หากมีการวางแผนการทำงานด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ที่ดี สินค้าก็จะถูกจัดส่งถึงมือลูกค้าไวขึ้น และช่วยเพิ่มยอดขาย
และผลกำไรให้กับธุรกิจได้ จากผลสำรวจพบว่า 79% ของบริษัทที่มีการจัดการซัพพลายที่มีประสิทธิภาพ จะมีรายได้มากกว่าธุรกิจอื่นๆ แต่ก็ต้องมีมาตราการเพื่อปรับปรุงคุณภาพของระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับ
ตลาดอีคอมเมิร์ซที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ด้วยการพัฒนาทางเทคโนโลยีทั้งหมดที่สนับสนุนการจัดการลอจิสติกส์ ปัจจุบัน บริษัทต่างๆ มีหลายวิธีในการรวบรวมข้อมูลเพื่อบันทึกความก้าวหน้าของบริษัท ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก (KPI) คือการวัดผลในทางปฏิบัติและวัตถุประสงค์ของความคืบหน้าโดยรวมของบริษัทไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า KPI เป็นสิ่งที่ระบบโลจิสติกส์ต้องการเพื่อเพิ่มการมองเห็นการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
การวัด KPLs สำหรับงานด้านโลจิสติกส์
โลจิสติกส์ เป็นระบบการจัดการ จัดเก็บ แพ็ค ส่งสินค้า รวมถึงวัสดุ และทรัพยากรอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะมีขั้นตอนแบ่งย่อยออกมาหลายๆ ส่วน
จะรู้ได้อย่างไรว่างานด้านคลังสินค้าปละโลจิสติกส์ของธุรกิจคุณมีประสิทธิภาพมากพอ คำตอบคือคุณจะต้อง
ตั้งตัวชี้วัดความสำเร็จ หรือที่เรียกกันว่า KPI นั่นเอง Key Performance Indicator จะทำหน้าที่วัดประสิทธิภาพโดยรวม กระบวนการโลจิสติกส์นั่นเอง
ความสำคัญของการวัด KPIs ในงานด้านโลจิสติกส์ สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
หากงานด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ของธุรกิจของคุณมีความไหลรื่น ไม่มีติดขัด ส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้าปลายทาง
ได้ตรงเวลาและปลอดภัย นั่นหมายความว่า ระบบการทำงานด้านโลจิสติกส์ของธุรกิจคุณมีคุณภาพนั่นเอง งานด้านโลอจิสติกส์จะเกี่ยวกับวางแผนเพื่อใช้งาน และการตรวจสอบการไหลของสินค้า จัดเก็บ แพ็ค และจัดส่งสินค้า การวัด KPIs จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะมันเป็นโอกาสที่จะทำให้คุณรู้ข้อด้วยหรือข้อผิด พลาดเพื่อปรับปรุงและแก้ไข
ประโยชน์ของการวัดประสิทธิภาพการทำงานด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์
ด้วยรูปแบบของตลาดอีคอมเมิร์ซที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คุณจะต้องศึกษา ค้นหาข้อมูลและรู้เท่าทันสถานการณ์ เพื่อหาจุดบกพร่องและพร้อมที่จะปรับปรุงระบบการทำงานด้านโลจิสติกส์ในทุกๆ ขั้นตอน ตั้งแต่ เก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าถึงมือลูกค้าปลายทาง ดังนั้นการมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานในแต่ละขั้นตอนจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ
ประโยชน์ของการวัด KPIs สำหรับงานด้านโลจิสติกส์ มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ :
ความถูกต้อง แม่นยำ
ควรตรวจสอบความแม่นยำในการทำงาน เจาะไปที่ข้อผิดพลาด เพื่อปรับปรุงให้ได้ผลลัพทธ์ที่มีประสิทธิภาพและได้ผลกำไร
จัดส่งสินค้าตรงเวลา
รอนานๆ ก็อาจจะบันทอนหัวใจ ลูกค้าหลายๆ ท่านตั้งหน้าตั้งนารอสินค้าที่ได้สั่งไป อาทิตย์แล้วอาทิตย์เล่า ยังไม่ถึงมือสักที ดังนั้นการส่งมอบสินค้าตรงเวลาจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือกับธุรกิจ และทำให้ลูกค้ามีความสุข
จัดการสินค้าคงคลังได้อย่างแม่นยำ
จดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าภายในคลังให้ถูกต้อง ไม่ตกหล่น เนื่องจากมันมีผลต่อความน่าเชื่อถือของแบรนด์
ค่าขนส่ง
ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งสินค้า ถือเป็นหนึ่งในต้นทุนในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ ที่คุณจะต้องคำนึงถึง แนะนำให้ตรวจสอบราคามาตรฐานของการจัดส่งสินค้า ค้นหาข้อมูลและเปรียบค่าขนส่งของแต่ละบริษัทเพื่อตัดสินใจ และเลือกบริการขนส่งที่คุ้มค่าและเหมาะกับธุรกิจของคุณมากที่สุด
วิธีการติดตั้ง KPIs คลังสินค้าและโลจิสติกส์
KPIs ที่ตั้งขึ้นมาจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายของธุรกิจ ซึ่งในการวัด KPIs สำหรับงานด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
1. กำหนดเป้าหมายสำหรับการวัดผลครั้งนี้ – คุณสามารถสร้างตัวชี้วัดความสำเร็จ หรือ KPIs ดังต่อไปนี้
- จำนวนเปอร์เซนต์ที่จัดส่งสินค้าผิดพลาด
- จำนวนคำสั้งซื้อที่เสียหายในแต่ละเดือน
- ส่งสินค้าให้ลูกค้าผิดคนบ่อยแค่ไหน
- ลูกค้าตอบสนองอย่างไรกับแบรนด์หากสินค้าขาดสต๊อก หรือ กำลังจะหมด
- ธุรกิจของคุณตกอยู่ในสภาวะขาดแคลนพนักงานบ่อยแค่ไหน
- ตรวจสอบความสามารถในการจัดส่งของบริษัทขนส่งสินค้า ทำงานเป็นอย่างไร และเป็นไปตามที่คุณคาดหวังไว้หรือไม้
2. กำหนดเป้าหมายสำหรับ KPIs ที่คาดว่าจะทำได้และสมเหตุสมผล โดยอิงเกณฑ์มาตราฐานอุสาหกรรมคลังสินค้าและโลจิสติกส์
3. ฟอร์มทีมสำหรับวิเคราะห์ KPIs -การจัดการ KPI นั้นใช้เวลานานและต้องการความเชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์
4. Regular analytics of KPIs – Regular review of the KPIs leads to a better decision-making process to track meaningful logistics metrics.
4. วัดKPI เป็นประจำ – การตรวจสอบ KPI เป็นประจำจะนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจเพื่อพัฒนาการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ที่ดีขึ้น
5. Settle for SMART KPIs – SMART KPIs mean:
5. SMART KPIs ตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ที่ชาญฉลาด จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- ความเฉพาะเจาะจง – การมี KPI ที่กว้างจนเกินไปอาจนำไปสู่การตีความแบรนด์ที่ผิดพลาด ให้กำหนด KPIs ที่เฉพาะเจาะจงการทำงานนั้นๆ ไปเลย
- KPIs เชิงปริมาณ – ตั้ง KPIs ที่วัดหรือประเมิณค่าออกมาเป็นตัวเลขได้
- ตั้ง KPIs ที่คาดว่าจะทำได้
- KPIs จะต้องตอบสนองความต้องการของธุรกิจ – ลิสต์ตัวชี้วัดเป็นข้อๆ และจัดลำดับความสำคัญเพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ
- บริหารจัดการเวลา– การจัดไทม์ไลน์สำหรับการวัด KPI ช่วยให้ทีมที่ดูแลในส่วนนี้ทำงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วขึ้น
Logistics KPIs อื่นๆ
นอกจากตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการดำเนินด้านโลจิสติกส์ข้างต้น ยังมี KPIs ตัวอื่นๆ ที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ จะมีอะไรบ้างไปดูกัน!
Logistics KPIs ทางการเงิน
การดำเนินงาน – วัดจำนวนรายได้และต้นทุนในการดำเนินงาน
อัตราส่วนการดำเนินงาน = ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมด / รายได้ทั้งหมด
อัตราส่วนการดำเนินงานที่ต่ำกว่าบ่งชี้ถึงผลกำไรที่สูงขึ้น
- อัตราส่วนกำไรสุทธิ – วัดผลตอบแทนจากการลงทุน
อัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรหลังหักภาษี / มูลค่าสินทรัพย์รวม
การก่อหนี้ทางการเงิน = หนี้สินทั้งหมด / สินทรัพย์ทั้งหมด
KPIs ซัพพลายเชน และสินค้าคงคลัง
- อัตราการใช้อุปกรณ์ – วัดความพร้อมใช้งานและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่จำเป็นในโรงงานผลิตสินค้าและคลังสินค้า
- อัตราการใช้กำลังการผลิต – KPI นี้ใช้วัดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ของธุรกิจ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการจัดการอัตราการผลิตที่ดีขึ้น ต้นทุนการดำเนินงานลดลง และการหมุนเวียนของสินค้าในห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชนที่ยั่งยืน
- การใช้กำลังการผลิต = อัตราการผลิตจริง/อัตราการผลิตสูงสุด
KPIs วัดแรงงานด้านโลจิสติกส์
- การลาป่วย – ตัวชี้วัดนี้จะมุ่งเน้นไปที่สุขภาพกายและใจ รวมทั้งความปลอดภัยของพนังงาน ซึ่งช่วยลดการหยุดชะงักของแรงงาน
- ความปลอดภัย -เป็นการคำนึงถึงจำนวนผู้บาดเจ็บ อุบัติเหตุ หรือแม้กระทั้งจำนวนผู้เสียชีวิตในระหว่างปกิบัติหน้าที่เป็นหลัก เมตริกนี้สร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ มีการรับประกันความปลอดภัยตามมาตรการสำหรับงานด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์
KPIs การส่งคืนสินค้า
หลายองค์กรพบเจ้ากับระบบการคืนสินค้าที่มีค่าใช้จ่ายสูง และกลับมีประสิทธิภาพต่ำ ดังนั้นการเช็คประสิทธิภาพของกระบวนการส่งคืนสินค้านั้นจึงจำเป็น เพื่อวัดผลกระทบในเรื่องของเงินทุน และค่าตอบแทนที่ได้รับ
ตัวชี้วัดกระบวนการจัดส่งคืนสินค้าที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- รอบเวลา – เวลาเป็นปัจจัยสำคัญของกระบวนการส่งคืนสินค้า ในการจัดส่งคืนสินค้าจากที่อยู่ของลูกค้าไปยังคลังสินค้า ยิ่งเวลาสั้นมากเท่าใด ยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น
- จำนวนของผลิตภัณฑ์ที่ถูกส่งคืนและขายต่อ –ให้คิดออกเป็นเปอร์เซ็นต์ของสินค้าที่ลูกค้าสั่งซื้อและได้รับสินค้าแล้ว แต่เกิดความผิดพลาด และต้องการส่งคืน
- การรีไซเคิล – เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ในระบบ Reverse Logistics หรือเรียกง่ายๆ ว่าในกระบวนการส่งคืนสินค้าถูกนำไปรีไซเคิล
- ขยะ – ปริมาณของสินค้าที่ถูกส่งไปฝังหรือถูกกำจัดด้วยวิธีต่างๆ
- เปอร์เซ็นต์ของ Recovered Costs – จำนวนเงินที่กู้คืนได้หลังจากการส่งคืนสินค้า
- Cost per item handling– ต้นทุนรวมต่อเดือนที่เกี่ยวกับจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ดำเนินการ
- ระยะทาง – การติดตามระยะทางเฉลี่ยต่อรายการในการส่งคืนสินค้า
- ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง – เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน วัดพลังงานทั้งหมดที่ใช้เป็นผลตอบแทน
- เวลาการสรรหาใหม่ – เมตริกที่ใช้กำหนดคุณภาพและประสิทธิผลของการวางแผนธุรกิจโดยรวมและการสรรหา
- เวลาในการเติมตำแหน่งงานที่เปิดรับ = เวลาที่ได้รับการยอมรับงาน – เวลาที่ใบขอเสนองานได้รับการอนุมัติ
KPIs การขนส่ง
- ประสิทธิภาพของพนักงานขับรถ -ประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของรถบรรทุกและพนักงานขับรถ รวมถึงความเร็ว การเบรก รวมทั้งรักษามาตรการด้านความปลอดภัยอีกด้วย
- ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง –วัดประสิทธิภาพของยานพาหนะบนท้องถนน และช่วยระบุขั้นตอนการประหยัดต้นทุนสำหรับธุรกิจ ยิ่นประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงสูงเท่าใด ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก็จะยิ่งต่ำลงเท่านั้น
เพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวชี้วัด (KPIs) ด้านโลจิสติกส์ได้อย่างไร?
KPIs มีประโยชน์ก็ต่อเมื่อธุรกิจสามารถระบุตัวชี้วัดที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับเป้าหมายของธุรกิจ วัตถุประสงค์หลักของ KPI คือวัดประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อหาจุดบกพร่องและแก้ไขนั่นเอง
หากต้องการจะเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการวัด KPIs วัดอย่างไรให้ฉลาด เรามา 9 ทริคมาฝากเพื่อนๆ ดังนี้
- สร้างกลยุทธ์ – การสร้างกลยุทธ์เป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐานสำหรับการกำหนด KPIs ที่มีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจหากคุณไม่มีความรู้พื้นฐานในการดำเนินการของธุรกิจ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีกำหนดตัวชี้วัดผิดพลาด
- ตั้งคำถามที่เกี่ยวข้อง –การตั้งคำถามจะช่วยในเราขมวดประเด็นสำคัญให้แคบลงได้
- ระบุความต้องการของธุรกิจให้ชัดเจน– เป้าหมายที่ชัดเจนจะทำให้คุณกำหนด KPIs ได้เหมาะสม
- ประเมินข้อมูลที่มีอยู่ –ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในมือให้เกิดประโยชน์ จัดเรียงข้อมูลที่มีอยู่ตามความเกี่ยวข้องและทำการวิเคราะห์เพื่อต่อยอด และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนิงานด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์
- กำหนดวิธีการวัดและความถี่ที่เหมาะสม – ข้อนี้สำคัญมาก หาวิธีการวัด KPIs ที่เหมาะสม และดูเรื่องเวลาว่า จะทำการประเมิณการทำงานในแต่ละภาคส่วนบ่อยเท่าไหร่
- ใช้เมตริกที่บรรลุผลได้ – อะไรที่มันเกินความสามารถของธุรกิจคุณจะทำให้เกิดความคลุมเครือและล่าช้าในที่สุด ให้ตั้ง KPIs ที่คุณสามารถทำมันได้จริง
- ตรวจสอบความชัดเจนของวิธีการและ KPIs– ทีมงานจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับ KPIs ที่ได้ตั้งขึ้นมา เพื่อวัดประสิทธิภาพในการทำงาน
- สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ– ธุรกิจจำเป็นต้องใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อสื่อสาร KPI ให้ความชัดเจนและกระจ่างกับทุกคน
- การตรวจสอบ KPIs เป็นประจำ – การตรวจสอบตัวชี้วัดที่ใช้งานอยู่อย่างต่อเนื่องช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของธุรกิจ
สิ่งที่ควรทำ VS ไม่ควรทำ ในวัดประสิทธิภาพการทำงานด้านโลจิสติกส์
สิ่งที่ควรทำ
- มุ่งเน้นไปที่กระบวนการคลังสินค้าและโลจิสติกส์
- กำหนด KPIs ที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
- เลือก KPLs ที่สามารถทำได้จริง
- ตรวจสอบองค์ประกอบของ KPIs เหล่านั้น
- พัฒนาเมตริกการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์
สิ่งที่ไม่ควรทำ
- หลีกเลี่ยงทการสร้างมาตรฐานขึ้นมาใหม่
- หลีกเลี่ยงตัวชี้วัดแบบ Cluster Metrics
- หลีกเลี่ยงตัวชี้วัดแบบ Static Metrics
บทส รุป
การปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่องในทุกๆ ภาคส่วนของธุรกิจจำเป็นต้องมีการวัดประสิทธิภาพ หรือที่เราเรียกกันว่า วัด KPIs นั้นแหละ ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินการด้านโลจิสติกส์มุ่งเน้นไปที่ลูกค้า สร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ และต่อยอดธุรกิจให้สามารถประสบความสำเร็จได้ในตลาดอีคอมเมิร์ซที่แข่งขันสูง