ระดับสต๊อกสินค้าคงคลังคืออะไร?
คลังสินค้าเป็นจุดศูนย์การของการดำเนินธุรกิจทั้งหมด ระดับสินค้าหมายถึงสภาวะที่ธุรกิจจัดเก็บสินค้า ไว้ในคลัง
ในจำนวนที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าในราคาและเวลาถูกต้องเหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหา
สินค้าขาดและสินค้าเกิน
ระดับคลังสินค้าสามารถแปรผันได้ขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจและปัจจัยหลายอย่างที่มีผลในช่วงเวลานั้น อย่างไรก็ตาม การรักษาระดับคลังสินค้าให้ได้ตามที่กำหนดไว้จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น แต่ถ้าหากคุณไม่สามารถ
ควบคุมระดับสต๊อกให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้ คุณก็อาจจะพบเจอกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น รายได้ลดลง หรือสินค้าถูกสต๊อกไว้นานเกินไปจนหมดอายุ เป็นต้น
วันนี้ Locad Thailand ชวนเพื่อนๆ มาเรียนรู้กันว่าทำไมการรักษาระดับคลังสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจึง
สำคัญกับทั้งธุรกิจขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ไปลุยกันเลย
ทำไมระดับสินค้าคงคลังจึงสำคัญ?
ระดับสต๊อกสำคัญกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ดังต่อไปนี้
วิธีป้องกันสินค้าขาดสต๊อก
สินค้าขาดสต๊อกเป็นข้อผอดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้และส่งผลกระทบกับการรดำเนินธุรกิจ ทำลายความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณกับลูกค้า ไม่สมารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง เพราะสินค้ามีอยู่บนหน้าเว็บไซต์ หรือ ช่องทางอีคอมเมิร์ซ แต่ไม่มีอยู่จริงในคลังสินค้า
ประเมินประสิทธิภาพการขาย
ระดับสต๊อกที่แม่นยำช่วยให้ติดตามการขายและแนวโน้มของตลาดได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว คุณจะสามารถวางแผนเพิ่มหรือลดสินค้าในสต๊อกเพื่อป้องการสินค้าขาดและสินค้าเกินนั่นเองอีกทั้งยังสามารถระบุได้ว่าสินค้าไหนขายดีและไม่ดีได้อีกด้วย
สินค้าคงคลังมีกี่ประเภท?
สินค้าคงคลังเป็นทรัพยากรงที่สำคัญของธุรกิจ จะต้องทำความเข้าใจกับระดับสินค้า คุณจะต้องอ่านระดับสต๊อกออก
ว่าสินค้าระดับที่นี้ให้ความหมายและส่งผลกระทบอย่างไรกับธุรกิจของคุณ และมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยเพิ่มอัตราหมุน
เวียนของสินค้าในคลัง
ระดับสินค้าคงคลังที่ต่ำสุด (Minimum Inventory Levels)
เป็นระดับสต๊อกที่ต่ำที่สุดที่คุณจะสามารถจัดเก็บสินค้าในคลังได้ ซึ่งทำเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง
และลดความเสี่ยงต่าง ธุรกิจควรที่จะรักษาระดับสินค้าคงคลังอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีสินค้าเพียงพอเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา การวางแผนการผลิต
ระดับสินค้าคงคลังที่สูงที่สุด (Maximum Inventory Level)
เป็นระดับสต๊อกที่สูงที่สุดที่คุณจะสามารถจัดเก็บสินค้าในคลังได้ โดยที่ไม่เกิดผลกระทบต่อธุรกิจ ซึ่งระดับ
สต๊อกนี้จะพิจารณาจากความต้องการของลูกค้าในตลาดและข้อจำกัดด้านการผลิต จุดประสงค์ของระดับสต๊อกที่สูงที่สุด ได้แก้ ลดข้อผิดพลาดหรือการชำรุดในการผลิตสินค้า กำหนดปริมาณสินค้าที่เหมาะสม ช่วยให้ธุรกิจรับมือกับแนวโน้ม
และการผันผวนของตลาดอีคอมเมิร์ซ ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมมอบ ความยืดหยุ่น เพื่อตอบสนอง
ความต้องการของลูกค้านั่นเอง
เมื่อคุณสต๊อกสินค้ามากเกินไป และไม่มีระบบการจัดการสินค้าและออเดอร์ที่มีประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่าในการจัดเก็บสินค้าก็จะเพิ่มสูงขึ้น มีโอกาสชำรุด หรือถูกขโมย
ระดับสินค้าคงคลังที่เป็นอันตราย (Danger Level)
เเค่เห็นชื่อก็รู้เลยว่าไม่ดีแน่ ระดับสต๊อกที่เป็นอันตรายหมายถึง สภาวะสินค้าไม่เพียงพอต่อความความต้องการ
ของผู้บริโภคในตลาด หรือสินค้าหมดนั่นเอง คุณจะต้องเร่งดำเนินการจัดซื้อสินค้าเพิ่ม ซึ่งในเวลานั้นราคาสินค้า
อาจจะแพงขึ้นก็เป็นได้
เนื่องจากตอนนี้ลูกค้ากำลังรอสินค้าจากร้านคุณอยู่ ในเวลานี้คุณคงจะต้องยอมรับกับราคาสินค้าที่มันเพิ่มขึ้น
ตัดใจสั่งซื้อมาเพิ่มลงในสต๊อกเพื่อส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งแลกมากับต้นทุน
ที่สูบขึ้นและกำไรที่ลดลงนั่นเอง
สินค้าคงคลังระดับเฉลี่ย (Average Level)
อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ เป็นปริมาณสินค้าที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ในตลาดอีคอมเมิร์ซ ไม่มากจนสต๊อกบวม หรือไม่น้อยจนเกินไปจนไม่มีขาย
ระดับคลังสินค้าที่เหมาะสมเป็นอย่างไร?
เป็นปริมาณสินค้าที่เหมาะสมที่สุดที่ธุรกิจควรมีในคลังสินค้าหรือศูนย์บริการ Fulfillment การกำหนดระดับสินค้าที่เหมาะสมจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสต๊อกสินค้า และช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาต่างๆ ในการบริหารจัดการสินค้า
หากสต๊อกสินค้าในคลังมากจนเกินไป แต่ไม่มีการไหลเวียนของสินค้า พูดง่ายๆ ก็คือขายไม่ออกนั่นแหละ สินค้าก็จะติดอยู่ในคลังเป็นเวลานาน จนเสื่อมสภาพหรือเน่าเสีย ในทางกลับกัน หากสต๊อกสินค้าไว้น้อยจนเกินไป เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามารัวๆ มารู้อีกที สินค้าหมดซะแล้ว ไม่มีของส่งให้ลูกค้า ซึ่งก็จะทำให้ลูกค้าไม่พอใจ อาจจะไม่มาซื้อสินค้าร้านคุณอีก ซึ่งทำให้ยอดขายและกำไรของธุรกิจลดน้อยลงนั่นเอง
ปัจจัยที่คุณควรพิจารณาเพิ่มปรับระดับสินค้าคงคลังให้เหมาะสม มีดังนี้
- แต่ละธุรกิจมีระดับสต๊อกที่แตกต่างกัน คุณจะต้องวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดและผู้บริโภค ดูความต้องการของลูกค้า และปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อซัพพลายเชนของธุรกิจ
- ปริมาณสินค้าในสต๊อกขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้าหรือแต่ละ SKU สินค้าต่างย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป
- เวลาและฤดูกาลก็มีส่วนเกี่ยวข้อง คุณจะต้องประเมินว่าเดือนหรือไตรมาสไหนที่เหมาะกับการสั่งซื้อหรือเพิ่มสินค้าเข้าคลัง
อย่างไรก็ตาม ในแวดวงธุรกิจนั้น การรักษาระดับของสต๊อกสินค้าไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องจัดการอะไรมากมาย
- ไหนจะต้องเพิ่มปริมาณการสั่งซื้อสินค้าเข้าคลัง
- ไหนจะต้องหาสินค้าเพิ่ม
- ไหนจะต้องขยายการกระจายสินค้า
วิธีการคำนวณระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
ในการกำหนดระดับสต๊อกสินค้าที่เหมาสม จะต้องคำนึงถึง 4 องค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
ความต้องการของลูกค้า
คุณควรวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดและความต้องการของลูกค้าล่วงหน้าสำหรับสินค้าแต่ละประเภทที่คุณกำลังขายอยู่
อัตราส่วนของสินค้าคงคลัง
สำหรับอัตราส่วนของสินค้าคงคลัง คุณสามารถวิเคราะห์แบบ ABC Analysis ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมที่สุดใน
แววงโลจิสติกส์
ประเภทของสินค้า
สินค้าแต่ละประเภทมีลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประเมินระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
สต๊อกสูงสุด/ สต๊อกต่ำสุด/ สต๊อกสำรอง
ในการกำหนดระดับสินค้าคงคลัง คุณจะต้องพิจารณาแต่ละ SKU พื้นที่ที่ใช้จัดเก็บสินค้า ระบบจัดเก็บสินค้า อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน วิธีการจัดการสินค้า และความต้องการของลูกค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซ
Lead Time
จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องทราบเวลาที่ใช้ไปกับการจัดส่งสินค้าจากซัพพลายเออร์มายังคลังสินค้า
รักษาความสมดุลของระดับสินค้าคงคลังสำคัญอย่างไร?
ระดับสินค้าที่สมดุล หรือ สต๊อกสุขภาพดี หมายถึง ประสิทธิภาพและความสามารถที่การสร้างยอดขายและผลกำไรให้กับธุรกิจโดยไม่มีสภาวะสต๊อกขาดหรือสต๊อกเกิน
นอกจากนี้ การรักษาระดับสต๊อกยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการดำเนินในคลังสินค้า เอื้อมถึงความต้องการของลูกค้าได้อย่างคงที่ สร้างความเชื่อใจและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์
Image credits: SlideBazaar.com- Supply chain powerpoint templates
สต๊อกสินค้าไว้มากก็ไม่ได้ สต๊อกน้อยๆ ก็ไม่ดี เพราะมมันจะทำให้คุณต้องเสียเงินจำนวนมากในการเก็บรักษาสินค้า ในที่สุด การเข้าใจระดับสินค้าในคลังได้เป็นอย่างดีจะช่วยให้คุณวางแผนจัดการซัพพลายเชนของธุรกิจได้อย่างมี
ประสิทธภาพ นอกจากนี้คุณจะต้องกำหนดเวลาในการสั่งซื้อสินค้ามาเติมในคลังด้วยเพื่อจัดการและควบคุมคลังสินค้าได้แม่นยำขึ้นนั่นเอง
วิธีการกำหนดระดับสต๊อกที่เหมาะสม
Locad Thailand ได้หยิบยกวิธีกำหนดระดับสินค้าคงคลังในปริมาณที่เหมาะสมมาฝากเพื่อนๆ จะมีข้อไหนน่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย
เวลานำเข้าสินค้าจากแหล่งผลิตมายังคลังสินค้า
เมื่อคุณเข้าใจเวลาในการนำสินค้าเข้าคลังแล้ว จะทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะเพิ่มสต๊อกสินค้าในจำนวนเท่าใด เรามาลองดูข้อควรปฏิบัติในการคำนวนเวลา Lead Time กันเถอะ
- ลองเช็ควัดหยุดของโรงงานผลิตสินค้าหรือซัพพลายเออร์ด้วย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล
- คำนวณเวลาที่ใช้ในการขนส่งสินค้าจากซัพพลายเออร์มายังคลังสินค้า
- พิจารณาเวลาที่คุณใช้ไปกับการรับสินค้าและจัดเก็บในพื้นที่ของคลังสินค้า
ความพร้อมของสต๊อกสำรอง
สต๊อกสำรอง หรือ Safety stock หมายถึง สินค้าที่ทางธุรกิจได้สั่งซื้อเกินจำนวนจากที่คาดการณ์ความต้องการของผู้บริโภคไว้ สำรองลองเอาไว้ในยามฉุกเฉินหรือเวลาที่ขายดีมากๆ เมื่อมีออเดอร์เข้ามามากเกินกว่าที่คุณคาดการณ์เอาไว้ สินค้าสำรองจะทำหน้าที่ทันที ว่าแต่จะสต๊อกสินค้าสำรองไว้เท่าไหร่ดีหล่ะ คุณจะต้องคำนึงถึงปัจจัยดังนี้
- เวลาในการนำสินค้าเข้าคลังที่สูงที่สุด
- จำนวนสินค้าขายสูงสุดต่อวัน
- เวลาเฉลี่ยในการนำสินค้าเข้าคลัง
- จำนวนสินค้าที่ขายเฉลี่ยต่อวัน
สูตรในการคำนวณสต๊อกสำรอง
Safety stock = (Maximum lead time * Maximum daily usage) – (Average lead time * Average daily usage)
สูตรของการสั่งซื้อสินค้าในปริมาณที่เหมาะสม (Economic Order Quantity หรือ EOQ) เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง มันสามารถกำหนดระดับสินค้าคงคลังและสต๊อกสำรองที่เหมาะสม อีกทั้งลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าลงได้ด้วย
ประเมินความต้องการของลูกค้าในตลาด
เช็คแนวโน้มในตลาด ดูว่าลูกค้าต้องการอะไรไว้ล่วงหน้า เพื่อสั่งซื้อหรือสั่งผลิตสินค้าในปริมาณที่เหมาะสม ป้องกันสต๊อกล้นหรือสต๊อกขาด ช่วยให้เราจัดการสินค้าในคลังได้ดียิ่งขึ้น แต่ประเมินความต้องการของสินค้าคงคลังไว้ล่วงหน้าก็ไม่ได้ระดับประกันความแม่นยำ 100% แต่จะช่วยให้คุณได้เข้าใจในรายละเอียดที่เกี่ยวกับการจัดการสินค้านั่นเอง
ข้อควรปฏิบัติในการรักษาระดับสต๊อกให้เหมาะสม
ถ้าพูดถึงระดับสต๊อกที่เหมาะสม เราไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าปริมาณเท่าไหนจึงเรียกว่าเหมาะสม มันขึ้นอยู่กับขนาดและสินค้าของแต่ละธุรกิจ ซึ่งก็จะมีวิธีทั่วๆ ไปในการรักษาระดับสต๊อกสินค้าให้เหมาะสม ดังต่อไปนี้
เสริมธุรกิจด้วยระดับติดตามสินค้าคงคลัง
ระบบติดตามสินค้าคงคลังจะแจ้งข้อมูลสินค้า ตำแหน่งของสินค้า และปริมาณสินค้าในพื้นที่จัดเก็บ คุณจะรับรู้จำนวนสินค้าในเวลานั้นๆ ได้เลย และใช้ข้อมูลดังกล่าวมาพิจารณาว่าจะเพิ่มหรือลดสินค้า หากสินค้าใกล้หมดและความต้องการของลูกค้าในตลาดมีค่อนข้างสูง นั่นแปลว่าคุณจะต้องสั่งซื้อสินค้าเพิ่มแล้วหล่ะ
กำหนดจุดสั่งซื้อใหม่
จุดสั่งซื้อ (Reorder Point) ถือgเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของการดำเนินธุรกิจกิจด้านการวางแผนการจัดการสั่งซื้อสินค้าตลอดไปจนถึงการวางแผนทางด้านการผลิตภายในธุรกิจ เป็นการสร้างความสมดุลให้กับสินค้าในคลัง ในหลายๆ ครังก็จะถูกเรียกว่ Safety stock หรือ สต๊อกสำรองนั่นเอง เพื่อให้มีสินค้าในคลังเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจแบบไม่ขาดมือ
ใช้ระบบจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ
When your business uses an inventory management system that matches the supply chain network, your distribution network can function at maximum capacity.
สื่อสารกับซัพพลายเออร์ให้ชัดเจน
การสื่อสารนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งไม่ว่าคุณจะทำอะไร โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องดีลงานกับซัพพลายเออร์หรือแหล่งจัดซื้อสินค้า คุณจะต้องบอกความต้องการ คุยเรื่องราคา และการดำเนินการทั้งหมดให้ละเอียดรอบคอบและเป็นลายลักษณ์อักษร
ตรวจสอบสต๊อกสินค้าอย่างสม่ำเสมอ
ระบบอัตโนมัติจะช่วยตรวจสอบสินค้าคงคลังได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว คุณสามารถติดต่อบริษัท 3PLs’ fulfillment หรือผู้ให้บริการจัดการสินค้าคงคลังและออเดอร์ได้เลย
เมื่อสต๊อกใกล้หมด จัดการอย่างไร?
- นับสต๊อกว่าตอนนี้คุณมีสินค้าในมือเท่าไหร่แล้ว เช็คว่าเสื่อมสภาพ ชำรุด หรือเน่าเสียหรือไม่
- เช็คสต๊อกสำรองว่ามีเพียงพอหรือไม่ หากไม่พอ คุณจะต้องสั่งซื้อสินค้าเพิ่ม หากมีพอขายก็นำออกมาใช้งานได้เลย และวางแผนที่จะสั่งซื้อสินค้าล็อตถัดไป
- กำหนดจำนวนสินค้าสำรองว่าจะสั่งซื้อเท่าไหร่
- กำหนดระดับสต็อกขั้นต่ำที่ธุรกิจของคุณสามารถจัดเก็บได้
- ติดต่อผู้จัดจำหน่ายเพื่อสั่งซื้อสินค้าเพิ่ม
- จัดแจงเวลาในการดำเนินการกับซัพพลายเออร์ให้ชัดเจน
- ปรับแผนการผลิต หากสินค้าในคลังให้หมด ไม่พอขาย คุณอาจจะต้องวางแผนจำนวนการผลิตใหม่
FAQs | คำถามที่พบบ่อยๆ
สินค้าคงคลังใกล้หมด จัดการอย่างไร?
- ลดเวลาในการดำเนินการของซัพพลายเออร์
- กำจัดสินค้าที่ใช้งานไม่ได้แล้ว
- เพิ่มความถี่ในการสั่งซื้อสินค้า
ประโยชน์ของการจัดการระดับสต๊อกให้เหมาะสมมีอะไรบ้าง?
- ลดค่าใช้จ่ายในจัดเก็บสินค้า
- มีพื้นที่ในการจัดเก็บมากขึ้น
- จัดการคลังสินค้าง่ายและสะดวกขึ้น
- ลดโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย การโจรกรรม หรือสินค้าเน่าเสีย
- เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการซัพพลายเชน
การจัดการคำสั่งซื้ออัตโนมัติมีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
- รักษาระดับสต๊อก
- ลดต้นทุนในกระบวนการจัดการสินค้า
- เพิ่มอัตราการหมุนเวียนสินค้า
- เพิ่มความพร้อมและปรับปรุงพื้นที่จัดเก็บสินค้า
- ลดการสูญเสีย
ลักษณะของระดับสต๊อกที่เหมาะสมมีอะไรบ้าง?
- ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซได้
- ใช้เวลาในการดำเนินการจากซัพพลายเออร์มายังคลังสินค้าน้อย
- สร้างผลกำไรโดยตรงกับสินค้าคงคลัง
- ลดความเสี่ยงทางการเงิน มีเงินหมุนเวียนในคลัง
- อัตราการหมุนเวียนของสินค้าในคลังสูง
- อำนวยความสะดวกในการจัดการสินค้าคงคลัง ลดปัญหาและความวุ่นวายในการดำเนินงาน
- สามารถบอกแนวโน้มการขายที่ผ่านมาได้
ปรับสต๊อกสินค้าอย่างไรให้เหมาะสม?
- ใช้ระบบรายงานระดับสินค้าคงคลังแบบอัตโนมัติ
- ประเมินความต้องการของลูกค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซล่วงหน้า
- ปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อสินค้าให้แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ให้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าคงคลังเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น ระบบสแกนบาร์โค้ด และระบบดึงออเดอร์จากทุกๆ ช่องทางการสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น