E-Commerce Outbound Logistic|โลจิกติกส์ขาออกสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ตารางคอนเทนต์

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

เมื่อดำเนินการจัดเก็บสินค้า จัดการคำสั่งซื้อ แพ็คลงกล่อง นาทีนี้ก็ถึงเวลาส่งสินค้าออกจากคลัง ขั้นตอนที่สินค้ากำลังออกจากโกดังนี่แหละ เรียกว่า โลจิสติกส์ขาออก หรือ  Outbound Logistics นั่นเอง อาจจะฟังดูง่ายนะ ก็แค่ส่งของไปให้ลูกนี่นา จะไปยากอะไร จริงๆ มันก็ไม่ได้ยากหรอก แต่คุณจะต้องวางแผนการจัดส่งสินค้าอย่างรอบคอบ และมี

พาร์ทเนอร์ด้านขนส่นที่มีคุณภาพเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 

กระบวนการโลจิสติกส์ขาออก 

โลจิสติกส์ขาออก เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าที่ได้เเพ็คลงภาชนะบรรจุเป็นที่เรียบร้อย และพร้อมจัดส่งให้กับลูกค้าปลายทาง ซึ่งมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 

  1. ลูกค้ากดสั่งซื้อสินค้า – โลจิสติกส์ขาออกเริ่มตั้งเมื่อลูกค้ากดสั่งซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ
  2. รับออเดอร์เข้าระบบ : หลังจากที่คำสั่งซื้อเข้ามาในระบบแล้ว ทีมผู้ดูแลโลจิสติกส์ขาออกก็จะหยิบสินค้าที่สต๊อกเอาไว้ในคลัง แพ็ค และติดฉลาก 
  3. เติมสต๊อก -หลังจากที่ออเดอร์เข้า สินค้าในสต๊อกก็ลดน้อยลง ดังนั้นทีมงานในคลังจะต้องเติมหรือสำรองสินค้า เพื่อรักษาระดับสินค้าคงคลังและป้องกันสินค้าขาดสต๊อกนั่นเอง 
  4. หยิบสินค้าตามออเดอร์ – พนักงานในคลังจะหยิบสินค้าจากชั้นวางของเพื่อนำไปแพ็คในขั้นตอนถัดไป แต่ละคลังสินค้าก็จะมีระบบที่จะช่วยเช็คความถูกต้องของออเดอร์ที่แตกต่างกันออกไป
  5. แพ็ค จัดเตรียม และโหลดสินค้า – ทีมงานจะนำสินค้ามาแพ็ค ปิดผนึก และติดฉลากตามใบสั่งซื้อสินค้า เตรียมพร้อมส่งมอบพัสดุให้กับลูกค้าปลายทางในขั้นตอนถัดไป ซึ่งจะต้องเรียงลำดับในการจัดส่งออเดอร์ เวลา และที่อยู่ของลูกค้าปลายทาง ใครส่งก่อนหรือหลัง จากนั้นทางทีมก็จะโหลดสินค้าเหล่านี้ไปยังรถบรรทุก พร้อมกระจายสินค้าให้ลูกค้า 
  6. ทำเอกสาร และ จัดส่งสินค้า – เมื่อลูกค้ากดสั่งซื้อและชำระเงิน คำสั่งซื้อจะถูกส่งไปที่ศูนย์บริการคลังสินค้า จากนั้นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในส่วนโลจิสติกส์ขาออกจะตรวจสอบความถูกต้องว่าสินค้าที่แพ็คแล้วนั้นตรงกับคำสั่งซื้อของลูกค้าหรือไม่ 
  7. Last-Mile Delivery และแล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของโลจิสติกส์ขาออก สินค้าเหล่านั้นจะถูกส่งจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังลูกค้าแต่ละบ้าน และนี่ก็ถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายสูงและซับซ้อนอยู่เหมือนกัน 

ความแตกต่างระหว่าง “โลจิสติกส์ขาเข้า” และ “โลจิสติกส์ขาออก” 

โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) เป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าจากแหล่งผลิตไปยังคลังสินค้าเพื่อจัดเก็บ ในขณะที่โลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) จะเคลื่อนย้ายสินค้าจากคลังสินค้าไปยังลูกค้าปลายทางนั้นเอง ทั้งสองจะเน้นไปที่การขนส่งสินค้า จำง่ายๆ ว่า ขาเข้าเท่ากับการรับสินค้า ส่วนขาออกคือการจัดส่ง

การดำเนินงานของโลจิติกส์ขาออกมีอะไรบ้าง? 

ให้มองการดำเนินงานของโลจิสติกส์ขาออกเป็นวงจรของการจัดการ การขาย และการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทาง จะมีขั้นตอนอะไรบ้างไป ไปลุยกันต่อเลย! 

สต๊อกสินค้า และจัดการระบบคลังสินค้า 

ขั้นตอนแรกของกระบวนการโลจิสติกส์ขาออก เป็นการจัดระเบียบสินค้าในอยู่สภาวะที่เหมาะสม มุ่งเน้นไปที่การจัดส่งสินค้าจากคลังไปยังลูกค้าปลายทาง 

ควบคุมสินค้าคงคลัง 

ก่อนออกจากคลัง ทีมงานจะเช็คว่าสินค้าที่ได้แพ็คตรงตามออเดอร์ของลูกค้าหรือไม่ก่อนส่งมอบให้ลูกค้าในขั้นตอนถัดไป

การขนส่ง 

กลไกและวิธีการจัดส่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของสินค้า

การจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้า 

ความตรงเวลานั้นสำคัญอย่างยิ่ง ใครๆ ก็อยากได้รับสินค้าอย่างรวดเร็วทันใจ ในขั้นตอนนี้ทีมงานที่ทำหน้าที่ส่งสินค้าจะต้องระมัดระวังไม่ให้สินค้าชำรุดหรือพังในระหว่างทางจัดส่ง 

จัดส่งแบบ Last-Mile Delivery

 เป็นขั้นตอนสุดท้ายและขั้นตอนสำคัญของกระบวนการจัดส่ง สินค้าจะถูกย้ายจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังลูกค้าปลายทาง หากคุณมีพาร์ทเนอร์ที่ดี ลูกค้าก็จะได้รับสินค้าอย่างรวดเร็วทันใจและปลอดภัย 

การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่งสินค้า

ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปในทุกๆ วัน คุณจะต้องปรับปรุงบริการจัดส่งอยู่ตลอดเวลา หากลไกหรือระบบเพื่อจัดการคำสั่งซื้อ หรือวางแผนเส้นทางในการจัดส่งที่สามารถลดต้นทุนและมีประสิทธิภาพ 

อุปสรรคของโลจิสติกส์ขาออกคืออะไร? และแก้ไขมันอย่างไร? 

กระบวนการโลจิสติกส์ขาออก ดูผิวเผินเหมือนจะง่ายนะ แต่จริงๆ แล้วมันก็มีความยาก เราจึงลิสต์อุปสรรคของการจัดการโลจิสติกส์ขาออกและวิธีแก้ไขมาฝาก จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย! 

การประสานงาน 

ฝั่งผลิต ฝั่งคลังสินค้า และฝั่งบริษัทขนส่ง ทุกๆ ฝ่ายจะต้องทำงานร่วมกัน หากทีมโลจิสติกส์จำเป็นต้องเปิดคลังสินค้าเพิ่มขึ้น สเกลขนส่งและจัดส่งก็ต้องขยายขนาดด้วยเช่นกัน หรือหากมีการติดตั้งระบบ เช่น  จัดการสต๊อก แอปพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสินค้า สินค้าในสต๊อก และการจัดส่ง ก็ต้องมีความสอดคล้องกันนั้นเอง

ค่าจัดเก็บสินค้าคงคลัง 

ในการจัดเก็บสินค้า สิ่งที่ต้องระวังคือค่าใช้จ่ายที่แสนโหด และค่าใช้จ่ายแอบแฝง แนะนำให้เลือกบริษัทให้บริการ Fulfillment ที่มีระบบเเจ้งปริมาณสต๊อก คุณจะได้มีข้อมูลตัวเลขประกอบการตัดสินใจว่าจะเพิ่มสินค้าในสต๊อกหรือลดจำนวนลงเพื่อป้องกันภาวะสต๊อกขาดและสต๊อกเกิน

ค่าขนส่งสุดโหด ต้องระวัง! 

ทุกวันนี้ค่าจัดส่งแพงเหลือเกิน คุณในฐานะเจ้าของธุรกิจสามารถลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าได้ เช็คและเปรียบบริการขนส่งของแต่ละบริษัทให้ดี 

ความคาดหวังของลูกค้าเพิ่มขึ้น 

ลูกค้าส่วนมากคาดหวังว่าตนจะได้รับสินค้าแบบรวดเร็วทันใจ ยิ่งถ้าได้ภายใน 1 วันนี่ยิ่งดี หรือแม้กระทั้งบางคนอยากได้ของภายใน 2 ชั่วโมงก็มี และพวกเขาก็ต้องการทราบว่าตอนไหนสินค้าอยู่ไหนแล้วแบบเรียลไทม์ ดังนั้นทางแบรนด์จะต้องสามารถแจ้งพวกเขาได้ หากคุณส่งสินค้าไม่ตรงเวลา ลูกค้าก็อาจจะโกรธ หรือที่แย่ไปกว่านั้นคือ ไม่มาซื้อสินค้าร้านคุณอีกเลย และเขียนริวิวว่าร้านคุณส่งของช้านั่นเอง 

ตัวอย่างโลจิสติกส์ขาออก 

ตลาดอีคอมเมิร์ซในปัจจุบัน ร้านไหนจัดส่งไว ร้านนั้นได้มงไปเลย โลจิสติกส์ขสออกจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญมาก ทางแบรนด์จะต้องวางแผนก่อนที่จะส่งสินค้าให้ลูกค้า เราจึงมีตัวอย่างของโลจิสติกส์ขาออกมาฝากกัน

  1. ออเดอร์เข้า – ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าเฉพาะจากเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
  2. รับออเดอร์เข้าระบบ และเตรียมสินค้า – พนักงานก็จะเตรียมสินค้าตามคำสั่งซื้อ ถ้าแบรนด์ไหนมีระบบการจัดการคลังสินค้า ระบบจะปรับหมายเลขสินค้าตามรหัสผลิตภัณฑ์หรือหน่วยเก็บสต็อก (SKU)
  3. แพ็คสินค้า – ทีมงานจะทำการแพ็คสินค้าและติดฉลากเพื่อจัดส่งในขึ้นตอนต่อไป
  4. โหลดพัสดุลงรถบรรทุก – ทีมงานจะนำสินค้าที่แพ็คแล้วไปส่งรถบรรทุก 
  5. รถบรรทุกขนสินค้าไปยังศูนย์กระจายสินค้า 
  6. พนักงานขับรถจะรับสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าและส่งมอบให้แต่ละครัวเรือน 
  7. สินค้าถึงมือลูกค้าปลายทาง -ลูกค้าปลายทางเซ็นรับพัสดุ ถือว่าสิ้นสุดกระบวนการโลจิสติกส์ขาออก
E-Commerce Outbound Logistic|โลจิกติกส์ขาออกสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ข้อดีของโลจิสติกส์ขาออก

กระบวนการโลจิสติกขาออกที่มีประสิทธิภาพดีอย่างไรกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซบ้าง ไปดูกัน! 

  1. การจัดส่งสมบูรณ์แบบ – ป้อนคำสั่งซื้อแม่นยำ ออเดอร์ถูกต้อง จัดส่งสินค้าไปยังที่อยู่ที่ถูกต้อง การแพ็คของมีคุณภาพ สินค้าอยู่ในสภาพดี ไม่พัง 
  2. จัดส่งตรงเวลา – มีระบบที่สามารถอัพเดทสถานะของสินค้าได้แบบเรียลไทม์ ปัญหาความล่าช้าอาจจะเกิดขึ้นได้บ้างในขณะขนส่ง แต่ไม่ใช่ทุกครั้ง ถ้าเกิดขึ้นด้วยความฉุกเฉินจริงๆ และไม่ได้บ่อย ก็เป็นเรื่องปกติที่ลูกค้าจะให้อภัยคุณได้ แต่คุณจะต้องมีระบบแจ้งสถานะสินค้า หรือแจ้งลูกค้าว่าพัสดุอาจจะส่งถึงมือช้ากว่ากำหนด พร้อมระบุวันที่จะจัดส่งถึงให้ชัดเจนเพื่อแสดงความโปร่งใส และทำให้ลูกค้าไว้ในในแบรนด์คุณ 

กระบวนการโลจิสติกส์ขาออกสำคัญอย่างไรกับการจัดการซัพพลายเชนของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 

โลจิสติกส์ขาออก หมายถึง การกระจายสินค้าที่สมบูรณ์แบบให้กับลูกค้า ซึ่งมันช่วยส่งเสริมการทำการตลาด สร้างยอดขาย สร้างกำไร และต่อยอดธุรกิจนั่นเอง 

วิธีปรับปรุงกระบวนการโลจิสติกส์ขาออก

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพาร์ทเนอร์ด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์

ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับศูนย์กระจายสินค้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการขนส่งขาเข้าที่มีโครงสร้างที่ดี พันธมิตรที่น่าเชื่อถือช่วยให้กระบวนการดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่นและความโปร่งใสในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ดังนั้นจึงช่วยปรับปรุงค่าใช้จ่ายของกิจกรรมโลจิสติกส์ขาออกและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ ลูกค้าจะถือว่าผู้ว่าจ้างรับผิดชอบหากมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยในคำสั่งซื้อ ไม่ใช่ที่ปรึกษาหรือผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่สาม

Use data to improve delivery systems

ระบบการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ทำหน้าที่ที่มากว่าช่วยให้การจัดส่งราบรื่น มันยังสามารถเก็บข้อมูล ยอดขายรายเดือนและรายปี เพื่อให้คุณได้ใช้ต่อยอดธุรกิจในอนาคต 

การเจรจาค่าบริการของผู้ให้บริการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ 

หากคุณมีพาร์ทเนอร์ด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์มืออาชีพอยู่ข้างกาย คุณจะสามารถลดขั้นตอนการดำเนินการได้ หมดช่วงเรื่องการเก็บ-แพ็ค-ส่ง แถมยังลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้อีกด้วย คุณอาจจะต้องใช้ศิลปะให้ในการสื่อสารเพื่อต่อรองค่าบริการกับพวกเขาเสียหน่อย หาพาร์ทเนอร์ที่สามารถต่อรองราคาตามจำนวนสินค้าได้ ค่าขนส่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการรักษาความพึงพอใจของลูกค้า ร้านไหนส่งฟรี คนก็จะให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

ลดต้นทุนในการจัดการสินค้าคงคลัง 

โดยเฉลี่ยแล้ว พื้นที่จัดเก็บในคลังสินค้าคิดเป็นประมาณ 13% ของค่าใช้จ่ายในซัพพลายเชน แม้ว่าคุณจะมีพื้นที่ที่เพียงพอสำหรับสต๊อกสินค้าแล้ว แต่ยังคงมีต้นสำหรับโลจิสติกส์ขาออกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ธุรกิจยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น เงินเดือนพนักงานที่ทำหน้าที่ประเมินและเติมสต็อก

ระบบการจัดการสินค้าคงคลังที่เหมาะสมช่วยธุรกิจสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ได้ หากคุณสามารถต้นทุนในการเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าได้ ย่อมเป็นผลดีกับธุรกิจของคุณ  

Last-mile delivery ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่แข็งแรง ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า 

ในระบบโลจิสติกส์แบบ B2B (ธุรกิจกับธุรกิจ) ทางแบรนด์ คลังสินค้า และบริษัทขนส่งจะต้องประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า ระบบการติดตามสถานะของสินค้านั้นสำคัญ ทางแบรนด์จะสามารถรับรู้ได้ว่าตอนนี้สินค้าดำเนินการไปถึงขั้นตอนไหนแล้ว และถ้าหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น คุณจะสามารถแก้ปัญหาได้ทันที 

จัดการเเพ็คและเริ่มส่งในวันเดียว

การแพ็คและเริ่มส่งสินค้าออกจากคลังภายในวันเดียวกันนั้นกลายเป็นมาตราฐานของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จากผลสำรวจพบว่า ลูกค้า 80% ต้องการให้สินค้าของตนจัดส่งภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากกดสั่งซื้อ ดังนั้นการมีผู้ให้บริการด้านคลังสินค้าและจัดส่งมืออาชีพเป็นตัวช่วยนั้นเป็นไอเดียที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย คุณจะจัดเก็บสินค้า จัดการออเดอร์ แพ็คสินค้า และส่งมอบให้กับลูกค้าปลายทางอย่างราบรื่นและปลอดภัย 

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการออเดอร์ที่เข้ามาจากหลายๆ ช่วงทาง ธุรกิจควรมี Software Solution ที่เชื่อมต่อทุกๆ ช่องทางการขาย เมื่อลูกค้ากดสั่งซื้อสินค้า คำสั่งซื้อจะถูกส่งตรงไปที่คลังสินค้าเพื่อดำเนินการแพ็คและจัดส่งนั่นเอง 

ใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงกระบวนการโลจิสติกส์ขาออก

หากธุรกิจของคุณมีเทคโนโลยีในการขนส่งสินค้า การจัดการซัพพลานเชนของธุรกิจก็ย่อมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คุณอาจจะต้องพิจารณาการทำงานและราคาของแต่ละระบบอย่างรอบคอบก่อนตัดสินค้าใช้บริการ หลังจากที่คุณมีระบบอัตโนมัติสำหรับการขนส่งสินค้าอแล้ว คุณควรที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของมันอยู่ตลอดเวลา ข้อควรปฏิบัติมีดังนี้ 

  • ปรับปรุงระบบอัตโนมัติตลอดกระบวนการจัดส่งอยู่เรื่อยๆ เช่น ระบบจัดการสินค้าขาเข้า ตลอดไปถึงถึงการแจ้งเตือนเวลาและจัดส่งสินค้าขาออก
  • ปรับปรุงการจัดการสต็อกเพื่อลดต้นทุน ในขณะเดียวกันก็ต้องมั่นใจว่ามีสินค้าในสต๊อกเพียงพอต่อความต้องการของตลาด
  • วางระบบจัดเส้นทางสำหรับการส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพ 
  • เช็ครีวิวความพึงพอใจของลูกค้าอยู่เสมอ เพื่อปรับปรุงการเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าของคุณให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า
  • มีระบบแจ้งสถานะสินค้า ทางแบรนด์จะได้รับรู้ว่าตอนนี้สินค้าได้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว เพื่อสื่อสารและแสดงความความโปร่งใสกับลูกค้านั่นเอง
E-Commerce Outbound Logistic|โลจิกติกส์ขาออกสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

หน้าที่ของโลจิสติกส์ขาออกของการจัดการซัพพลายเชน 

การดำเนินการโลจิสติกส์ขาออกนั้นสำคัญกับธุรกิจของคุณเป็นอย่างมาก มันส่งผลกระทบต่อวิธีการกระจายสินค้าจากจุดผลิตไปยังลูกค้าปลายทาง หากจัดการไม่ดีก็อาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ โดยเฉพาะ ความล่าช้าในการจัดส่ง ซึ่งเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ นอกจากนั้นคุณยังต้องเสียเงินเพิ่มกับค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอีกด้วย 

ความล่าช้าเป็นเหตุ บอกลางไม่ดีกับธุรกิจของคุณแน่นอน ลองจินตนาการหากคุณค้าขายสินค้าประเภทอาหารที่ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน อาหารก้อาจจะเน่าเสียก่อนไปถึงมือลูกค้า 

การวางแผนโลจิสติกส์ขาออกที่ดี จะต้องป้องกันการโจรกรรมแได้ด้วย มีระบบความปลอดภัยหนาแน่ พยายามกลบช่องโหว่ หรือหลีกเหลี่ยงสิ่งล่อตาโจร

นอกจากนี้กระบวนการโลจิสติกส์ขาออกยังคอบคุมไปถึงเรื่องการวางแผนเดินทางเพื่อจัดส่งสินค้าด้วย หลีกเลี่ยงรถฝนตด รถติด หาเส้นทางที่ไปได้เร็วที่สุด เพื่อย่นระยะทาง ประหยัดเวลาและค่าขนส่ง 

Distribution channels ในโลจิสติกส์ขาออกคืออะไร?

Distribution channels คือ ช่องทางการจัดจำหน่าย ในโลจิสติกสืขาออกทีอยู่ 3 ช่องทางหลักๆ ได้แก่ 

บทสรุป 

การทำความเข้าใจเอนทิตีทั้งสองนี้มีความสำคัญมากสำหรับเจ้าของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การทำความเข้าใจระบบและกระบวนการเหล่านี้จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานของตนได้ พวกเขายังสามารถเข้าใจได้ว่ากระบวนการปฏิบัติตามคำสั่งใดจะดีที่สุดสำหรับธุรกิจของพวกเขา และช่วยให้พวกเขานำหน้าคู่แข่ง

คำถามที่พบบ่อย

สินค้าคงคลังขาออก (Outbound Inventory)  หมายถึง สินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิต จัดเก็บ และบรรจุใส่ภาชนะเพื่อพร้อมจัดส่งไปยังลูกค้าปลายทางในขึ้นตอนต่อไปนั่นเอง 

จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการโลจิสติกส์ขาออกได้อย่างไร? 

โลจิสติกส์ขาออกสามารถปรับปรุงได้ หากคุณมีระบบการจัดการคลังสินค้า เก็บ-แพ็ค-ส่งที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้มันยังช่วยลดต้นทุนให้ธุรกิจของคุณ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค จัดส่งสินค้าได้รวดเร็วทันใจ

การดำเนินการในส่วนโลจิสติกส์ขาออกมีอะไรบ้าง? 

การทำงานของโลจิสติกส์ขาออกเกี่ยวกับ การจัดการสินค้าหลังแพ็คลงภาชนะบรรจุเพื่อทำการจัดส่ง การขาย และขนส่งไปยังลูกค้าปลายทาง

Outbound Delivery หมายถึงอะไร?

Outbound Delivery  หมายถึง การจัดเก็บ การขนส่ง และการส่งมอบพัสดุให้กับลูกค้า

ตัวอย่างของโลจิสติกส์มีอะไรบ้าง? 

ตัวอย่างทั่วไปของโลอจิสติกส์ ได้แก่ การจัดเก็บ จัดการคำสั่งซื้อ แพ็ค และการขนส่งสินค้าขาออก และจัดหาการยานพาหนะเพื่อส่งสินค้าให้กับลูกค้า 

บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับโลจิสติกส์

แสกนปุ๊บ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลย!

คุณกำลังมองหาบริการคลังสินค้าเพื่อธุรกิจอยู่ใช่ไหม?

Locad นำเสนอบริการที่จะมาเติมเต็มธุรกิจอีคอมเมิร์ซระดับพรีเมียมสำหรับธุรกิจทุกขนาด เชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์กับผู้เชี่ยวชาญด้านคลังสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ เพื่อลดต้นทุนการจัดส่ง เพิ่มเวลาขนส่ง และปรับปรุงความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าได้แล้ววันนี้!

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!