เมื่อได้ยินคำว่า “โลจิสติกส์” (Logistics) คุณนึกถึงอะไร หลายๆ คนอาจจะนึกถึง การส่งสินค้า หรือ ขนส่ง แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่แค่นั้น คำว่า Logistics มีรากคำศัพท์ภาษาฝรั่งเศส “Logistique” แปลว่า เก็บ เป็นคำที่ใช้สื่อสารในกองทัพทหาร ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งคนสมัยนั้นหมายถึงการเก็บเสบียง อุปกรณ์และอาวุธต่างๆ และการเคลื่อนตัวของกองกำลังทหารสำหรับทำสงคราม
ในแวดวงธุรกิจปัจจุบัน โลจิสติกส์ (Logistics) จะพูดถึงการเคลื่อนย้ายหรือลำเลียงสินค้าในซัพพลายเชน ซึ่งจะแยกย่อยออกได้เป็น 2 กระบวน ได้แก่ การจัดการคลังสินค้าและการขนส่ง หากคุณเป็นนักธุรกิจอีคอมเมิร์ซมือใหม่ เรียกได้ว่า เรื่องคลังสินค้าและโลจิสติกส์นั้นสำคัญสำหรับคุณเลนทีเดียว
การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) เป็นองค์ประกอบสำคัญของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปัจจุบัน หากธุรกิจของคุณจัดการสินค้าที่ได้สต๊อกเอาไว้ได้อย่างเป็นระบบระเบียบย่อมเป็นผลดี
ธุรกิจราบรื่น หากเข้าใจเรื่องโลจิสติกส์
โลจิสติกส์เป็นส่วนสำคัญของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain Management (SCM) ซึ่งหมายถึงการดูแลเครือข่ายห่วงโซ่อาหารทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการสินค้าคงคลัง เริ่มต้นตังแต่สต๊อกสินค้า หยิบและแพ็ค ไปจนถึงจัด
ส่งสินค้าออกจากคลัง ขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทาง ตลอดจนถึงดูแลเรื่องการส่งคืนสินค้าในกรณีที่มีข้อผิดพลาด โลจิสติกส์ช่วยให้กระบวนการซัพพลายเชนดำเนินไปด้วยความราบรื่น และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
ซึ่งเราจะได้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง การบริการจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) และ โลจิสติกส์ (Logistics) กันในบทความนี้
สินค้าคงคลังออกอะไรเกี่ยวกับธุรกิจของคุณได้บ้าง?
หลายๆ คนอาจจะคิดว่า “ซัพพลายเชน” กับ “โลจิสติกส์” มีความหมายเหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วโลจิสติกส์เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการจัดการซัพพลายเชนทั้งหมดของธุรกิจ
“Supply Chain” “ซัพพลายเชน” หรือภาษาไทยเรียกว่า “ห่วงโซ่อุปทาน” หมายถึง เครือข่ายสินค้าที่ดำเนินการผ่านกระบวนการเก็บ แพ็ค และส่งมอบให้กับลูกค้าปลายทางในที่สุด ซึ่งก็จะต้องผ่านขั้นตอนมากมายในคลังสินค้า
ส่วน “Logistics” หรือ “โลจิสติกส์” คือ การเคลื่อนย้านยสินค้าทางกายภาพจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง จนถึงมือลูกค้าในที่สุด ซึ่งจะประกอบด้วย 2 กระบวนการหลักๆ ได้แค่ กระบวนการคลังสินค้า และการจัดส่ง
ซัพพลายเชนมีสเกลที่ใหญ่กว่าโลจิสติกส์ และประกอบไปด้วยกระบวนการอื่นๆ อีกมากมาย สมมติว่าคุณอยากทำผ้าห่มขาย ซัพพลายเชนของธุรกิจจะเริ่มตั้งแต่ หาวัตถุดิบ ผลิตสินค้า ตลอดจนส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้า ดังนั้นสิ่งที่เชื่อมซัพพลายเชนแต่ละขั้นตอนเช้าด้วยกันก็คือโลจิสติกส์นั่นเอง
หากซัพพลายเชนในธุรกิจของคุณทำงานไม่ถูกต้อง บอกเลยว่ากระทบกับลูกค้าแน่นอน เพราะคุณไม่สามารถให้ความพึงพอใจกับพวกเขาได้ และอาจจะเสียลูกค้าไปในที่สุด และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมซัพพลายเชนและโลจิสติกส์จึงสำคัญในดำเนินธุรกิจ ดังนั้นสำหรับใครที่กำลังทำธุรกิจหรือแม้กระทั้งเป็นนักธุรกิจหน้าใหม่ คุณควรปรับปรุงการบริหารจัดการซัพพลายเชนและโลจิสติกส์อยู่ตลอดเวลา
โลจิสติกส์ VS การจัดการซัพพลายเชน
เมื่อได้ยินคำว่า “ซัพพลายเชน” ให้มองแบบภาพใหญ่ๆ เข้าไว้ หมายถึง การเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดแรก (จุดจัดหาพัสดุ) ไปยังมือของลูกค้าในที่สุดในมุมกลับกัน เมื่อได้ยินว่า “โลจิสติกส์” ให้มองเป็นภาพที่เเคบลงมา มันหมายถึงการจัดเก็บสินค้าที่ได้มาจากแหล่งผลิตสินค้า และส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า
วันนี้ Locad Thailand ได้ลิสต์ความแตกต่างระหว่าง 2 คำข้างตนมาให้ 4 ข้อเน้นๆ ดังต่อไปนี้
- ซัพพลายเชน หรือ ห่วงโซ่อุปทานคือเครือข่ายสินค้าทั้งหมด แต่โลจิสติกส์ดูแลเรื่องการจัดเก็บและการไหลของสินค้า
- โลจิสติกส์ มีจุดประส่งเพื่อทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ส่วนซัพพลายเชนโฟกัสทั้งการแข่งขันในตลาดและ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
- โลจิสติกส์จะพูดถึงการไหลของสินค้าเข้าและออกจากคลังสินค้าเท่านั้น ส่วนซัพพลายเชนเชื่อมโยงหลายๆ องค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว
- เป้าหมายการจัดการซัพพลายเชนคือ จัดหาสินค้า จัดการสินค้า สต็อก แพ็ค และจัดส่งถึงมือลูกค้าปลายทางอย่างราบรื่น ส่วนเป้าหมายหลักของโลจิสติกส์คือ สินค้าขะต้องส่งตรงถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย ไร้ความเสียหาย
เป็นอย่างไรกันบ้าง นีที้เราก็พอที่จะเข้าใจคอนเสิร์ปหลักๆ ของทั้งสองคำกันแล้ว คำว่า โลจิสติกส์ และ ซัพพลายเชนได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในแวดวงธุรกิจ
ทำไมการจำการสินค้าคงคลังจึงสำคัญ?
การวางแผนและจัดการโลจิสติกส์จึงความสำคัญกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซในตลาดที่มีการแข่งขันสูงแห่งนี้ ผลิตภัณฑ์คุณภาพ ยอดเยี่ยมอาจจะไม่เพียงพอที่จะดึงลูกค้าได้ แน่นอนว่าลูกค้าต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม มีแอดมินที่พร้อมพูดคุยกับพวกเขาได้ทุกเมื่อ และจัดส่งสินค้าถึงมือพวกเขารวดเร็วทันใจ กระบวนการโลจิสติกส์ที่ดีย่อมสามารถช่วยให้คุณในฐานธระผู้ทำธุรกิจมอบความพึงพอใจให้กับพวกเขาได้นั่นเอง
หากกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ที่ดีได้ถูกปรับใช้กับเครือซัพพลายเชนของธุรกิจ จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจของคุณได้ และหากคุณมีช่องทางการขายสินค้าที่เข้าถึงง่าย ใช้งานง่าย และติดต่อสะดวก ลูกค้าก็จะสนใจสินค้าของคุณมากยิ่งขึ้น แต่ในกรณีที่ออเดอร์เข้ามารัวๆ จะจัดการทุกอย่างเองตั้งแต่ สต๊อก แพ็ค และส่ง ไม่น่าจะเป็นเรื่องง่าย ดังนั้นการมีเพื่อนคู่คิดด้านโลจิสติกส์จะช่วยเแบ่งเบาภาระในส่วนนี้ได้ และคุณจะได้ไปพัฒนาธุรกิจในส่วนอื่นๆ
หากกระบวนการขนส่งโลจิสติกของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ สินค้าของคุณจะส่งตรงถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็ว ไม่มีสะดุด นอกจากนี้ยังทำให้กระบวนการคืนสินค้าง่ายขึ้น หากคุณได้วางแผนกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ที่ดี ก็จะช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจในระยะยาวได้ ช่วยให้ซัพพลายเชนมีประสิทธิภาพมากขึ้นลูกค้าก็จะพอใจกับสินค้าและบริการของคุณ และนี่ก็คือคำตอบว่าทำไม กระบวนการโลจิสติกส์ที่คล่องตัวจึงสำคัญกับธุรกิจ
ทำไมการจัดการสินค้าคงคลังจึงสำคัญ
การจัดการคลังสินค้าเป็นกระบวนการในซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ของธุรกิจ ด้วยเทคโนโลยีที่ติดตั้งในคลังสินค้า จะช่วยแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าแต่ละชนิดให้เป็นระบบ เพิ่มความสะดวกในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น จัดเก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัย คุณจะสามารถประมวลผลยอดคำสั่งซื้อ รายได้ และกำไรของธุรกิจได้อีกด้วย สถานะสินค้าเป็นสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทราบว่าตอนนี้สินค้ามีจำนวนเท่าไหร่ และต้องเพิ่มหรือลดปริมาณเพื่อป้องกันสต๊อกขาดและสต๊อกเกินนั่นเอง
ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการด้าน Fulfillment เก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าจำนวนมาก เนื่องจากแบรนด์อีคอมเมิร์ซหลายๆ แห่งไม่มีโกดังเป็นของตัวเองเพื่อสต๊อกสินค้า พวกเขาก็เราต้องหันมาพึ่งศูนย์บริการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ ซึ่งจะดูแลการจัดเก็บสินค้า จัดการคำสั่งซื้อ เชื่อมต่อทุกๆ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ หยิบ แพ็ค และส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทาง
บริการ Fulfillment ดังกล่าวช่วยควบคุมการไหลของสินค้าภายในซัพพลายเชน ทำให้คุณในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซมั่นใจได้ว่า สินค้าจะถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ แพ็คแม่นยำ และจัดส่งถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็วและราบรื่น
ความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนมี 2 ประการ คือ คลังสินค้ามุ่งเน้นไปที่สต๊อกสินค้าอย่างไรให้ปลอดภัย ส่วนโลจิสติกส์จะโฟกัสที่จะทำอย่างไรให้สินค้าไหลเวียนในซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อทำให้ลูกค้าประทับใจมากยิ่งขึ้น
ระบบติดตามสถานะของสินค้าคงคลังคืออะไร
การจัดการโลจิสติกส์นั้นมี 3 ประเภท ได้แก่ โลจิสติกส์ขาเข้า โลจิสติกส์ขาออก และโลจิสติกส์ย้อนกลับ เราจะมาลงลึกในแต่ละประเภทกัน
โลจิสติกส์ขาเข้า
การเคลื่อนย้ายสินค้าจากซัพพลายเออร์ไปยังคลังสินค้าเรียกว่า “โลจิสติกส์ขาเข้า” หรือ “Inbound Logistics” มันคือตอนที่เรานำสินค้าเข้ามาเก็บในคลังนั่นเอง คุณยังสามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อวางระบบโลจิสติกส์ขาเข้าได้ด้วย เช่น การสั่งซื้ออัตโนมัติเพื่อทำให้กระบวนการเร็วขึ้น
โลจิสติกส์ขาออก
โลจิสติกส์ขาออก อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เมื่อออเดอร์ถูกเเพ็คและจัดส่งออกจากคลังสินค้าไปยังลูกค้าปลายทางนั่นเอง โลจิสติกขาออกนั้นสำคัญ เพราะกระบวนการนี้เชื่อมโยงไปหาลูกค้าโดยตรง หากคุณมีการจัดการในส่วนนี้ที่ดี ลูกค้าก็จะได้รับสินค้าเร็วขึ้น สินค้าถูกต้อง และไม่เกิดความเสียหาย
โลจิสติกส์ย้อนกลับ
คำว่า โลจิสติกส์ย้อนกลับ หรือ Reverse Logistics หมายถึง การเคลื่อนย้ายสินค้าจากลูกค้าย้อนกลับมาที่ธุรกิจอีกครั้ง กรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อลูกค้าเลือกที่จะส่งคืนสินค้าที่อาจจะได้รับความเสียหาย หรือลูกค้าไม่ต้องการสินค้านั้นอีกต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ในธุรกิจค้าขายเสื้อผ้า เมื่อขนาดหรือสีของผลิตภัณฑ์ไม่เป็นที่ถูกใจของลูกค้า พวกเขาก็จะส่งคืนนั่นเอง
ผลิตภัณฑ์ที่ส่งคืนจะต้องได้รับการจัดการที่ดี ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายกระบวนการซัพพลายเชนของธุรกิจ การส่งสินค้าคืนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ ในการค้าขายอีคอมเมิร์ซ คุณจะต้องมีทรัพยากรและพนักงานเพียงพอเมื่อลูกค้าต้องการส่งคืนสินค้า
E-Commerce Logistics คืออะไร?
ไม่กี่ปีที่ผ่านมาตลาดอีคอมเมิร์ซเปลี่ยนไปอย่างมาก และโลจิสติกส์อีคอมเมิร์ซหรือ e-logistics ก็เปลี่ยนไปเช่นกันเพื่อให้ทันกับตลาด นวัตกรรมด้านโลจิสติกส์และเทคโนโลยีล้ำสมัยทำให้หลายๆ ธุรกิจสามารถให้บริการจัดส่งในวันรุ่งขึ้นได้ หรือแม้กระทั้งสั่งปุ๊ปจัดส่งทันทีได้เลยผ่านบริษัท 3PL และ 4PL
ซึ่งต่างจากกระบวนการโลจิสติกส์ในธุรกิจออฟไลน์ โลจิสติกส์ของธุรกิจออนไลน์นั้นซับซ้อนกว่า คุณจะต้องเข้าใจฐานลูกค้าของคุณอย่างถ่องแท้ สินค้าคงคลัง และสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน คุณจะได้ดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น พร้อมส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าปลายทางในสภาพสมบูรณ์ และรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บอกเลยว่าหนีไม่พ้นค่าจัดส่งที่แสนจะแพง คุณจะต้องพิจารณาค่าจัดส่งในแต่ละบริษัทขนส่ง ซึ่งพิจารณาดูเรื่องการส่งสินค้าคืนด้วย หากมีบริการที่ครอบคลุมในส่วนนี้ ก็ย่อมดีกับแบรนด์ของคุณ
สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือคุณจะต้องทำให้ลูกค้าไว้วางใจในแบรนด์และสินค้าของคุณ ยุดนี้แค่สินค้ามีคุณภาพคงจะไม่พอ คุณจะต้องมีบริการตั้งแต่ เก็บ-แพ็ค-ส่งที่มีประสิทธิภาพด้วย นี่แหละคือเหตุผลว่าทำไมหลายๆ แบรนด์อีคอมเมิร์ซจึงมีทีมจัดการเรื่องคลังสินค้าและโลจิสติกส์ที่สามารถรับประกันประสิทธิภาพในซัพพลายเชน และลดต้นทุนทางธุรกิจได้
Third-Party Logistics (3PL)
3PL หรือ Third-party Logistics เป็นคำที่รู้จักกันดีในตลาดอีคอมเมิร์ซ ซึ่งหมายถึงผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่สาม ทำหน้าที่นำเสนอโซลูชั่นโลจิสติกส์ที่หลากหลายสำหรับแบรนด์อีคอมเมิร์ซ คุณจะได้ไม่ต้องแบกภาระในการสต็อกสินค้า แพ็คและจัดส่ง
ผู้ให้บริการ 3PL มีหลายแบบ มีทั้งดูแลเรื่องโลจิสติกส์ทั้งหมดตั้งแต่ เก็บ-แพ็ค-ส่งครบวงจร อีกแบบหนึ่งก็คือดูแลแค่เรื่องสต็อกและแพ็คสินค้า หรืออีกแบบหนึ่งคือดูแลเฉพาะเรื่องการจัดส่งเพียงอย่างเดียว
ตั้งแต่ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้น บริการ 3PL ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แบรนด์เล็กๆ ที่ไม่พื้นที่เก็บสินค้า พนักงานไม่พอสำหรับแพ็คของและส่งของ จึงต้องมาพึ่งบริษัท 3PL ให้ดูแลในส่วนนี้ และทางแบรนด์ก็จะได้มีเวลาไปโฟกัสในตัวผลิตภัณฑ์และการตลาดมากยิ่งขึ้น
ผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 4 หรือ 4PL เรียกอีกอย่างว่า Lead Logistics Providers แบรนด์ต่างๆ ได้จ้างบริษัทรูปแบบดังกว่าเพื่อจัดการผู้ให้บริการ 3PL อีกทีหนึ่ง ผู้ให้บริการ 4PL ทำหน้าที่หาแนวทางการจัดการการทำงานของผู้ให้บริการ 3PL เพื่อให้พวกเขาทำงานได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น
ความแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์และการขนส่ง
คำว่า “โลจิสติกส์” และ “การขนส่ง” มักถูกใช้แทนกันอยู่บ่อยๆ ทั้งสองคำก็จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการซัพพลายเชน แต่ก็ไม่ได้มีความหมายโดยลึกที่เหมือนกันไปซะทีเดียว การขนส่งเป็นเพีนงส่วนหนึ่งของกระบวนการโลจิสติกส์เท่านั้น ส่วนความหมายของโลจิสติกส์นั้นควบคุมตั้งแต่ การสต็อกสินค้า แพ็ค และจัดส่งไปยังลูกค้าปลายทาง
โลจิสติกส์ คือการวางแผนเพื่อจัดการ จัดเก็บ และขนส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าปลายทาง และควบคุมไปถึงจัดการหากลูกค้าต้องการส่งคืนสินค้า หรือที่เรียกว่าโลจิสติกส์ย้อนกลับ ในทางกลับกัน การขนส่งหมายถึงการรับสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งจนกว่าจะถึงมือลูกค้า
การขนส่งเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการโลจิสติกส์ หากไม่มีระบบการขนส่งที่เหมาะสม ลูกค้าก็จะไม่ได้รับสินค้าที่ได้สั่งซื้อ หรือเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาเช่น สินค้าชำรุดหรือลูกค้าได้รับสินค้าไม่ครบนั้นเอง แต่โลจิสติกส์เป็นมากกว่าการขนส่ง มันจะรวมไปถึงการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง การหยิบและการแพ็คสินค้าก่อนที่จะส่งออกไปยังลูกค้าปลายทาง
การจัดการโลจิสติกส์ VS เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
ที่ไหนมีเทคโนโลยี ที่นั่นย่อมมีการพัฒนา ในแวดวงโลจิสติกส์ก็มีการพัฒนาเช่นเดียวกัน ทุกวันนี้กระบวนการเก็บ แพ็ค ส่งสินค้า หรือที่เราเรียกว่า Fulfillment ได้พัฒนเป็นรูปแบบระบบอัตโนมัติ มีกลไกที่สามารถวิเคราห์ข้อมูลต่างๆได้ และทำให้จัดการคำสั่งซื้อและจัดส่งได้อย่างรวดเร็วทันใจ
และด้วยกลไกด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ที่ทันสมัย ซึ่งถูกควบคุมด้วยใช้ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าสินค้าไปถึงขั้นตอนไหนแล้ว หรืออยู่ตรงไหนของกระบวนการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ และดักจับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากแรงงานคนได้ ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาในการดำเนินงาน ลดต้นทุน และตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปนั่นเอง
หน้าที่การทำงานของ “โลจิสติกส์” มีอะไรบ้าง?
เมื่อสักครู่เราได้พูดถึงส่วนประกอบของโลจิสติกส์ไปแล้ว ตอนนี้เราดูหน้าที่การทำงานของระบบโลจิสติกส์ 4 อย่างกันดีกว่า
ออกแบบและวางแผน
สิ่งที่สำคัญในกระบวนการโลจิสติกส์ คือ การออกแบบและวางแผนเครือข่ายโลจิสติกส์ หากคุณมีการวางแผนที่ดี ทุกอย่างก็จะดำเนินการได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว ลดต้นทุน ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และลดข้อผิดพลาด
จัดซื้อ
เพื่อที่จะส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพให้กับลูกค้า คุณจะต้องสรรหาวัตถุดิบที่ดี ราคาเป็นมิตร ซึ่งหน้าที่ของงานด้านโลจิสติกส์ที่จะช่วยคุณติดต่อกับซัพพลายเออร์ที่ให้ประโยชน์ที่กล่าวไปข้างต้นกับคุณและนี่แหละคือเป็นวิธีช่วยลดต้นทุนและส่งมอบความพึงพอใจให้กับลูกค้านั่นเอง
การประมวลผลคำสั่งซื้อ
คุณต้องการระบบจัดการออเดอร์ที่มีประสิทธิภาพ ที่สามารถประมวลผลคำสั่งซื้อของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า
บทบาทของ การจัดเก็บสินค้า การจัดการวัสดุ และคลังสินค้าในระบบโลจิสติกส์
การจัดเก็บสินค้า การจัดการวัสดุ และคลังสินค้าในระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพช่วยให้มั่นใจได้ว่าสินค้าไม่ขาดสต๊อก พร้อมขายเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา หรือหมดปัญฆาเรื่องสต็อกเกิน รวมทั้งสามารถจัดการเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทางได้อย่างรวดเร็วทันใจ ลูกค้าไม่ต้องรอนาน
บทสรุป
ระบบการจัดการซัพพลายเชนที่ดี ย่อมทำให้คุณและลูกค้ามั่นใจในกระบวนการเก็บ แพ็ค และจัดส่ง ในฐานผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ เมื่อออเดอร์เข้ามารัวๆ หลายๆ คน เกิดอาการลก แพ็คมั่ว ส่งไม่ทันตรงตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ หรือพื้นที่ไม่เพียงพอสำหรับสต๊อกสินค้า ด้วยเหตุนี้หลายๆ แบรนด์จึงต้องมีทีมให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน