จัดการ Dead Stock| 7 วิธีเปลี่ยนของที่ค้างในคลังให้ขายได้ 

ตารางคอนเทนต์

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

หากต้องการให้สินค้าในสต๊อกอยู่เป็นที่เป็นทาง ตามหมวดหมู่ ง่ายและมีประสิทธิภาพต่อการทำไปดำเนินการแพ็คและจัดส่งถึงมือลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันใจได้นั้น คุณจะต้องทราบว่าต้องสินค้าจำนวนเท่าไหร่จึงจะเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซ คุณจะต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และวิเคราะห์ความต้องการของพวกเขาในเวลานั้นล่วงหน้าอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันสต๊อกบวม จัดการ Dead Stock ซึ่งเป็นภาวะสินค้าที่มากเกินกว่าความต้องการในตลาด 

สินค้าที่มากเกินความจำเป็น หรือ Dead stock เป็นปัญหาที่หลายธุรกิจกำลังเผชิญอยู่เป็นประจำ ซึ่งมีผลกระทบหลายๆ อย่าง ทั้งในเรื่องของพื้นที่เต็มเพื่อของยังค้างอยู่ การกระจายสินค้า และรายได้ของธุรกิจ

Dead Stock คืออะไร?

  แล้ว Dead Stock คืออะไร เกิดจากอะไร? จะส่งผลเสียอย่างไรกับร้านของคุณ?  Locad Thailand ได้รวบรวมสาเหตุพร้อมวิธีแก้ไขมาฝากค่ะ

“Dead stock” หมายถึงสินค้าในคลังที่มีมากเกินความจำเป็น ขายไม่ออก เก็บไว้ในคลังเป็นเวลานาน หรือ อาจจะหมดอายุการใช้งาน นอกจากนี้เราจะไม่นำสินค้าประเภทนี้ขายสู่ตลาดหากมีออเดอร์เข้ามา Dead stock จะมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า Safety stock ซึ่งหมายถึง เป็นสินค้าคงคลังที่พร้อมใช้งานได้ทุกเมื่อ 

นอกจากนี้ Dead stock ยังหมายถึง สินค้าขาดสต๊อก หรือสภาวะที่ไม่มีสินค้าขายเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามานั่นเอง เรามาลองดูตัวอย่างสินค้าประเภทนี้กันเถอะ 

Locad Thailand ขอยกตัวอย่างสินค้าประเภทเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องแต่งกายที่เป็น Rare items อยู่ในความนิยมและราคาแพงกว่าปกติ เป็นสินค้าที่แบรนด์ดังเลิกผลิตไปแล้ว หรือที่เราเรียกกันว่า “สินค้า Resale” นั่นเอง 

ตัวอย่างของ Dead Stock 

หลายๆ ครั้งเรามักจะพบว่ามีสินค้าขายไม่ออกมากมายในคลัง ซึ่งอาจจะเกิดจากการสั่งซื้อหรือสั่งผลิตสินค้าที่มากเกินไป ส่วนมากจะเกิดกับสินค้าตามฤดูกาล หรือเกิดความเสียหาย วัตถุดิบหมดอายุ หรือสินค้าคงเหลือจากการดำเนินงานเก็บ-แพ็ค-ส่งที่ผิดพลาด 

แต่สินค้าสภาพดีและถูกต้องตามออเดอร์ที่ลูกค้าส่งกลับมาไม่ใช่สินค้าที่หมดอายุ ยังสามารถนำมาขายต่อได้ สินค้าที่มีอายุการใช้งานจำกัด เช่น ผลิตภัณ์อาหารและยา ซึ่งถ้าไม่ขายออกไปในเวลาที่กำหนดก็จะกลายเป็นสินค้าหมดอายุนั่นเอง

มาลองดูตัวอย่งให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นกันเถอะ ยกตัวอย่างเช่นคุณขายอผลิตภัณฑ์อาหารออนไลน์และคุณสั่งซื้อแป้งสาลี 200 ถุง ตามการการคาดการณ์และประเมินสินค้าคงคลังของคุณ ซึ่งคาดว่าจะขายหมดภายใน 2 เดือน

แต่ก็นั่นแหละ เทรนด์สุขภาพกำลังมาแรงเลยทีเดียในช่วงเวลานี้ ผู้คนไม่ทานแป้งสาลี หันไปทานแป้งอัลมอนด์แทน ทำให้คุณขายสินค้าได้เพียง 50 หน่วยในช่วง 2 เดือน  และไม่มีโอกาสที่จะขายสินค้าที่เหลืออีก 150 หน่วยในเร็วๆ นี้

แป้งสาลีที่เหลืออยู่ในคลังของคุณตอนนี้ คือ Dead stock นั่นเอง ซึ่งจะเสียค่าพื้นที่ในคลังสินค้า ต้องใช้ทั้งแรงงานคนและเครื่องจักร ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นด้วย 

Dead Stock เกิดจากอะไร?

สต๊อกบวม สินค้าขายไม่ออก เกิดขึ้นในแทบจะทุกธุรกิจ ซึ่งมาจากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้ 

1. การคาดการณ์ที่ผิดพลาด 

การคาดการณ์ความต้องการของผู้บริโภคไม่สามารถเป็นไปได้แบบ 100 % ถึงแม่ว่าคุณจะมีเครื่องมือวัดระดับสต๊อกหรือยอดขายก็ตาม ซึ่งอาจะทำให้คำนวณผิดพลาด ยอดสั่งผลิตไม่สมดุลหรือมากกว่าจำนวนออเดอร์ที่เข้ามา ทำให้มีสินค้าในคลังมากจนเกินความจำเป็นจนขายไม่ออกนั่นเอง 

2. ยอดสั่งซื้อไม่สม่ำเสมอ 

นี่คือหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิด Dead stock ได้ เมื่อยอดสั่งซื้อน้อย ของก็ค้างอยู่ในคลังสินค้า เกิดเป็นปัญหาสต๊อกบวมที่คุณจะต้องจัดการก่อนที่สินค้าเหล่านั้นจะหมดอายุ 

3. สินค้าที่ได้รับความเสียหาย 

สาเหตุที่เกิดขึ้นมาจากสินค้าที่มีคุณภาพต่ำ หรือชำรุดในขณะดำเนินการเก็บ-แพ็ค-ส่ง และลูกค้าต้องการตีกลับสินค้านั้นๆ จึงทำให้คุณมีสินค้าในคลังมากจนเกินไป  

4. ขายไม่ดี ขายไม่ออก

เหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายๆ ปัจจัย เช่น สินค้าราคาแพงจนเเกินไป ราคาไม่สมดุลกับคุณภาพ เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตล้าสมัย การตลาดที่ไม่เหมาะสม การแข่งขันสูงจนเกินไป หรือภาวะเศรษฐกิจ ณ เวลานั้น ทำให้ธุรกิจของคุณมีสินค้าในคลังมากเกินกว่าความต้องการของผู้บริโภค 

5. การแข่งขันสูง 

เมื่อสินค้าของคุณมีกลุ่มเป้าหมายคล้ายกับแบรนด์อื่นๆ ในตลาด คุณอาจจะต้องหาจุดเด่นของสินค้าและแบรนด์เพื่อสู้กับพวกเขา พอมีตัวเลือกมากมายในตลาด ลูกค้าก็อาจจะเปลี่ยนใจไปซื้อแบรนด์อื่น ซึ่งส่งผลให้ยอดขายของแบรนด์คุณลดน้อยลง เพราะสินค้าขายไม่ออกนั่นเอง 

6. ขาดระบบจัดการสต๊อก-ออเดอร์ที่มีประสิทธิภาพ

การจัดการสินค้าคงคลังแบบแมนนวลเพิมโอกาสให้สินค้าขายไม่ออก เกิด Dead stock มากขึ้น วิธีการจัดการสินค้าคงคลังแบบดั้งเดิมมีความผิดพลาดสูง ดังนั้นคุณจะต้องหาระบบจัดการสินค้าคงคลังแบบอัตโนมัติ เพื่อให้การดำเนินงานเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าของคุณราบรื่น รวดเร็ว และแม่นยำยิ่งขึ้น 

จัดการ Dead Stock| 7 วิธีเปลี่ยนของที่ค้างในคลังให้ขายได้ 

Dead Stock ไม่ดีต่อธุรกิจของคุณอย่างไร?

สินค้าค้างสต๊อก มีผลต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก สร้างภาระให้กับคุณหลายๆ ด้าน ทั้งในเรื่องเงินทุนและทรัพยากร ผลกระทบของสินค้าที่ค้างในคลังสินค้าจะมีไรบ้าง เรามีคำตอบให้ดังต่อไปนี้ …

1. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง

เมื่อสินค้ามีจำนวนมากก็ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากเช่นกัน และต้องมีระบบการจัดการสินค้าส่วนเกินโดยเฉพาะ เพื่อจัดลำดับการขายออกเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา 

2. ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าเพิ่มขึ้น 

เมื่อมีสินค้าในคลังจำนวนมาก ค่าใช้จ่ายในการสต๊อกสินค้าย่อมเพิ่มขึ้น ไหนจะค่าแรงงาน ค่าระบบ ค่าประกัน และค่าดำเนินการต่างๆ อีกด้วย 

3. ยอมขาดทุน เพื่อขายสินค้าออกไป 

เมื่อสินค้าขายไม่ออก สิ่งที่ทำได้คือขายสินค้าออกไปในราคาเท่าทุนหรือต่ำกว่าทุน ยอมเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายดีกว่าขายไม่ออกเลย ให้ธุรกิจได้ดำเนินต่อเพื่อสร้างผลกำไรในอนาคต 

4. ต้นทุนสูงเพราะต้องจ่ายค่าแรงพนักงานรายเดือน

เมื่อจำนวนสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น มีของที่ขายไม่ออก แต่ในขณะเดียวกันคุณต้องจ่ายเงิน ค่าจ้างพนักงานและค่าเช่าพื้นที่จัดเก็บสินค้าเป็นรายเดือนนั่นเอง 

5. ค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าที่ขายไม่ออก

สินค้าที่ขายไม่ออกถือเป็นทรัพย์สินของธุรกิจที่คุณจะต้องรับผิดชอบ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องจะมีอะไรบ้างไปดูกัน! 

  • ต้นทุนของสินค้า : เป็นจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไปเพื่อผลิตหรือซื้อสินค้ามาขาย 
  • ค่าใช้จ่ายในการสต๊อกสินค้า : ประกอบไปด้วยค่าเช่าพื้นที่โกดัง ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเครื่องมือและระบบ ค่าประกันภัยแบบระบบความปลอดภัย ค่าจ้างพนักงานและทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 
  • ค่าบำรุงรักษา: เช่น การจ้างเเรงงานที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากพวกเขาจะต้องมาจัดการสินค้าที่ขายไม่ออกเหล่านี้นั่นเอง 
  • ค่าเสียโอกาส: การที่สินค้าขายไม่ออก นั่นคือค่าเสียโอกาส เพราะแทนที่คุณจะมีรายได้เข้าธุรกิจโดยที่ไม่ลงทุนไปโดยเปล่าประโยชน์ 

วิธีเปลี่ยนของที่ค้างในคลังให้ขายได้ 

ถึงแม้ว่าธุรกิจจะมีมาตรการป้องกันแต่อย่างใด ก็อาจพบกับสินค้าหมดอายุการขาย (dead stock) ด้วยเหตุผลและปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของธุรกิจเอง การมี dead stock จะหมายความว่ามันใช้พื้นที่คลังสินค้าที่มีค่า รวมทั้งส่งผลกระทบใ้การเงินของธุรกิจติดลบนั่นเอง

เรามาลองดูวิธีการเปลี่ยนจากของขายไม่ออกให้ขายออกกันเถอะ 

1. จัดโปร ขายสินค้าราคาถูก

การจัดโปรโมชั่นช่วยคุณได้ คุณสามารถเปิดขายสินค้า จัดส่วนลดและโฆษณาผ่านช่องทางต่างๆ บนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ เว็บไซต์ของแบรนด์ และสื่อ Social media นอกจากนี้คุณสามารถจัด Flash sale เพื่อกระตุ้นยอดขายได้อีกเช่นกัน 

2. การคืนสินค้ากลับไปยังซัพพลายเออร์ 

ในการจัดการสต๊อกสินค้าที่ขายไม่ออก วิธีง่ายที่สุดคือคุณต้องทำสัญญาเกี่ยวกับการส่งคืนสินค้ากับโรงงานหรือซัพพลายเออร์ หากมีข้อผิดพลาดที่ตรงตามสัญญา คุณจะได้ส่งสินค้าคืนให้กับแหล่งผลิตนั้นๆ ได้

3. จัดเเพ็คเกจ ( Product Bundling)

หากคุณต้องการล้างสต๊อกสินค้า การจับคู่หรือจัดกลุ่มสินค้าเพื่อขายในราคาโปรโมชั่นเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นความสนใจของลูกค้า แต่ในขณะเดียวกันคุณอาจจะไม่ได้กำไรหรือขายสินค้าได้ในราคาเท่าทุน วิธีการนี้เหมาะกับสินค้าประเภทบ้านและสวนและผลิตภัณฑ์ความงาม 

4. ให้ของแถม

คุณสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและสร้างแรงจูงใจในการซื้อสินค้าได้ด้วยของแถม ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีที่จะทำให้คุณล้างสต๊อกเก่าหรือขายของได้นั่นเอง

5. ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ 

ของขายไม่ออก ไม่ได้เป็นเพราะแค่ตัวสินค้า แต่อาจจะเป็นเพราะกลยุทธ์ทางการตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพ แนะนำให้ลองปรับแนวทางการตลาดใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ตั้งราคาที่กระตุ้นแรงจูงใจ เช่น 99 129  159 199 เป็นต้น คุณสามารถเปลี่ยนวิธีการเก็บสินค้า หรือทำคอนเทนท์รูปแบบภาพ วีดีโอ และแคปชั่น หรือเขียนบทความหรือ Blog ที่น่าสนใจ 

6. นำของที่ขายไม่ออกไปบริจาค 

การบริจาคสินค้าที่ไม่มีคนซื้อเป็นหนึ่งในวิธีที่จะทำให้คุณล้างสต๊อกได้  พร้อมทั้งยังเป็นการสนับสนุนกิจกรรมทางการกุศลและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ นอกจากนี้ยังช่วยลดการเก็บสินค้าที่ไม่จำเป็นและลดมลพิษที่มาจากการขนส่งได้อีกด้วย 

7. จัดการสต๊อก ออเดอร์ และสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ

หมดยุคแมนนวลที่พนักงานของคุณจะต้องจดบันทึกข้อมูลของสินค้าในคลังบนกระดาษแล้ว สมัยนี้เรามีเทคโนโลยีระบบจัดการสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เจ้าตัวระบบที่ว่านี้เราเรียกมันว่า ระบบจัดการออเดอร์ (Order Magnagement System หรือ OMS) และระบบจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System หรือ WMS) นั่นเอง

เราจะใช้ระบบ OMS จัดการคำสั่งซื้อของลูกค้า สามารถดึงข้อมูลออเดอร์ได้หลายช่องทางการขายของ ไม่ว่าจะเป็นบนหน้าเว็บไซต์ของธุรกิจ, Shopee, Lazada, Shopify, Tiktok Shop, Woocommerce และอื่นๆ อีกมากมาย ให้แบรนด์อีคอมเมิร์ซจัดการออเดอร์ที่เข้ามาจำนวนมากได้ง่าย รวดเร็ว และราบรื่นยิ่งขึ้น พร้อมสามารถคาดการณ์จำนวนสินค้าที่ต้องการจะผลิตหรือนำมาขายได้แม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันสินค้าขาดแคลนหรือสินค้าล้นคลัง โดยระบบจะแจ้งรายการคำสั่งซื้อ ยอดขาย กำไร จำนวนสินค้าคงคลัง สินค้าขายดี เป็นต้น

ส่วนระบบ WMS เราจะใช้ควบคุม จัดการ และติดตามการดำเนินงานภายในคลังสินค้า โดยระบบจะแจ้งให้ทราบถึงสถานะของสินค้า ตั้งแต่การนำสินค้ามาเก็บไว้ในพื้นที่คลัง (Inbound) การแพ็คสินค้า และการส่งสินค้า เป็นต้น

หากจะลงทันซื้อระบบจัดการสินค้าและคลังสินค้ามาใช้ในธุรกิจก็ดูเหมือนว่าจะต้องลงทุนลงเงินจำนวนมาก และถ้าหากธุรกิจจำเป็นต้องจัดการสินค้าด้วยตนเอง งานเพิ่ม คนเงินก็ต้องเพิ่ม ธุรกิจจะต้องว่าจ้างแรงงานหรือผู้เชี่ยวชาญที่มาจัดการสินค้าให้กับธุรกิจคุณ ซึ่งทำให้ต้นทุนของธุรกิจสูงขึ้นนั่นเอง

ด้วยสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ธุรกิจ Fulfillment ได้เข้ามามีบทบาทในแววงอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ให้บริการจัดการสินค้าและคลังสินค้าออนไลน์ พวกเขามีระบบจัดการสต๊อกและออเดอร์ และระบบควบคุมการดำเนินงานด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์พร้อม แถมยังมีเครือข่ายคลังสินค้าที่น่าเชื่อถือในราคาพิเศษ มีพื้นที่คลังเพื่อจัดเก็บสินค้าให้กับคุณ และมีเครือข่ายขนส่งอันดับต้นๆ ของเมืองไทยในราคาพิเศาอีกด้วย

ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซสามารถทุ่มเทเวลากับส่วนที่สำคัญๆ กับธุรกิจ เช่น การขาย การตลาด การผลิตสินค้า หรือ การบริการ ปล่อยให้งานด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการ Fulfillment ทำให้คุณไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงงานเพื่อมาดูแลตั้งแต่ขั้นตอน เก็บ-แพ็ค-ส่ง ต้นทุนของธุรกิจก็จัดลดลง จัดการสินค้าแม่นยำยิ่งขึ้น และจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และปลอดภัย

เปิดประสบการณ์ Fulfillment กับ Locad ได้แล้ววันนี้!

มาลองวิเคราะห์ Dead Stock กันเถอะ!

การตรวจสอบสินค้าคงคลัง (Inventory audit) เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการจัดการสินค้าคงคลัง  ตรวจสอบว่าจำนวนและคุณภาพของสินค้าที่บันทึกในระบบสอดคล้องกับจำนวนและคุณภาพของสินค้าจริงในคลังสินค้าหรือไม่ การตรวจสอบสินค้าคงคลังจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการจัดเก็บและจัดส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยค้นหาความผิดพลาดของสต๊อกสินค้าด้วย

“เก็บไว้นานแค่ไหน? ถึงจะเรียกว่าสินค้าค้างสต๊อก”

          ในทางบัญชี สินค้าที่ไม่สามารถถูกขายได้ภายใน 1 ปี เป็นสินค้าที่ไม่มีความเคลื่อนไหว เรียกง่ายๆ ว่าขายไม่ออก แต่ในหลายธุรกิจเมื่อเก็บสินค้าค้างถึง 1 ปี ก็ถือว่านานมากแล้วค่ะ ดังนั้นเมื่อเริ่มขายไม่ได้ในเดือนที่ 3-6 จะต้องเริ่มดำเนินการแก้ไขสำหรับปัญหา Dead Stock ในทันที

บทสรุป 

อ่านมาถึงตรงนี้คงจะรู้กันแล้วว่า Dead Stock เป็นอีกภัยสำหรับแบรนด์อีคอมเมิร์ซมากน้อยแค่ไหน ทำให้คุณขาดทุนไปโดยไม่รู้ตัว ปัญหานี้จะหมดไปหากคุณมีการบริหารจัดการสต๊อกที่ดี ให้ความสำคัญกัยการตรวจเช็คสต๊อกอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อให้สะดวกต่อการทำงาน การเลือกใช้ระบบจัดการสต๊อก-และออเดอร์จาก Locad ที่มีการตัดสต๊อกในตัว จะช่วยให้คุณทำสต๊อกได้ง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง

บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับคลังสินค้าคงคลัง

แสกนปุ๊บ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลย!

คุณกำลังมองหาบริการคลังสินค้าเพื่อธุรกิจอยู่ใช่ไหม?

Locad นำเสนอบริการที่จะมาเติมเต็มธุรกิจอีคอมเมิร์ซระดับพรีเมียมสำหรับธุรกิจทุกขนาด เชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์กับผู้เชี่ยวชาญด้านคลังสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ เพื่อลดต้นทุนการจัดส่ง เพิ่มเวลาขนส่ง และปรับปรุงความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าได้แล้ววันนี้!

Up to $250K USD Credits for Locad Customers!

Sign up today and accelerate your growth with Locad’s Partners. Unlock deals across SaaS, Agencies and more.

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!