ปัจจุบันมีช่องทางการขายใหม่ๆ เกิดขึ้นหลากหลายช่องทางให้พ่อค้าแม่ขายออนไลน์ได้เลือกเพื่อวางจำหน่ายสินค้า หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่า การกระจายสินค้าไปจัดจำหน่ายหลายๆ ช่องทาง ไม่แย่งลูกค้ากันหรอ? ในบทความนี้มีคำตอบ เราจะพูดถึงความหมายและประโยชน์ของระบบการขายของหลายช่องทาง (Multi-Channel Fulfillment) กัน
Multi-Channel Fulfillment คืออะไร?
Multi-channel fulfillment (MCF) คือระบบการขายหลากหลายช่องทาง เป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงลูกค้าผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียและช่องทางอีคอมเมิร์ซหลายๆ แห่ง ซึ่งมีไว้เพื่อรับออเดอร์สินค้า ขายสินค้า และติดต่อกับลูกค้านั่นเอง
ระบบการขายหลากหลายช่องทางนั้นสะดวกสำหรับผู้ค้าที่มีเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ชึ่งระบบนี้จะช่วยให้คุณได้กระจายสินค้าและเพิ่มยอดขายในช่องทางต่างๆ และสามารถจัดส่งได้ทั่วโลก
ทำไมต้องขายหลายช่องทาง?
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซส่วนมากมีช่องทางการขายสินค้าที่หลากหลาย เพื่อให้ลูกค้าช้อปปิ้งออนไลน์ได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรียกว่าเป็นตัวพลิกเกมในตลาดอีคอมเมิร์ซเลยก็ว่าได้ ดังนั้นการขายสินค้าในแพลตฟอร์มที่หลากหลายมีประโยชน์ต่อทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ วันนี้ Locad Thailand ลิสต์ประโยชน์ของการขายสินค้าไปยังหลายๆ แพลตฟอร์มที่ทำงานไปพร้อมๆ กับการจัดการคลังสินค้า จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปชมกันเลย!
ตัวเลือกในการจัดส่งที่หลากหลาย
เมื่อมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดเก็บ-แพ็ค-ส่งแบบครบวงจร จะช่วยให้แบรนด์ของคุณตัวเลือกการจัดส่งที่หลายหลาย เพราะบริษัท Fulfillment เหล่านี้มีเครือข่ายทางด้านการจัดส่งสินค้าหลายแห่ง ดังนั้นผู้ประกอบการจึงไม่จำเป็นต้องไปติดต่อหาคลังสินค้าแยกต่างหาก
ยอดขายและรายได้เพิ่มขึ้น
ตลาดอีคอมเมิร์ซกลายเป็นเครื่องมือที่เหล่านักช้อปใช้ค้นหาสินค้า เปรียบเที่ยบราคา ศึกษาข้อมูลของสินค้าและรีวิว ซึ่งพวกใช้แพลตฟอร์มออนไลน์มากกว่าค้นหาข้อมูลต่างๆ และสั่งซื้อผ่าน Google และนี่ก็เป็นโอกาสในการเพิ่มยอดขายและรายได้ให้กับธุรกิจผ่านการกระจายสินค้าไปขายหลายๆ ช่องทาง เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายและมีอิสระที่จะเลือกแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่ตนเองสะดวกที่สุด
เพิ่มการมองเห็นให้กับแบรนด์
การมีช่องทางการขายสินค้าที่หลากหลาย จะช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซที่มีการแข่งขันสูง และทำให้ผลิตภัณฑ์ของคุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น ในฐานะผู้ประกอบการ คุณควรวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้ปังและมีประสิทธิภาพ เพราะมันจะทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่น่าจดจำในสายตาของลูกค้า เกิดการบอกต่อ หรือ ซื้อซ้ำนั่นเอง
ธุรกิจไปต่อได้ในสมรภูมิการแข่งขันของตลาดอีคอมเมิร์ซ
หากธุรกิจของคุณสามารถเชื่อต่อช่องทางการขายและการขนส่งที่หลากหลาย จะทำให้คุณรักษาลูกค้าได้ดีกว่าขายสินค้าผ่านช่องทางเดียว วิธีที่ดีที่สุดคือให้คุณวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของคู่แข่ง พยายามทำความเข้าใจช่องทางการขายที่พวกเขาใช้กัน และนี่ก็อาจจะเป็นโอกาสที่จะได้ส่วงแบ่งทางการตลาด (Market share) นั่นเอง
ปรับปรุงประสบการณ์การช้อปของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น
เราขอเสนอ 4 สิ่งที่จะสร้างความประทับใจในการซื้อสินค้าให้กับลูกค้า มีดังนี้
- มีช่วงทางการขายสินค้าหลายๆ ช่องทาง
- หมั่นปรับปรุงแพลตฟอร์มให้เข้าถึงง่าย ใช้งานง่ายอยู่เสมอ
- มีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายให้ลูกค้าได้เลือกตามความสะดวก
- มีตัวเลือกในการจัดส่งที่หลากหลายให้กับลูกค้า
จัดการคลังสินค้าได้อย่างคล่องตัว
เมื่อคุณตัดสินใจที่จะใช้ระบบการขายสินค้าหลายๆ ช่องทาง คุณจะต้องวางแผนการจัดการคลังสินค้าเพิ่มเติมในอนาคต เพราะถ้าหากธุรกิจขยายใหญ่ขึ้น คำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้น คุณก็จะต้องปรับเปลี่ยนระบบการจัดการคลังสินค้าไปตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การมีผู้ให้บริการคลังสินค้าออนไลน์นั้นเป็นทางออกที่น่าสนใจไม่น้อย คุณจะไม่ต้องมามัวกังวเรื่องการจัดเก็บสินค้า จัดการออเดอร์ที่ล้นมือ แพ็คและจัดส่งสินค้า นอกจากนั้น การมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลยังช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาสต๊อกขาดและสินค้าค้างสต็อก และขจัดความสับสนของรายการสินค้าถึงแม้ว่าคุณจะขายสินค้ามากกว่า 1 แพลตฟอร์มก็ตาม
การจัดการสินค้าเพื่อขายหลายๆ ช่องทาง
ระบบจัดการคลังสินค้าแบบหลายช่องทางช่วยให้คุณจัดการออเดอร์ที่เข้ามาจากหลายๆ ช่องทางการขายได้ คุณสามารถลงเบียนได้ง่ายๆ ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
- กระจายสินค้าไปยังศูนย์บริการคลังสินค้าหลายๆ แห่ง
- ลูกค้าจะส่งคำสั่งซื้อเข้ามาในระบบ
- ศูนย์บริการคลังสินค้าและจัดส่งจะจัดการคำสั่งซื้อทั้งหมดภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ 1 วันทำการในกรณี
เร่งด่วนมาก (Priority) 2 วันทำการในกรณีเร่งด่วน (Expedited) และ 3-5 วันทำการตามมาตรฐาน (Standard) ของการจัดเก็บ-แพ็ค-ส่งแบบครบวงจร นับตั้งแต่วันที่จัดส่งคำสั่งซื้อ
คำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับระบบการขายหลายช่วงทาง (MCF) ผู้ให้บริการคลังสินค้า
และโลจิสติกส์ (3PL) และศูนย์บริการจัดส่งสินค้า
การคำนวณต้นทุนในการจัดการคลังสินค้าและจัดส่งนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ค้า เพราะจะช่วยให้คุณตัดสินค้าได้ดีขึ้นว่าจะคัดแยกสินค้าเพื่อจัดเก็บในแต่ละศูนย์บริการคลังสินค้าอย่างไร ซึ่งในส่วนนี้เราทำเพื่อลดต้นทุนนั่นเอง ดังนั้นผู้ค้าจะต้องทำความเข้าใจเรื่องค่าเฉลี่ยต่างๆ ต้นทุนของแต่ละรายการ พร้อมวางแผนงบประมาณและการค่าบริการจากลูกค้าอย่างรอบคอบ ศูนย์บริการคลังสินค้าส่วนใหญ่ก็จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมซึ่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละที่อีกแหละ การบริการก็จะแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดของคลังสินค้า ปริมาณของคำสั่งซื้อ ขนาดและน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ สถานที่ และปัจจัยอื่นๆ ดังนั้นผู้ประกอบการอาจจะต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเพื่อเลือกผู้ให้บริการด้านคลังสินค้าที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเองมากที่สุด
ค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ใหห้บริการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ (3PL)
โดยทั่วไป บริษัท 3PL จะมีโครงสร้างของค่าธรรมเนียมที่ซับซ้อน ต้นทุนในการดำเนินการอาจจะแตกต่างจากการบริการในรูปแบบอื่น ดังนั้นผู้ค้าต้องยืนยันค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
ผู้ค้าควรยืนยันค่าธรรมเนียมต่อไปนี้ก่อนที่จะได้รับใบแจ้งหนี้ ซึ่งขั้นตอนมีดังต่อไปนี้
- ติดตั้ง
- จัดเก็บสินค้าคงคลังและจัดการคลังสินค้า
- รับสินค้าเข้ามาในคลัง
- เลือกวัสดุที่เหมาะสมสำหรับแพ็คสินค้า
- ติดฉลากบนพัศดุ
- ทำการแพ็คสินค้าเพื่อจัดส่ง
- เริ่มจัดส่ง
- คืนสินค้า
- การจัดการบัญชี
ค่าธรรมเนียมของผู้ให้บริการลังสินค้าและจัดส่ง (3PL Fulfillment)
ค่าติดตั้ง
เป็นการเรียกเก็บธรรมเนียมเพียงครั้งเดียวเท่า ซึ่งค่าใช้จ่ายจะควบคุมไปถึงซอฟเเวร์ ต้นทุนทั้งหมดของการดำเนินของ 3PL
ค่าธรรมเนียมในการรับสินค้าเข้ามา
การรับสินค้าเข้ามาในระบบ 3PL จากผู้ผลิตนั้นมีค่าใช้จ่าย ซึ่งอัตราค่าธรรมเนียจะแตกต่างกันออกไป หลายๆ ครั้งผู้ค้ามักจะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นรายชั่วโมง กรณีนี้อาจจะเป็นเพราะบริษัทผู้ให้บริการนั้นมีจำนวนพนักงานที่จะมาช่วยคุณเก็บ-แพ็ค-ส่งให้กับคุณค่อนข้างน้อย และค่าบริการก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนคำสั่งซื้อที่อยู่บนที่แท่นวางสินค้าใน 1 พาแลท
จัดเก็บสินค้าคงคลัง และ จัดการคลังสินค้า
ผู้ให้บริการ 3PLs ส่วนใหญ่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ค้าตามปริมาณพื้นที่ที่ใช้ พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ คิดเงินตามแท่นขนาดของวางสินค้าหรือพาเลทนั่นเอง ซึ่งหน่วยการวัดก็จะออกมาเป็นตารางเมตร ตารางฟุต หรือจำนวนพาเลท
จัดหาภาชนะบรรจุและแพ็คพัสดุเพื่อจัดส่ง
ขั้นตอนการแพ็คพัสดุเพื่อจัดส่งก็มีค่าธรรมเนียมกล่องและภาชนะบรรจุเช่นกัน ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอาจแตกต่างกันไปตามขนาดและการปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการของผู้ค้านั่นเอง
ใบส่งสินค้า หรือ ใบส่งของ
ต้นทุนการดำเนินการจะแบ่งออกเป็น 2 ค่าธรรมเนียม ได้แค่ ค่าจัดเก็บสินค้า (Storage Fees) และ ค่าจัดการคำสั่งซื้อ แพ็คและจัดส่ง (Fulfillment Fees) ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมทั้งเหล่านี้กันเถอะ
ค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บสินค้า
ในศูนย์บริการคลังสินค้าคิดค่าธรรมเนียมการจัดเก็บสินค้าเป็นลูกบาศก์ฟุตต่อเดือน และยังมีค่าจัดเก็บสินค้าคงคลังที่มีอยู่แล้วอีกด้วย แต่ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บเพิ่มนี้ก็ยังไม่โหดเท่าค่าธรรมเนียม Fulfillment By Amazon (FBA) ที่ให้ Amazon ดูแลเรื่องการเก็บและกระจายสินค้า
ค่าใช้จ่ายของระบบ Fulfillment
ค่าธรรมเนียมการดำเนินการที่รวมทุกอย่าง ครอบคลุมทุกด้านแล้ว ตั้งแต่เก็บ จำการคำสั่งซื้อ แพ็ค และจัดส่งไปยังลูกค้าปลายทาง
การทำงานกับ Multi-Channel Fulfillment
Multi-channel fulfillment ทำงานคล้ายกับผู้ให้บริการด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ (3PL) ซึ่งจะค่อนข้างตรงไปตรงมาในการช่วยธุรกิจอีคอมเมิร์ซจัดเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าครบวงจร
จัดเก็บสินค้าไว้ที่ศูนย์บริการ Fulfillment
ปัจจุบันศูนย์บริการ Multi-channel fulfillment มีคลังสินค้าหลายแห่งทั่วโลกผู้ค้าสามารถส่งสินค้าไปยังผู้ให้บริการจัดการคลังสินค้าแบบหลายช่องทางได้ และพวกเขาจะเสนอแนวทางการจัดเก็บสินค้าว่าสินค้าตัวไหนต้องจัดเก็บในคลังใด
ศูนย์บริการ Fulfillment เป็นผู้รับสินค้าเข้ามาในระบบ
เมื่อผู้ค้าได้ลิงค์เว็บไซต์ของตนเองกับระบบ Fulfillment หลากหลายช่องทาง คำสั่งซื้อทั้งหมดก็จะไปรวมไว้ที่ผู้ให้บริการคลังสินค้า
จัดการคำสั่งซื้อโดยการเก็บ-แพ็ค-ส่ง
ศูนย์จัดการออเดอร์หลายๆ ช่วงทางจะดำเนินการจัดเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าที่ผ้าค้าได้เลือกเอาไว้
มีช่องทางการจัดส่งที่หลากหลาย
แนะนำให้มีตัวเลือกในการจัดส่งที่หลากหลายให้กับลูกค้า เมื่อมีออเดอร์เข้ามา ระบบจะส่งข้อมูลไปที่ศูนย์บริการคลังสินค้าและจัดส่งเพื่อทำการเก็บ-แพ็ค-ส่ง
หลายๆ ธุรกิจมี 3 ตัวเลือกในการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าดังนี้
- Next-day shipping พัสดุจะถูกจัดส่งในวันถัดไป
- Two-day shipping พัสดุจะถูกจัดส่งภายใน 2 วัน
- Standard shipping จัดส่งด้วยวิธีธรรมดา คำนวณตามน้ำหนักสินค้าและวิธีการจัดส่ง
ด้วยตัวเลือกการจัดส่งที่ได้มาตรฐาน ลูกจะได้รับสินค้าภายใน 1 สัปดาห์หลังจากทำการสั่งซื้อตามที่คาดหวังเอาไว้ ซึ่งใช้เวลาหนึ่งวันในการจัดการออเดอร์และจัดส่งในวันที่ 3-5
การส่งสินค้าคือในระบบ Multi-Channel Fulfillment
หากผู้ค้ามี Multi-Channel Fulfillment เป็นเพื่อนคู่คิดด้านการจัดการสินค้าและโลจิสติกส์ เมื่อลูกค้าส่งคืนสินค้า คุณจะเลือกได้ว่าจะให้สินค้าส่งกลับไปที่ธุรกิจของคุณโดยตรงหรือที่ศูนย์บริการ บริษัทจัดการสินค้าในรูปแบบนี้ จะช่วยคุณแพ็คและสต๊อกสินค้าไว้เพื่อขาย อีกทั้งยังช่วยหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม หลังจากนำสินค้าออกจากคลังอีกด้วย แต่ถ้าสินค้าของคุณเก็บได้ไม่นานหรือเน่าเสียง่าย แนะนำให้ลูกค้าส่งสินค้ากลับมาที่คุณโดยตรงจะดีกว่า
การยกเลิกคำสั่งซื้อในระบบ Multi-Channel Fulfillment
หลายๆ ศูนย์บริการจัดการสินค้าที่ดำเนินการให้ธุรกิจที่มีหลากหลายช่องทางอนุญาตให้ลูกค้ากดยกเลิกสินค้าได้ตามต้องการ ลูกค้าสามารถเข้าไปที่หมวด ‘manage orders’ หรือ ‘การจัดการคำสั่งซื้อ’และกดยกเลิกคำสั่งซื้อภายในไม่กี่นาทีได้ทันทีหลังจากกดสั่งซื้อสินค้าแล้ว
International Multi-Channel Fulfillment Orders
การจัดการคำสั่งซื้อหลายๆ แพลตฟอร์มระหว่างประเทศ
หากต้องการส่งสินค้าระหว่างประเทศ แนะนำให้มองหาศูนย์บริการ Multi-Channel Fulfillment ระหว่างประเทศไว้ซักแห่งหนึ่งเพื่อให้การจัดการออเดอร์และจัดส่งของคุณเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตามหลายช่องทางระหว่างประเทศนั้นค่อนข้างจำกัด เนื่องจากการจัดส่งระหว่างประเทศมักจะทำให้เวลาจัดส่งนานขึ้น ดังนั้น หากธุรกิจของคุณต้องพึ่งพาลูกค้าต่างประเทศและขายสินค้าอื่นนอกเหนือจากผลิตภัณฑ์สื่อ MCF ก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดี
Omnichannel Fulfillment vs. Multi-Channel Fulfillment
Omnichannel Fulfillment
เป็นรูปแบบของการจัดการสินค้าและคำสั่งซื้อแบบที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา ทำหน้าที่ดูแลคำสั่งซื้อในทุกๆ แพลตฟอร์มที่คุณมี ซึ่งจะโฟกัสไปที่ประสบการณ์การช้อปปิ้งของลูกค้า กระจายสินค้าไปขายในหลายๆ ช่องทางเพื่อความสะดวกสบาย ผู้ค้าสามารถเสนอทางเลือกในการเก็บ แพ็ค ส่ง และคืนสินค้า ได้กว้างขึ้น ยืดหยุ่น และสะดวกสบาย
Multi-Channel Fulfillment
การจัดการคลังสินค้าออนไลน์ในรูปแบบนี้จะโฟกัสไปที่สินค้า คัดแยกสินค้าไว้ตามแต่ละช่องทางการขาย สินค้าจะเป็นศูนย์กลางของประสบการณ์การช้อปปิ้ง ซึ่งลูกค้าจะสามารถซื้อสินค้าได้ในช่องทางเดียวเท่านั้น
ข้อดีและข้อเสียของ Multi-Channel Fulfillment
- ฟังก์ชัน Fulfillment ในรูปแบบนี้ไม่สามารถใช้ได้กับทุกตลาด
- ศูนย์บริการบางแห่งมีข้อจำกัดที่เข้มงวดสำหรับปัจจัยบางอย่างเช่น สารที่เน่าเสียง่าย ติดไฟได้ แบตเตอรี่ หรือผลิตภัณฑ์สเปรย์
- ศูนย์บริการ multi-channel fulfillment ส่วนมากไม่รองรับเรื่องการคืนสินค้า
- ส่วนมากมีค่าใช้จ่ายที่แพงแต่ครอบคลุมการบริการได้น้อย
- จำกัดตัวเลือกในการจัดส่งให้กับผู้ค้าและลูกค้า
Auto Multi-Channel Fulfillment
ผู้ค้าสามารถตั้งค่าระบบการจัดการสินค้าเพื่อจำหน่ายในหลายๆ ช่องทางแบบอัตโนมัติได้ และซิงค์แพ็คเกจเดียวและรายการต่างๆ ได้อีกด้วย เรามาดูคุณลักษณะที่โดดเด่นของ Auto Multi-Channel Fulfillment กันเถอะ
- จัดการคำสั่งซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ
- ซิงค์คำสั่งซื้อระหว่างร้านค้าของคุณ ระบบจัดการคลังสินค้าและช่องทางการขายอื่นๆ
- ซิงค์สินค้าในคลัง
- จัดกลุ่มสินค้าให้
- มีตัวเลือกในการจัดส่ง
- มี Customer support ช่วยเหลือลูกค้าเมื่อประสบปัญหา