ความแม่นยำของสต๊อกสินค้า (Inventory accuracy) เป็นคำศัพท์ในแววงธุรกิจและมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปัจจุบัน
ใช้วัดระดับความถูกต้อง ของการจัดเก็บสินค้าในคลัง การเปรียบเทียบปริมาณสินค้าที่มีอยู่จริงในสต็อกกับข้อมูล
ของจำนวนสินค้าที่ถูกบันทึกไว้ในระบบการจัดการ สต็อกซึ่งช่วยในธุรกิจสามารถบริการจัดการสินค้าคงคลังได้อย่าง
มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความแม่นยำของสต๊อกสินค้าสำคัญอย่างไร?
การบันทึกข้อมูลสต๊อกสินค้าจะสะท้อนปริมาณสินค้าปัจจุบัน ทำให้คุณจัดการสต๊อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และดำเนินการแพ็คและจัดส่งได้อย่างราบรื่น แต่ถ้าหากระบบการบันทึกสินค้าของคุณไม่มีความแม่นยำ จะส่งผลให้คุณ
ขาดทุน สร้างเสียหาย สินค้าสูญหาย สินค้าหมดไม่มีขายหรือแม้กระทั่งจะต้องจัดโปรโมชั่นเพื่อขายสินค้าล็อตเก่า
นอกจากนี้ ความไม่แม่นยำของสินค้าคงคลังยังมีผลต่อด้านการเงินด้วย อาจส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าเช่าพื้นที่เก็บสินค้าหรือค่าใช้จ่ายในการจัดส่งสินค้า
ตามข้อมูลจาก Voxware พบว่าเกือบ 69% ของลูกค้าจะไม่มาซื้อของร้านคุณอีก หากการจัดส่งสินค้า ของแบรนด์
คุณล่าช้านานเกิน 2 วัน ดังนั้นคุณจะต้องเติมสินค้า ให้พอขายและจัดการเรื่องการขนส่งให้แม่นยำและรวดเร็ว
หากมีสินค้าวางขายในเว็บหรือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แต่ไม่มีสินค้าในคลังไว้ขาย แบบนี้ไม่ดีแน่ คุณจะต้องวางแผนคุม สต๊อกให้ดี เมื่อสินค้าในคลังใกล้หมด คุณจะได้เติมสินค้าให้พอขายเพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า ในตลาดอีคอมเมิร์ซนั่นเอง
เมื่อสต๊อกของคุณไม่แม่นยำ จำนวนสินค้าขาด ไม่พอขาย หรือจำนวนสินค้าเกินจากความต้องการของลูกค้าในตลาด ทำให้สต๊อกล้นและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
สต๊อกจริง VS สต๊อกอิเล็กทอนิค
สต๊อกจริง (Real inventory) หมายถึง ปริมาณสินค้าจริงในคลังสินค้าที่ได้จากการนับสต๊อก สินค้าสต๊อกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic records) คือปริมาณสินค้าที่ธุรกิจของคุณทั้งช่องทางการขายสินค้าออนไลน์และออฟไลน์ที่ถูกบันทึกไว้
โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ระบบจะอัปเดตข้อมูลสินค้าโดยอัตโนมัติ
ระบบนับสต๊อกแบบเเมนนวลแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
- นับแบบ Full-scale : พนักงานที่รับผิดชอบในส่วนนี้จะนับสินค้าทุกๆ ชิ้นด้วยวิธีนับมือ ซึ่งจะทำการนับสต๊อกในทุก ๆ 15 วันหรือทุกเดือนนั่นเอง
- นับแบบ Cycle counting: วิธีการนี้เป็นการนับสินค้าในกลุ่มย่อย ที่เลือกมาเฉพาะในช่วงเวลา
ที่กำหนด ไม่ต้องนับทุกรายการสินค้าที่มีในคลัง วิธีนี้ช่วยให้สามารถปรับปรุงความแม่นยำและประสิทธิภาพ
ในการนับสต็อกได้ และเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการรักษาสต็อกสินค้าในสภาพที่ถูกต้องในระยะยาวด้วย
มาวัดความแม่นยำของสต๊อกสินค้ากัน!
เมื่อคุณนับสต๊อกด้วยระบบอมนนวล หรือระบบนับมือ ขั้นตอนถัดไปให้คุณใช้สูตรคำนวณความแม่นยำของสต๊อกสินค้า ดังนี้
อัตราความถูกต้องของสินค้าในสต็อก (Inventory accuracy rate)= จำนวนสินค้าที่นับได้ / จำนวนสินค้าที่บันทึก
ในระบบ * 100
คุณควรให้ความสำคัญกับการนับสต๊อก และจดบันทึดยอดจำนวนสินค้าในคลังเอาไว้ เพื่อพื่อวัด KPI เปรียบเทียบกับยอดขายและยอดจัดซื้อในแต่ละครั้ง
ก่อนที่จะเลือกใช้ระบบแมนนวลเพื่อนับสต๊อกสินค้า สิ่งที่จะต้องถามตัวเอง มีดังนี้
- การนับสต๊อกด้วยมือจะต้องใช้พนักงานหลายคนช่วยตรวจสอบความถูกต้องเพื่อป้องกันความผิดพลาด
- และใช้เวลานานในการตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนสินค้าด้วย
วางตำแหน่งสินค้าแบบมีกลยุทธ์
และนี่ก็คือวิธีการคำนวณความแม่นยำของสต๊อกสินค้าที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้
Physical Count นับทั้งหมด จบทีเดียว
วิธีการนับสินค้ารูปแบบนี้ จะเปรียบเทียบจำนวนสินค้าในระบบกับจำนวนสินค้าตามสภาพจริงในคลัง ซึ่งจะช่วยให้จำนวน
สินค้าทั้งสองตำแหน่งตรงกัน วิธีนี้จะเหมาะกับธุรกิจที่มีจำนวน SKU และปริมาณการสั่งซื้อน้อย คุณสามารถนับสต๊อก
และเก็บบันทึกความเคลื่อนไหวของสินค้าอย่างต่อเนื่องเป็นรายสัปดาห์
ประเมินสต๊อกสินค้า
วิธีนี้จะนับสินค้าในคลังตามสภาพจริง สูตรการคำนวณความแม่นยำของสต๊อกสินค้ามีดังนี้
ความแม่นยำของสต็อกสินค้า = (จำนวนสินค้าที่นับได้ / จำนวนสินค้าที่บันทึกในระบบ) × 100
- จำนวนสินค้าที่นับได้ = จำนวนสินค้าที่นับและตรวจสอบได้จากการนับสต็อกทางกายภาพ
- จำนวนสินค้าที่บันทึกในระบบ = จำนวนสินค้าที่ระบบบันทึก ไว้หรือสถานะสินค้า ตามข้อมูล ที่มีในระบบของธุรกิจ
ตัวอย่างการคำนวณความแม่นยำของสินค้าคงคลัง
สมมติว่าพนักงงานทดูแลเรื่องการนับสต๊อกสินค้า นับด้วยมือได้ 950 หน่วย ข้อมูลแจ้งบนระบบว่าคุณมีสินค้าจำนวน 1,000 หน่วย ความแม่นยำของสินค้าคุณคือ 95%
อัตราความถูกต้องของสินค้าในสต๊อก (Inventory accuracy rate) = 950 / 1000 * 100 = 95%
แล้วแบบไหนถึงเรียกว่าแม่นยำ?
อัตราความแม่นยำขอสต๊อกสินค้าของธุรกิจควรอยู่ในช่วง 65%-75% หากคุณจัดการสต๊อกสินค้า ด้วยระบบสแกนบาร์โค้ด ความแม่ยำจะอยู่ในเรทดังกล่าวซึ่งเป็นตัวเลขมาตรฐานของธุรกิจส่วนใหญ่
ซึ่งจะอยู่ที่ 97%
ประโยชน์ 7 ข้อของการจัดเก็บสินค้าที่มีความแม่นยำ
ทำให้คุณมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ
มันช่วยให้คุณเข้าใจกระบวนการธุรกิจและความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น และคุณก็จะไม่ต้องเผชิญ
กับปัญหาสินค้าขาดแคลนอีกด้วย
ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน
สต๊อกที่มีความแม่นยำจะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจ คุณจำเป็นต้องติดตามสต๊อกสินค้าอย่างสม่ำเสมอ และถ้าหากคุณมีระบบติดตามสินค้าคงคลังและนับสต๊อกให้แบบอัตโนมัติ คุณก็จะไม่ต้องจ้างพนักงานเพื่อนับสินค้า นอกจากนี้ ระบบจะแจ้งว่าสินค้าตัวไหนขายดีและไม่ดี คุณจะสามารถยกเลิกการจัดซื้อสินค้าตัวที่ขายไม่ดีได้อย่างทันถ่วงที ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็จะลดลงนั่นเอง
ดำเนินการจัดการออเดอร์และจัดส่งอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ระบบการจัดการสินค้าแบบอัตโนมัติช่วยให้พนักงงานในคลังค้นหาสินค้าได้ง่าย ถูกต้อง และรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยตัดขั้นตอนในการทำงานที่ไม่จำเป็นออกไป
การบริการลูกค้ามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การมีข้อมูลรายงานประสิทธิภาพของการจัดการออเดอร์แบบอัตโนมัตินั่นเป็นเรื่องที่ดี คุณจะสามารถตอบทุก
ข้อสงสัยของลูกค้าได้ทันที ซึ่งช่วงสร้างความพึงพอใจและความประทับใจให้กับลูกค้านั่นเอง
ควบคุมงบได้ดี และมีเงินเก็บ
ระบบจัดการออเดอร์แบบอัตโนมัติช่วยให้คุณติดตามออเดอร์ ตรวจสอบระดับสต็อกสินค้า และจัดการการจัดส่ง
และโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นส่งผลให้การควบคุมค่าใช้จ่ายและการประหยัดค่าใช้จ่ายดีขึ้น
อัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับออเดอร์แบบเรียลไทม์
ในสมัยก่อน เราไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยขนาดนี้ คุณจะต้องประสานงานกับคนมากมาย โดยเฉพาะพนักงานในคลัง บางทีก็อาจจะเกิดความผิดพลาดหรือข้อมูลตกหล่นไปบ้าง แต่ถ้าหากคุณมีระบบจัดการออเดอร์แบบอัตโนมัติ คุณจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับสินค้าคงคลังและออเดอร์ได้แบบเรียลไทม์และแม่นยำ โดยไม่ต้องรอถามใครอีกต่อไป
เพิ่มประสิทธิภาพและจัดระบบให้กับคลังสินค้า
การมีสต็อกสินค้าที่มีปริมาณมากและสินค้าหลากหลายอาจเป็นอุปสรรคในการจัดระเบียบคลังสินค้า สินค้าอาจหาย
ไปได้หากไม่มีการจัดการสินค้าคงคลังที่เหมาะสม การกำหนดกลยุทธ์ในการจัดเก็บสินค้าเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น
ระบบการจัดการสินค้าคงคลังแบบอัตโนมัติจะช่วยให้ค้นหาสินค้าได้ง่าย แม่นยำ และรวดเร็วยิ่งขึ้น
ปัจจัย 8 ประการที่ทำให้สินค้าในคลังไม่มีแม่นยำ
- ความผิดพลาดในการนับสต๊อกสินค้า : การนับสินค้าด้วยมือจะต้องทำเป็นกิจวัตร อาศัยความสม่ำเสมอและรอบคอบ คุณสามารถกำหนดการตรวจ นับสินค้าคงคลังสัก 2 เดือนครั้ง แต่วิธีนี้ก็อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดในข้อมูลตัวเลขได้เช่นกัน
- ข้อผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล : บันทึกข้อมูลสินค้าไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนอาจทำให้ข้อมูลสต็อก
ไม่แม่นยำ คุณต้องมีระบบตั้งชื่อสินค้าคงคลังอย่างเหมาะสม ให้ระวังเรื่องตัวเลขกับตัวอักษร เพราะบางทีทำให้
พนักงานในคลังสับสนได้ ตัวอย่างเช่น เลขศูนย์ (0) และตัวอักษร ‘O’ เป็นต้น
3. ข้อผิดพลาดในกระบวนการรับสินค้าเข้าคลัง: การบันทึกหรือตรวจสอบสินค้าที่มาถึงคลังสินค้าไม่ถูกต้อง
อาจส่งผลให้ข้อมูลสต็อกไม่แม่นยำ
4. ข้อผิดพลาดในการจัดเก็บสินค้า: การจัดเก็บสินค้าไม่ถูกต้องหรือไม่เรียบร้อยอาจทำให้สินค้า
ไม่สามารถตรวจนับได้อย่างแม่นยำ
5. การเสื่อมสภาพของสินค้า: สินค้าที่เสื่อมสภาพหรือชำรุดอาจไม่ถูกบันทึกเป็นอย่างดีในระบบคลังสินค้า
6. สินค้าสูญหายหรือถูกขโมย: สินค้าที่สูญหายหรือถูกขโมยจากคลังสินค้าไม่ได้ถูกบันทึกลงในระบบ ทำให้ข้อมูลสต็อกไม่แม่นยำ
7. ความผิดปกติในกระบวนการส่งสินค้า: ข้อผิดพลาดในกระบวนการส่งสินค้าอาจทำให้สินค้าไม่ถูกบันทึก
ในระบบคลังสินค้าอย่างถูกต้อง
8. ไม่มีการประเมินประสิทธิภาพและความแม่นยำของสต๊อกสินค้า: เมื่อไม่มีการวัดความแม่นยำ เราจะไม่ทราบเลยว่า
การจัดการสต๊อกของเรามีประสิทธิภาพหรือไม่
วิธีเพื่อความแม่นยำให้กับสต๊อกสินค้า
- หาวิธีการจัดเก็บสินค้าให้มีประสทิธิภาพมากกว่าเดิม
แทนที่จะสต๊อกสินค้าและจัดการออเดอร์ด้วยตัวเอง ระบบจัดการออเดอร์และสินค้าคงคลังแบบอัตโนมัติ จะช่วยให้คุณ จัดการออเดอร์และสินค้าคงคลังได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- ใช้บริการ Fulfillment หรือ บริการระบบจัดการสินค้าออนไลน์
บริการ Fulfillment เป็นตัวช่วยเรื่องเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้า และติดตามสถานะสินค้าแบบครบวงจร สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
- อัปเกรดระบบการจัดการสินค้าคงคลังของคุณ
ลองพิจารณาลงทุนกับระบบการจัดการสินค้าคงคลังหรือโซลูชัน ERP ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับ
ความต้องการธุรกิจคุณ
- เช็คและอัพเดทสต๊อกอย่างสม่ำเสมอ
กำหนดความถี่บ่อยในการตรวจนับสต๊อกสินค้า นี่แหละเป็นวิธีที่จะสร้างความแม่นยำให้กับสินค้าคงคลัง
ของคุณ