ในยุคของธุรกิจดิจิทัลและการตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของผู้ทำธุรกิจคือการจัดการสินค้าในคลังอย่างมีประสิทธิภาพ
หากพูดถึงสินค้าคงคลัง หรือสินค้าในสต๊อก ก็จะมีรายละเอียดมากมายที่คุณควรทราบ
สินค้าคงคลัง (Inventory) เป็นสินค้าที่อยู่ในคลัง และกำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ เพื่อเตรียมขาย
- สินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมให้บริการแก่ลูกค้า
- สินค้าระหว่างการผลิตที่อยู่ในกระบวนการทำงานในปัจจุบัน
- วัตถุดิบที่จะใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป
สินค้าคงคลัง 3 ประเภท
ประเภทของสินค้าคงคลังอาจแตกต่างกันไปตามลักษณะของธุรกิจ ซึ่งแบ่งออเป็น 13 ประเภท ดังต่อไปนี้
วัถุดิบ
วัตถุดิบคือสินค้าที่ธุรกิจใช้ในการผลิตหรือการผลิตสินค้าสำเร็จ นอกจากนี้ วัตถุดิบเป็นสินค้าที่มักจะไม่สามารถรู้จัก
ได้จากรูปแบบเดิมของมันเมื่อสินค้าสำเร็จรูปพร้อมใช้ ตัวอย่างเช่น น้ำมันที่ใช้ในการผลิตแชมพู
ส่วนประกอบ หรือ ชิ้นส่วน
จริงๆ แล้วมันก็คล้ายๆ กับวัตถุดิบนั่นแหละ ส่วนประกอบที่ใช้ในการสร้างและจัดเสร็จสินค้ายังคงสามารถรู้จัก
ได้จากรูปแบบเดิมของมันในสินค้าสำเร็จรูป ตัวอย่างเช่น สกรู
Work-in-progress (WIP)
สินค้าที่ยังไม่สมบูรณ์ อยู่ในระหว่างการผลิต ยังไม่พร้อมขาย ตัวอย่างเช่น งานที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุง ต่อเติม หรือผลิตสินค้าในขั้นตอนต่างๆ เป็นต้น
Finished goods
สินค้าสำเร็จรูป หายถึงสินค้าที่พร้อมที่จะขายให้กับลูกค้าในราคาที่กำหนดไว้
MRO
Maintenance, repair, and operations (MRO) คือ วัสดุอุปกรณ์ การบำรุงรักษา หรือ ซ่อมแซม เป็นการดำเนินการที่สนับสนุนการผลิตสินค้าสำเร็จรูปหรือการบำรุงรักษาธุรกิจของคุณ
การแพ็คของและวัสดุที่ใช้บรรจุหีบห่อสินค้า
วัสดุที่ใช้ในการแพ็คสินค้าแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ภาชนะบรรจุช่วยปกป้องสินค้าของคุณ วัสดุในการเพิ่มความทนทานระหว่างการขนส่ง และวัสดุที่ใช้ในการทำป้ายและข้อมูล SKU ซึ่งวัสดุบรรจุทั้งหมดใช้เมื่อสำหรับการขนส่งสินค้าจำนวนมาก
สต๊อกสำรอง
สต๊อกสำรองมี 2 ประเภท คือ Safety stock และ Anticipation stock
- Safety stock: สินค้าที่ถูกจัดเก็บไว้เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า มักจะใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น สินค้าหมด สินค้าชำรุด
- Anticipation stock: สินค้าที่ได้สำรองเอาไว้ล่วงหน้า ยกตัวอย่างเช่น วางแผนไว้ว่าจะขายเสื้อทั้งหมด 1,000 ตัว แต่สั่งผลิต 1,200 ตัวเพื่อใช้ในการทำการตลาดและจัดโปรโมชั่นหรือส่วนลดต่างๆ
วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบคู่ควบ (Decoupling inventory)
เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าที่ช่วยให้การหมุนเวียนของวัสดุหรือวัตถุดิบและกระบวนการผลิตดําเนินไปอย่าง
ราบรื่นในอัตราคงที่
สินค้าคงคลังที่เก็บตามรอบ (Cycle inventory)
สินค้าคงคลังที่มีไว้เติมเต็มสินค้าที่ถูกขายไป หรือวัตถุดิบที่ถูกใช้ไปในกระบวนการผลิต สินค้าคงคลังประเภทนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า ซึ่งคุณจะต้องทราบจำนวนและเวลาที่ต้องคอยการดำเนินงานสั่งซื้อหรือผลิต (Lead-time) ที่แน่นอน กำหนดวันให้สินค้าคงคลังในแต่ละรอบมาถึง จะต้องตรงกับเวลาที่วัตถุดิบหรือสินค้าชิ้นสุดท้ายนั้นหมดพอดีนั่นเอง
Service inventory
ในทางคลังสินค้าและโลจิสติกส์ สินค้าคงคลังบริการ หรือ Service inventory หมายถึง การจัดเก็บและจัดการสินค้าหรือวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น โรงแรมมีผ้าเช็ดตัว แชมพู รองเท้าใส่ในห้อง ครีมอาบน้ำ หมวกอาบน้ำพลาสติก และอื่นๆ อีกมากมายบริหารให้กับลูกค้าที่เข้ามาพัก การบริหารจัดการสินค้าประเภทนี้เป็นสิ่งสำคัญ หากมีการจัดการสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพ คุณก็จะมีสินค้าเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า
สินค้าคงคลังระหว่างการขนส่ง (Transit inventory)
เป็นสินค้าที่เคลื่อนย้ายระหว่างผู้ผลิต ศูนย์กระจายสินค้า และคลังสินค้าไปมาตลอดเวลา การเคลื่อนย้ายสินค้าคงคลังระหว่างการขนส่งอาจใช้เวลานานถึงสัปดาห์ การจัดการสินค้าคงคลังระหว่างการขนส่งเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงและวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อจัดส่งสินค้าได้ถูกต้องและตรงเวลา
สินค้าคงคลังทฤษฎี (Theoretical inventory)
ในภาษาอังกฤษเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Book inventory และเป็นปริมาณสต็อกที่น้อยที่สุดที่ธุรกิจต้องการ
บริษัทใช้สินค้าคงคลังทฤษฎีจะอยู่ในอุตสาหกรรมอาหารเป็นซะส่วนใหญ่ การคำนวณสินค้าคงคลังทฤษฎี
ใช้สูตรเปรียบเทียบระหว่างปริมาณสินค้าคงคลังจริง (actual inventory) กับปริมาณสินค้าคงคลังที่คาดว่าควรจะมี (theoretical inventory) เพื่อให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการสต็อกสินค้าได้เป็นอย่างมาก
สต๊อกส่วนเกิน (Excess inventory)
Excess inventory หรือ obsolete inventory เป็นวัสดุ วัตถุดิบ หรือสินค้าที่ไม่ได้เอาไปใช้งาน หรือสินค้าที่ขายไม่ออกนั่นเอง แต่ยังต้องเสียเงินค่าจัดเก็บอยู่
มาวิเคราะห์สินค้าคงคลังกันเถอะ!
การวิเคราะห์สินค้าคงคลังนั้นเกี่ยวข้องกับการศึกษาวความต้องการของสินค้าของคุณเปลี่ยนแปลงตามเวลา นอกจากนี้การวิเคราะห์สินค้าคงคลังยังช่วยให้ธุรกิจสามารถทำนายว่าลูกค้าจะต้องการสินค้าในอนาคตและจัดสต็อกสินค้าในปริมาณที่เหมาะสมที่สุดได้
เราขอนำเสนอไอเดีย ABC analysis เป็นหนึ่งในวิธีการที่สำคัญและนิยมใช้อย่างแพร่หลายในการประเมินสินค้าคงคลัง ในการวิเคราะห์สต๊อกสินค้า คุณต้องจัดกลุ่มสินค้าดังต่อไปนี้
สินค้าคงคลังกลุ่ม A
เป็นสินค้าขายดีที่สุดที่ต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บและค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าสินค้าในกลุ่ม A เป็นส่วนใหญ่เกือบ 20% ของสินค้าคงคลังทั้งหมด
สินค้าคงคลังกลุ่ม B
เกือบ 40% ของสินค้าคงคลังทั้งหมดของคุณจะเป็นสินค้ากลุ่มนี้ แม้ว่าสินค้าในกลุ่ม B จะเคลื่อนไหว
ในอัตราเดียวกับสินค้าในกลุ่ม A แต่กลุ่ม B จะมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บที่สูงกว่า
สินค้าคงคลังกลุ่ม C
อีก 40% ของสินค้าในคลังคือสินค้ากลุ่ม C เป็นชนิดของสินค้าคงคลังที่มีความสำคัญต่ำที่สุดในการขาย มักมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บรักษาที่สูงและไม่ได้สร้างผลกำไรให้กับธุรกิจมากนัก
ประโยชน์ของการวิเคราะห์สินค้าคงคลัง
- มันช่วยเพิ่มกำไรโดยลดต้นทุนและสนับสนุนการหมุนเวียนของสินค้าของคุณ
- คุณจะสามารถระบุได้ว่าสินค้าตัวไหนขายออกได้บ่อยที่สุด
- ช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าที่ขายได้ช้า
- ช่วยให้คุณประเมินความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น โดยดูจากระดับสต๊อกสินค้า เพื่อป้องกันสินค้าขาดแคลน
- การวิเคราะห์สินค้าคงคลังช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
- สร้างความรู้และความเข้าใจในเรื่องธุรกิจมากยิ่งขึ้น
- สร้างจุดยืนที่แข็งแกร่งให้กับแบรนด์คุณ และช่วยให้คุณสามารถเจรจารต่อรองราคากับซัพพลายเออร์
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สินค้าคงคลังบอกอะไรกับคุณได้บ้าง?
- บอกความต้องการของลูกค้า
วิเคราะห์จากความถี่ในการขายสินค้า และคุณก็สามารถปรับแผนธุรกิจและการจัดการสินค้าให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าได้
- ประสิทธิภาพในการจัดการสินค้า
การวิเคราะห์สินค้าคงคลังช่วยให้คุณเข้าใจถึงประสิทธิภาพในการจัดการสินค้า คุณจะทราบความเคลื่อนไหว
ของสต๊อกสินค้า และหากของหมด ไม่มีขาย คุณจะได้วางแผนสั่งซื้อหรือผลิตสินค้าได้ในปริมาณที่เหมาะสม
- บ่งบอกเรื่องการเงินและผลกำไรของธุรกิจ
การวิเคราะห์สินค้าคงคลังช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าคงคลังและผลกำไรของธุรกิจ คุณสามารถระบุสินค้าที่มีกำไรสูงและส่งเสริมให้บริษัทของคุณมีผลกำไรที่ดีขึ้น
- บอกประสิทธิภาพในการจัดการงบประมาณและค่าใช้จ่าย
คุณจะรับรู้ถึงค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าทั้งหมดที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ เพื่อวางแผนจัดการเรื่องค่า
ใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
ปรับปรุงสินค้าคงคลัง (Inventory adjustments)
การปรับปรุงสินค้าคงคลัง จะช่วยเพิ่มหรือลดสินค้าคงคลัง ช่วยให้สินค้าในคลังหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันสินค้าจากความเสียหาย แตกหัก สูญหายหรือการโจรจกรรม นอกจากนี้ ธุรกิจควรที่จะทำการปรับปรุงสินค้าคงคลังเพื่อให้สอดคล้องกับระดับสินค้าคงคลังปัจจุบันเพื่อให้ตรงกับปริมาณจริงที่มีอยู่ของสินค้านั้นๆ
วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการสินค้าคงคลังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
Stock on hand
ปริมาณสต็อกที่คุณอยู่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซ คุณสามารถปรับแต่งมูลค่าและปริมาณสินค้าคงคลังได้
สินค้าขาดสต๊อก
เป็นสถานะของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ไม่สามารถใช้งานหรือจำหน่ายได้ในขณะนั้น ซึ่งเกิดจากสินค้าหมดหรือไม่มีในสต็อกเพื่อขาย
ตำแหน่งของสินค้าในสต็อก
เรามีเคล็ดไม่ลับที่จะช่วยให้คุณดูแลสินค้าในสต็อกอย่างมีประสิทธิภาพ
แยกประเภทสินค้าในสต็อกของคุณ
ลองแยกประเภทของสินค้าในสต๊อก เพื่อให้คุณได้เข้าใจว่าสินค้าประเภทไหนที่คุณต้องสั่งซื้อหรือสั่งผลิตมากขึ้น
และบ่อยขึ้น เมื่อสังเกตจากคุณสามารถระบุได้ว่าสินค้าประเภทไหนขายดีหรือสินค้าไหนขายไม่ดีจากความถี่
ของการไหลเวียนของสต๊อกสินค้าหรือจำนวนคงเหลือของสินค้าในคลัง แนะนำให้แยกประเภทสินค้า
ที่มีต้องการน้อยและมากออกจากกัน
ติดตามข้อมูลสินค้าทั้งหมดของคุณ
คุณควรเก็บบันทึกข้อมูลของสินค้าทั้งหมดไว้ เช่น ข้อมูลผู้จัดจำหน่าย, ข้อมูลบาร์โค้ด, SKU, หมายเลขล็อต, ประเทศต้นทาง เป็นต้น นอกจากนี้คุณยังสามารถติดตามราคาของสินค้าทุกๅ ชิ้นสินค้าได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถระบุปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุน เช่น การผันผวนตามฤดูกาล หรือ ความขาดแคลน
ตรวจสอบสต๊อกสินค้าของคุณ
การนับหรือตรวจเช็คสต๊อกสินค้าบ่งบอกได้ว่าความต้องการของลูกค้าในตลาดสอดคล้องกับจำนวนสินค้าคงคลังหรือไม่ แต่ถ้าหากเช็คสต๊อกสินค้าด้วยตนเองอาจจะใช้เวลาค่อนข้างนาน และเกิดข้อผิดพลาดได้ คุณจึงต้องหาวิธีหรือระบบอัตโนมัติเข้าช่วย เพื่อจะได้เช็คสต๊อกสินค้าได้อย่างรวดเร็วขึ้นนั่นเอง
วัดประสิทธิภาพของทีมจัดซื้อสินค้า
วิเคราะห์ประสิทธิภาพของฝ่ายจัดซื้อสินค้าและพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่คุณอาจพบในการจัดหาสต็อก
กฏการจัดการสต๊อกสินค้า 80/20
ปฏิบัติตามกฎการจัดการสินค้า 80/20 ซึ่งหมายหมายถึง 80% ของกำไรของคุณควรเกิดจาก 20% ของสต็อกของคุณ คุณควรให้ลำดับความสำคัญในการจัดการสต็อกสำหรับ 20% ของสต็อกที่จะสร้างกำไร และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Life cycle ของสินค้าเหล่านั้นด้วย นอกจากนี้คุณควรวิเคราะห์ว่าในระยะเวลาที่กำหนดคุณขายได้จำนวนกี่ชิ้น
รักษาความสม่ำเสมอในการรับสต็อก
รักษาความสม่ำเสมอในการสั่งซื้อและรับสต็อกให้ได้มาตรฐาน ไร้ข้อผิดพลาด เพราะมันส่งผลกระทบต่อการเติบโตและผลกำไรของธุรกิจนั่นเอง
ติดตามการขายของคุณ
หากคุณมีระบบจัดการออเดอร์แบบอัตโนมัติ คุณจะทราบถึงข้อมูลต่างๆ ได้ เช่น ยอดขาย จำนวนสินค้าที่จัดเก็บไว้ในคลัง หรือ สถานะออเดอร์ในระหว่างการดำเนินการ เพื่อพิจารณาเติมสต๊อก ก่อนที่สต๊อกจะขาดนั่นเอง
ลงทุนในระบบการจัดการสินค้าคงคลัง
ลงทุนกับระบบแบบชาญฉลาด คุณควรลงทุนในระบบการจัดการสต็อกอัตโนมัติหรือเทคโนโลยีต่างๆ ที่หลากหลาย แต่ต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันซึ่งระบบจัดการออเดอร์แบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้คุณติดตามสินค้า จัดการ และควบคุมสต๊อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ