลการผลิตอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีผลกระทบกับพื้นที่จัดเก็บ ซึ่งช่วยให้ระบบซัพพลายเชนไม่ติดขัดอีกด้วย

อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม

คลังสินค้าโดยทั่วไปแล้วจะตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงง่ายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

บริการลูกค้าที่ฉับไว

คลังสินค้าช่วยให้ธุรกิจหรือร้านค้าสามารถส่งสินค้าออกไปได้ทันทีที่มีคำสั่งซื้อเข้ามาด้วยราคาที่ถูกลง

ช่วยเพิ่มอัตราการจ้างงาน

การบริหารจัดการคลังสินค้าช่วยสร้างโอกาสในการจ้างงานแก่ผู้มีทักษะหรือผู้ที่สนใจในอุตสาหกรรมนี้

มีวงเงินกู้

คลังสินค้าที่ดีสามารถนำสินค้าที่มาจัดเก็บมาเป็นหลักค้ำประกันได้ โดยโรงงานสามารถเพิ่มเงินกู้ด้วยการเอาสินค้าที่จัดเก็บแทนเงินมัดจำค้ำประกันได้

ชำระค่าภาษีนำเข้าสะดวกขึ้น

การบริหารจัดการคลังสินค้าช่วยให้ผู้นำเข้ามีตัวเลือกในการชำระภาษีนำเข้า โดยพวกเขาสามารถชำระเฉพาะสินค้าที่ต้องการให้ปล่อยออก ซึ่งหมายความว่า พวกเขาสามารถแบ่งจ่ายชำระภาษีนำเข้าได้ทีละส่วน แทนที่จะจ่ายทีเดียวซึ่งเป็นจำนวนเงินมหาศาล

ประกันคุณภาพ

ขณะที่ระบบจัดการคลังสินค้าช่วยดูแลรักษาสินค้า รวมไปถึงการหยิบ แพ็ค รวมสินค้า ติดข้อมูลพัสดุ และอื่น ๆ ในทุกขั้นตอนนี้ยังมีการดูแลรักษาคุณภาพของสินค้าก่อนที่สินค้าจะถูกส่งไปยังมือลูกค้า

สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ

คลังสินค้าทัณฑ์บนมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับรัฐบาลในประเทศนั้น ๆ ไม่ว่าผู้ส่งออกหรือนำเข้า จำเป็นต้องจ่ายภาษีในการจัดเก็บสินค้า ซึ่งทำให้เกิดรายได้เข้าประเทศผ่านการจัดเก็บสินค้า

การบริหารจัดการคลังสินค้า - Warehouse Management

ข้อเสียของการบริหารจัดการคลังสินค้า

แม้ว่าคลังสินค้าจะส่งผลดีต่อหลาย ๆ ธุรกิจ แต่อย่างไรก็ดี ยังมีข้อเสียต่าง ๆ ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยข้อเสียหลักสำหรับคลังสินค้ามีดังนี้:

ปัญหาการด้านการควบคุม

ธุรกิจอาจเผชิญหน้ากับปัญหาด้านการควบคุมการทำงานและการจัดการของคลังสินค้าในภาครวมหากบริษัทภายนอกที่เข้ามาร่วมงานด้วยมีบริการที่แย่ ตัวอย่างเช่น การจัดส่งล่าช้า สินค้าเสียหาย เป็นต้น โดยอาจสร้างความเสียหายที่ไม่สามารถทดแทนได้ หรืออาจมีค่าใช้จ่ายที่ตามมาภายหลัง

มีค่าใช้จ่ายสูงในการเริ่ม

ช่วงแรกเริ่มต้นในการจัดการคลังสินค้ามักมีค่าใช้จ่ายที่สูงสำหรับธุรกิจใหม่หรือธุรกิจขนาดเล็ก ดังนั้นแล้ว บริษัทหรือร้านค้าอาจต้องจ้างบริษัทจากภายนอก

มีค่าใช้จ่ายในการทำงานที่สูง

นอกจากค่าใช้จ่ายในช่วงเริ่มต้น ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ระบบดูแลจัดการคลังสินค้าอัตโนมัติ การจัดการพนักงาน ค่าเช่า บิลต่าง ๆ และภาษี ซึ่งทั้งหมดนี้ คือค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน

มีความเสี่ยงและภัยอุบัติเหตุ

การทำงานในคลังสินค้าอาจมีการใช้อุปกรณ์และเครื่องไม้เครื่องมือที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ หากพนักงานขาดทักษะและมีการใช้งานอุปกรณ์อย่างผิดวิธี อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงและอุบัติเหตุได้

อาจมีการสูญเสียของสินค้า

พื้นที่จัดเก็บที่ใหญ่ไม่ได้ช่วยการันตีการขายของสินค้า หากขาดความรู้ในการคาดคะเน บริษัทอาจอนุมัติการผลิตของสินค้ามากเกินไปโดยไม่ตรงกับความต้องการของตลาดซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียของสินค้า ดังนั้น บริษัทจึงต้องทำการบ้านและดูตลาดให้ดีก่อนที่จะนำสินค้ามาจัดเก็บที่คลังสินค้า

โลจิสติกส์คลังสินค้าคืออะไร?

โลจิสติกส์คลังสินค้า หรือ Warehouse logistics คือ กิจกรรมในวงกว้างทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระบบซัพพลายเชน ไม่ว่าจะเป็น การจัดเก็บสินค้า การเคลื่อนย้ายสินค้า เป็นต้น โลจิสติกส์คลังสินค้าที่ดีมีประสิทธิภาพมีข้อดีที่โดดเด่นมากมายต่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซโดยมีการพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นในขณะที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน นอกจากนี้ โลจิสติกส์คลังสินค้ายังช่วยแจ้งข้อมูลต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อการทำงานในคลังสินค้า อีกทั้งยังคอยแจ้งความเคลื่อนไหวที่สำคัญอีกด้วย

พื้นฐานเบื้องต้นของโลจิสติกส์คลังสินค้าที่ต้องมี

คลังสินค้าโลจิสติกส์ประกอบไปด้วยเครือข่ายของการทำงานด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับสินค้า การจัดเก็บ หรือการนำสินค้าจัดส่งออก ทั้งหมดนี้มีความเกี่ยวข้องกันทางตรงเพื่อทำให้การทำงานในคลังสินค้าผ่านไปได้ด้วยดีและมีประสิทธิภาพ โดยพื้นฐานเบื้องต้นของโลจิสติกส์คลังสินค้าประกอบไปด้วย:

แผนผังและการออกแบบของคลังสินค้า

โครงสร้างอาคารของคลังสินค้ามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการจัดการคลังสินค้า โดยมันขึ้นอยู่กับว่าคลังสินค้านี้เป็นคลังสินค้าที่สร้างใหม่ หรือเป็นคลังสินค้าที่มีการอัปเกรดซ่อมแซมเพื่อให้เหมาะสมกับธุรกิจนั้น ๆ ปัจจัยทางกายภาพ เช่น พื้นที่จัดเก็บ การทำงานที่ไหลลื่น การหมุนเวียนของสินค้า และระบบการจัดการคลังสินค้า ล้วนแล้วมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในภาครวม

การจัดการสต๊อกและสินค้าคงคลัง

การติดตามผลสต๊อกสินค้าและสินค้าคงคลังช่วยให้รู้ถึงระดับและจำนวนของสินค้าได้อย่างแม่นยำ โดยระบบที่อำนวยความสะดวกอย่างระบบจัดการคลังสินค้าที่มาพร้อมกับทรัพยากรในการทำงานถูกใช้เพื่อพัฒนาระบบและการทำงานในคลังสินค้าให้ดีขึ้น

ความปลอดภัยในคลังสินค้า

หนึ่งในจุดที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดในคลังสินค้า คือการป้องกันภัยอันตรายหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงานในระหว่างการทำงาน

การดูแลเครื่องมือและระบบการจัดเก็บ

การจัดการวัสดุอุปกรณ์เป็นหนึ่งในพื้นฐานที่สำคัญในการทำคลังสินค้า ระบบการจัดเก็บโดยทั่วไปแล้วมักขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการจัดเก็บ ประเภทของสินค้า การรวมของสินค้า และต้นทุน เช่นเดียวกันกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานในคลังสินค้าซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อการทำงานในคลังสินค้า

ข้อดีและประ โยชน์ที่ได้รับจากโลจิสติกส์คลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพ

เป้าหมายใหญ่ที่สำคัญที่สุดในการทำโลจิสติกส์คลังสินค้า คือ การจัดส่งสินค้าที่ใช่ไปยังลูกค้าที่ใช่ในเวลาที่เหมาะสมโดยใช้ต้นทุนในการจัดส่งที่ต่ำที่สุด

โดยข้อดีอื่น ๆ ที่สำคัญที่ได้รับจากโลจิสติกส์คลังสินค้ามีดังนี้:

  • ด้วยบริการที่มีการกำหนดแน่ชัดและมีการนำเงินทุนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายทางด้านต้นทุนและการลงทุนอื่น ๆ ที่อาจตามมาภายหลัง
  • ช่วยให้ธุรกิจสามารถคาดเดาการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่อาจตามมาภายหลัง โดยการวางแผนและพัฒนากลยุทธ์ให้เหมาะกับความท้าทายนั้น
  • ช่วยให้บริษัทปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงของตลาดในช่วงนั้น ๆ ในขณะที่ยังสามารถรักษามาตรฐานในภาครวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการคลังสินค้า - Warehouse Management

การจัดการคลังสินค้า

การจัดการคลังสินค้า คือ การทำงานร่วมกันที่มีซับซ้อนด้วยกลยุทธ์ที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเพื่ออัปเกรดการทำงานภาครวม และเพื่อสร้างกำไรให้กับธุรกิจผ่านการทำคลังสินค้า การจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพช่วยให้บริษัทได้เข้าถึงมุมมองภาครวมขององค์กรที่ดีกว่า และยังช่วยทำให้การทำงานในคลังสินค้าดีขึ้น มีความโปร่งใส และสร้างผลลัพธ์ด้วยต้นทุนที่ต่ำ

ข้อดีของการจัดการคลังสินค้า

การจัดการคลังสินค้าที่ได้ผลลัพธ์ดีและมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดผลประโยชน์มากมายแก่การเติบโตของธุรกิจในหลาย ๆ ทาง ได้แก่

จัดการสินค้าคงคลังที่ดีกว่า

การจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถมองเห็นจำนวนสินค้าคงคลังและการทำงานได้อย่างแม่นยำและเรียลไทม์ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถคาดคะเนความจำเป็นของซัพพลาย เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดและปัญหาสินค้าค้างส่ง

นำพื้นที่มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดการทำงานที่ไม่จำเป็น

การจัดการคลังสินค้าช่วยให้การทำงานในคลังสินค้ามีความคล่องตัวด้วยข้อมูลที่ถูกวิเคราะห์ออกมาที่ช่วยให้รู้ว่าสินค้าไหนเป็นที่ต้องการในตลาดหรือสินค้าไหนยังคงมีเหลือในคลัง ด้วยข้อมูลในระบบด้วย ทำให้ธุรกิจสามารถจัดสรรพื้นที่ในการจัดเก็บและใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งช่วยลดปัญหาการสูญเสียของสินค้าหากสินค้านั้นมีวันหมดอายุ นอกจากนี้ ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการเคลื่อนย้ายสินค้าที่ไม่มีความจำเป็น ลดการใช้เวลาในการจัดวางสินค้า และลดค่าใช้จ่ายการทำงานในภาครวมอีกด้วย

เต็มไปด้วยพนักงานที่มีความรู้ความสามารถ

ระบบการจัดการคลังสินค้าช่วยให้สามารถกระจายหน้าที่การทำงานไปยังพนักงานที่ใช่โดยขึ้นอยู่กับความถนัดของพนักงานคนนั้น ๆ การเพิ่มประสิทธิภาพของคลังสินค้าช่วยสร้างทักษะให้กับพนักงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

มองเห็นการจัดเก็บได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

วัสดุอุปกรณ์หรือแม้แต่สินค้าในคลังสินค้าสามารถถูกติดตามได้อย่างง่ายดายด้วยการจัดการคลังสินค้าที่ถูกวิธี การนำระบบการจัดการคลังสินค้าแบบอัตโนมัติมาใช้ในคลังสินค้าช่วยลดความซ้ำซ้อนของสินค้า ระบุจำนวนสินค้าในคลังและข้อมูลอย่างแม่นยำ ทั้งยังสามารถให้ข้อมูลเพื่อการตรวจสอบย้อนหลังในอนาคต และช่วยให้การบำรุงรักษาคลังสินค้าจัดการได้ง่ายอีกด้วย

ทำให้ระบบซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทานดีขึ้น

การจัดการคลังสินค้าที่ดีส่งผลลัพธ์ที่ดีในภาครวมต่อระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยระบบการจัดการคลังสินค้าทำหน้าที่เป็นเหมือนสายพานที่เชื่อมต่อทุกขั้นตอน ตั้งแต่การนำสินค้าเข้าคลัง ไปจนถึงนำสินค้าจ่ายออกเพื่อการจัดส่งไปยังลูกค้า ทั้งหมดนี้ช่วยให้การทำงานในภาครวมเกิดประสิทธิภาพและยังช่วยลดค่าใช้จ่ายอีกด้วย และด้วยการทำงานที่ดีกว่าช่วยให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำ ลดความเสี่ยงและสร้างความน่าเชื่อถือในทุก ๆ ขั้นตอนในการจัดส่ง

ทำให้ระบบซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทานดีขึ้น

การจัดการคลังสินค้าที่ดีส่งผลลัพธ์ที่ดีในภาครวมต่อระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยระบบการจัดการคลังสินค้าทำหน้าที่เป็นเหมือนสายพานที่เชื่อมต่อทุกขั้นตอน ตั้งแต่การนำสินค้าเข้าคลัง ไปจนถึงนำสินค้าจ่ายออกเพื่อการจัดส่งไปยังลูกค้า ทั้งหมดนี้ช่วยให้การทำงานในภาครวมเกิดประสิทธิภาพและยังช่วยลดค่าใช้จ่ายอีกด้วย และด้วยการทำงานที่ดีกว่าช่วยให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำ ลดความเสี่ยงและสร้างความน่าเชื่อถือในทุก ๆ ขั้นตอนในการจัดส่ง

ช่วยจัดการความเสี่ยงอย่างยั่งยืน

การจัดการคลังสินค้าที่ดีกว่าช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะตามมาได้ ไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันปัญหาราคาที่มีความผันผวน แต่ยังช่วยให้สินค้าถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัย ยิ่งไปกว่านั้น สินค้าที่อยู่ในคลังสินค้ายังอยู่ภายใต้ประกันการดูแล ดังนั้นแล้ว จึงช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน การโจรกรรม หรืออุบัติเหตุ

มีการรองรับและบริการลูกค้าที่ดีขึ้น

ท้ายสุดนี้ การจัดการคลังสินค้าที่ดีและให้ได้ผลลัพธ์มากที่สุดช่วยให้บริษัทสามารถตามติดการจัดตรงได้อย่างเรียลไทม์ ก่อให้เกิดการจัดส่งที่ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้การทำงานเกิดผลลัพธ์ และสร้างความพึงพอใจในภาครวมจากลูกค้าได้

การบริหารจัดการคลังสินค้า - Warehouse Management

การพัฒนาการจัดการคลังสินค้าให้ดีขึ้น

แนวทางที่ใช้ได้จริงในการทำการจัดการคลังสินค้าให้ดีขึ้น ได้แก่

  • นำพื้นที่ที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างประสิทธิภาพสูงสุด การเพิ่มประสิทธิภาพของพื้นที่อย่างมีกลยุทธ์ สามารถทำได้ด้วยวิธีการใช้พื้นที่ในแนวตั้ง การขยายยูนิตในการจัดเก็บ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ การติดตั้งใช้งานเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช่ และอื่น ๆ ทั้งหมดที่กล่าวนี้ช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการทำงานในคลังสินค้าให้ดีขึ้น
  • ทำให้การจัดการคลังสินค้าง่ายขึ้น คลังสินค้าเป็นหนึ่งในภาคส่วนสำคัญสำหรับระบบซัพพลายเชน การจัดการคลังสินค้าให้มีความง่ายขึ้น ลดความซับซ้อน ช่วยยับยั้งข้อผิดพลาดเล็ก ๆ ได้ และยังช่วยยกระดับการบริการในบริษัท สร้างงานที่มีประสิทธิภาพ และการทำงานในภาครวมอีกด้วย
  • นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ระบบการจัดการคลังสินค้าที่ดีหรือระบบจัดการข้อมูล (ERP System) ที่มาพร้อมกับโปรแกรมระบบบริหารคลังสินค้า (WMS) ช่วยพัฒนาและยกระดับประสิทธิภาพ ลดการทำงานแบบแมนนวล ซึ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำมากกว่า

ระบบบริหารคลังสินค้าคืออะไร?

ระบบบริหารคลังสินค้า หรือ WMS ซึ่งย่อมาจาก Warehouse Management System เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่มีไว้เพื่อมาช่วยแก้ปัญหาในการทำงานในคลังสินค้า ระบบบริหารคลังสินค้าที่ดีจะช่วยให้การมองเห็นในภาครวมของคลังสินค้าดีขึ้น เช่น การจัดเก็บ จำนวนสินค้าคงคลัง เป็นต้น และยังช่วยให้ธุรกิจขยายความสามารถไปยังขีดสุดได้ด้วยการนำพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการประสานงานในแต่ละแผนก การนำอุปกรณ์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และการบริหารความเคลื่อนไหวให้ไหลลื่นของสินค้า

ระบบบริหารคลังสินค้า หรือ WMS ถูกออกแบบให้การทำงานเป็นไปตามระบบ ซึ่งช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากมนุษย์ และไม่ก่อให้เกิดข้อผิดพลาดจากระบบการทำงานที่ด้วย

ประเภทของระบบบริหารคลังสินค้า

ระบบบริหารคลังสินค้า หรือ WMS ถูกออกแบบและดำเนินการให้เหมาะกับความต้องการของบริษัทนั้น ๆ ปัจจัยทางด้านกายภาพของบริษัท เช่น ขนาด โครงสร้างพื้นฐาน พื้นที่ตั้ง ประเภท และงบประมาณ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นตัวแปรสำคัญในการออกแบบโครงสร้างระบบบริหารคลังสินค้าเพื่อให้ตรงกับความต้องการ

โดยประเภทของระบบบริหารคลังสินค้ามีดังนี้

Standalone

เป็นระบบพื้นฐานในการทำคลังสินค้าที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบจัดการข้อมูล (ERP) โดยระบบแบบ Stand alone จะทำหน้าที่ดูแลการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของสินค้าภายในคลังสินค้าเท่านั้น

Supply Chain Module

ระบบบริหารคลังสินค้าประเภทนี้ดูแลในทุกส่วนในวงกว้างของระบบซัพพลายเชน ซึ่งมันเป็นระบบที่บริหารจัดการผู้ขาย จัดการขั้นตอนในธุรกิจ จัดการความเสี่ยง และการทำงานในภาคอื่น ๆ ของคลังสินค้า

On-Premise

ระบบบริหารคลังสินค้าประเภทนี้เกิดขึ้นจากข้อมูลภายในองค์กร โดยเป็นการวางรากฐานข้อมูลไว้ในระบบ Server ภายในองค์กรเพื่อการซัพพอร์ตการทำงาน ซึ่งระบบจะถูกติดตั้งในบริษัทเพื่อให้สามารถตรวจสอบและควบคุมการทำงานในภาครวมได้

ERP-Integrated

ระบบบริหารคลังสินค้าประเภทนี้เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ช่วยแก้ปัญหาธุรกิจที่ครอบคลุมมากที่สุดระบบหนึ่ง ซึ่งมันเป็นระบบที่เชื่อมต่อธุรกิจในทุกภาคส่วน เชื่อมขั้นตอนต่าง ๆ ได้อย่างครบวงจร และยังให้ข้อมูลในเชิงลึกเพื่อการเติบโตขององค์กรและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ด้วยจากฐานข้อมูลแห่งเดียวจากระบบ

Cloud-Based Management

เป็นระบบบริหารคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งไม่มีการใช้ฮาร์ดแวร์หรือเซิร์ฟเวอร์มาเกี่ยวข้องการออกแบบ แต่เป็นระบบบริหารที่สามารถใช้งานได้บนเว็บไซต์ ซึ่งหมายความว่าสามารถใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว เข้าถึงง่าย และง่ายต่อการอัปเกรด นอกจากนี้ ยังสามารถขยายหรือลดข้อมูลในระบบได้โดยขึ้นอยู่กับขนาดและความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ

ข้อดีของการใช้ระบบบริหารคลังสินค้า

ในขณะที่การใช้งานระบบบริหารคลังสินค้าที่ดีมีประสิทธิภาพอาจฟังดูเหมือนเป็นการลงทุนที่มีราคาแพงและใช้เวลานานในการวางระบบ แต่การนำระบบบริหารคลังสินค้ามาใช้กลับสร้างผลดีให้กับธุรกิจได้ดังนี้

  • สร้างความเข้าใจในภาครวมของคลังสินค้าและสามารถจัดสรรพื้นที่ในการจัดเก็บได้ดีกว่า
  • การเคลื่อนไหวของสินค้าหรือซัพพลายอยู่ภายใต้การควบคุม
  • มีความยืดหยุ่นในการจัดการออเดอร์หรือคำสั่งซื้อที่มีหลากหลายขนาด
  • พัฒนาประสิทธิภาพและสร้างความแม่นยำในแต่ละขั้นตอน Fulfillment
  • สร้างผลลัพธ์ที่สูง
  • ลดค่าใช้จ่าย
  • ช่วยให้การบริหารจัดการพนักงานที่ดีขึ้น
  • ช่วยให้การควบคุมดูแลความปลอดภัยได้ดีขึ้น
  • การติดตามสินค้าและการจัดส่งมีโปร่งใส
  • ช่วยให้การบริการลูกค้าดีขึ้น

หลักเกณฑ์สำคัญในการเลือกระบบบริหารคลังสินค้า

หลักการพื้นฐานในการบริหารคลังสินค้ามีขึ้นเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถโฟกัสเพื่อพัฒนาภาครวมการทำงานของซัพพลายเชน ในขณะที่การบริหารคลังสินค้าเปรียบเสมือนภาพใหญ่ ดังนั้นแล้ว ผู้ประกอบการควรนำหลักเกณฑ์สำคัญสำหรับการชี้วัดเพื่อนำไปตัดสินใจเลือกระบบบริหารคลังสินค้าที่เหมาะสมกับองค์กร

โดยหลักเกณฑ์สำคัญในการเลือกบริหารคลังสินค้ามีดังนี้

จุดประสงค์

การบริหารคลังสินค้าที่ดีต้องรู้ถึงจุดประสงค์ในการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัทธ์ที่ดีที่สุด

สามารถควบคุมได้ทั้งหมด

การบริหารคลังสินค้ามีขั้นตอนที่ซับซ้อนและมีการประสานจากหลายส่วน ดังนั้นผู้จัดการต้องสามารถติดตามแต่ละขั้นตอนได้เพื่อให้เข้าใจและมองเห็นการทำงานภายในคลังสินค้าได้ทั้งหมด การควบคุมมาตรฐานทำให้การทำงานมีความราบรื่น พร้อมยังช่วยลดปัญหา สร้างความแม่นยำในการบริการ Fulfillment

ใช้ข้อมูลมาอ้างอิงในการตัดสินใจ

ระบบบริหารคลังสินค้าที่ดีช่วยให้ธุรกิจสามารถระบุและวิเคราะห์ส่วนที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษได้ การนำข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจช่วยให้เกิดความแม่นยำมากขึ้นต่อระบบซัพพลายเชนโดยไม่สร้างผลพวงในทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา

มีความยืดหยุ่น

เนื่องด้วยจากการเปลี่ยนของตลาดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ระบบบริหารคลังสินค้าต้องมีความยืดหยุ่นตามความต้องการของตลาด โดยระบบต้องสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ และสามารถลงมือปฏิบัติได้ทันที

มีบริการลูกค้าที่ดี

เมื่อเราพูดถึงการบริการลูกค้าที่มีประสิทธิภาพและความพึงพอใจของลูกค้า การบริการจัดการ Fulfillment ที่ดีคือการจัดส่งที่ตรงเวลา ซึ่งแน่นอน การจัดส่งที่รวดเร็วเป็นกุญแจที่สำคัญที่สุดเมื่อมองในภาครวม

การบริหารจัดการคลังสินค้า - Warehouse Management

การเติมสินค้าเข้าคลังสินค้า

การเติมสินค้าเข้าคลังสินค้า หมายถึง ขั้นตอนการนำสินค้าทั่วไปเติมไปยังคลังสินค้า ซึ่งสินค้าอาจมาจากหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นจากซัพพลายเออร์หรือโรงงาน ซึ่งเป็นการทำงานระหว่างบริษัทกับผู้ขายส่งซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิต การเติมสินค้าเป็นหนึ่งในขั้นตอนเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและซัพพลายเออร์

พื้นฐานเบื้องต้นของการเติมสินค้าเข้าคลังสินค้า

การเติมสินค้าเข้าคลังเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชน ในขณะที่การสร้างความคุ้นเคยหรือเรียนรู้การเติมสินค้าเข้าคลังช่วยให้บริษัทสามารถพัฒนาระบบซัพพลายเชนขององค์กรตัวเองได้ และยิ่งถ้าบริษัทนั้นรู้ถึงองค์ประกอบที่สำคัญในการเติมสินค้า จะยิ่งช่วยให้ธุรกิจสร้างผลกำไรได้มากขึ้น

โดยพื้นฐานเบื้องต้นของการเติมสินค้าเข้าคลังสินค้า ได้แก่

การคาดเดาความต้องการของตลาด

การคำนวนและคาดเดาความต้องการของตลาดเป็นหนึ่งในทักษะพื้นฐานที่ควรมี และยังเป็นองค์ประกอบที่ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อธุรกิจอีกด้วย โดยธุรกิจต้องสามารถปรับตัวอย่างรวดเร็วตามตลาดด้วยข้อมูลที่มีการอัปเดตตลอดเวลา ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถระบุความต้องของสินค้าของตลาดในช่วงนั้น ๆ และยังช่วยสร้างความแม่นยำของสต๊อกสินค้าในกรณีที่ตลาดมีความผันผวน นอกจากนี้ การคาดเดาความต้องการของตลาดยังช่วยเชื่อมต่อร้านค้าและตลาด ทำให้การเติมสินค้าเข้าคลังเกิดประสิทธิภาพ

การคาดเดาระยะเวลาในการรอสินค้า

ระยะเวลาในการรอสินค้า หมายถึง จำนวนวันที่เกิดขึ้นระหว่างมีการสั่งซื้อไปจนถึงวันที่ออกใบเสร็จคำสั่งซื้อ การคาดเดาระยะเวลาในการรอสินค้ามีความสำคัญไม่แพ้การคาดเดาความต้องการของตลาด ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถคาดเดาเวลาที่ใช้ในการหยิบ และแพ็คสินค้า นอกจากนี้ ยังช่วยให้สามารถคาดเดาช่วงเวลาที่ลูกค้ามักสั่งซื้อ การคาดเดาที่แม่นยำช่วยลดระยะเวลาในการจัดส่งและยังช่วยยกระดับการบริการพร้อมยังเพิ่มยอดขายอีกด้วย

การวิเคราะห์การให้บริการ

ในขณะที่การคาดเดาล่วงหน้าสามารถช่วยลดระยะเวลาในการรอสินค้า ธุรกิจจำเป็นต้องมีแนวทางในการหาทางชดเชยกำไรกลับมาหากความต้องการของตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน โดยการให้บริการเป็นหนึ่งในเส้นทางในการชดเชยกำไรกลับมา โดยการบริการที่ดีช่วยสร้างโอกาสในการขายและผลกำไร

การวิเคราะห์วัฏจักรของการสั่งซื้อ

วัฏจักรของการสั่งซื้อ หมายถึง การที่ผู้ซื้อมีการสั่งซื้อสินค้าเป็นประจำ อาจเป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน การวิเคราะห์การสั่งซื้อช่วยให้ธุรกิจสามารถกำหนดจำนวนตัวเลขของสินค้าที่จะนำไปสต๊อกเพื่อเก็บไว้สำหรับคำสั่งซื้อในภายภาคหน้า

การระบุข้อกำหนดในการสั่งซื้อ

หมายถึง ข้อกำหนดในการสั่งซื้อที่ถูกกำหนดขึ้นมาระหว่างซัพพลายเออร์และผู้ขาย ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลสินค้า จำนวนสั่งซื้อขั้นต่ำ ปริมาณสั่งซื้อสูงสุด การโหลด กล่องที่ใช้ในการบรรจุ การวางซ้อน การจัดส่ง และอื่น ๆ ซึ่งการเติมสินค้าเข้าคลังที่ดีจะต้องช่วยสร้างผลตอบแทนให้กับบริษัทได้ในทุกขั้นตอน ดังนั้น การระบุข้อกำหนดในการสั่งซื้อสามารถนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ในการส่งเสริมการขายได้ เช่น การทำเป็นส่วนลด การตั้งราคา และอื่น ๆ

คำสั่งซื้อพิเศษ

คำสั่งซื้อพิเศษเป็นการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเพื่อมาเติมคลังสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดในช่วงนั้น นอกจากนี้ คำสั่งซื้อพิเศษยังรวมไปถึงออเดอร์ที่มีการจัดโปรโมชั่น ลดราคา เปิดร้านใหม่ หรือมีการเปลี่ยนที่จัดเก็บของสินค้าโดยไม่กินพื้นที่จัดเก็บคลัง

หากบริษัทมีทีมงานในการเติมสินค้าเข้าคลังที่เชี่ยวชาญและมีความรู้ในตลาด การเติมสินค้าเข้าคลังเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจะกลายเป็นเรื่องง่ายโดยทันที และสามารถช่วยลดปัญหาสต๊อกล้นหรือสต๊อกขาดได้อีกด้วย

วิธีการเติมสินค้าเข้าคลังสินค้า

ในขณะที่มีทางเลือกและวิธีการมากมายในการสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจในปัจจุบัน การศึกษาถึงวิธีการเติมสินค้าเข้าคลังถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่บริษัทควรเลือกใช้และนำมาปรับให้เข้ากับธุรกิจของตน

วิธีการเติมสินค้าเข้าคลังที่ธุรกิจสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง ได้แก่

Reorder point method การเติมสินค้าแบบหาจุดสั่งซื้อซ้ำ

เมื่อสินค้าใดสินค้าหนึ่งเริ่มมีจำนวนต่ำกว่าเพดานที่ตั้งไว้เพื่อการขาย การหาจุดสั่งซื้อซ้ำสามารถช่วยแก้ปัญหาสินค้าขาดสต๊อกได้ และยังสามารถช่วยให้ธุรกิจสั่งสินค้าล็อตใหม่ได้ทันทีก่อนที่จำนวนสินค้าจะลดลงต่ำกว่าปริมาณสต๊อกที่กันเผื่อไว้

Periodic stock replenishment method การเติมสินค้าภายหลัง

วิธีนี้ช่วยให้ธุรกิจได้ตรวจสอบและเก็บข้อมูลจำนวนสินค้าคงคลังในช่วงเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น หลังจากตรวจสอบจำนวนแล้ว ถึงจะสามารถสั่งซื้อสินค้าเข้ามาเติมตามจำนวน โดยธุรกิจที่มีพื้นที่ใหญ่ในการจัดเก็บมักใช้วิธีนี้ โดยขึ้นอยู่กับการคาดเดาความต้องการของตลาด ความเสี่ยงของสินค้าขาดสต๊อก และพื้นที่ในคลังสินค้า

Top-off method การเติมสินค้าล่วงหน้า

การเติมสินค้าวิธีนี้ เป็นการเติมสินค้าเข้าเพื่อรองรับความต้องการที่สูงของตลาดในอนาคตในช่วงที่มีการซื้อขายที่ต่ำ โดยวิธีนี้เป็นที่นิยมเป็นมากสำหรับผู้ขายปลีกสำหรับสินค้าที่มีการหมุนเวียนที่ดีก่อนที่จะทำการรีสต๊อกสินค้าในคลังสินค้า

On-Demand method การเติมสินค้าตามความต้องการของตลาด

วิธีนี้จะถูกใช้โดยดูความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยบริษัทหรือร้านค้านั้นจะเติมสินค้าเข้าคลังให้พอกับความต้องการของตลาด เพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนและความเสี่ยงจากปัญหาสินค้าค้างสต๊อก

การเพิ่มประสิทธิภาพขั้นตอนการเติมสินค้าเข้าคลังสินค้า

กลยุทธ์ที่ดีและสามารถลงมือทำได้จริงที่สามารถช่วยยกระดับและพัฒนาการเติมสินค้าเข้าคลังมีดังนี้

การวางระบบบริหารคลังสินค้าแบบเรียลไทม์

ระบบบริหารคลังสินค้าแบบเรียลไทม์ช่วยให้สามารถเข้าถึงคำสั่งซื้อและสินค้าได้อย่างง่ายดาย เพื่อให้การทำงานในคลังสินค้าเกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังช่วยเชื่อมขั้นตอน Fulfillment อย่างไร้รอยต่ออีกด้วย

การวิเคราะห์และคาดเดาความต้องการของสินค้า

การวิเคราะห์และคาดเดาช่วยให้ธุรกิจสามารถคาดคะเนยอดขายต่อวันได้โดยคาดเดาจากความต้องการและฤดูกาลของตลาด นอกจากนี้ บริษัทยังสามารถวางแผนเติมสินค้าเข้าคลังได้โดยใช้อิงจากข้อมูลในการคาดคำนวณการ

การตรวจสอบจำนวนสินค้าขายดีอย่างสม่ำเสมอ

หากสินค้าตัวไหนที่มีโอกาสขาดตลาดหรือเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก การเติมสินค้าเพื่อเตรียมรองรับตลาดถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง ซึ่งหมายความว่า บริษัทอาจจะมีการสั่งสินค้าเข้ามาเติมเพิ่มทันทีหลังจากที่เพิ่งมีการรับสินค้าล็อตใหม่เข้ามา การตรวจสอบสินค้าตลอดเวลาช่วยให้ทราบถึงตัวเลขจำนวนที่ถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความต้องการที่ผันผวนของตลาดแบบฉับพลัน

การยกระดับเพื่อสร้างความแม่นยำในการหยิบสินค้า

การนำระบบที่เป็นอัตโนมัติมาใช้ช่วยให้การหยิบสินค้ามีความแม่นยำและลดข้อผิดพลาดต่าง ๆ ได้ ระบบบริหารคลังสินค้าที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการดูแลทั้งหมดช่วยยกระดับการเติมสินค้า และยังดูแลขั้นตอนการทำ Fulfillment ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

การกำหนด KPI

ที่ใช้ได้จริง การนำผลชี้วัดที่ใช้ได้จริงช่วยให้ธุรกิจเข้าใจและตีความจากผลตัวเลขต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งสามารถนำมาเป็นเครื่องผลักดันพนักงานได้เป็นอย่างดี การกำหนด KPI ที่ดีต้องสร้างแรงจูงใจ ท้าทาย และสามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริงได้

การบริหารจัดการคลังสินค้า - Warehouse Management

การบริการคลังสินค้าจาก 3PL

การบริการคลังสินค้าจาก 3PL เป็นการบริการจากบริษัทโลจิสติกส์ภายนอกที่เข้ามามีบทบาทและช่วยให้การทำงานของธุรกิจมีความราบรื่น โดยมีหน้าที่ดูแลการจัดส่ง บริหารคลังสินค้า แยกประเภทสินค้า หยิบ แพ็ค จัดส่งไปยังมือลูกค้า และอื่น ๆ

การบริการคลังสินค้าจาก 3PL ประกอบด้วย

  • การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ
  • การนำเข้าและจัดเก็บสินค้า
  • การหยิบและการแพ็คสินค้า
  • การจัดส่งสินค้า
  • การจัดส่งสินค้าข้ามประเทศ
  • การคืนหรือส่งสินค้ากลับเข้าคลัง

3PL ให้บริการการจัดการคลังสินค้าอย่างไร?

3PL ย่อมาจาก Third-Party-Logistics เป็นธุรกิจโลจิสติกส์ที่เข้ามาช่วยบริษัทหรือร้านค้า มีหน้าที่ดูแลและบริการ Fulfillment โดย 3PL เข้ามาช่วยเติมเต็มและดูแลจัดส่งสินค้าเมื่อลูกค้าทำการสั่งซื้อสินค้าแบบครบวงจร โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • บริษัทหรือร้านค้าทำการสั่งสินค้าเข้าคลังจากซัพพลายเออร์หรือโรงงานผลิต
  • สินค้าที่ถูกเตรียมหรือผลิตไว้แล้วจะถูกนำส่งเข้าไปยังคลังสินค้าของ 3PL
  • 3PL รับสินค้าเข้าคลัง แยกประเภทสินค้า และจัดเก็บตามพื้นที่ที่กำหนด
  • เมื่อมีออเดอร์หรือคำสั่งซื้อเข้ามาจากลูกค้ารายย่อย ข้อมูลต่างๆจะถูกส่งไปยังพนักงาน 3PL ให้ทราบทันที
  • พนักงาน 3PLในคลังสินค้าจะทำการหยิบสินค้าตามรายการ และแพ็คสินค้าใส่กล่องหรือบรรจุภัณฑ์
  • กล่องพัสดุจะถูกนำจัดส่งไปยังที่อยู่ของลูกค้าโดยขนส่งของ 3PL

ข้อดีของบริการคลังสินค้าจาก 3PL

บริการจาก 3PL เป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับบริษัทหรือธุรกิจที่ต้องการเชื่อมการทำงานของระบบซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทานอย่างไร้รอยต่อ และต้องการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง โดยที่ไม่สร้างผลกระทบต่อการทำงานของระบบซัพพลายเชนในภาครวม

ข้อดีของบริการคลังสินค้าจาก 3PL ได้แก่

ลดค่าใช้จ่าย

3PL ที่ดีสามารถช่วยลดต้นทุนการจัดส่งและค่าใช้จ่ายในการบริหารคลังสินค้าได้อย่างมีนัยสำคัญ

มีความยืดหยุ่นและสามารถขยายได้

ตลาดมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในขณะที่ธุรกิจจะต้องคอยรับมือกับความผันผวนของตลาด บริการจาก 3PL สามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ โดยนำข้อมูลที่ถูกวิเคราะห์และความเชี่ยวชาญของพนักงานมาใช้ในการคาดเดาความต้องการของตลาด

ช่วยลดความเสี่ยง

การจัดส่งล่าช้าครั้งคราวเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในระบบซัพพลายเชน แต่อย่างไรก็ดี การบริการจาก 3PL ช่วยเชื่อมต่อขั้นตอนบริการ Fulfillment ได้เป็นอย่างดี ช่วยลดปัญหาการสูญเสียหรือการแตกหักของสินค้าได้

ยกระดับการให้บริการลูกค้าในภาครวม

3PL โดยทั่วไปได้ถูกพัฒนาและมีศูนย์กระจายสินค้าที่ถูกขยายออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถบริการ Fulfillment ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ 3PL ยังช่วยยกระดับและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้โดยผ่านบริการการจัดส่งที่รวดเร็วในขณะที่สินค้ายังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ดี

วิธีการเลือกบริการคลังสินค้าจาก 3PL ที่เหมาะสมกับธุรกิจและมีประสิทธิภาพ

ด้วยตัวเลือกบริษัทโลจิสติกส์ที่มาพร้อมบริการคลังสินค้าซึ่งมีมากมายในปัจจุบัน การเลือก 3PL ที่ใช่และเหมาะสมกับธุรกิจอาจกลายเป็นเรื่องที่ยากจะตัดสินใจ แต่อย่างไรก็ตาม การเลือก 3PL เข้ามาร่วมงานกับธุรกิจมีข้อพิจารณาดังนี้

คุ้มค่าทางด้านราคา

เป้าหมายหลักในการให้องค์กรโลจิสติกส์ภายนอกมาช่วยดูแลด้านซัพพลายเชน คือการตัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป แม้ว่าบริการและราคาค่าให้บริการจะมีให้เลือกมากมายในท้องตลาด แต่ธุรกิจต้องโฟกัสไปที่บริษัท 3PL ที่สามารถตอบโจทย์และเหมาะสมกับธุรกิจและสินค้าของตน

ตั้งอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย

พื้นที่ตั้งมีบทบาทสำคัญในการทำงานภาครวมของบริษัท ดังนั้น การเลือกบริษัท 3PL ที่สามารถให้บริการในพื้นที่ใกล้เคียงกับลูกค้ามักมีข้อได้เปรียบมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่ฐานที่ตั้งของลูกค้า บริษัทสามารถหาคลังสินค้าที่สามารถให้บริการในพื้นที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นระดับภูมิภาค ระดับประเทศ หรือระดับต่างประเทศ

มีความยืดหยุ่น

3PL ที่เข้ามาร่วมงานกับบริษัทและดูแลด้านซัพพลายเชนควรมีความยืดหยุ่นในการให้บริการและขยายได้ เพื่อรองรับการเติบโตและความผันผวนของตลาด

มีระบบทำงานอัตโนมัติ

ระบบทำงานอัตโนมัติคืออนาคตของอีคอมเมิร์ซ ดังนั้น บริษัทหรือร้านค้าควรเลือก 3PL ที่สามารถให้บริการด้วยระบบจัดการคลังสินค้าที่ถูกออกแบบมาให้รายงานผลและทำงานอัตโนมัติ โดย 3PL ที่มีเทคโนโลยีล่าสุดมาปรับใช้ และมีมาตรฐานในอุตสาหกรรมจะสามารถให้บริการที่ดีและแม่นยำกว่า

การบริหารจัดการคลังสินค้า - Warehouse Management

ข้อดีและประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้บริการผู้ให้บริการคลังสินค้าพร้อมส่ง

ธุรกิจสามารถดำเนินได้อย่างราบรื่นมากขึ้นหากใช้บริการคลังสินค้าพร้อมส่ง หรือ 3PL โดยข้อดีของ 3PL ไม่ใช่เพียงแค่มีคลังสินค้าที่กระจายอยู่หลายที่ หรือช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง แต่ 3PL ที่ดีมีประสิทธิภาพยังมีข้อดีอื่น ๆ อีกมากมายดังนี้

เข้าถึงข้อมูลในระบบง่ายและมีคลังสินค้าที่เป็นระบบ

คลังสินค้าของ 3PL ให้บริการด้วยพื้นที่ที่กว้างกว่าและมีระบบที่ดีกว่า ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถติดตามและจัดการสินค้าได้อย่างง่ายดาย ด้วยเหตุนี้ 3PL จึงมีส่วนช่วยให้บริษัทสามารถพัฒนากลยุทธ์เพื่อรองรับเทรนด์ที่จะตามมาได้ด้วยการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์

มีความแม่นยำในการหยิบ แพ็ค และส่งสินค้า

นอกจากระบบการจัดเก็บที่ดีแล้ว 3PL ยังให้บริการ Fulfillment ที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนการหยิบ การแพ็ค และการจัดส่งสินค้า ด้วยพนักงานที่ความเชี่ยวชาญในแต่ละแผนกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการคำสั่งซื้อ จึงทำให้คำสั่งซื้อนั้นได้รับการดูแลและดำเนินการด้วยความแม่นยำมากขึ้น รวมไปถึงจัดส่งไปยังที่อยู่ของลูกค้าอย่างถูกต้องและสินค้ายังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

ช่วยให้ธุรกิจมีเวลาในการขยายและเติบโต

แน่นอนว่าธุรกิจที่ประสบความสำเร็จต้องผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบาก ได้รับการใส่ใจ มีการวางแผน และมีทรัพยากรเพียงพอในการดำเนินการ ด้วยบริการของ 3PL ทำให้บริษัทมีเวลามากขึ้นในการวางแผน พัฒนากลยุทธ์ และสร้างการเจริญเติบโตให้กับบริษัทได้มากกว่า

ข้อดีและประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้บริการผู้ให้บริการคลังสินค้าพร้อมส่ง

แม้ว่าจะมีปัจจัยมากมายที่มีอิทธิพลและส่งผลต่อการทำงานและการบริหารคลังสินค้า การตามหาคลังสินค้าที่ใช่อาจสร้างความอึดอัดใจให้แก่ผู้ประกอบการได้ อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้ ได้ยกข้อพิจารณาที่ดูธรรมดาแต่สามารถปรับมาใช้ได้จริงในการตัดสินใจเลือกคลังสินค้าที่เหมาะสมกับธุรกิจ โดยมีข้อพิจารณาดังนี้

ค่าบริการตามที่จัดเก็บหรือตาม SKU

Stock-keeping unit หรือ SKU ไม่เพียงแต่ช่วยให้สามารถติดตามจำนวนสินค้าคงคลังได้ แต่ยังสามารถช่วยให้ธุรกิจคำนวณพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าได้เช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว ค่าเช่าพื้นที่ในคลังสินค้าขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่ในการจัดเก็บหรือ ต่อ SKU ซึ่งหมายความว่า ธุรกิจจะจ่ายชำระค่าบริการตามการจัดเก็บเท่านั้น

ฤดูกาลของธุรกิจ

ความผันผวนตามฤดูกาลในธุรกิจสามารถส่งผลกระทบต่อการจัดการซัพพลายเชนและคลังสินค้าได้ ดังนั้น บริษัทจึงควรเช่าพื้นที่โดยดูตามความจำเป็นในแต่ละช่วงฤดูกาลของตลาด เพราะค่าเช่าอาจถูกเรียกเก็บแม้เป็นช่วงขาลงในฤดูกาลนั้น นอกจากนี้ บริษัทควรเช่าพื้นที่เพิ่มเติมเผื่อไว้ในช่วงขาขึ้นของสินค้าหรือช่วงวันหยุดในกรณีที่พื้นที่ไม่เพียงพอหรือสินค้าเข้ามาเป็นจำนวนมาก

ที่ตั้งและจำนวนของคลังสินค้า

เนื่องด้วยจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจ การทำงานด้านซัพพลายเชนจำเป็นต้องมีการขยายเนื่องด้วยความซับซ้อนที่มีมากขึ้น ดังนั้น ที่ตั้งของคลังสินค้าที่ดีจะช่วยลดค่าจัดส่งและทำให้การทำงานด้านซัพพลายเชนสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จำนวนของคลังสินค้าที่มีให้บริการต้องพร้อมรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคตอีกด้วย

บริการที่สร้างคุณค่าให้แก่ธุรกิจ

หนึ่งในการบริการคลังสินค้าที่เหนือชั้น คือการเพิ่มหรือสร้างคุณค่าในการบริการ บริการคลังสินค้าที่ดีต้องสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ สร้างความประใจให้กับผู้บริโภคได้ เช่น การบริการที่จัดส่งอย่างรวดเร็วแม่นยำโดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หรือมีการบริการเสริมรองรับหากธุรกิจต้องการสร้างความประทับใจเพิ่มเติมต่อผู้บริโภค

บทสรุป

การรักษาดูแลระบบคลังสินค้ามีความสำคัญต่อทุก ๆ ธุรกิจที่มีการจัดเก็บสินค้า ในขณะที่การจัดการคลังสินค้าอาจมีการพลิกแพลงอยู่ตลอดเวลา แต่ความต้องการในการจัดเก็บสินค้ากลับสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามตลาดที่ขยายขึ้น ไม่ว่าธุรกิจร้านค้าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ล้วนแล้วแต่ต้องมีคลังสินค้าเพื่อเข้ามาช่วยรองรับการทำงานและขยายธุรกิจให้เติบโตในอนาคต
คลังสินค้าและระบบที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มหาศาล ดึงศักยภาพของคลังสินค้ามาใช้ได้อย่างเต็มที่ ควบคุมการซื้อขายของสินค้าคงคลัง ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง จัดส่งตรงเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เพื่อรองรับความต้องการของตลาด และสร้างความพึงพอใจผ่านการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ

คำถามที่พบบ่อย



การเก็บของในคลังสินค้าคืออะไร?
คือ ขั้นตอนการจัดเก็บสินค้าเพื่อการขายหรือกระจายสินค้าในอนาคต


หน้าที่บริการหลักของคลังสินค้ามีอะไรบ้าง?

หน้าที่การทำงานหลักของคลังสินค้า ได้แก่

  • จัดเก็บสินค้า
  • รักษาราคาให้คงที่
  • รองรับความเสี่ยง
  • บริการให้เช่ายืมสิ่งอำนวยความสะดวก
  • อำนวยความสะดวกในการนำเข้าและส่งออกสินค้า



การบริหารคลังสินค้าที่ดีมีกลยุทธ์อะไรบ้าง

ธุรกิจสามารถนำกลยุทธ์การจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพและใช้ได้จริงด้วยการปฏิบัติดังนี้

  • ใช้ระบบบริหารคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพ
  • นำอุปกรณ์เครื่องจักรมาบูรณาการ
  • ขยายกระจายสินค้าไปยังศูนย์กระจายสินค้าหลายแห่ง
  • ใช้ระบบการหยิบสินค้าพร้อม ๆ กัน
  • ใช้บริการ 3PL ในการดูแลคลังสินค้าพร้อมส่ง



การบริหารคลังสินค้าคืออะไร?

กิจกรรมใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดเก็บไปจนถึงการส่งสินค้าจากคลังสินค้าไปยังมือลูกค้า เราเรียกว่า “การบริหารคลังสินค้า” ซึ่งประกอบไปด้วย

  • รับสินค้าเข้าคลังสินค้า
  • จัดการวางสินค้าในพื้นที่ที่กำหนด
  • ทำเอกสารและจัดเก็บข้อมูล
  • ส่งสินค้า
  • บริการลูกค้า



ขั้นตอนหลักของการบริการคลังสินค้า

ขั้นตอนหลักของการบริการคลังสินค้า ประกอบไปด้วย

  • ขั้นตอนนำสินค้าเข้า โดยสินค้าต้องมีความปลอดภัยต่อคลังสินค้าและได้รับอนุญาต
  • ขั้นตอนการคืนสินค้า หากสินค้าจำเป็นต้องถูกตีคืนกลับเข้าคลังในกรณีที่ลูกค้ามีความประสงค์คืนหรือเปลี่ยนสินค้า
  • ขั้นตอนการปล่อยสินค้า มีความเกี่ยวข้องเมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าเข้ามาในระบบ
  • ขั้นตอนการจัดส่ง ดูแลด้านการจัดส่งเมื่อสินค้าพร้อมที่จะออกจากคลังสินค้า
  • ขั้นตอนการจัดการคลังสินค้า ดูแลบริหารคลังสินค้าและสินค้าคงคลังด้วยระบบ

บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการคลังสินค้า

แสกนปุ๊บ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลย!

คุณกำลังมองหาบริการคลังสินค้าเพื่อธุรกิจอยู่ใช่ไหม?

Locad นำเสนอบริการที่จะมาเติมเต็มธุรกิจอีคอมเมิร์ซระดับพรีเมียมสำหรับธุรกิจทุกขนาด เชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์กับผู้เชี่ยวชาญด้านคลังสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ เพื่อลดต้นทุนการจัดส่ง เพิ่มเวลาขนส่ง และปรับปรุงความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าได้แล้ววันนี้!

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!

Locad raises $9 million in Pre-Series B funding round for smart digital logistics and global expansion
Free Locad 2023 Calendar!