ตารางคอนเทนต์

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

การจัดการคลังสินค้าในรูปแบบ Micro-fulfillment สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และยังช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ นิยามประสบการณ์ช็อปปิ้งออนไลน์รูปแบบใหม่ได้อีกด้วย 

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เปลี่ยนความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภคบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไปอย่างสิ้นเชิง จากการแพร่ระบาดใหญ่ของ COVID-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้คน เปลี่ยนจากการซื้อผ่านร้านค้าปลีกเป็นการซื้อขายจากร้านค้าออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเพียงภูมิภาคเดียวที่สร้างนักช็อปออนไลน์ได้ประมาณ 70 ล้านคนนับตั้งแต่เกิดโรคระบาดมา 

วันนี้ Locad Thailand มีบทความเกี่ยวกับ Micro-fulfillment และวิธีปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการคลังสินค้าสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ มาฝากเพื่อนๆ จะมีอะไรน่าสนใจบ้างไปดูกันเลย! 

Micro-Fulfillment? คืออะไร 

การจัดการคลังสินค้าในรูปแบบ Micro-fulfillment เป็นกลยุทธ์ในการจัดตั้งโกดังสินค้าขนาดเล็ก และมักจะใช้ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ ซึ่งคลังสินค้ารูปแบบนี้มักตั้งอยู่ในชุมชนเมืองที่มีประชากรหนาแน่น และอยู่ใกล้กับลูกค้าปลายทาง

ผู้บริโภคในปัจจุบันคาดหวังที่ได้รับสินค้าภายในวันเดียวกับการแพ็คและเริ่มจัดส่ง (Same-day delivery)  ผู้ประกอบการไม่จำเป็นที่จะต้องทำทุกอย่าง เพื่อที่มอบประสบการณ์การช็อปปิ้งออนไลน์ที่เหนือชั้นให้กับลูกค้า Micro-fulfillment เป็นเทคโนโลยีที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว และเพิ่มผลกำไรให้กับคุณ

ธุรกิจยักษ์ใหญ่ทางด้านอีคอมเมิร์ซอย่าง Amazon ได้ลงทุนอย่างจริงจังในระบบการขนส่งเพื่อย่นระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าออนไลน์ ผู้ค้าปลีกรายย่อยจึงหันมาใช้การจัดการคลังสินค้าแบบ Micro-Fulfillment เพื่อทำให้กระบวนการขนส่งสินค้านั้ คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีการดำเนินการแบบ Micro-Fulfillment มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการรับสินค้าด้วยระบบการจัดการออเดอร์แบบอัตโนมัติ และลูกค้าก็สามารถไปรับสินค้าที่หน้าร้านได้เลย

ศูนย์บริการ Micro-Fulfillment

ศูนย์บริการ Micro-Fulfillment คืออะไร?

Micro-fulfillment centers (MFCs) เป็นสถานที่จัดเก็บข้อมูลขนาดเล็กที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซใช้เพื่อจัดเก็บสินค้าในคลัง มักจะติดตั้งระบบอัตโนมัติ โดยพื้นที่จัดเก็บดังกล่าวช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน และยังทำหน้าที่เป็นสถานที่ในการรับของจากร้านค้าในพื้นที่ โดยวัตถุประสงค์หลักของศูนย์บริการคลังสินค้าอัตโนมัติ  คือให้สินค้าในคลังอยู่ใกล้กับลูกค้าปลายทางมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนและเวลาในการจัดส่ง

ศูนย์บริการ Micro-fulfillment มีองค์ประกอบหลักสองส่วนดังนี้ 

  • ระบบการจัดการที่สามารถรองรับคำสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ 
  • พนักงานในการทำการเบิกสินค้าจากชั้นวางของ ดูแลเรื่องการแพ็คและเคลื่อนย้ายสินค้า 

ศูนย์บริการ Micro-fulfillment มีขนาด 10,000 ตารางฟุต ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน มีการเติมสต๊อกอย่างสม่ำเสมอ โดยทั่วไปจะมีการเก็บสินค้าในคลังเพื่อรอดำเนินงาน 24-48 ชั่วโมง เมื่อสินค้าอยู่ในร้านค้า หรือพื้นที่ค้าปลีก ศูนย์บริการ Micro-fulfillment จะอนุญาตให้ลูกค้าสามารถมารับสินค้าจากร้านค้าในพื้นที่ได้

ศูนย์บริการ Micro-fulfillment ที่มีระบบอัตโนมัติระดับ Hi-end จะใช้ประโยชน์จาก AI (Artificial intelligence ) ในการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงการจัดการคำสั่งซื้อ การจัดเก้บสินค้า และการจัดส่ง เมื่อบรรจุสินค้าแล้ว ผู้ให้บริการในท้องถิ่นจะรับสินค้าจากศูนย์และส่งสินค้าให้กับลูกค้าในบริเวณใกล้เคียง เมื่อระยะห่างระหว่างศูนย์บริการ fulfillment และที่อยู่ของลูกค้าลดลง ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะสามารถลดต้นทุนการจัดส่งไปได้อย่างมาก

Micro-Fulfillment จะทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร?

ศูนย์บริการ Micro-fulfillment เป็นทางออกที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ค้าอีคอมเมิร์ซที่ต้องการปรับปรุงการบริการและปรับขนาดคลังสินค้า Micro-fulfillment จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการค้าปลีกได้อย่างไรได้บ้าง ไปดูกัน

  • ใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้วางสินค้ต่อตารางฟุตได้มากขึ้น
  • มีระบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อทราบว่าลูกค้าชอบและคาดหวังกับอะไร
  • มีระบบอัตโนมัติในการหยิบและแพ็ค ซึ่งช่วยให้จัดการสินค้าตามคำสั่งซื้อได้เร็วขึ้น
  • มีความรวดเร็ว และคล่องตัวเพื่อช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า
  • ระยะเวลาในการสั่งซื้อและการจัดส่งสั้นลงและช่วยประหยัดเงิน
  •  ช่วยให้การขยายศูนย์บริการและพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ผู้ค้าสามารถใช้กลยุทธ์มัดใจคนในท้องถิ่นได้ (hyper-localized)
  • ขนส่งได้รวดเร็วขึ้น ประหยัดค่าขนส่ง ยอดขายพุ่ง รายได้เพิ่ม 

Micro-Fulfillment Niche Applications

ศูนย์บริการ Micro-fulfillment พบได้ทั่วไปในภาคอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค FMCG (fast-moving consumer goods) ซึ่งเกี่ยวข้องกับสินค้าที่มีความต้องการสูง เช่น ร้านขายอาหาร ร้านขายของชำ ยา เป็นต้น รวมทั้งสินค้าที่เน่าเสียง่าย และสินค้าที่ขึ้นอยู่กับความต้องการตามฤดูกาล ทั้งนี้ Micro-fulfillment ไม่ได้มีไว้สำหรับร้านค้าออนไลน์เท่านั้น ร้านค้าที่มีหน้าร้านจริงก็สามารถใช้ระบบนี้ไปพร้อมๆ กับการขายสินค้าหน้าร้านได้โดยเฉพาะร้านค้าที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองและชานเมืองที่มีคนอาศัยอยู่จำนวนมาก 

สมัยนี้ผู้คนสั่งซื้อของใช้ส่วนตัวผ่านช่องทางออนไลน์กันทั้งนั้น พร้อมกับความคิดหวังว่าจะได้รับสินค้าอย่างรวดเร็วทันใจ ทุกคนอาจจะเคยเห็นคำว่า “Dark store” ผ่านๆ มันคือศูนย์กระจายสินค้าที่มีลักษณะคล้ายๆ กับร้านสะดวกซื้อ แต่จะมีไว้สำหรับการช็อปปิ้งออนไลน์โดยเฉพาะนั่นเอง เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อสินค้า พนักงานของ dark store ก็จะดำเนินการเบิกสินค้าจากชั้นวางของ แพ็คสินค้า และจัดส่งสินค้า Dark store นำประโยชน์มากมายมาให้กับผู้ค้าขายของชำออนไลน์ ควบคุมสินค้าคงคลังได้ดี จัดการออเดอร์ได้แม่นยำ จัดส่งสินค้าได้ทันใจ ลดต้นทุนการจัดส่ง และยังช่วยปรับปรุง SKU (stock keeping unit) ซึ่งระบบดังกล่าวกลายเป็นที่นิยมในช่วงการระบาดของ COVID-19  

Micro-Warehousing หรือคลังสินค้าขนาดเล็ก เป็นระบบการใช้พื้นที่นอกโกดังคลังสินค้า

แบบดั้งเดิมเพื่อจัดเก็บสินค้าคงคลัง ซึ่งมีแนวคิดที่คล้ายกับ Micro-fulfillment เพราะจุดประสงค์หลักของคลังสินค้าขนาดเล็กคือการย้าย สินค้าคงคลังไปให้ใกล้กับลูกค้ามากขึ้น เพื่อจัดการออเดอร์ได้ทันใจลูกค้า มีประสิทธิภาพมากขึ้น และต้นทุนต่ำ

คลังสินค้าขนาดเล็กสามารถเป็นพื้นที่จัดเก็บขนาดเล็กในห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้าเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดส่งที่รวดเร็วและช่วยให้ลูกค้าสามารถรับสินค้าได้ในพื้นที่

Micro-warehousing ไม่ใช่วิธีการเดียวในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่ผู้ค้าปลีกกำลังจัดเก็บ เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ยา และผลิตภัณฑ์เน่าเสียง่าย และอื่น ๆ ที่ต้องการสภาพแวดล้อมในการจัดเก็บแบบพิเศษที่มีการควบคุมสภาพอากาศ ซึ่งการจัดเก็บอาจจะไม่เหมาะกับการเก็บในคลังสินค้าขนาดเล็ก (micro-warehousing)ในทำนองเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาแพง หรือมีมูลค่าสูงจะมีต้นทุนในการเก็บสินค้าคงคลัง มากกว่าที่จะบรรลุไปตามเป้าหมาย

แน่นอนว่าสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีถูกแพ็คอย่างดีนั้น สินค้าแต่ละชนิดก็มีการจัดเก็บที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เหมาะกับการเก็บไว้ในคลังสินค้าขนาดเล็ก (Micro-warehouse) ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ ที่อยู่ของลูกค้าปลายทาง ทำให้การจัดส่งสินค้าไปถึงมือของพวกเขาได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย หลีกเลี่ยงปัญหาการจัดส่งล่าช้าที่เกิดจากจราจรติดขัด ค่าเช่าสูง และค่าเเรงแพง

ประโยชน์ของศูนย์บริการ Micro-Fulfillment และศูนย์บริการ Fulfillment แบบดั้งเดิม 

ศูนย์บริการ Fulfillment แบบดั้งเดิม นั้นดำเนินการช้าและไม่มีความคล่องตัวในการติดตามคำสั่งซื้อทางออนไลน์  ในขณะที่ศูนย์บริการ Micro-fulfillment เข้ามาทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่นมากกว่าในส่วนนี้นั่นเอง

ศูนย์บริการ Micro-fulfillment มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เท่าๆ กับห้องในชั้นใต้ดินหรือลานจอดรถ มีการออกแบบโครงสร้างเล็กๆ กะทัดรัด ข้อดีคือติดตั้งได้ง่าย พื้นที่ใดก็ได้ แม้แต่ในเมืองที่มีความพลุกพล่านก็สามารถติดตั้งได้เช่นกัน 

ศูนย์บริการคลังสินค้าและจัดส่งแบบดั้งเดิม มักจะใช้พื้นที่ในการติดตั้งประมาณ 1,000 ฟุต และจะอยู่ตามเขตชานเมือง ที่มีพื้นที่กว้าง ซึ่งมีต้นทุนในการดำเนินงานค่อนข้างสูง สถานที่ที่อยู่ไกลออกไปทำให้เพิ่มเวลาและค่าจัดส่ง ดังนั้นคลังสินค้าที่ทันสมัยจึงสามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้มากกว่า เพราะมีบริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่ดีกว่านั้นเอง 

Key Considerations in Micro-Fulfillment

ศูนย์บริการ Micro-fulfillment สามารถจัดการกับข้อจำกัดของคลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้าแบบเดิม ๆ เพื่อให้ประสิทธิภาพในการทำงาน และการให้บริการลูกค้านั้นดีขึ้น แต่ก็มีหลายสิ่งที่ผู้ค้าปลีกต้องคำนึงถึงก่อนจะใช้ระบบการจัดการสินค้าแบบ Micro-fulfillment

Site Selection เลือกสถานที่ติดตั้งคลังสินค้าให้เหมาะสม  

ถึงแม้ว่าศูนย์ระบบการบริการ Micro-fulfillment จะไม่ซับซ้อนเหมือนระบบดั่งเดิม แต่ไม่ใช่ว่าทุกที่จะเหมาะกับการติดตั้ง ซึ่งมีข้อควรพิจารณาบางประการ ดังต่อไปนี้ 

  • หาสถานที่มีถนนหรือทางสัญจรสะดวก 
  • สถานที่ที่ใกล้กับท่าเรือและเรือสามารถจอดเทียบท่าได้ 
  • หาสถานที่ที่พร้อมติดตั้งระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ

Inventory Implications สินค้าคงคลังหมายถึงอะไร?  

สินค้าคงคลังเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้ค้าอีคอมเมิร์ซ 

ใช้ระบบการจัดการสินค้าและจัดส่งแบบ  Micro-fulfillment ผู้ค้าปลีกต้องมั่นใจว่าศูนย์ปฏิบัติตามข้อกำหนดขนาดเล็กนั้นถูกวางไว้อย่างมีกลยุทธ์ภายในเครือข่าย และสามารถเติมสินค้าได้อย่างรวดเร็วเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่สินค้าหมดสต็อก

ผสานระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน

การผสานระบบต่างๆ เข้าด้วยกันนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น เเต่มักจะถูกมองข้ามอยู่บ่อยๆ ผู้ค้าจะต้องมีระบบการจัดการต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น ระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร (ERP)  ระบบขายหน้าร้าน(POS) และระบบการจัดการคำสั่งซื้อ (OMS)

Special Consumer Goods

ไม่ใช่สินค้าทุกอย่างที่จะเหมาะกับการจัดการสินค้ารูปแบบ Micro-fulfillment การจัดการสินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ เช่น ของชำ อาหาร และยา อาจจะเป็นปัญหาได้ ถ้าหากผู้ค้าปลีกไม่มีความพร้อมในการเก็บและรักษาสินค้าที่เหมาะสม วิธีการแก้ไขแบบ Hybrid automation ก็สามารถช่วยได้ แต่การแก้ไขแบบวิธีดังกล่าวอาจจะต้องมีการใช้พื้นที่เพิ่มเติม

ศูนย์บริการ Micro-Fulfillment

กลยุทธ์ Micro-Fulfillment และการเติบโตของการค้าขายในตลาดอีคอมเมิร์ซ 

การตั้ง Micro-fulfillment อย่างมีกลยุทธ์ในพื้นที่เขตเมือง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการค้าปลีกแบบอีคอมเมิร์ซได้ ไม่ว่าจะสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก แบบการตั้ง Stand-alone หรือ การดำเนินการแบบ backroom space MFCs มีส่วนช่วยในการเติบโตของร้านค้าปลีก โดยการเพิ่มความสามารถของ fulfillment 

มาดูกันว่าศูนย์บริการ Micro-fulfillment มีประโยชน์กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างไรบ้าง 

การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าคงคลัง

ศูนย์บริการ Micro-fulfillment (MFCs) จะช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถปรับปริมาณสินค้าคงคลังได้อย่างเหมาะสม ตามความต้องการและข้อกำหนดของศูนย์บริการ MFCs และในขณะเดียวกันก็ใช้พื้นแลพทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยสาเหตุนี้ในฐานะที่คุณเป็นผู้ค้า คุณจึงสามารถใช้ MFCs เพื่อนำเสนอสินค้าใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดที่ไม่เหมือนใคร

ระบบอัตโนมัติ 

ศูนย์บริการ Micro-fulfillment จะช่วยย่นเวลาและลดต้นทุนในการจัดส่งสินค้า โดยขยับการบริการจัดการสินค้าและจัดส่งอัตโนมัติให้ใกล้ลูกค้ามากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะเพิ่มความคล่องตัวและความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทางนั่นเอง 

ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 

MFCs อาจมีการลงทุนในตอนต้นที่สูงกว่า แต่ดำเนินการได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า ระบบการจัดการสินค้าทั่วไปแล้ว โดยรวมแล้ว ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก็ยังถูกกว่าอยู่ดี เนื่องจากเทคโนโลยีคลังสินค้าแบบอัตโนมัติช่วยลดต้นทุนการดําเนินงาน ผู้ค้าปลีกออนไลน์จึงสามารถดําเนินการได้เร็วขึ้นด้วยต้นทุนต่อคําสั่งซื้อที่ลดลง

ดำเนินการทันใจ ตอบสนองไว

ความเร็วของการขนส่ง เป็นประโยชน์อีกหนึ่งข้อของศูนย์บริการ Micro-fulfillment สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ศูนย์บริการยู่ใกล้กับลูกค้าปลายทางมากขึ้น จึงสารมารถดำเนินการคำสั่งซื้อได้เร็วขึ้นนั่นเอง  

ความปลอดภัยในคลังสินค้า 

ระบบอัตโนมัติช่วยให้เรามั่นใจในความปลอดภัย ซึ่งช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากสินค้ามีน้ำหนักมาก ตกจากที่สูง หรือใช้อุปกรณ์และเครื่องจักรมีน้ำหนัก เป็นต้น 

เทคโนโลยีอะไรที่จะนำมาใช้ใน Micro-Fulfillment?

ระบบอัติโนมัติในรูปแบบต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการสินค้าและจัดส่งในรูปแบบ  Micro-fulfillment เราได้ลิสต์ระบบอัตโนมัติที่น่าสนใจที่คุณสามารถนำมาปรับใช้ในศูนย์บริการ Micro-fulfillment จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน! 

ระบบการจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าอัตโนมัติ (Automated Order Picking) 

ในการเบิกสินค้าออกจากที่เก็บสินค้าหรือชั้นวางของ หุ่นยนต์จะเลือกหยิบสินค้าให้เรา ระบบจะจัดเก็บและดึงข้อมูลอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยในการปรับปรุงการดำเนินการหยิบและบรรจุของคลังสินค้า

Shuttle (AS/RS) and Goods-to-Person (GTP)

ระบบ AS/RS คือ ระบบจัดเก็บและเบิกจ่ายอัตโนมัติ หรือ Automated Storage/Retrieval System (AS/RS) เราจะใช้อุปรณ์หลักๆ ได้แก่ 

  1. ชั้นวางสินค้า (ASRS Racking) ซึ่งมีลักษณะเป็นโครงเหล็ก มีช่องจัดเก็บสินค้าเป็นชั้นๆทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง 
  2. เครนจัดเก็บและเบิกสินค้า (Retrieval Machine) ที่เคลื่อนได้ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง ซึ่งจะถูกควบคุมผ่านโปรแกรมจัดการคลังสินค้าและเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง 

ระบบจะจัดเบิกสินค้าจากชั้นวางสินค้าแต่ละแถวไปยัง Goods-to-Person (GTP) ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่ช่วยในการเติมเติมคำสั่งซื้อ ซึ่งตัวระบบจะดำเนินการแบบ “ของสู่คน” หรือเรียกว่า “ระบบหยินสินค้าสู่ค้า” ก็ได้เช่นกัน จะช่วยการขนถ่านสินค้าลงจากชั้นวางของรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย อีกทั้งยังเพิ่มพื้นที่และปริมาณการจัดเก็บได้อีกด้วย  

ศูนย์บริการ Micro-Fulfillment

Autonomous Mobile Robots (AMRs)

หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ มีความยืดหยุ่นสูง มีการติดตั้งเซ็นเซอร์และกล้อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อนำทางและทำงานโดยไม่ต้องมีคำแนะนำที่กำหนดไว้ล่วงหน้า AMRs สามารถปรับขนาด ความเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพได้โดยลดการเดินเท้าแบบจุดต่อจุดในการดำเนินการหยิบของในคลังสินค้า

ระบบ High-Density Storage  

ระบบการจัดการคลังสินค้าแบบอัตโนมัติทำให้เราเบิกสินค้าออกจากชั้นวางของและเคลื่อนสินค้าไปยัง  Picking station ที่อยู่บริเวณรอบนอกได้ง่ายขึ้น แถมยังสามารถปรับขนาดได้ให้พอดีกับพื้นที่ และทำให้การปฏิบัติงานราบรื่นยิ่งขึ้นอีกด้วย

ศูนย์บริการ Micro-Fulfillment VS Last Mile Strategy

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับกลยุทธ์ Last-mile delivery กันก่อน ไอเดียนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การจัดส่งขั้นสุดท้ายหรือการส่งมอบไมล์สุดท้าย” เป็นการขนส่งก่อนที่ลูกค้าจะได้รับสินค้า ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการซัพพลายเชน รูปแบบการบริการก็จะเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละยุคสมัย โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ผู้คนต่างก็หันมาช้อปปิ้งออนไลน์ ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและตลาดอีคอมเมิร์ซ ผู้บริโภคคาดหวังบริการจัดส่งในวันเดียวกันจากแพลตฟอร์มออนไลน์ ดังนั้น การจัดส่งสินค้าถึงลูกค้าปลายทาง จึงเป็นจุดที่ผู้ค้าปลีกต่อสู้เพื่อปรับปรุงความรวดเร็วในการจัดส่ง และรับรองความพึงพอใจของลูกค้า หากธุรกิจของคุณมีการจัดการคลังสินค้าและจัดส่งในรูปแบบ Micro-fulfillment จะช่วยลดเวลาและระยะทางในการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทาง พร้อมทั้งยังลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จัดส่งได้อย่างรวดเร็ว ทันใจลูกค้า 

Micro-Fulfillment ในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมค้าปลีกได้อย่างไร? 

จากงานวิจัยล่าสุด ธุรกิจที่ใช้ระบบ Micro-fulfillment ทั่วโลกมีโอกาสทำมูลค่าสะสมได้ถึง 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2026 และมีศูนย์บริการ Micro-fulfillment ถึง 2,000 แห่งทั่วโลก นอกจากนั้นได้ตั้งเป้ายอดขายสินค้าออนไลน์ หรือ GMV (Gross merchandise value) ของตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ให้เพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าจาก 62 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 172 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2025

Micro-fulfillment กลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการการจัดส่งที่รวดเร็วภายในวันเดียว การจัดการสินค้าแบบ Micro-fulfillment และ การจัดส่งแบบอัตโนมัติ

อัตโนมัติจึงกลายเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ เนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุนและแรงงานคนได้ และในขณะเดียวกันก็ช่วยปรับปรุงประสบการณ์การช็อปปิ้งให้กับลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย (autonomous delivery) จึงเป็นตัวเลือกทางธุรกิจที่น่าสนใจในการกระจายสินไปขายหลายๆ ช่องทาง

เทคโนโลยี Micro-fulfillment สามารถปรับใช้กับร้านค้าออนไลน์ได้เลย ไม่จำเป็นจะต้องมีศูนย์ Micro-fulfillment แบบ Stand-alone แล้ว เนื่องจากระบบแบบดั้งเดิมจัดเก็บสินค้าได้ในระยะสั้น ไม่เหมาะกับสินค้าที่เน่าเสียงง่าย ดังนั้น Micro-fulfilment จึงเริ่มได้รับการยอมรับจากหลายๆ ธุรกิจในตลาดอีคอมเมิร์ซ

บทสรุป 

แต่ก็มีหลายสิ่งที่ผู้ค้าปลีกต้องคำนึงถึงก่อนจะใช้ระบบการจัดการสินค้าแบบ Micro-fulfillment อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้อาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการปรับการดำเนินงานของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การมีทีมให้บริการทางด้านการจะดการคำสั่งซื้อและจัดส่ง (3PL) เพราะเขามีทีมงานที่เชี่ยวชาญด้านคลังสินและโลจิสต์โดยเฉพาะธุรกิจต่างๆ ก็สามารถลดต้นทุนได้มากขึ้น

บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Fulfillment

แสกนปุ๊บ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลย!

คุณกำลังมองหาบริการคลังสินค้าเพื่อธุรกิจอยู่ใช่ไหม?

Locad นำเสนอบริการที่จะมาเติมเต็มธุรกิจอีคอมเมิร์ซระดับพรีเมียมสำหรับธุรกิจทุกขนาด เชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์กับผู้เชี่ยวชาญด้านคลังสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ เพื่อลดต้นทุนการจัดส่ง เพิ่มเวลาขนส่ง และปรับปรุงความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าได้แล้ววันนี้!

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!