แนวทางในการจัดการและรักษาสต๊อกสินค้า

ตารางคอนเทนต์

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการบริการได้ที่นี่!

สินค้าในคลังถือเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดของธุรกิจ มีผลต่อกำไรของธุรกิจโดยตรง เราจะจัดเก็บสินค้าไว้ในคลังหรือพื้นที่จัดเก็บเพื่อขายและจัดส่งถึงมือลูกค้า 

หลายๆ ธุรกิจจะให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาสินค้า และปรับปรุงประสิทธิภาพของการ

สต๊อกสินค้าอย่างสม่ำเสมอ การเก็บรักษาสินค้านั้นเกี่ยวข้องกับการติดตามสถานะสินค้า ติดตามกระบวนการตั้งแต่ จัดซื้อสินค้าไปจนถึงการจัดส่ง หรือแม้กระทั่งการกำจัดสินค้าเหล่านั้น ในบทความนี้เราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ “การเก็บรักษาสินค้าคงคลัง” กัน! 

แนวทางในการจัดการและรักษาสต๊อกสินค้า

เก็บรักษาสินค้าคงคลัง ควบคุมเรื่องอะไรบ้าง มาดูกัน! 

  • ตรวจสอบและจัดเก็บสินค้าให้มีประสิทธิภาพ
  • สร้างความสมดุลระหว่างการจัดเก็บสินค้าและงบประมาณที่คุณได้ตั้งเอาไว้ 
  • จัดสต๊อกสินค้าให้เป็นระเบียบ เข้าถึงง่าย 
  • สามารถติดตามและควบคุมระดับสต๊อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • จัดการปัญหาสินค้าเน่าเสียหรือเสื่อมสภาพ 
  • รายงานประสิทธิภาพของการจัดการสินค้าค้าในคลัง เพื่อตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าเพิ่ม-ลด

พื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า

ตำแหน่งในการจัดเก็บสินค้า ชั้นวางของ หรือแท่นวางของ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการจัดการ จัดเก็บ และติดตามสินค้า พื้นที่หลักๆ ที่คุณจะต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ 

นำสินค้าจากซัพพลายเออร์เข้ามาเก็บในคลัง

ธุรกิจขนาดเล็กอาจใช้พื้นที่ไม่มากเพื่อนสต๊อกสินค้า พื้นที่เล็กๆ ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากธุรกิจ

ที่กำลังขยายตัว ก็จำเป็นต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อดำเนินการสต๊อก เเพ็ค และเตรียมจัดส่งได้

อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ 

สินค้าที่เสียหาย 

ในกรณีที่ลูกค้าต้องการส่งสินคืนสินค้า คุณจะต้องมีพื้นที่เพื่อรองรับสินค้าที่เกิดจากความผิดพลาด เช่น ของเน่าเสีย หมดอายุ ชำรุด หรือส่งผิด ซึ่งก็จะมีค่าใช้จ่ายตามมาในการดำเนินการใหม่อีกครั้ง

นั่นเอง 

ติดตามการส่งคืนสินค้า 

เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญในการสร้างสมดุลให้กับการจัดการสินค้าคงคลัง คุณจะต้องวางแผนว่า จะนำสินค้าที่ถูกตีกลับไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อในด้านไหนได้บ้าง ซึ่งจะทำให้คุณทราบ

สาเหตุของการส่งคืนสินค้า คุณภาพของสินค้า และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจ

วิเคราะห์และ บริหารจัดการสินค้าที่ถูกส่งคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การติดตาม การส่งคืนสินค้า ยังช่วยให้คุณสามารถ ตรวจสอบและพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อลดการส่งคืน

สินค้าในอนาคตและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้านั่นเอง

แนวทางในการจัดการและรักษาสต๊อกสินค้า

ความสำคัญของการเก็บรักษาสินค้าคงคลังให้แม่นยำ

ถึงแม้ว่าธุรกิจขนาดใหญ่มีความกำลังเงินและกำลังคนในการสต๊อกสินค้าจำนวนมาก แต่ก็

ต้องอาศัยการบริหารจัดการและควบคุมสินค้าคงคลังอย่างถูกต้อง เพื่อให้อยู่รอดในตลาด

อีคอมเมิร์ซที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในทุกๆ วัน 

Locad Thailand ขอลิสต์มาให้เน้นๆ การสต๊อกสินค้าในคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ มี

ความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซบ้าง มาดูกัน! 

ป้องกันออเดอร์หาย

การบริหารคลังสินค้ที่ดีช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาด ของหาย สินค้าพัง หรือสินค้า

ตกเทรนด์ โดยที่คุณจะต้องทำการตรวจสอย่างถี่ถ้วน ยังไม่หมดเท่านั้น ยังช่วยให้ธุรกิจขายสินค้า

ออกไปได้เร็วขึ้น ลดปัยหาสินค้าตกค้าง มีสต๊อกพร้อมขายในจำนวนที่เหมาะสมกับความต้องการ

ของลูกค้าในตลาด

ป้องกันออเดอร์ซ้ำ

ปัญหาออเดอร์ซ้ำเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งของการจัดการสต๊อกสินค้า การมีระบบจัดการออเดอร์ที่

อัพเดทข้อมูลอัตโนมัติ จะช่วยหลีกเหลี่ยงความผิดพลาดดังกล่าวและช่วยให้ธุรกิจของคุณจัดการ

ช่วยเรื่องการหมุนเวียนของเงินทุน 

ในการเก็บรักษาสินค้าคงคลังจะมีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง หากบริหารจัดการสินค้าคงคลังดี เงินทุนก็จะหมุนเวียนไปในทิศทางที่ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่คุรได้ลงทุนลง

แรงไปไม่ศูนย์เปล่า มีกำไรกลับคืนสู่ธุรกิจและแบ่งสรรปันส่วนไปพัฒนาในส่วนอื่นๆ ของธุรกิจ

ให้ดีขึ้นได้อีกด้วย 

ช่วยให้วางเเผนสั่งซื้อ-สั่งผลิตสินค้าเพิ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเช็คระดับสต๊อกอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณทราบว่าสินค้าในคลังใกล้จะหมดหรือยัง เพื่อที่จะสั่งซื้อหรือสั่งผลิตในจำนวนที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาดกำหนดระยะเวลา

ได้อย่างเหมาะสม และที่สำคัญประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

หลีกเลี่ยงการเสียยอดขาย เสียลูกค้า 

การเก็บรักษาสินค้าในคลังที่ดี คือสินค้าจะต้องพร้อมใช้งาน แพ็ค และจัดส่งตลอดเวลา ดังนั้นการมีระบบจัดการสินค้าคงคลังที่ดีจะช่วยย่นระเวลาในการดำเนินงาน ประหยัดเงิน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และลดความผิดพลาดนั่นเอง 

ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น 

เมื่อธุรกิจสามารถคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าในตลาดและสั่งซื้อสินค้าในจำนวนที่เหมาะสม ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของสต๊อกขาด-เกิน ย่นระยะเวลาในการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้นั่นเอง 

 เติมสต๊อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ระบบจัดการสต๊อกแบบอัตโนมัติช่วยให้คุณเก็บรักษาสินค้าในคลังในพื้นที่ที่เหมาะสม จำนวนพอดีกับความต้องการของตลาด ช่วยให้ตัดสินใจเพิ่ม-ลดสินค้าในสต๊อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

แนวทางในการจัดการและรักษาสต๊อกสินค้า

จุดประสงค์ของการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง 

เราเก็บรักษาสินค้าไว้ในคลังเพื่ออะไร Locad Thailand มีคำตอบมาให้ ดังต่อไปนี้ 

  • เพื่อให้ธุรกิจจัดการสินค้าในคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้สินค้าหมุนเวียนเข้า-ออกจากคลังรวดเร็วและแม่นยำ 
  • เพื่อย่นระยะเวลาในการดำเนินงาน ตั้งแต่สต๊อกสินค้าไปจนส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้าปลายทาง 
  • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสั่งซื้อหรือสั่งผลิตสินค้า 
  • เพื่อตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป 
  • เพื่อจัดการสต๊อกให้เหมาะสมกับตลาดอีคอมเมิร์ซที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 
  • เพื่อส่งคืนสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่มีข้อผิดพลาด 
  • เพื่อสร้างชื่อภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ 
แนวทางในการจัดการและรักษาสต๊อกสินค้า

ข้อเสียของการสต๊อกสินค้า 

มีข้อดี ย่อมมีข้อเสีย การสต๊อกสินค้าในคลังมีข้อเสียที่คุณควรพิจารณา ดังต่อไปนี้ 

  • มีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเช่าพื้นที่จัดเก็บสินค้า และค่าดำเนินการ 
  • สินค้าที่เก็บไว้เป็นเวลานาน ขายไม่ออก อาจะทำให้เกิดการเน่าเสียหรือเสื่อมสภาพลงได้ 
  • เกิดปัญหาสต๊อกส่วนเกิน ซึ่งหมายถึงสภาวะที่ความต้องการในตลาดมีน้อย ของขายไม่ออก สินค้าอยู่ในคลังเป็นจำนวนมาก ทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจ 
  • เกิดปัญหาขาดแคลนสต๊อก เพราะความต้องการในตลาดพุ่งสูง คนซื้อสินค้าจนสินค้าหมด ก็ทำให้เสียโอกาสในการขายสินค้าอีกเช่นกัน 

ดังนั้น คุณจะต้องมีการจัดการสต็อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเปลี่ยนข้อเสียเหล่านี้ให้กลายเป็นข้อดีให้กับธรกิจของคุณ 

ทำความเข้าใจกับค่าใช้จ่ายในการสต๊อกสินค้า 

ค่าใช้จ่ายของการเก็บรักษาสินค้าประกอบไปด้วย ต้นทุนการจัดซื้อหรือสั่งผลิตสินค้า ค่าดำเนินการจัดเก็บสินค้า ค่าเช่าพื้นที่คลังสินค้า ค่าขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิดมายังคลังสินค้า ค่าแรงงาน ไหนจะภาษี สิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ในการทำงานในคลัง ค่าประกัน รวมทั้งต้นทุนที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดสภาวะของขาดสต๊อก เป็นต้น 

 4 ประเภทของสินค้าคงคลัง 

  1. วัตถุดิบหรือสินค้าที่ซัพพลายเออร์จัดส่งมายังคลังสินค้า 
  2. สินค้าระหว่างการผลิต
  3. สต็อกสินค้าสำเร็จรูป สินค้าที่พร้อมสำหรับการจัดส่งให้กับลูกค้าปลายทาง
  4. วัสดุบรรจุภัณฑ์ 
แนวทางในการจัดการและรักษาสต๊อกสินค้า

กำหนดระดับสต๊อกขั้นต่ำ (Minimum Level) 

คุณจะต้องกำหนดระยะเวลาและจำนวนสินค้าขั้นต่ำไว้ และพยายามรักษาสต๊อกให้อยู่ในระดับที่สมดุล ไม่ควรลดน้อยลงไปกว่าค่าที่ตั้งไว้ 

  • กำหนด Lead time หรือระยะเวลาที่ใช้ในการเติมสต๊อกสินค้า
  • เช็คความต้องการของลูกค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซ หรืออัตราการบริโภค (Consumption rate) ซึ่งเป็นจำนวนวัสดุและสินค้าที่ใช้ในระยะเวลาที่กำหนดนั่นเอง 

แนวทางในการจัดการและรักษาสต๊อกสินค้า

กำหนดระดับสต๊อกที่ต้องการสั่งซื้อ-สั่งผลิต (Re-Ordering Level)

เช็คระดับสต๊อกสินค้าอย่างสม่ำเสมอ รักษาจำนวนสินค้าในสต๊อกไม่ให้ขาดหรือเกิน เพื่อกำหนดเวลาในการสั่งซื้อสินค้าล็อตใหม่ การสั่งซื้อสินค้าใหม่แสดงให้เห็นว่าซัพพลายเออร์หรือโรงงานผลิตมีความน่าเชื่อถือ

กำหนดเพดานสต๊อก หรือ ระดับสต๊อกขั้นสูง (Maximum Level) 

เรากำหนดจำนวนสินค้าขั้นสูงสุด เพราะจุดประสงค์ดังนี้ 

  • เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่จะเก็บสินค้า
  • เพื่อป้องกันสต๊อกเกิน ที่อาจจะส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มและเสี่ยต่อการเน่าเสียและเสื่อมสภาพ 
  • เพื่อปรับสมดุลระดับสต๊อกสินค้า 
  • เพื่อลดความเสี่ยงของสินค้าล้าสมัย โดยจะสต๊อกสินค้าไว้ในระดับที่จัดการได้และเหมาะกับความต้องการของลูกค้าในตลาด 
  • เพื่อสนับสนุนการจัดการและควบคุมสต๊อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ 
  • เพื่อเติมสต๊อกและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันใจ 

สูตรคำนวนระดับสต๊อกขั้นสูงสุด 

ระดับสต๊อกขั้นสูงสุด (Maximum Level) = ระดับการสั่งซื้อใหม่ (Re-ordering Level) – อัตราการบริโภค (Consumption Rate) * เวลาที่ใช้ในการเติมสต็อก (Lead Time) + ปริมาณสั่งซื้อทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Order Quantity)

แนวทางในการจัดการและรักษาสต๊อกสินค้า

เคล็ดไม่ลับ จัดการสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ

เรามาลองดูวิธีจัดการและควบคุมสต๊อกสินค้าเพื่อเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจกันเถอะ 

  1. วางแผนการสั่งซื้อและการเติมสต็อกอย่างเหมาะสม: พิจารณาความต้องการของลูกค้าในตลาด เพื่อป้องกันสภาวะสินค้าล้นคลังหรือสินค้าขาดตลาด
  2. ช็คสต็อกอย่างสม่ำเสมอ: ตรวจสอบสถานะและปริมาณสต็อกอย่างสม่ำเสมอเพื่อวางแผนเพิ่มหรือลดสต็อกอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. วิเคราะห์และจัดเก็บข้อมูล: วิเคราะห์และจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ปริมาณการขาย และระยะเวลาการเติมสต็อก เพื่อช่วยให้วางแผนการจัดการสต็อกได้เหมาะสมและแม่นยำยิ่งขึ้น
  4. พิจารณาและประเมิณการทำงานของซัพพลายเออร์: แหล่งผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ให้กับธุรกิจ คุณจะสามารถจัดการสต๊อกในขั้นตอนถัดไปได้อย่างราบรื่นนั่นเอง
  5. กฏ 80/20:  หมายถึง กำไร 80% สต๊อกของ 20% ธุรกิจจะต้องให้ความสำคัญกับสินค้า 20% นี้ เนื่องจากมันสามารถสร้างรายได้ให้กับคุณ 
  6. เช็คประสิทธิภาพของสินค้า: ตรวจสอบว่าสินค้าเสียหายหรือไม่ หรือยังอยู่ในเทรนด์หรือกระแสหรือเปล่า เพื่อรักษาคุณภาพของสต็อกและจำกัดสินค้ามี่ขายไม่ออก เน่าเสีย หรือหมดอายุออกไปจากคลังด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ 
  7. ใช้เทคโนโลยีและระบบบริหารจัดการสต็อก: มีระบบบริหารจัดการสต็อกอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยให้จัดการออเดอร์และจัดส่งให้กับลูกค้าได้ถูกต้องและว่องไว 
  8. ลงทุนกับการพัฒนาระบบจัดการสต๊อก: ระบบจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ธุรกิจเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าได้อย่างราบรื่น คุณสามารถนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้งานได้ ยกตัวอย่างเช่น ติดตามสินค้าคงคลังด้วยระบบบาร์โค้ด ซึ่งทำให้คุณได้ข้อมูลที่แม่นยำกว่าการใช้ระบบอมนนวลหรือนับและเช็คสินค้าด้วยแรงงานคน 

ความเสี่ยงของการสต๊อกสินค้า 

เรามาลองดูปัญหาที่พบบ่อยในการเก็บรักษาสินค้าคงคลังกัน! 

  • สั่งซื้อ-สั่งผลิตสินค้ามากเกินไป จบที่ขายไม่ออก 
  • รักษาสมดุลของระดับสต๊อกกับความต้องการของลูกค้าในตลาดไม่ได้ 
  • สูญเสียสต๊อกสินค้า เพราะสินค้าหมดอายุ เน่าเสีย หรือตกเทรนด์ 
  • การผลิตที่ล่าช้า 
  • ความผันผวนของตลาดอีคอมเมิร์ซ 
  • มูลค่าสินค้าลดน้อยลง 
  • ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นการการจัดการสินค้าแบบระบบเเมนนวล 
  • บันทึกข้อมูลไม่แม่นยำ เป็นต้น 
แนวทางในการจัดการและรักษาสต๊อกสินค้า

รักษาสต๊อกสินค้าสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก 

ดูเหมือนว่าการจัดการสต๊อกสินค้าจะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก เนื่องจากมีสินค้าไม่มาก วันนี้ Locad Thailand มี 2 วิธีการจัดการสินค้าคงคลังมาฝาก ไปลุยกันเลย! 

  1. Two Bin 

ธุรกิจจะต้องกำหนดรอบการซื้อสินค้าของแต่ละรายการและปริมาณการซื้อในแต่ละรอบ เวลาซื้อสินค้า ให้ซื้อทีเดียว ขายได้ถึง 2 รอบการสั่งซื้อ และแบ่งใช้งานเป็น 2 ชุด เมื่อขายและส่งล็อตแรกหมด ค่อยไปต่อที่ล็อตถัดไป 

  1. กำหนดระดับสต๊อกสูงและต่ำ

เพื่อป้องกันสภาวะสินค้าขาดหรือเกินช่วยให่ธุรกิจวางแผนในการเติมหรือลดสต๊อกสินค้าได้อย่างแม่นยำ ซึ่งข้อมูลที่คุณจะต้องพิจารณา ได้แก่ ปริมาณที่ได้รับ ราคาต่อหน่วย คำอธิบายในการสั่งซื้อ เลขแคตตาล็อกหรือรหัสสินค้า และอื่น ๆ 

บทสรุป 

การรักษาสต็อกสินค้าที่จะช่วยส่งเสริมธุรกิจตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างน่าพึงพอใจ และต่อเนื่อง สร้างรายได้และนำกำไรกลับคืนสู่ธุรกิจ และช่วยให้ก้าวหน้าและเติบโตแบบยั่งยืน 

ดังนั้นคุณจะต้องหาวิธีหรือตัวช่วยในการบริหารจัดการสต็อกสินค้าที่น่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพนั่นเอง

FAQs

คำถามที่พบบ่อย 

การเก็บรักษาสินค้าคงคลังคืออะไร? 

เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ธุรกิจจัดการสินค้าได้อย่างราบรื่น ด้วยระบบการจัดการสต็อกสินค้าที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของธุรกิจ

สินค้าคงคลังมีกี่ประเภท? 

การเก็บรักษาสินค้าคงคลังมี 4 ประเภท 

  1. วัตถุดิบ 
  2. สินค้าที่อยู่ในระหว่างการผลิต 
  3. สินค้าสำเร็จรูป พร้อมขายและจัดส่งถึงมือลูกค้าปลายทาง 
  4. อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในคลังสินค้า

จุดประสงค์ของการเก็บรักษาสินค้าคงคลังมีอะไรบ้าง?

เพื่อให้สินค้าพร้อมใช้งาน อยู่ในสภาพที่ดี พร้อมขายและจัดส่งให้กับลูกค้าปลายทาง และสร้างความประทับใจเมื่อพวกเขาได้รับสินค้า

ทำไมหลายๆ ธุรกิจต้องคำนึงถึง ความแม่นยำของข้อมูลและสต๊อกสินค้า? 

เมื่อสต๊อกแม่นยำ ก็จะสร้างความสมดุลให้กับรายรับและรายจ่ายธุรกิจ ช่วยประเมินประสิทธิภาพ

ของแรงงาน มูลค่าสินทรัพย์ กำไรและภาระภาษีของธุรกิจ

บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับคลังสินค้าคงคลัง

แสกนปุ๊บ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลย!

คุณกำลังมองหาบริการคลังสินค้าเพื่อธุรกิจอยู่ใช่ไหม?

Locad นำเสนอบริการที่จะมาเติมเต็มธุรกิจอีคอมเมิร์ซระดับพรีเมียมสำหรับธุรกิจทุกขนาด เชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์กับผู้เชี่ยวชาญด้านคลังสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ เพื่อลดต้นทุนการจัดส่ง เพิ่มเวลาขนส่ง และปรับปรุงความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าได้แล้ววันนี้!

Exclusive benefits to ace your e-commerce game this 2023 with Locad’s desk calendar!

Locad raises $9 million in Pre-Series B funding round for smart digital logistics and global expansion
Free Locad 2023 Calendar!