โลจิสติกส์ขาเข้าในระบบอีคอมเมิร์ซ

ตารางคอนเทนต์

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

เครือข่ายโลจิสติกส์เป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จ โลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพเป็นรากฐานของการจัดการซัพพลายเชนของธุรกิจ ซึ่งจะต้องดำเนินการเก็บ-แพ็ค-ส่งที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพให้กับลูกค้าได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำ 

ว๊าปเข้ามาในคลังสินค้ากันซักหน่อย หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่า โลจิสติกส์ขาเข้า และ โลจิสติกส์ขาออก ในบทความความนี้ Locad Thailand มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับโลจิสติกส์ขาเข้ามาฝากเพื่อนๆ ไปเริ่มกันเลย! 

โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) คืออะไร? 

Inbound Logistics เป็นเครือข่ายที่เน้นการขนส่งและการจัดเก็บสินค้าขาเข้า มีหน้าที่รับและจัดระเบียบการจัดส่งสินค้าขาเข้าคลังสินค้า

การดำเนินการด้านโลจิสติกส์ขาเข้านั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะต้องตรวจเช็คสินค้าอย่างถูกต้อง นำเข้าคลังสินค้าตรงเวลาเพื่อดำเนินการต่อในกระบวนการซัพพลายเชนนั่นเอง

โลจิสติกส์ขาเข้าทำอะไรบ้าง? 

ในขณะนำสินค้าเข้ามาเก็บในคลัง จะมีขั้นตอนอะไรบ้าง ไปดูกัน! 

  • จัดหาวัตุดิบ– จัดหาวัสดุสำหรับผลิตสินค้า ระบุแหล่งจัดหาที่มีคุณภาพ ขอใบเสนอราคา เจรจาต่อรองกับซัพพลายเออร์ 
  • ทำการจ่ายเงิน – ซื้อวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ 
  • ขนส่ง – วิเคราะห์รูปแบบการขนส่งที่สมบูรณ์แบบทและประโยชน์ต่อธุรกิจคุณ 
  •  รับทสินค้าเข้าคลัง– รับทราบข้อกำหนดการสั่งซื้อ ตรวจสอบสินค้าอย่างรอบครอบก่อนนำมาเก็บในคลังสินค้า
  • สต๊อกสินค้าในคลัง -จัดการสินค้าขาเข้าคลังด้วยระบบความปลอดภัยและระบบจัดเก็บสินค้าที่มีประสิทธิภาพ 
  • ควบคุมสินค้าคงคลัง – หนึ่งในงานที่สำคัญที่สุดในกระบวนการซัพพลายเชน คัดจำนวนสินค้าเพื่อจัดเก็บในสภาพดีและลำดับที่ถูกต้อง
  • กระจายสินค้า – ทำการแพ็คและจัดส่งสินค้า 
  • ติดตามสถานะสินค้า – มีเครื่องมือติดตามว่าตอนนี้สินค้าถึงขั้นตอนไหนแล้ว 
  • จัดการเรื่องการส่งคืนสินค้า (Reverse Logistics) -วางแผนระบบและพนักงานสำหรับดูแลสินค้าที่ลูกค้าตีกลับ 

อุปสรรคของโลจิสติกส์ขาเข้า 

ดูเหมือนว่าการนำสินค้าเข้าสินค้าเข้าคลังเป็นเรื่องง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้วก็มีอุปสรรคอยู่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง การขนส่งที่ไม่มีคุณภาพและไม่ตรงเวลา พื้นที่ในคลังสินค้าและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกไม่เพียงพอต่อการจัดเก็บสินค้า เป็นต้น 

1.ค่าขนส่งแสนโหด 

ต้องการนำสินค้ามาสต๊อกในคลัง จากแหล่งผลิตมาที่โกดังสินค้า แต่เจอค่าขนส่งที่แสนจะแพงเกินความจำเป็น แบรนด์น้องใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ อาจจะตกเป็นเหยื่อของค่าคนส่งราคาแพงนี้ได้ ดังนั้นคุณอาจจะต้องค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และเปรียบเทียบค่าบริการของแต่ละบริษัทขนส่งด้วย 

2. ออเดอร์ไปถึงไหนแล้ว ไม่รู้เลย 

ในการดำเนินการเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้า คุณในฐานะแบรนด์ที่ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง ย่อมต้องการทราบว่าตอนนี้สินค้าได้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว เพื่อมั่นใจว่าลูกค้าของคุณจะได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว ทันใจ คุณควรที่จะมีระบบการติดตามสถานะสินค้า และถ้ามีอะไรผิดพลาด คุณจะได้จัดการได้ถูกจุดและทันเวลา 

3. การผลิตไม่มีประสิทธิภาพ

การที่โรงงานผลิตสินค้าออกมาไม่มีคุณภาพอาจสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจของคุณได้ ยกตัวอย่างเช่น สินค้าหาย สินค้ามีคุณภาพต่ำ ใช้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพมาผลิตสินค้าให้กับแบรนด์คุณ หรือ พนักงานไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น 

4. วางแผนการจัดส่งได้แย่มาก 

การวางแผนเพื่อจัดส่งสินค้าเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณไม่มีการวางแผนที่ดี ปัญหาในการจัดส่งสินค้าอาจจะตามมา ยกตัวอย่างเช่น ส่งสินค้าผิดประเภท สินค้าเกินหรือขาด ส่งผิดบ้าน หรือ สินค้าถึงมือลูกค้าไม่ตรงเวลาเพราะการจัดลำดับการส่งมั่วไปหมด เป็นต้น 

5. ระบบวิเคราะ์ข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ 

การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นวิธีเดียวที่จะรักษาซัพพลายเชนไว้ได้เป็นอย่างดี หากคุณไม่มีฐานข้อมูลที่เพียงพอ การต่อยอดธุรกิจก็อาจจะเป็นไปได้ยาก ต้องยอมรับว่า ตอนนี้คุณก้าวเข้ามาในตลาดอีคอมเมิร์ซที่มรการแข่งขันค่อนข้างสูง บวกกับสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนอยู่ตลอดเวลา หากคุณมีกลไกจัดการคำสั่งซื้อ ที่สามารถบอกยอดขายและกำไรรายวัน เดือน หรือปีได้ ย่อมดีต่อธุรกิจของคุณ คุณสามารถนำข้อมูลตัวเลขไปวางกลยุทธ์ หรือ ทำการตลาดเพื่อต่อยอดธุรกิจได้นั่นเอง 

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ขาเข้าของคุณ

ด้วยรูปแบบของตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานเก็บ-แพ็ค-ส่ง จึงเป็นทางออกเดียวเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เริ่มจากโลจิสติกส์ขาเข้าหรือการนำสินค้าเข้ามาเก็บในคลัง เมื่อต้นน้ำทำงานได้ดี ก็จะเป็นผลดีกับขั้นตอนอื่นๆ ทำให้จัดส่งสินค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ประหยัดต้นทุน ลดขั้นตอนการดำเนินที่ไม่จำเป็น หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำสินค้าเข้าคลัง จะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ 

วิเคราะห์ซัพพลายเชน : การวิเคราะห์ซัพพลายเชนของธุรกิจ ช่วยสะท้อนการดำเนินงานในปัจจุบัน มองหาข้อผิดพลาดหรือจุดบอด ทางการจัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ เมื่อเจอรอยรั่วก็ทำการปะมันซะปรับปรุงเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมให้ได้มาตรฐาน 

กำจัดกระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพในคลังสินค้า: หาจุดบกพร่องในการจัดเก็บ แพ็ค และจัดส่งสินค้าและมองหากลไกหรือกลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 

ใช้ระบบการจัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์แบบอัตโนมัติ: ใช้เทคโนโลยีด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ให้เกิดประโยชน์ เพื่อลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากแรงงานคน เพิ่มประสิทธิภาพให้กับโลจิสติกส์ขาเข้าและขาออก จัดเก็บสินค้าได้อย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยลดต้นทุนและกำจัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นนั่นเอง 

กำหนดกฏระเบียบและข้อบังคับสำหรับการนำสินค้าเข้าคลังให้ชัดเจน: ในการจัดการโลจิสติกส์ขาเข้า คุณจะต้องมีข้อตกลงที่ชัดเจนกับทุกๆ ฝ่าย  เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในการจัดการสินค้าและโลจิสติกส์ 

การใช้ระบบการจัดการโลจิสติกส์ขั้นสูง: ติดตั้งระบบเพื่อจัดการโลจิสติกส์ที่ทันสมัย และอัปเดตข้อมูลการขายให้กับธุรกิจ มีการติดติมสถานะการขนส่งแบบเรียลไทม์ 

ขั้นตอนการรับสินค้าเข้าคลัง

  • จัดหาวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าหรือนำมาขาย – ค้นหาผู้ขายและซัพพลายเออร์ที่เชื่อถือได้สำหรับวัตถุดิบที่ต้องการ

  • จัดซื้อวัตุดิบ – การเจรจาต่อรองราคาและการซื้อ

  • รับใบเสร็จ – การซื้อจะถูกบันทึกอย่างเป็นทางการพร้อมกับใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายเมื่อทำธุรกรรมสำเร็จ

  • แจ้งเตือนสถานะสินค้า-เมื่อธุรกรรมสำเร็จ ผู้ขายจะแจ้งให้ทางแบรนด์ทราบเมื่อสินค้าถูกจัดส่ง

  • มีระบบติดตามสถานะสินค้า –ระบบสำหรับให้ข้อมูลการติดตามของการจัดส่งแบบเรียลไทม์และโปร่งใส

  • ส่งสินค้าสำเร็จ– ลูกค้าได้รับสินค้าโดยสมบูรณ์ 

  • รับสินค้าเพื่อนำไปจัดเก็บในคลัง – ตรวจเช็คสภาพและปริมาณของสินค้าก่อนนำมาจัดเก็บในคลัง

  • คลังสินค้าและการจัดเก็บ – สินค้าจะถูกย้ายไปยังสถานที่จัดเก็บภายในคลังสินค้า 

  • ส่งสินค้าผ่านศูนย์กระจายสินค้า – หลังจากที่จัดเก็บ จัดการคำสั่งซื้อ และเเพ็คสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สินค้าถูกส่งไปยังศูนย์กระจายสินค้าที่ตั้งอยู่ใกล้ลูกค้าปลายทาง เพื่อรอพนักงงานขับรถของบริษัทขนส่งมารับหน้าที่ต่อ จัดส่งพัศดุตรงถึงหน้าประตูบ้านนั่นเอง 

  • ดูแลเรื่องการส่งคืนสินค้า– ดูแลเรื่องหากลูกค้าส่งคืนสินค้า ซึ่งอาจจะเป็นเพราะสินค้าเสียหาย จัดส่งผิด และเหตุผลอื่นๆ ซึ่งก็จะต้องพิจารณาและจัดการให้ราบรื่น 

ตัวอย่างโลจิสติกส์ขาเข้า 

โลจิสติกส์ขาเข้าของบริษัทขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์และรูปแบบธุรกิจ นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับกระบวนการของการขนส่งขาเข้า เรามาลองดูตัวอย่างจากแบรนด์รองเท้าที่ชื่อว่า Peter’s Shoes กันเถอะ

  • จัดหาและจัดซื้อวัตถุดิบ – Peter’s Shoes ได้พิจารณาปริมาณหนังและวัตถุดิบอื่นๆ ที่จะนำมาใช้ผลิตรองเท้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในตลาดอีคอมเมิร์ซ จากนั้นก็ได้เจรจารต่อรอง และทำสัญญาร่วมกับซัพพลายเออร์เพื่อผลิตสินค้า

  • จัดการเรื่องใบเสร็จรับเงิน – ทีมจัดซื้อจะสร้างใบสั่งซื้อและส่งไปยังซัพพลายเออร์ 

  • การแจ้งเตือนและการติดตามสถานะสินค้า– เมื่อจัดส่งวัตถุดิบสำเร็จ Peter’s Shoes จะได้รับการแจ้งเตือนพร้อมข้อมูลการติดตามว่าตอนไหนสินค้าจัดส่งไปถึงไหนแล้ว 

  • สินค้าส่งถึงคลัง– จัดส่งรองเท้าจากแหล่งผลิตสินค้ามายังจัดเก็บในคลังสินค้าตามเวลาที่กำหนดไว้ 

  • รับสินค้าเข้าคลัง –  พนักงานที่ดูแลเรื่องโลจิสติกส์ขาเข้า เมื่อสินค้ามาถึงคลัง ทีมงานจะทำการสแกนบาร์โค้ด เพื่อตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่จะนำเข้าคลัง 

  • คลังสินค้าและการจัดเก็บ – จัดเก็บรองเท้าในพื้นที่จัดเก็บที่เตรียมไว้ ด้วยระบบการจัดเก็บสินค้าที่มีประสิทธิภาพ

  •  การส่งคืนสินค้า–  มีทีมดูแลเรื่องการส่งคืนสินค้า เมื่อลูกค้าต้องการส่งรองเท้าคืน เนื่องจากเกิดการชำรุดเสียหายหรือความผิดพลาดในการขนส่ง 

ความสำคัญของโลจิสติกส์ขาเข้าที่มีประสิทธิภาพ 

โลจิสติกส์ขาเข้า เป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญสำหรับการจัดการซัพพลายเชน ซึ่งมีประโยชน์ต่อธูรกิจอีคอมเมิร์ซ ดังต่อไปนี้ 

  • ทำให้เข้าใจถึงวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้ามากยิ่งขึ้น 
  • ประเมิณต้นทุนของวัตถุดิบก่อนผลิตสินค้าได้ 
  • ค่าจัดส่งถูกลง 
  • การขนส่งราบรื่นยิ่งขึ้น 
  • ส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทางได้โดยตรง  
  • มีเสถียรภาพในการดำเนินงานด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์
  • เก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ 
  • สร้างคุณค่าและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลิตภัณฑธ์และธุรกิจ 
  • จัดเก็บและควบคุมสินค้าได้อยู่หมัด ลดข้อผิดพลาด
  • การจัดการซัพพลายเชนของธุรกิจแข็งแรงขึ้น 
  • พัฒนาบริการลูกค้า 

โลจิสติกส์ขาเข้าให้คุณค่าอย่างไรกับซัพพลายเชนของธุรกิจ 

ถ้าลองวาดภาพในหัว ให้ซัพพลายเชนเป็นห่วงโซ่อันหนึ่ง ซึ่งห่วงโซ่นี้ได้เชื่อมต่อขั้นตอนมากมาย ตั้งแต่ผลิต จัดเก็บ กระจายสินค้า การจัดการเรื่องซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ โลจิสติกส์ขาเข้าคือ การตรวจสอบและรับสินค้าเข้ามา

จัดเก็บในคลังสินค้าเพื่อนำไปจัดส่งถึงมือลูกค้าปลายทางเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา

วิธีการคำนวณโลจิสติกส์ขาเข้า?

และนี่ก็คือปัจจัยด้านต้นทุนที่คุณต้องพิจารณาสำหรับการจัดการโลจิสติกส์ขาเข้า

  • ค่าขนส่งวัตถุดิบ
  • ค่าขนส่งทั้งหมดของกระบวนการโลจิสติกส์ 
  • ค่าขนส่งขาเข้า
  • พื้นที่ในคลังสินค้า
  • กำลังคนที่จำเป็นในการจัดการสินค้า
  • ค่าใช้จ่ายสินค้าคงคลัง

การจัดการการขนส่งสินค้าของผู้ขายขาเข้าคืออะไร?

การขนส่งสินค้าขาเข้าคลัง เป็นการตรวจสอบและจัดการเรื่องจัดส่งสินค้าจากซัพพลายเออร์มาจัดเก็บในคลังสินค้า เนื่องจากงานด้านขนส่งมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นในการทำธุรกิจ คุณจึงต้องการตัวช่วยที่สามารถควบคุมต้นทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ลดขั้นตอนในการทำงาน ลดความผิดพลาด และหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น 

การจัดการโลจิสติกส์ขาเข้า VS การจัดซื้อ 

การจัดซื้อไม่ได้แปลว่าการซื้อสินค้าแต่อย่างใด แต่มันคือการเคลื่อนที่ของสินค้าในห่วงโซ่ซัพพลายเชน การจัดการโลจิสติกส์ขาเข้ามีผลกระทบอย่างมากต่อทีมจัดซื้อในองค์กร ดังนั้นการจัดการโลจิสติกส์ขาเข้าที่มีประสิทธิภาพจึงมีผลต่อและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม ด้วยความแม่นยำของระบบ ฝ่ายจัดซื้อก็จะทำงานง่ายและรวดเร็วขึ้น

หากธุรกิจของคุณจัดการเรื่องสินค้าขาเข้าคลังได้เป็นอย่างดี ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกค้าก็จะเป็นไปในทิศทางบวก เนื่องจากการดำเนินงานภายในคลังรวดเร็วยิ่งขึ้น และจัดส่งสินค้าถึงหน้าบ้านได้อย่งปลอดภัยและตรงเวลา 

Inbound Freight Deliveries คืออะไร? 

การวางแผนก่อนจะจัดส่งสินค้านั่นสำคัญ ทีมงานผู้รับผิดชอบจะรวบรวมออเดอร์หลายๆ รายการตามที่อยู่ในระแวกเดียวกัน เรียงลำดับจากใกล้ไปไกล เพื่อลดต้นทุนสำหรับการจัดส่งสินค้า อีกวิธีหนึ่งก็คือจะจัดเส้นทางการจัดส่งตามบริษัทขนส่งที่แต่ละแบรนด์ได้ว่าจ้างไว้  เมื่อสินค้าถูกจัดส่งจากคลังสินค้ามายังสถานีกระจายสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ออเดอร์จะถูกจัดส่งในรูปแบบบริการขนส่งแบบไม่เต็มคันรถหรือส่งของแบบรายชิ้น (LTL)  ไปยังลูกค้าปลายทางตามลำดับ 

ประโยชน์ของการจัดลำดับการขนส่งสินค้า

ค่าจัดส่งลดลงอย่างมาก

ประโยชน์ของการจัดลำดับการขนส่งสินค้า คือ ต้นทุนที่ต่ำลง ลดต้นทุนในส่วนนี้เพื่อไปเพิ่มปริมาณการผลิต แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่อหน่วยก็จะลดลง 

ลดความเสียหายจากการขนส่ง

สินค้าถูกแพ็คหรือบรรจุใส่ภาชนะอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งตัวช่วยกันกระแทก ซึ่งมีโอกาสน้อยที่จะถูกชำรุดเสียหาย

การขนส่งหยุดหงักหรือล่าช้าจะลดลง 

การขนส่งแบบดั้งเดิมสร้างความล่าช้าอยู่บ่อยครั้ง การจัดเส้นทางการจัดส่งตามลำดับจะช่วยขจัดปัญหานี้ และเร่งสปีดในการจัดส่งสินค้ายังลูกค้าไปทางได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 

ไม่ว่าออเดอร์อยู่ตรงไหนก็ติดตามได้ 

ออเดอร์กองเป็นภูเขา จะมัวมานั่งติดตามการขนส่งแต่ละรายการด้วยตัวเองไม่ใช่เรื่องง่ายเลย คุณควรจะมีวิธีการติดตามสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ แม่นยำและรวดเร็ว ดังนั้นการจัดลำดับการจัดส่งสินค้านั้นตอบโจทย์ในส่วนนี้เป็นอย่างยิ่ง คุณจะสามารถติดตามสถานะสินค้าได้จากหมายเลขที่กำกับไว้ 

ความแออัดน้อยลง

รถบรรทุกคันหนึ่ง อัดของเข้าไปเรื่อยๆ ไม่น่าจะเข้าท่าใช่ไหมหล่ะ เพราะมันจะทำให้สินค้าวางไม่เป็นหมวดหมู่ ซึ่งส่งผลให้จุดส่งสินค้าผิดพลาด หรือสินค้าอาจจะชำรุดเสียหายได้ การจัดเรียงพัสดุตามลำดับในการจัดส่งช่วยให้พนักงานขนส่งหยิบพัศดุง่าย หาเจอ ย่นระยะเวลาในการจัดส่งไปได้อีก และสินค้าก็ส่งถึงลูกค้าปลายทางอย่างรวดเร็วนั่นเอง 

เคล็ด (ไม่) ลับ จัดการโลจิสติกส์ขาเข้า และ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้า

จัดการโลจิสติกส์ขาเข้า และปรับปรุงการบริการลูกค้าอย่างไร Locad Thailand มีคำตอบให้ 

  • วิเคราะห์ต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้– หาวิธีหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่ควบคุมไม่ได้ และค่าใช้จ่าบแอบแฝง 

  • วิเคราะห์ต้นทุนการขนส่งสินค้าขาเข้า – มีเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ต้นทุนการขนส่งสินค้าขาเข้าในแต่ละรายการ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

  • การใช้ฐานข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ – พิจารณาธุรกิจของตัวเอง รู้เท่าทันตลาด เพื่อการตัดสินใจเพื่อปรับปรุงและต่อยอดธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด

  • มีตัวช่วยเอาท์ซอส- การว่าจ้างทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและขจัดข้อผิดพลาดในกระบวนการคลังสินค้าและโลจิสติกส์

  • มีระบบติดตามสถานะสินค้าอัตโนมัติ – ออเดอร์กองเท่าภูเขา ติดตามเองทีละรายกายคงไม่ไหว การมีสถานะสินค้าแบบเรียลไทม์จะทำให้ทราบว่าตอนนี้สินค้าดำเนินไปถึงขั้นไหนแล้ว และถ้าหากมีข้อผิดพลาด คุณจะสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีดับคู่ค้าซัพพลายเออร์ได้อย่างไร? 

หากไม่มีซัพพลายเออร์ คุณจะมีสินค้าขายในท้องตลาดอีคอมเมิร์ซได้อย่างไร การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ให้มั่นคงกับเหล่าพี่ๆ น้องๆ ซัพพลายเออร์จึงสำคัญกับการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ แต่ก็ใช่ว่าทุกๆ ซัพพลายเออร์จะเหมือนกัน ทีมจัดซื้อต้องทำความรู้จักพวกเขาอย่างละเอียด พร้อมทั้งมีการสื่อสารและการทำงานร่วมกันที่ดีเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับพวกเขาไว้ 

วิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์ มีดังต่อไปนี้:

  • ทำความรู้จักกับพวกเขาให้มาก – เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ทีมจัดซื้อจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับซัพพลายเออร์ และทำความเข้าใจการบริการ การทำงาน และความต้องการของพวกเขาอย่างละเอียด เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน 

  • ทำความเข้าใจว่าหน้าที่ของซัพพลายเออร์ – ให้การสนับสนุนความสามารถของซัพพลายเออร์ พร้อมทั้งคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตเพื่อแหล่งซื้อขายที่เชื่อถือได้ 

  • เชื่อมต่อกับคู่ค้าเอาท์ซอร์ส -หากคุณรู้จักซัพพลายเออร์อย่างกว้างขวาง คุณจะแหล่งซื้อขายให้เลือกมากมายนมือ เพื่อเลือกเอาท์ซอร์สที่น่าเชื่อถือ และสามารถสร้างกำไรในระยะยาวให้กับธุรกิจของคุณได้

  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงานของซัพพลายเออร์ 

  • ตั้งเป้าหมายมีไว้พุ่งชน – มุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จของธุรกิจ ประเมินสถานะความสำเร็จของธุรกิจ พิจารณาซัพพลายเออร์ที่มีอยู่ในมือ ลิสต์เป้าหมายเอาไว้ พร้อมหากลยุทธ์เพื่อดึงดูดพาร์ทเนอร์รายอื่นๆ 

วิธีควบคุมค่าขนส่ง โลจิสติกส์ขาเข้า 

โลจิสติกส์ขาเข้า หรือ Inbound Logistic มักจะจัดการเกี่ยวกับการจัดซื้อ รับสินค้าเข้าคลัง จัดเก็บสินค้า และเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ลงในสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงมีส่วนสำคัญในการจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยรวม แต่หากไม่มีการวางแผนที่เหมาะสมและขาดข้อมูลการวิเคราะห์ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอาจส่งผลให้เกิดการลงทุนจำนวนมากในบางครั้ง

การวิเคราะห์ค่าขนส่ง 

ซัพพลายเออร์หลายๆ แห่งคิดค่าจัดส่งสินค้าที่ต่างกันออกไป ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซจึงจำเป็นต้องพิจารณาค่าบริการอย่างละเอียดเพื่อให้คุ้มค่าและลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด เพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อดีลงานอย่างชาญฉลาด

การจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ขาเข้า

มีการจัดการด้านโลจิสติกส์ขาเข้าที่มีประสิทธิภาพอย่างเดียวคงไม่พอ จะต้องมีการวางแบบงานคลังสินค้าที่เหมาะสมด้วย การมีเพื่อนคู่คิดด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ที่สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับคุณได้ย่อมเป็นผลดี และประหยัดต้นทุน ซึ่งวิธีการลดต้นทุนมีดังต่อไปนี้ 

การจัดเส้นทางจัดส่งสินค้า

การจัดเรียงเส้นทางการจัดส่งสินค้าช่วยให้ผู้ส่งรู้จุดหมายปลายทางในการส่งพัสดุก่อนหลัง ภายในเวลาที่กำหนด ทำให้สามารถจัดส่งสินค้าได้ถูกต้องและรวดเร็วทันใจลูกค้า

หากธุรกิจของคุณไม่มีการวางแผนเส้นทางจัดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ปัญหาไม่คาดคิดอาจจะเกิดขึ้นได้เช่น จัดส่งผิด ลูกค้าได้รับสินค้าล่าช้า และต้องแก้ไขซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายนั่นเอง ดังนั้นหากคุณมีการวางแผนในส่วนนี้นั่นเอง 

เพิ่มความโปร่งใสให้กับแบรนด์ของคุณ ด้วยการมีระบบติดตามสถานะสินค้า 

เมื่อติดตั้งระบบการทำงานอัตโนมัติ เช่น ระบบการจัดการการขนส่ง บริการขนส่งสินค้าขาเข้า ติดตามสถานะสินค้า คุณจะสามารถส่องได้ว่าสินค้าถูกจัดส่งไปถึงขั้นตอนไหนแบบเรียลไทม์ผ่าน Electronic Data Interchange (EDI) 

บทสรุป 

โลจิสติกส์ขาเข้าอาจดูซับซ้อน แต่ทุกอย่างเป็นไปด้ เพราะเรามีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่พร้อมซัพพอร์ททุกๆ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อให้พวกคุณส่งมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้า ดำเนินงานเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าที่รวดเร็วและราบรื่น และต่อยอดธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ 

บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับโลจิสติกส์

แสกนปุ๊บ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลย!

คุณกำลังมองหาบริการคลังสินค้าเพื่อธุรกิจอยู่ใช่ไหม?

Locad นำเสนอบริการที่จะมาเติมเต็มธุรกิจอีคอมเมิร์ซระดับพรีเมียมสำหรับธุรกิจทุกขนาด เชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์กับผู้เชี่ยวชาญด้านคลังสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ เพื่อลดต้นทุนการจัดส่ง เพิ่มเวลาขนส่ง และปรับปรุงความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าได้แล้ววันนี้!

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!

Locad raises $9 million in Pre-Series B funding round for smart digital logistics and global expansion
Free Locad 2023 Calendar!