ตารางคอนเทนต์

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

ในการจัดการสินค้าคงคลัง คุณจะต้องวิเคราะห์และวางแผนให้ละเอียดรอบคอบ วันนี้ Locad Thailand ขอเสนอบทความเกี่ยวการวิเคราะห์สินค้าคงคลัง วิธีการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง และความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปลุยกันเลย! 

การวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าคงคลังคืออะไร? 

การวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าคงคลัง (Inventory analytics) เป็นตัวชี้วัดเพื่อประเมินประสิทธิภาพและการจัดการสินค้าในคลังของธุรกิจ ซึ่งคุณจะได้ข้อมูลที่จำเป็นในการปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการต่างๆ อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าอีกด้วย 

การวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าคงคลังจะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าในคลัง ทำให้ไม่เกิดปัญหาสินค้าขาดสต็อกหรือมีสินค้ามากเกินไปเพระาขายไม่ออก และด้วยการใช้เทคโนโลยีในการจัดการสินค้าแบบอัตโนมัติ จะเพิ่มความแม่นยำในกระบวนการเก็บและส่งสินค้า อีกทั้งยังช่วยให้ดำเนินการเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง 

การวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าคงคลังเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญด้านโลจิสติกส์ เพราะมันจะช่วยเพิ่มรายได้ เพิ่มประสิทธิภาพให้กับซัพพายเชนและทำให้คุณควบคุมสินค้าคงคลังได้ดียิ่งขึ้น 

ตัวชี้วัดที่สำคัญในการวิเคราะห์สินค้าคงคลัง 

หากธุรกิจของคุณติดตามข้อมูลสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง คุณจะมีข้อมูลเพียงพอประกอบการตัดสินใจว่าจะ

บริการจัดการสินค้าไปในทิศทางไหน แต่คุณจำเป็นต้องประเมินประสิทธิภาพของตัวชี้วัดที่ตั้งขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอด้วย 

การวิเคราะห์สินค้าคงคลังมุ่งเน้นไปที่การสร้างระบบซัพพลายเซนให้แข็งแกร่ง สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ตลอดจนการจัดหาสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และติดตามประสิทธิภาพของสินค้าคงคลัง 

การวิเคราะห์สินค้าคงคลังจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเครื่องมือธุรกิจที่คุณใช้ ระบบจัดการสต๊อกแบบอัตโนมัติจะช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแบบเรียลไทม์

ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง 

Carrying costs เป็นคำศัพท์ทางบัญชี ใช้ในการจำแนกค่าใช้ทั้งหมดของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาสินค้าที่ยังไม่ได้ขายออกไป

ค่าใช้จ่ายของการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ตัวอย่างเช่น ค่าเช่าพื้นที่คลังสินค้า ค่าบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ ค่าขนส่ง ค่าจ้างแรงงาน ค่าดำเนินการจัดการสินค้า ค่าประกันภัย ภาษี ค่าเสียโอกาส และค่าเสียหายหากเกิดปัญหาหรือการโจรกรรม เป็นต้น

โดยทั่วไปแล้ว ค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะถูกแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของสินค้าที่คุณได้เก็บไว้ในคลัง ณ ช่วงเวลาที่กำหนด 

ซึ่งธุรกิจใช้ตัวเลขนี้เพื่อดูว่าสินค้าเหล่านั้นมีผลต่อรายได้หรือไม่ จำนวนเงินที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับระดับสินค้าคงคลังที่มีอยู่ในเวลานั้นๆ นั่นเอง 

ในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง คุณจะต้องรวบรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด และหารด้วยมูลค่าของสินค้าคงคลังปัจจุบัน จะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินที่คุณจ่ายเพื่อเก็บรักษาสินค้าไว้นั่นเอง 

ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง = (ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้า + ค่าโอกาสที่สูญเสีย + ค่าจ้างพนักงาน + ค่าเสื่อมสภาพ) / จำนวนสินค้าคงคลังรายปีทั้งหมด

ค่าเสียหายของสินค้าคงคลัง 

การลดลงของสินค้าคงคลัง (Inventory shrinkage) หมายถึง ความแตกต่างระหว่างสต็อกที่มีอยู่จริงกับปริมาณ

สต็อกที่บันทึกบนกระดาษหรือระบบคอมพิวเตอร์ ค่านี้แสดงถึงการลดลงของสินค้าคงคลังที่ไม่เกิดจากการขาย ซึ่งสาเหตุที่พบอยู่บ่อยๆ ได้แก่ การขโมยสินค้า ความไม่แม่นยำในการจัดการสต๊อก หรือถูกซัพพลายเออร์หลอก และอื่นๆ อีกมากมาย

สูตรการคิดคำนวณค่าเสียหายของสินค้าคงคลัง 

ค่าเสียหายของสินค้าคงคลัง = มูลค่าสินค้าคงคลังปลายงวด – มูลค่าสินค้าคงคลังที่นับจริง

Shrinkage จะแสดงผลในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์

ค่าสูญเสียสินค้าคงคลัง (%) = ค่าสูญเสียสินค้าคงคลัง / ยอดขาย x 100

อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง 

อัตราส่วนการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง (Inventory turnover ratio หรือ ITR) เป็นตัวชี้วัดทางการเงินที่คำนวณจำนวนครั้งที่

ขายสินค้าออกไปได้โดยเฉลี่ยในเวลาที่กำหนด ใช้ประเมินประสิทธิภาพของการจัดการสินค้าคงคลังและความรวดเร็วในการเปลี่ยนสินค้าคงคลังเป็นยอดขาย 

สูตรในการคำนวณอัตราส่วนการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง

ITR = COGS ในเวลานั้นๆ / ค่าสินค้าคงคลังเฉลี่ยในช่วยเวลาที่กำหนด 

COGS ย่อมาจาก Cost of goods sold หมายถึง ราคาทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเพื่อผลิตหรือจัดส่งสินค้า รวมถึงค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือจัดส่งสินค้าในช่วงเวลานั้นๆ 

ในสูตรนี้ สามาถคำนวณค่าสินค้าคงคลังเฉลี่ยได้จาก…  

ค่าสินค้าคงคลังเฉลี่ย = (สินค้าคงคลังต้นงวด + สินค้าคงคลังปลายงวด) / 2

อัตรา Backorder

สถานะการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการขาย ความต้องการของลูกค้าในตลาดมีมาก แต่สินค้าในสต๊อกสำหรับจัดส่งให้ลูกค้ามีน้อยหรือไม่มีเลยในเวลานั้น จำเป็นต้องรอสินค้าเข้าใหม่และจัดส่งให้กับลูกค้าภายหลัง ซึ่งทำให้ลูกค้าต้อรอและได้รับสินค้าช้ากว่าปกติ 

Backorder เกิดจากความต้องการซื้อในเวลานั้นสูงมาก หากเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็จะทำให้ลูกค้าไม่พอใจกับการบริการของคุณนั่นเอง เรามาลองดูสูตรคำนวนค่า Backorder กันดีกว่า 

สูตรคิดคำนวณ Backorder rate

Backorder rate = จำนวนสินค้าค้างส่งทั้งหมด / จำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมด x 100

ตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าคงคลัง 

ตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าคงคลัง (Inventory reconciliation) มีจุดมุ่งหมายให้ข้อมูลสินค้าคงคลัง

ในระบบสอดคล้องกับจำนวนสินค้าที่มีอยู่จริง ก็จะมีการนับสต๊อกและเช็คประสิทธิภาพของการจัดการสินค้า หากมีข้อผิดพลาดหรือข้อมูลไม่ตรงกัน ก็จะได้ว่าแผนแก้ไขได้ทันเวลา 

ปัจจัยที่ทำให้สินค้าคงคลังไม่ถูกต้องมีดังนี้

  • การคำนวณด้วยวิธีแมนนวน ไม่ใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
  • นับสินค้าผิดวิธี 
  • ไม่มีระบบจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ 
  • การโจรกรรม

ประโยชน์ของการเช็คความถูกต้องของสินค้าคงคลัง 

  • High accuracy เพิ่มความแม่นยำในการจัดการสต๊อกสินค้า 
  • Increased efficiency เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสต๊อกสินค้า 
  • Improved business functionality เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ
  • Consistent data ข้อมูลคงที่ 

จำนวนหน่วยสินค้าทั้งหมดที่สต๊อกไว้ในคลัง 

ตัวชี้วัดนี้จะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากธุรกิจมีการขายสินค้า จัดระเบียบหน่วยสินค้า เพิ่มสินค้าเข้าคลัง และมีการคืนสินค้าจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ  

หากธุรกิจมีจำนวนสินค้ามากขึ้น จะต้องระมัดระวังเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น สต๊อกส่วนเงิน ค่าจัดเก็บสินค้า และต้นทุนสำหรับจัดการสินค้าคงคลังทั้งหมด หลายๆ ธุรกิจต้องเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายเหล่านี้โดยใช่เหตุ 

ค่าดำเนินการเฉลี่ยต่อคำสั่งซื้อ 

ค่าดำเนินการเฉลี่ยต่อคำสั่งซื้อจะช่วยกำหนดค่าใช่จ้ายทั้งหมดตลอดการดำเนินการเก็บ-แพ็ค-จัดส่งออเดอร์ให้กับลูกค้าปลายทาง โดยทั่วไปค่าดำเนินการจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าคุณดำเนินการเองภายในหรือร่วมมือ

กับบริษัทจัดส่งแบบ Third-party Logistics (3PL)

ในบางกรณี ผู้ค้าปลีกหรือร้านค้าอีคอมเมิร์ซจะพิจารณาว่าพวกเขาจัดการค่าใช้จ่ายได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ และสามารถจัดสั่งซื้อสินค้าจำนวนมากหรือเปล่า อย่างไรก็ตาม อย่าลืมเช็คให้ละเอียดว่ามีค่าใช้จ่ายแอบแฝง

ระหว่างกระบวนการเก็บ-แพ็ค-ส่งหรือไม่ 

อัตราผลตอบแทนของกำไรสุทธิต่อการลงทุน (GMROI) 

ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Gross margin return on investment (GMROI) ธุรกิจอีคอมเมิร์ซหลายแห่ง

จะตั้งตัวชี้วัดนี้ขึ้นมาเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงสินค้าให้เป็นกำไรของบริษัท  

GMROI จะแจ้งให้ว่าคุณมีกำไรเท่าไหร่แล้วจากสินค้าล็อตนี้ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการคาดการณ์

ความต้องการของลูกค้าและวางกลยุทธ์ทางการตลาดนั่นเอง 

สูตรคำนวณค่า GMROI

GMROI = กำไรขั้นต้นสุทธิ/ค่าเฉลี่ยของต้นทุนสินค้าคงคลังในมือ

หากค่า GMROI มีมากกว่า 1.0 จะหมายความว่า คุณได้กำไร เพราะขายสินค้าในราคาที่สูงกว่าราคาทุน แต่ถ้าหากต่ำหว่า 1.0 แสดงว่าธุรกิจของคุณกำลังขาดทุน เนื่องจากคุณขายสินค้าในราคาที่ต่ำหว่าทุนนั่นเอง 

เรามาลองดูตัวอย่างกันหน่อยดีกว่า สมมติว่าคุณได้กำไรสุทธิในจำนวน 50,000 ดอลลาร์ และต้นทุนสินค้าคงคลัง เฉลี่ยคือ 30,000 ดอลลาร์ ดังนั้น GMROI ของคุณคือ 1.83 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าร้านค้าได้รับกำไร 1.83 ดอลลาร์สำหรับ

สินค้าคงคลังล็อตนี้

วิธีการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของสินค้าคงคลัง 

หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่า เราจะวิเคราะห์ประสิทธิภาพของสินค้าในคลังไปเพื่ออะไร คำว่าคือเพื่อเข้าใจและสามารถ

ปรับปรุงการจัดการสต๊อกสินค้าและออเดอร์ได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย ดังนั้นผู้ดูแล สินค้าคงคลัง

จะตั้งตัวชี้วัดหรือ KPIs ขึ้นมาเพื่อกำหนดทิศทางและเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการจัดการสินค้าคงคลังนั่นเอง 

ปัจจุบันหลายๆ ธุรกิจจะกำหนด KPIs และประเมินความคืบหน้าเป็นระยะ ซึ่งจะควบคุมตั้งแต่สั่งซื้อสินค้า จัดเก็บ ตลอดจนถึงการขาย 

การวัดประสิทธิภาพของคลังสินค้าจะช่วยป้องกันสถาวะสินค้าเกินและขาดตลาด โดยระบบจะแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

กับสต๊อกสินค้าปัจจุบันทั้งหมดแบบเรียลไทม์ 

ระบบจัดการสต๊อกสินค้าแจ้งข้อมูลอะไรบ้าง? 

ระบบจะแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าคงคลังทั้งหมด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังต่อไปนี้ 

รายละเอียดของสินค้าคงคลัง 

  • รหัสสินค้า เช่น ABC123, 002-002, XYZ-678  เป็นต้น 
  •  หมายเลขรายการสินค้า 
  • ชื่อสินค้า
  • ตำแหน่งของสินค้า 
  • หน่วยวัด เช่น น้ำหนัก (กิโลกรัม, ปอนด์), ความยาว (เมตร, ฟุต), ปริมาตร (ลิตร, แกลลอน), เวลา (วินาที, ชั่วโมง) และอื่นๆ 
  • ระดับสต๊อกสินค้า หรือปริมาณของสินค้าที่มีอยู่ในคลังสินค้า 
  • สินค้าที่จำเป็นน้อยที่สุด  

ข้อมูลเกี่ยวกับออเดอร์หรือคำสั่งซื้อ 

  • รหัสสินค้า
  • ชื่อจริง 
  • นามสกุล 
  • วันที่สั่งซื้อ 
  • จำนวนสินค้าที่ส่งออกจากคลัง 

ข้อมูลซัพพลายเออร์ 

  • รหัสซัพพลายเออร์ 
  • ชื่อซัพพลายเออร์ 
  • เบอร์โทรศัพท์หรือช่องทางการติดต่อซัพพลายเออร์ 
  • อีเมลของซัพพลายเออร์ 

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้สินค้าเข้าคลัง 

  • รหัสซัพพลายเออร์ 
  • รหัสสินค้า
  • วันที่ทำการจัดซื้อ
  • จำนวนสินค้าที่ได้รับ 

ประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าคงคลัง 

การวิเคราะห์ข้อมูลของสินค้าคงคลังมีหลายประเภท เพื่อให้คุณจัดการสินค้าในคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามาลองดูการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละประเภทกันเถอะ 

โดยทั่วไป การวิเคราะห์ข้อมูลของสินค้าคงคลังมี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ 

  • แบ่งสินค้าคงคลังตามหมวดหมู่
  • ปริมาณของสินค้าสำหรับวันนี้ 
  • ระยะขายสินค้าเฉลี่ยที่ธุรกิจต้องจัดเก็บสินค้าไว้จนกว่าจะขายได้ ในการขาย 1 ครั้ง 
  • สินค้าขาดสต๊อก

แบ่งปรเภทการวิเคราะห์สินค้าคงคลังตามข้อมูลที่ได้รับ 

ประเภทการวิเคราะห์สินค้าคงคลังแบ่งตามค่าที่ได้รับจากข้อมูล ประกอบด้วย

  • การวิเคราะห์เชิงลึก  (Descriptive analytics)
  • การวิเคราะห์ทางพยากรณ์ (Predictive analytics)
  • การวิเคราะห์ทางวินิจฉัย (Diagnostic analytics)
  • การวิเคราะห์ทางปฏิบัติ (Prescriptive analytics) 

การวิเคราะห์เชิงลึก (Descriptive analytics)

การวิเคราะห์สินค้าคงคลังในรูปแบบนี้ จะอธิบายสถานะปัจจุบันของสินค้าคงคลัง รายงานผลผ่านกราฟเพื่อแสดงข้อมูล เชิงลึกเกี่ยวกับปริมาณสินค้าคงคลัง เช่น สินค้าคงคลังในแต่ละประเภท และปริมาณการเคลื่อนไหวของสินค้า เป็นต้น

การวิเคราะห์ทางพยากรณ์ (Predictive analytics)

เป็นการคาดการณ์แนวโน้มและการเปลี่ยนของสินค้าคงคลังในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้คุณปรับปรุงสต๊อกสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซได้อย่างเหมาะสม 

ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสินค้าคงคลังจะพิจารณาความต้องการของลูกค้าในตลาด โดยคำนึงถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น Brexit โดยจะสังเกตุเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึนใน

ประเทศสหราชอาณาจักร หลังจากที่ประเทศอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป หรือ EuropeanUnion   

ตัวอย่างเช่น ในช่วงที่โควิดระบาด ชุดและอุปกรณ์ PPE และหน้ากากอนามัยมีความต้องการสูงมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าสินค้า

ขาดตลาดอยู่ตลอดเวลาในช่วงนั้น แถมยังราคาแพงอีกด้วย 

การวิเคราะห์ทางวินิจฉัย (Diagnostic analytics)

ในวิธีนี้ จะใช้การวินิจฉัยและตรวจสอบสาเหตุของปัญหาและผลกระทบของการจัดกาสินค้าคงคลัง ยกตัวอย่างเช่น

การดูเพียงแค่การเติบโตของบริษัทในแต่ละเดือนไม่ได้เป็นประโยชน์ ผู้บริหารสินค้าคงคลัง ควรทราบสาเหตุ

ของการเติบโตดังกล่าว เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถนำเสนอกลยุทธ์การเติบโตที่เกี่ยวข้องสำหรับความสำเร็จ

ของแผนกอื่นๆ

การวิเคราะห์สินค้าคงคลังเชิงแนะนำ (Prescriptive inventory analytics)  

ใช้ข้อมูลและเทคนิคการวิเคราะห์เพื่อแนะนำและกำหนดแนวทางในการจัดการสินค้าคงคลังที่เหมาะสม เพื่อแก้ไข

ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ การวิเคราะห์แบบ Prescriptive ช่วยให้ผู้บริหารสินค้าคงคลัง

สามารถ ตัดสินใจและดำเนินการได้อย่างหมาะสมและปรับปรุงผลการจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ

มากยิ่งขึ้น การบริหารจัดการสินค้าคงคลังสามารถควบคุมปริมาณสินค้าที่เพียงพอกับความต้องการของ

ลูกค้าได้ในระยะเวลาที่สั้นลง 

ประโยชน์ของการติดตามและวิเคราะห์ตัวชี้วัดของการจัดการสินค้าคงคลัง

รักษาระดับสต๊อกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ 

การวิเคราะห์ข้อมูลสต็อกช่วยให้คุณสามารถกำหนดแผนการจัดสต็อกให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าและการทำธุรกิจของคุณ คุณสามารถปรับปรุงการวางแผนเพื่อลดการขาดสต็อกหรือการสะสมสต็อกเกินไป

การลดค่าใช้จ่ายในการจัดการสต็อก

ในหนึ่งธุรกิจ จะสต๊อกสินค้าไว้ในคลังประมาณ 30-50% หากมีสินค้าเพิ่มขึ้น และยังไม่ถูกขายออกไปแน่นอน

ว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย 

ให้เลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าคงคลังที่เหมาะสม เพราะมันจะช่วยให้คุณทราบว่า ทำไมต้นทุนถึงสูงขึ้น หรือมีค่าใช้

จ่ายอะไรที่คุณลืมคิดไปหรือเปล่า ซึ่งต้นทุนที่คุณจะต้องคิดคำคำนวณนั้น จะต้องรวมทั้งต้นทุนการลงทุนสั่งซื้อ ค่าเช่าพื้นที่คลังสินค้า ค่าดำเนินต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ค่าเสียโอกาส และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับสินค้าในสต๊อก และอื่นๆ อีกมากมาย นี่ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะแก้ไขปัญหาหรือบริหารจัดการต้นทุนที่สูงอย่างไร 

กำหนดเวลาที่จะเติมสินค้าเข้าคลัง ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น 

เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคในตลาดอีคอมเมิร์ซเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลส การเติมสต๊อกจึง

เป็นกระบวนการที่คุณจะมองข้ามไม่ได้เลย คุณจะต้องวางแผนการจัดส่งสินค้าจากแหล่งผลิตมาจัดเก็บไว้

ที่คลังสินค้าอย่างรอบคอบ อีกทั้งยังต้องวิเคราะห์อัตราการหมุนเวียนของสต๊อกสินค้าด้วย 

Reorder Point (ROP) = สต๊อกสำรอง + ความต้องการในช่วงเวลาที่ใช้ในการสั่งซื้อ

การคำนวณ ROP ช่วยให้ธุรกิจสามารถกำหนดจุดเตือนหรือจุดสั่งซื้อใหม่ในการจัดการสต็อกสินค้า เพื่อป้องกัน

ภาวะขาดแคลนสินค้าและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสต็อกสินค้า

ลดการจัดการสั่งสินค้าเกินความจำเป็น 

หากคุณมีสินค้าในคลังจำนวนมากเกินความต้องการของลูกค้าในตลาด สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ สต๊อกบวม ขายไม่หมด สินค้าตกค้างอยู่ในคลัง ซึ่งการวิเคราะห์สินค้าคงคลังล่วงหน้าจะทำให้คุณวางแผนจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างรอบคอบ

บทสรุป

การบริหารจัดการสินค้าคงคลังเป้นกระบวนการที่สำคัญ ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาด

ใหญ่ คุณจะต้องวิเคราะห์และหาทิศทางในการจัดการกับสต๊อกจอมวุ่นให้เป็นระบบระเบียบ ง่ายต่อการดำเนินงานใน

ขั้นตอนถัดไป  ช่วยสร้างซัพพลายเชนของธุรกิจให้แข็งแรงขึ้น มีจำนวนที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค

 สอดคล้องกับเงินที่ได้ลงไป ตลอดจนสร้างผลรายได้และกำไรกลับคืนสู่ธุรกิจของคุณ

บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับคลังสินค้าคงคลัง

แสกนปุ๊บ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลย!

คุณกำลังมองหาบริการคลังสินค้าเพื่อธุรกิจอยู่ใช่ไหม?

Locad นำเสนอบริการที่จะมาเติมเต็มธุรกิจอีคอมเมิร์ซระดับพรีเมียมสำหรับธุรกิจทุกขนาด เชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์กับผู้เชี่ยวชาญด้านคลังสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ เพื่อลดต้นทุนการจัดส่ง เพิ่มเวลาขนส่ง และปรับปรุงความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าได้แล้ววันนี้!

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!