Lead Time คือ ระยะเวลา ที่รอสินค้าดำเนินการ ซึ่งความหมายจะครอบคลุมไปถึงทุกๆ ขึ้นตอนของกระบวนการโลจิสติกส์
การจัดการ “Lead Time ของสินค้าคงคลัง” คืออะไร?
โดยปกติแล้วธุรกิจต่างๆ จะคำนวณระยะเวลารอคอยสินค้าสำหรับการผลิต และการจัดการห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชน ซึ่งขั้นตอนที่ครอบคลุมสำหรับการคำนวณเวลานั้น ได้แก่ การประมวลผลล่วงหน้า การประมวลผล และหลังการประมวลผล
เราควรคิดคำนวนเรื่องระยะเวลาในแต่ละกระบวนการโลจิสติกส์ โดยอิงตามเกณฑ์มาตรฐาน มากนานจนเกินไป คุณจะต้องหาวิธีลดระยะเวลาในการดำเนินงานที่ยังคงผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างของ Lead Time
สมมติว่ามีงานใหญ่งานหนึ่ง ที่จะต้องใช้เวลา 1 สัปดาห์ และจะมีแขก 10,000 คน ในกิจกรรม นาย A จะขายหมวก 1,000 ใบที่มีสีตรงตามธีมของงาน พิจารณาว่าผู้ขายรายนี้ต้องการเวลา
- 1 วันทำการในการออกหมวกให้เสร็จ
- 1 วันทำการในการแก้ไขการซ่อมแซม
- 1 วันทำการเพื่อพิมพ์ลวดลายของหมวก
- และ 2 วันทำการในการจัดส่ง
ในตัวอย่างนี้ เวลารอคอยจะเท่ากับ 5 วันทำการ ดังนั้น ผู้จัดงานจึงต้องสั่งหมวกจากซัพพลายเออร์อย่างน้อย 5 วันทำการก่อนที่งานจะเริ่ม เพื่อที่จะได้หมวกมาวางจำหน่ายในงานทันเวลานั่นเอง
แต่ถ้าหากผู้ซื้อสะดวกใจที่จะจ่ายในราคาพรีเมียม หรือ หรือในกรณียอดขายหมวกวันแรกทะลุเกิดคาด นาย A ก็ไม่ต้องรอสินค้านานขนาดนั้น ดังนั้น ผู้จัดงานจึงอาจตัดสินใจตามปัจจัยดังกล่าวเพื่อให้ได้หมวกภาย 3 วัน
ตอนนี้ Lead-time ลดลงเหลือ 3 วันทำการแล้ว แต่ถ้าสั่งแบบพิเศษเข้าไปอีก เช่น การพิมพ์ตัวพิมพ์ใหญ่พิเศษให้เร็วที่สุด หมวกก็จะถูกจัดส่งในวันถัดไป
ซึ่งในตัวอย่างนี้ ปัจจัยบางอย่างก็มีผลต่อระยะเวลาในการรอคอยสินค้า เช่น สีของหมวกที่หายากหรือมีความต้องการมากจนขาดสต๊อก ซึ่งจะทำในระยะเวลาในการผลิตเพิ่มขึ้น
ประเภทของ Lead Time
Lead Time หรือ ระยะเวลาในการรอคอยสินค้า มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้…
Customer Lead Time
ระยะเวลาในการรอคอยสินค้าของลูกค้า เวลาที่ใช้ระหว่างการอนุมัติคำสั่งซื้อและการดำเนินการตามคำสั่งซื้อ
Material Lead Time
เป็นช่วงเวลาในการยืนยันคำสั่งซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ และ การรับสินค้าเข้าคลัง
Factory/Production Lead Time
เมื่อมีสินค้าในสต็อกแล้ว เราจะคำนวณเวลาที่ใช้ในการหยิบ แพ็ค และส่งมอบสินค้า
Cumulative Lead Time
ผลรวมของระยะเวลาตั้งแต่การยืนยันคำสั่งซื้อไปจนถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์
หมายเหตุ: ระยะเวลารอดำเนินการของลูกค้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการกำหนดความพึงพอใจของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ Cumulative Lead Time มีอิทธิพลต่อรายได้และการวางแผนธุรกิจ
องค์ประกอบของ Lead Time
Lead Time มีองค์ประกอบที่สำคัญหลักๆ ได้เเก่
- ก่อนกระบวนการ (Pre-processing)
- ระหว่างกระบวนการ (Processing)
- การจัดเก็บ (Storage)
- การรอ (Waiting)
- การขนส่ง (transportation)
- และการตรวจสอบ (Inspection)
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ Lead Time
ระยะเวลาในการรอคอยสินค้าที่นานจนเกินไป จะส่งผลต่อการขายสินค้า กระบวนการผลิต และรายได้ของธุรกิจ Locad Thailand ขอนำเสนอ 5 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ Lead Time มาฝาก ดังต่อไปนี้…
ความล่าช้าในการสั่งซื้อ หรือ ผลิตสินค้ามาขาย
บางครั้งซัพพลายเออร์อาจไม่สามารถดำเนินการตามคำสั่งซื้อได้ทันท่วงที สาเหตุอาจเป็นปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นจากหนึ่งในพนักงานของโรงงานผลิตไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งทำให้เวลาในการสั่งซื้อใหม่จะยืดเยื้อ ดังนั้นระยะเวลารอสินค้า หรือ Lead-Time จึงเพิ่มขึ้น
สต๊อกของฝั่งซัพพลายเออร์หยุดชะงัก
ในบางครั้ง ซัพพลายเออร์อาจประสบปัญหา “สินค้า-ขาดสต็อก” ซึ่งในกรณีนี้ จะต้องใช้เวลานานขึ้นในการดำเนินการตามคำสั่งซื้อ ดังนั้นทำให้เกิดความล่าช้า
การจัดการสินค้าคงคลังที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ระบบการจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพจะช่วยย่นระเวลาในการดำเนินการ หยิบ-แพ็ค-ส่ง พร้อมทั้งป้องกันความเสียหาญหรือสูญหาญ หมดปัญหาสินค้าวางผิดที่
ซัพพลายเออร์ทำงานล่าช้า
ในบางครั้งทางโรงงานผลิตหรือซัพพลายเออร์ที่ทำงานช้า หรืออาจจะเกิดจากข้อผิดพลาดใดก็ตาม จึงส่งผลให้คำสั่งซื้อทั้งหมดล่าช้า จึงทำให้ต้องคอยสินค้านานนั่นเอง
มาตรการที่เข้มงวดของซัพพลายเออร์
ซัพพลายเออร์บางรายมีนโยบายที่ส่งผลต่อระยะเวลารอคอยสินค้า ตัวอย่างเช่น จะจัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อในวันศุกร์เท่านั้น ทำให้คุณต้องรอสินค้าเป็นเวลานานกว่าจะได้รับสินค้าเข้าคลัง
ทำไม Lead Time จึงสำคัญ?
Lead Time เป็นตัวบ่งชี้หลายๆ แง่มุมของห่วงโซ่อุปทาน หรือ ซัพพลายเชน หากคุณเข้าใจถึงความสำคัญของมัน ก็จะช่วยคุณสามารถควบคุมมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Locad Thailand ได้ยกข้อดีของ Lead Time มาหลายข้อเลย จะมีอะไรบ้าง ไปลุยกัน!
รับประกันความพึงพอใจของลูกค้า และเป็นตัวเชื่อความสัมพันธ์ของคุณกับลูกค้า:
เมื่อลูกค้าก็รับออเดอร์ตรงเวลา นั่นก็หมายความว่าก็มีโอกาสสูงที่ลูกค้าจะกลับซื้อของร้านคุณอีก และร้านของคุณก็อาจจะได้รับคะแนนเชิงบวกจากลูกค้าก็เป็นได้
เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพในซัพพลายเชน:
เวลาในการรอคอยสินค้ามีผลโดยตรงต่อการดำเนินงานของห่วงโซ่อุปทาน หาก Lead Time น้อยกว่า ความล่าช้าในการดำเนินการก็จะน้อยลง
Lead Time ต้องนานแค่ไหน จึงจะส่งผลไม่ดีต่อธุรกิจของคุณ
หากซัพพลายเออร์ไม่สามารถจัดส่งคำสั่งซื้อของคุณได้ทันเวลา คุณจะตัองมีสต๊อกสำรองเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อมันส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจคุณ หาก Lead Time นานขึ้นไปอีก คุณก็จะต้องจัดเตรียมสต็อกสำรองมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเปลืองพื้นที่จัดเก็บสินค้า และทำให้คุณต้องเสียเงินมากขึ้นเพื่อจัดเก็บสินค้า
นอกจากนี้ Lead Time ที่ยาวนานยังส่งผลต่อความยืดหยุ่นของธุรกิจอีกด้วย ต้องใหญ่ทรัพยากรที่เพิ่มขึ้น งบบานปลาย เเละนี่แหละจึงเป็นเรื่องท้าทายของผู้ประกอบการ ดังนั้น การลดระยะเวลารอคอยสินค้า หรือ Lead Time จึงส่งผลดัต่อการจัดหาสินค้า ผลิตสินค้า และอำนวยความสะดวกในการปรับต้นทุนของธุรกิจให้เหมาะสมนั่นเอง
และนี่ก็เป็น 4 ขั้นตอนง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณปรับปรุง Lead Time ของสินค้า
- ประการแรก คุณต้องเข้าใจกระบวนการต่างๆ ของห่วงโซ่อุปทาน หรือ ซัพพลายเชนของคุณอย่างถ่องแท้
- จดบันทึกกระบวนการจัดการซัพพลายเชนของธุรกิจ และหาจุดบอกพร่อง ขั้นตอนไหนล่าช้า พร้อมหาจุดต้นต่อเพื่อปรับปรุงแก้ไข
- หกลยุทธ์มาจัดการกับความล่าช้าในกระบวนการนั้นๆ
- จากนั้นก็ลงมือจัดการกับเจ้าความล่าช้าตัวปัญหา!
บทสรุป
ระยะเวลาดำเนินการของสินค้าเป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งที่อำนวยความสะดวกในการจัดการสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้องค์กรคาดการณ์ยอดขาย เพิ่มความพึงพอใจและการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์กับลูกค้า และปรับปรุงประสิทธิภาพของเวิร์กโฟลว์ หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
ยิ่งเวลาในการจัดการสินค้าก่อนเข้าคลังและในทุกๆ ขั้นตอนโลจิสติกส์สั้นลงเท่าใด รายได้และประสิทธิภาพในการทำงานของธุรกิจก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ดังนั้น คุณจะต้องหาตัวช่วยและกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการปรับ Lead Time เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าเร็วขึ้นนั่นเอง