Buffer Inventory สต๊อกสำรอง สิ่งที่ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซควรมีไว้

Buffer inventory คือ สินค้าและวัตถุดิบในสต๊อกไว้เผื่อ มีไว้เพื่อป้องกันความไม่แน่นอน

และความผิดพลาดของกระบวนการผลิต ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อโดยไม่คาดคิด เรียกง่ายๆ ว่า สินค้าสำรอง 

หลายๆ ธุรกิจจะสต๊อกสินค้าสำรองที่พร้อมใช้งานเอาไว้ในคลังสินค้า และจะนำเอามาใช้งานในกรณีที่เกิดปัญหา

หรือเหตุขัดคล่องในกระบวนการผลิต 

ตัวอย่างของสต๊อกสำรอง 

ผลิตและขายแยม 

เกิดปัญหาขัดคล่องในกระบวนการผลิตแยมผลไม้ เนื่องมาจากความล่าช้า

ของซัพพลายเออร์ ทำให้ผลไม้มาส่งที่โรงงานผลิตแยมช้าและขั้นตอนอื่นๆ ก็ต้องเลื่อนเวลาออกไป ดังนั้นถ้าคุณมีผลไม้หรือน้ำสต๊อกเผื่อไว้ กระบวนการผลิตก็จะดำเนินต่อไปได้โดยไม่ต้องหยุดรอวัตุดิบ

ขวดโหลหรือภาชนะที่ใช้สำหรับใส่แยมก็เช่นกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสำรองเอาไว้ มันเป็นการวางแผนล่วงหน้า ถึงแม้ว่าคุณจะขายดิบขายดีเกินคาดก็ไม่ต้องกลัวว่าขวดโหลจะไม่พอ ความต้องการของผู้บริโภคในตลาดอีคอมเมิร์ซ

เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง จนบางที่ก็เดาได้ยาก คุณจะต้องวิเคราะห์และวางแผนสำรองสินค้า วัตุดิบ และอุปกณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ให้รอบคอบ 

ความแตกต่างระหว่าง Buffer Inventory กับ Safety Stock

ทั้งสองคำนี้คล้ายกันมาก และมักจะสร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน เพราะคิดว่ามันคือคำๆ เดียวกันและให้ความหมาย

เหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วทั้ง 2 คำดังกล่าวมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป 

Buffer Inventory เป็นการสำรองสินค้าเอาไว้ในคลัง เตรียมความพร้อมเผื่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่มาขัดขวาง

กระบวนการผลิตสินค้า การจัดซื้อสินค้า หรือ การนำเข้าสินค้า เพื่อให้ธุรกิจำเนินต่อไปได้  ส่วน Safety stock จะเป็นการสำรองสินค้าไว้เพื่อเพิ่มสต๊อกสินค้า ป้องกันสินค้าขาดแคลน ไม่พอขาย เนื่องจากความต้องการ

ซื้อของลูกค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซมีมากกว่าจำนวนสินค้าคลัง 

ยกตัวอย่างเช่น ผู้ค้าสต๊อกข้าวสาลีไว้อย่างต่ำ 7 ปี เพื่อเขาจะได้สามารถขายข้าวสาลีในช่วงหน้าแล้งได้ จะเห็นได้ว่าการสำลองข้าวสาลีเผื่อเอาไว้ในยาวขาดแคลนอาหารคือ Buffer Inventory นั่นเอง 

ในทางกลับกัน Safety stock จะเป็นเรื่องของการเพิ่มสต๊อกสินค้า เพราะสินค้าไม่พอขาย ซึ่งเราจะจัดเก็บสินค้าสำรอง

ประเภทนี้ไว้ในคลังเสมอ

ยกตัวอย่างเช่น นักการตลาดได้ประเมินความต้องการซื้อของกลุ่มลูกค้าในตลาด ผลสรุปออกมาคือ มีความต้องการ

2,000 หน่วยต่อเดือน แต่ก็ไม่ได้เป็นจำนวนเท่านี้แบบสม่ำเสมอ เลยตัดสินใจสำรองสินค้าเพิ่มไว้เผื่ออีก 100 หน่วย เพื่อป้องกันของขายหมดไว 

ทำไมจะต้องมี Buffer Inventory ด้วยหล่ะ? 

การมีสต๊อกสินค้าสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็นมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันภาวะสินค้าขาดสต๊อก คุณจะมั่นใจได้ว่าคุณมีสินค้าสำรองเผื่อเอาไว้ใช้หากสินค้าขายดีมาก เวลาผลิตหรือสั่งซื้อสินค้ามาขาย หลายๆ ธุรกิจมักจะผลิตหรือจัดสื้อเกินจำนวน เผื่อเหลือ เผื่อขาด เผื่อจัดทำโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม หรือกิจกรรมทางการตลาดนั่นเอง 

ปริมาณของสต๊อกสำรองจะขึ้นอยู่กับการตัดสินค้าของแต่ละธุรกิจ ฝ่ายจัดซื้อหรือเจ้าของธุรกิจจะ

ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ตามมา โดยเฉพาะค่าจัดเก็บและดูแลสินค้าเหล่านี้ ดังนั้นจะต้องเลือกซื้อ

หรือผลิตสินค้าสำรองในปริมารณที่เหมาะสมกับธุรกิจ 

3 ข้อ สำคัญที่คุณต้องทราบเพื่อสั่งผลิตหรือจัดซื้อสต๊อกสำรอง 

  1. ประเมินตลาดล่วงหน้า 

การทำความเข้าใจกับสต๊อกสำรองนั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะคุณจะต้องประเมินความต้องการของตลาดล่วงหน้า

เพื่อสำรองสินค้าเผื่อเอาไว้ให้พอขาย 

  1. จำนวนสินค้าสำหรับเติมสต๊อก 

หากได้สำรองสินค้าไว้ตั้งแต่การผลิตล็อตแรก คุณสามารถนำจำนวนและวิธีการมาใช้กับการเติมสต๊อกครั้งถัดไปได้ เช่น ตั้งเวลาไว้เดือนละ 1 ครั้ง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้คุณวางแผนธุรกิจได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง 

  1. เวลา 

คุณจะต้องทราบระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือจัดซื้อสินค้าว่านานเท่าใด วางแผนประสานงานกับ

ซัพพลายเออร์ให้เรียบร้อย เจรจากันอย่างละเอียดถี่ถ้วนและเป็นลายอักลักษณ์อักษร  

  1. อายุการใช้งานของสินค้า 

ความสดใหม่ หรือ อายุการใช้งานของสินค้าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการวางแผนเพื่อสำรองสินค้า หากสินค้าหมดอายุเร็ว

 โรงงานก็จะไม่สามารถสต๊อกสินค้าในระยะเวลานานๆ ได้ 

  1. สภาพอากาศ 

สภาพอากาศ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คุณจะต้องคำนึงถึง สินค้าบางชนิดเหมาะสมหรับอุณหภูมิต่ำ หรือไม่เหมาะกับ

อากาศร้อนๆ เพราะอาจจะทำให้เน่าเสียหรือเสื่อมสภาพง่าย 

ยกตัวอย่างเช่น  

เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เราขอยกตัวอย่างเป็นร้านขายพิซซ่า ส่วนประกอบที่ ทางฝ่ายจัดซื้อของร้านพิซซ่าจะต้องจัดหามา

ได้แก่ แป้ง, ชีส, มะเขือเทศ, และหัวหอม ซึ่งความต้องการซื้อพิซซ่าของผู้บริโภคก็จะแปรผันไปตามฤดูกาลหรือ

ขึ้นอยู่กับแต่ละเดือน และมักจะพุ่งสูงขึ้นในช่วงเทศกาลหรือวันหยุดยาวเมื่อเปรียบเทียบกับวันปกติทั่วไป ดังนั้นฝ่ายจัดซื้อจะต้องเก็บสต๊อกส่วนประกอบต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้องสำรองเอาไว้ จะได้มีใช้ในช่วงขายดี 

เนื่องจากวัตถุดิบดังกล่าวเน่าเสียง่าย จึงไม่สามารถสต๊อกเก็บไว้ได้ในปริมาณมากๆ ซื้อมาก็ต้องใช้ให้หมด

ก่อนที่มันจะเน่าเสีย พ่อครัวหรือเชพจะต้องวางแผนการเก็บรักษาและจัดลำดับการหยิบมาใช้ให้รอบคอบ นอกจากนี้ยังต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการขาดแคลนวัตุดิบบางอย่าง เช่น มะเขือเทศและหัวหัว ที่อาจจะขาดตลาด

เจ้าของกิจการหรือฝ่ายจัดซื้อวัตถุดิบจำเป็นต้องพิจารณาทั้ง 2 ปัจจัยก่อนทำการสต๊อกวัตถุดิบสำรองไว้ ให้พิจารณา

จากแนวโน้มและความถือในการเติมสต๊อกที่ผ่านมา เพื่อจัดเก็บวัตถุดิบได้อย่างเหมาะสม 

Greasley’s Method วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ 

John Greasley ศาสตราจารย์ด้านการจัดการ ชาว UK ได้นำเสนอวิธีการคำนวณสต๊อกสำรอง หรือ buffer inventory 

สูตรการคิดคำนวณสต๊อกสำรอง 

𝜎LTx average demand x Z

𝜎LTx average demand x Z

  • 𝜎LT = ค่าเบื่อเบนมาตรฐานของเวลาในการผลิตสินค้า (standard deviation of lead time) มีหน่วยเป็นเวลา 
  • average demand คืออัตราการต้องการเฉลี่ยต่อหน่วยเวลา โดยมีหน่วยเป็น

จำนวนหน่วยต่อหน่วยเวลา

  • Z คือค่า Z-score ของระดับความเชื่อมั่น (confidence level) โดยมีค่าประมาณ 1.64 

สูตรนี้จะช่วยในการคำนวณค่าสต็อกสำรองที่เหมาะสมเพื่อให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเสี่ยงต่ำที่สุดเมื่อเกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบ หรือการวางแผนการผลิต

ข้อดีของการมีสต๊อกสำรอง

  • การมีสต๊อกสำรองช่วยให้เกษตรมีรายได้ที่มั่นคง ลดการตัดราคาที่เป็นเหตุให้พวกเขาลาออกจากงาน 
  • มีส่วนช่วยในการเเก้ไขเงินเฟ้อ และส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตรกรรม
  • ส่งผลดีให้กับการเกษตร มีการซื้อขายสินค้าจากชุมชนมากยิ่งขึ้น 
  • สต๊อกสำรองช่วยจัดการการขายสินค้าเกินราคา 
  • แก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร 
  • ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ มีของขายในยามสินค้าขาดแคลน 

Disadvantages of Buffer Inventory

ข้อเสียของการสำรองสต๊อกสินค้า 

มีข้อดีก็ย่อมีข้อเสีย ซึ่งข้อเสียที่เราจะพูดถึงกันนี้ จะช่วยให้คุณวัดประสิทธิภาพของการสำรองสต๊อกสินค้า

  • ต้นทุนแพงขึ้น และคุณอาจจะต้องจ่ายภาษีในการสต๊อกของสำรองไว้ด้วย
  • อาจจะเจอเกษตรกรหัวหมอ ต้องระวังให้ดี บางที่เขาจะใช้สาเคมีเร่งการเจริญเติบโตของพืชหรือสัตว์

เพื่อจะได้ขายให้คุณเยอะๆ ไงหล่ะ

  • อาจจะเจอเกษตรที่ขาววัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพ และพอเอามาขาย ปรากฏว่าไม่มีคนซื้อ เพราะมันอาจจะไม่ต้องตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าของคุณนั่นเอง 
  • เจอสินค้าหรือวัตุดิบที่เน่าเสีย เนื่องจากผู้ผลิตไม่สามารถรับมือกับความต้องซื้อในตลาดที่ผันผวนอยู่ตลอด

เวลาได้ 

ระดับสต็อคบัฟเฟอร์ที่ดีคืออะไร?

สินค้าคงคลังที่ปลอดภัยคือสินค้าคงคลังที่ผู้ค้าปลีกซื้อและเก็บไว้เพื่อป้องกันสถานการณ์สินค้าหมด ผู้ค้าปลีกมีแรงจูงใจ

สูงที่จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียยอดขายเนื่องจากสินค้าขาดสต็อก แต่การประมาณปริมาณสินค้าคงคลังที่จะเพียงพอใน

การบรรเทาความไม่แน่นอนของอุปสงค์และอุปทานเป็นเรื่องยาก

ข้อกำหนดสินค้าคงคลังที่ปลอดภัยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้ค้า ธุรกิจ และมาตรฐานระดับการบริการ ด้วยเหตุนี้ การกำหนดระดับสินค้าคงคลังที่ปลอดภัยโดยทั่วไปจึงทำได้โดยการวิเคราะห์ความต้องการขายและเวลาที่ใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้เสร็จ

Methods to Calculate Buffer Inventory

Here are the following methods to calculate the buffer inventory:

Fixed safety stock

In this method, companies enlist the help of production planners. The planners do not use formulas. Instead, they determine buffer stock depending on the maximum daily utilization over a period. Until the planner revises it, the quantity of buffer stock remains constant.

Time-based calculation

Buffer stock is calculated using future expectations. Typically, businesses determine this stock by using this process for a set period. This method uses statistical approaches to account for both actual and predicted demand. One drawback of utilizing such a technique is that it does not consider business uncertainty.

Formula-based

Many analysts utilize a standard technique to calculate buffer inventory based on the assumption that a business will require it in the event of a stockout. This model, however, does not account for seasonal variations in demand.

นักวิเคราะห์หลายคนใช้เทคนิคมาตรฐานในการคำนวณสต๊อกสำรองตามสมมติฐานที่ว่าธุรกิจจะต้องใช้ในกรณีที่

สินค้าหมด แต่เราจะไม่ใช้สูตรนี้ในการคำนวนความต้องการที่ผันแปรตามฤดูกาล

Formula: (max. daily usage * max. lead time) less (avg. daily usage * avg. lead time)

สูตร : 

 (max. daily usage * max. lead time) – (avg. daily usage * avg. lead time)

ผลต่างระหว่างการใช้สูงสุดต่อวันกับเวลารอสูงสุดลบด้วยผลต่างระหว่างการใช้เฉลี่ยต่อวันกับเวลารอเฉลี่ย”

คำศัพท์และความหมาย 

  1. Maximum daily utilization (การใช้งานสูงสุดต่อวัน) : จำนวนหน่วยที่บริษัทใช้หรือขายในแต่ละวัน 
  2. Maximum time taken in completion (เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานสูงสุด) :  หมายถึงเวลาที่ซัพพลายเออร์

ใช้ในการส่งมอบสินค้า หรือวัตถุดิบ 

  1. Average daily consumption (การใช้งานเฉลี่ยต่อวัน): เป็นค่าเฉลี่ยของหน่วยสูงสุดและต่ำสุดที่ธุรกิจขาย 
  2. Average completion time (เวลาเฉลี่ยในการปฏิบัติงาน): คือผลรวมของเวลาสูงสุดและต่ำสุดที่ซัพพลายเออร์

ต้องใช้ในการส่งมอบสินค้าหรือวัตถุดิบ

ลงทะเบียนวันนี้ ให้เรื่องโลจิสติกส์เป็นหน้าที่เรา 

ลงทะเบียนแล้วได้แล้ววันนี้ ติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง สอบถามเรื่องการบริการเก็บ-แพ็ค-ส่ง ครบวงจร 

คำถาม

สต๊อกสำรอง คำนวณอย่างไร? 

ขั้นแรกให้พิจารณาการใช้ผลิตภัณฑ์ของคุณโดยเฉลี่ยต่อวันแล้วคูณด้วยระยะเวลารอคอยสินค้า เช่น จำนวนวันที่ใช้ระหว่างเวลาที่มีการสั่งซื้อและเมื่อคำสั่งซื้อนั้นถึงมือลูกค้าของคุณ จากนั้นลบการใช้งานรายวัน

สูงสุดของคุณ และคูณด้วยเวลานำสูงสุดของคุณจากผลลัพธ์เมื่อสักครู่นี้

ตัวอย่างของสต๊อกสำรอง ?

นโยบายเกษตรร่วมของสหภาพยุโรป (European Union Common Agricultural Policy)  

สินค้าหลายชนิดถูกกำหนดราคาขั้นต่ำไว้ตามนโยบายเกษตรร่วมของสหภาพยุโรป ส่งผลทำให้สินค้าล้นตลาด และจัดเก็บสินค้าเหล่านี้ไว้ในโกดังขนาดใหญ่ 

ซึ่งความคิดนี้ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่าเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าสูงเกินไป ในที่สุดสหภาพยุโรป

จะกำหนดโควตาเพื่อจัดการกับอุปทานส่วนเกิน หรือสภาพวะที่มีสินค้าในตสต๊อกมากเกินความต้องการของตลาด นโยบายเกษตรร่วมค่อย ๆ เปลี่ยนเพื่อลดราคาขั้นต่ำที่ได้ตั้งเอาไว้

คำว่า Buffer หมายความว่าอะไรในแง่มุมโลจิสติกส์ ?

Buffer inventory เป็นสินค้าคงคลังส่วนเกินที่ถูกจัดเก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น ความขัดคล่องในระหว่างการผลิต ความล่าช้าใรการจัดการออเดอร์และจัดส่ง หรือ ความต้องการซื้อ

ของผู้บริโภคมีมากจนเกินไป ทำให้สินค้าไม่พอขาย

จุดประสงค์ของการเก็บรักษาสต๊อกสำรอง ?

การมีสต๊อกสำรองจะช่วยป้องกันความล่าช้าในการจัดการออเดอร์และจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นการวางแผน

รับมือกับเหตุที่ไม่คาดคิด สามารถเติมเต็มความต้องการของลูกค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซได้นั่นเอง

บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับคลังสินค้าคงคลัง

แสกนปุ๊บ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลย!

คุณกำลังมองหาบริการคลังสินค้าเพื่อธุรกิจอยู่ใช่ไหม?

Locad นำเสนอบริการที่จะมาเติมเต็มธุรกิจอีคอมเมิร์ซระดับพรีเมียมสำหรับธุรกิจทุกขนาด เชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์กับผู้เชี่ยวชาญด้านคลังสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ เพื่อลดต้นทุนการจัดส่ง เพิ่มเวลาขนส่ง และปรับปรุงความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าได้แล้ววันนี้!