การจัดการคลังสินค้า โดยเฉพาะการบำรุงรักษาสินค้า วิธีการและระบบการจัดการคลังสินค้า เป็นเรื่องที่พูดถึงกันอย่างแพร่หลายในแววงธุรกิจ ลูกค้าได้ประสบการณ์การสั่งซื้อสินค้าและจัดส่งมี่รวดเร็ว ดังนั้นการเติมสินค้าเข้าสต๊อกเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการห้ามพลาดเลยทีเดียว
ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจควรควบคุมเรื่องเติมสต็อกอย่างระมัดระวัง เนื่องจากมันเป็นองค์ประกอบที่มีผลต่อการจัดการสินค้าคงคลังในซัพพลายเชนของธุรกิจคุณ เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับการเติมสต็อกสินค้า และมาดูกันว่ามันมีผลต่อธุรกิจของคุณที่กำลังขยายตัวอย่างไรบ้าง
กระบวนการเติมสินค้าเข้าคลัง คืออะไร?
กระบวนการเติมสินค้าเข้าคลัง หรือ Inventory Replenishment หมายถึง กระบวนการย้ายสินค้าจากที่เก็บสินค้าไปยังชั้นวางสินค้าหรือการซื้อสต็อกเพิ่มเพื่อเก็บไว้ในคลังสินค้า า ซึ่งบางครั้งเรียกว่า การเติมสต็อกนั่นเอง
ขั้นตอนการเติมสินค้าในคลังสินค้ามีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า หากมีกระบวนการเติมสินค้าเข้าคลังที่มีประสิทธิภาพ ธุรกิจของคุณก็จะมีสินค้าอยู่เพียงพอ สามารถดำเนินการแพ็คและจัดส่งได้ทันทีเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา
การเติมสินค้าคงคลัง VS การควบคุมสินค้าคงคลัง ต่างกันอย่างไร?
การเติมสินค้าคงคลัง เรียกง่ายๆ ว่า การเติมสต๊อกนั่นเอง ซึ่งหมายถึงกระบวนการเติมสินค้าในคลังสินค้าหรือสถานที่เก็บสินค้า เพื่อให้มีสินค้าอยู่เพียงพอในการขายและให้บริการแก่ลูกค้า โดยทั่วไปจะมีการวางแผนเติมสินค้าเป็นระยะๆ และพิจารณาจากปริมาณขายและปัจจัยอื่นๆ ส่วนการควบคุมสต็อกสินค้า จำเป็นของการเก็บสินค้าในคลังเพื่อตรวจสอบและดำเนินงานในขั้นตอนต่างๆ ภายในคลัง เพื่อทำให้สต็อกสินค้าอยู่ในระดับที่เหมาะสมและลดการสูญเสียของสินค้าที่อาจเกิดขึ้นได้
ทำไมการเติมสต๊อกสินค้าจึงสำคัญกับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ?
การเติมสต๊อกสินค้าจะชี้ให้เห็นว่าธุรกิจของคุณสามารถตอบสนองความคาดหวังและต้องการของลูกค้าได้มากน้อยเพียงใด อีกทั้งยังทำกำไรให้กับธุรกิจไอีกด้ด้วย เรามาดูว่ากระบวนการเตินสินค้าเข้าคลังให้ประโยชน์อะไรกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซบ้าง
ป้องกันสินค้าขาดสต๊อก
สภาวะสต๊อกขาด (Stockout) เกิดขึ้นเมื่อสินค้าในคลังมีจำนวนน้อย อาจจะเกิดจากการหยุดชะงักของการจัดซื้อ หรือ ความล่าช้าในกระบวนการผลิต เป็นต้น ซึ่งมีผลต่อกระบวนการจัดส่งสินค้า
การจัดซื้อล่าช้าหรือถูกเลื่อนออกไปเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาวะสินค้าขาดแคลนเช่นกัน ความพร้อมของสินค้าในคลังมีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า
ป้องกันสต๊อกเกิน
กลยุทธ์การเติมสินค้าในคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดจำนวนสินค้าคงคลังที่มากจนเกินไปและขายไม่ออก ยกตัวอย่างเช่น ของกิน หรือเครื่องสำอางที่มีวันหมดอายุ
เมื่อสต็อกมากเกินไป ก็ส่งผลไม่ดีต่อธุจกิจของคุณไม่แพ้ภาวะสินค้าขาดสต๊อก เราควรรักษาความสมดุลของระดับสินค้าคงคลัง ไม่ให้มากจนเกินไป หรือน้อยจนเกินควร
การเติมสินค้าก่อนกำหนด หรือเติสสต๊อกโดยไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของลูกค้าหรือฤดูกาล อาจทำให้สินค้าขายไม่ออก ซึ่งจะเพิ่มต้นทุนในการจัดสินค้าเข้าไปอีก
Locad Thailand จึงมีสูตรคำนวณความสมดุลของสินค้าคงคลัง เราจะใช้สูตรดังต่อไปนี้เพื่อหาปริมาณสต็อกที่เหมาะสม เป็นระดับสต๊อกที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซได้อย่างเหมาะสม ลดการจัดเก็บสต็อกมากเกินไป และลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าและกระบวนการโลจิสติกส์ที่มีค่าใช้จ่ายสูง
การคิดคำนวณความสมดุลของระบบสินค้าคงคลังจะช่วยให้คุณเข้าใจถึงปริมาณสินค้าในคลัง ว่าสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซหรือไม่ หากความต้องการซื้อน้อย แล้วสินค้าในคลังมีมาก นั่นหมายความว่าสินค้าของคุณขายไม่ออก และจะต้องหามิธีจัดการแล้วแหละ
ประหยัดค่าจัดส่งสินค้า
ลองจินตาการว่า เมื่อออเดอร์เข้ามาในระบบ คุณกำลังจะขายสินค้าได้ แต่พอมาเช็คสต๊อก สินค้าบางตัวที่ลูกค้าสั่งดันหมดซะงั้น ซึ่งหากจะต้องจัดส่งแยกกัน ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเพิ่มแน่นนอน
จัดส่งสินค้าทั้งหมดตามออเดอร์ไปพร้อมๆ กันย่อมดีกว่าอยู่แล้ว ประหยัดกว่า แถมยังไม่เสียเวลาอีกด้วย ดังนั้นการประเมินระบบสินค้าในสต๊อกจึงสำคัญต่อธุรกิจของคุณอย่างยิ่ง
ขั้นตอนการเติมสต๊อกสินค้า ทำงานอย่างไร?
เปิดประตูเดินเข้ามาในคลังคลังสินค้าสักหน่อย เราจะมีทีมงานที่ทำหน้าที่ควบคุมสินค้าคงคลัง ดูแลเรื่องระดับสินค้าในสต๊อกว่าขาดหรือเกินหรือไม่ เพื่อประสานงานกับแหล่งผลิตสินค้า
ทีมงานจะถูกแบ่งออกเป็นหลายๆ ฝ่ายตามความเชี่ยวชาญและความเหมาะสม บางคนเชี่ยวชาญเรื่องการสั่งซื้อสินค้า และตรวจสอบระดับสต็อกของสินค้าเมื่อจำนวนสินค้าในคลังต่ำกว่ายอดออเดอร์ ทีมงานผู้รับผิดชอบในส่วนนี้จะประสานกับทางแหล่งผลิตสินค้าหรือซัพพลายเออร์ให้เพิ่มสต๊อกสินค้า ซึ่งขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นกับสินค้าที่พร้อมขาย ผลิต และส่งตรงมาจากแหล่งผลิตสินค้าเลย
ปัจจัยที่ทำให้เราต้องเติมสินค้าในสต๊อกคืออะไร?
เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดและความเปลี่ยนแปลงในตลาดอีคอมเมิร์ซเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นคุณจะต้องวางแผนเพื่อเติมสต๊อกสินค้าอย่างเหมาะสม
แน่นอนว่าคุณสามารถคาดการณ์ยอดขายของธุรกิจได้ แต่ในขณะเดียวกันมันก็เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะดป็นพฤติกรรมของลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น สินค้าที่ตกเทรนด์ทำให้ลูกค้าไม่สนใจเหมือนแต่ก่อน ปัจจัยที่มีผลต่อการเติมสต๊อกสินค้ามี 2 ข้อหลักๆ ดังต่อไปนี้
พื้นที่จัดเก็บสินค้าในคลังที่จำกัด
ความสามารถของการจัดเก็บสินค้าในคลังอยู่ในระดับที่ต่ำ พื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอ ดังนั้นคุณจะต้องเติมสินค้าในสต็อก สั่งสินค้ามาขายจำนวนน้อยๆ ในแต่ละครั้ง แต่อาจจะบ่อยขึ้น
Supply-Chain Lead Times
Lead times คือระยะเวลาที่คุณต้องรอให้สินค้าผลิตเสร็จจนจัดส่งมาถึงคลังสินค้า ถ้าหากเกิดความขัดข้องในกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากซัพพลายเออร์ขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า จะทำให้ต้องยืดเวลาออกไปอีก ไม่สามารถผลิตสินค้าตามเวลาที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งทำให้คุณไม่สามารถขายสินค้าได้เมื่อมีออเดอร์เข้ามานั่นเอง
Replenishment Stock คืออะไร?
Replenishment stock คือ สินค้าที่ซื้อเข้าเพิ่มเข้ามาหลังทีหลัง หลังจากที่ทางแบรนด์ได้เปิดขายสินค้าไปแล้ว
การเติบโตของสินค้าสู่คลังสินค้า
ความต้องการของผู้บริโภคเริ่มมีผลต่อระดับสินค้าในคลัง ยกตัวอย่างเช่น แว่นกันแดดสีแดงขายดีและหมดเร็วมาก แต่แว่นกันแดดสีเดียวกันเป๊ะอีกยี่ห้อหนึ่งกลับขายไม่ออกเลย จุดประสงค์ของการเติมสต๊อกก็คือ ต้องการให้มีสินค้าในสต๊อกที่พร้อมขายเมื่อมีออเดอร์เข้ามา เพื่อเพิ่มยอดขายและลดค่าใช้จ่าย
เวลาในการเติมสต๊อกสินค้า (Replenishment Time)
Replenishment Time หมายถึงเวลาที่ใช้ในการเติมสินค้าจากแหล่งผลิตลงในพื้นที่จัดเก็บสินค้าซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการบริหารจัดการคลังสินค้า เพื่อให้สามารถสต๊อกพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาโดยจะมีการวิเคราะห์ปริมาณสินค้าที่ต้องการเติมเเข้าคลัง และวางแผนพื้นที่จัดเก็บ การบริหารจัดการเวลาในส่วนนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ช่วยทำให้การจัดการสต๊อกเป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ยิ่งค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เวลาในการเติมสต๊อกสินค้าก็ยิ่งนานขึ้นเข้าไปอีก ดังนั้นเราจึงควรมีกลยุทธ์ที่จะช่วยย่นระยะเวลาในการเติมสต๊อกสินค้า
ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการเติมสต๊อกสินค้า มีดังต่อไปนี้
- ระยะเวลาที่ใช้การผลิตสินค้า
- ระยะเวลาสำหรับการแพ็คและจัดส่ง
- การจัดการคำสั่งซื้อของลูกค้า
- ระยะเวลาในการดำเนินงานภายในคลัง
การเติมสินค้าในสต็อกมีผลกระทบสำคัญต่อตัวชี้วัด GMROI หรือ Gross margin return on investment ซึ่งเป็นสัดส่วนระหว่างกำไรขั้นต้น (Gross margin) และเงินทุน (Investment) ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจของคุณจะมีขนาดเท่าใด ดังนั้นคุณจะต้องวางแผนการจัดการเติมสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่มีช่องทางการขายสินค้าหลากหลายช่องทาง
วิธีการเติมสต๊อกสินค้า
ในแต่ละธุรกิจก็ใช้เทคนิคการเติมสินค้าเข้าคลังที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับโครงสร้างของธุรกิจ ปริมาณการสั่งซื้อประจำปี และสินค้าที่มีอยู่ หากแผนการเติมสต๊อกปัจจุบันของคุณไม่เวิร์ค หนึ่งในโซลูชั่นก็คือ คุณสามารถใช้บริการ Fulfillment หรือบริการเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าออนไลน์ได้
Reorder point
การกำหนดจุดสั่งซื้อในคลังสินค้า จะช่วยให้มั่นใจว่าคุณมีสินค้าในสต๊อกที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า แถมยังช่วยให้ธุรกิจของคุณมีอิสระทางการเงินมากขึ้นอีกด้วย
คุณสามารถคิดคำนวณระดับสต๊อก ได้ดังนี้
Reorder point = ความต้องการซื้อสินค้าในช่วงเวลานั้น + สินค้าคงคลังที่มีอยู่
การคำนวณระดับสินค้าในคลังจะช่วยให้คุณทราบว่าจะต้องเติมสินค้าเข้าคลังหรือไม่ เมื่อไหร่ และบ่อยแค่ไหน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซ
วิธีการเติมสินค้าเป็นระยะๆ (Periodic inventory replenishment)
เป็นการเติมสินค้าเข้าคลังเป็นระยะๆ ไม่ว่าจะมีจำนวนสต็อกต่ำเพียงใดก็ตาม ตรวจเช็คสต๊อกตามวัน เวลา และวันที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น วิธีการนี้มักนำมา
ใช้ในบริษัทที่มีพื้นที่เก็บสินค้ามาก
วีธี Top-off
Top-off replenishment หรือที่เรียกว่า Lean time restock เป็นการเพิ่มปริมาณสินค้าคงคลังให้เท่าระดับมาตรฐานตามเกณฑ์การเติมสินค้าคงตลังขั้นต่ำและขั้นสูง
ดูที่ความต้องการซื้อของลูกค้าเป็นหลัก (Demand strategy)
หากต้องการเติมสต๊อกสินค้า หลายๆ ธุรกิจจะโฟกัสไปที่ความต้องการซื้อของลูกค้าเป็นหลัก และยังวิธีที่ทำง่ายที่สุดอีกด้วย แต่ก็ต้องมีการวางแผนเพื่อเติมสต๊อกอย่างเหมาะสม เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความต้องการของลูกค้าที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต คุณจะต้องมีสต๊อกสำรองเพื่อตอบสนองความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างต่อเนื่อง และลดความเสี่ยงที่จะเกิดสต๊อกขาด หรือสต๊อกเกิน
Lot-sizing
เป็นหนึ่งในวิธีการเติมสต๊อกสินค้า เป็นการคำนวณจำนวนสินค้าที่ควรจะสั่งซื้อหรือผลิตในแต่ละครั้ง เพื่อลดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าและต้นทุนการสั่งซื้อหรือผลิตให้น้อยที่สุด
การเติมสต๊อกสินค้ามีอยู่ 4 วิธีหลักๆ ดังต่อไปนี้
- การสั่งซื้อสินค้าในจำนวนที่กำหนดไว้ (Fixed order quantity) : คุณจะต้องสั่งซื้อสินค้าในจำนวนที่เท่ากันทุกๆ รอบ ไม่ว่าจะขายได้หรือไม่ได้ก็ตาม ไม่คำนึงถึงความต้องการของลูกค้าหรือปริมาณการขายในแต่ละครั้ง
- Lot-by-lot : วิธีนี้เป็นการเติมสินค้าเข้าคลังที่แน่นอน เติมสต๊อกเป็นล้อตๆ ไป เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในช่วงเวลาที่กำหนดไว้
- Economic order quantity (EOQ): ปริมาณสินค้าที่สั่งซื้อจะถูกกำหนดโดยต้นทุนการขนส่งและค่าจัดเก็บสินค้า
- Period order quantity: เป็นวิธีการสั่งซื้อสินค้าเพื่อเติมเข้าคลัง ประมาณความต้องการสินค้าในช่วงเวลานั้นๆ แล้วคำนวณจำนวนคำสั่งซื้อโดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ราคาซื้อ ค่าขนส่ง และค่าจัดเก็บเป็นต้น วิธีการนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสินค้า พร้อมทั้งมีสินค้าพร้อมเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาในระบบ
- Periods of supply : ปริมาณสต็อกสินค้าที่เพียงพอเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยวัดจากจำนวนช่วงเวลาที่ต้องการใช้งาน วิธีการนี้จะช่วยให้ธุรกิจมีสินค้าที่พร้อมขายอยู่ตลอดเวลา ตัดปัญหาสินค้าขาดสต๊อกออกไปได้เลย
- Least unit cost : เป็นการคำนวณต้นทุนขั้นต่ำต่อหน่วยสินค้า โดยจะคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ราคาซื้อสินค้า ค่าขนส่ง และค่าเก็บรักษา ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสินค้าและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสมกับ การสั่งซื้อสินค้าเข้าคลังที่มีต้นทุนต่ำต่อหนึ่งหน่วยสินค้าจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการจัดการสต็อกสินค้าให้ธุรกิจของคุณนั่นเอง
- Least total cost : เป็นวิธีที่ใช้กำหนดปริมาณสั่งซื้อสินค้ามาเติมในสต๊อกที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด โดยคำนวณค่าจัดเก็บสินค้าและค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสินค้าสำหรับสินค้าที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด
- Part period balancing : เป็นวิธีการคำนวณหาปริมาณสินค้าที่จะสั่งซื้อ โดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าตามจำนวนคำสั่งซื้อและต้นทุนในการจัดเก็บและการสั่งซื้อสินค้าที่แตกต่างกันในช่วงเวลาที่กำหนด เราจะใช้วิธีนี้หาปริมาณสินค้าที่จะสั่งซื้อเข้ามาเติมในสต๊อก ซึ่งจะต้องคำนึงความต้องการของลูกค้า คุณสามารถอิงตามจำนวนออเดอร์ที่เข้ามาและต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้าเข้าคลัง รวมไปถึงค่าจัดเก็บสินค้า วิธีนี้เราจะคำนวณตามสูตร Economic Part-Period หาค่าเฉลี่ยเพื่อกำหนดขนาดของสินค้าล้อตนั้นๆ ปริมาณสินค้าที่เหมาะสมเกิดได้ก็ต่อเมื่อต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าที่สั่งซื้อเข้ามาเติมในคลังมากกว่าต้นทุนของการสั่งซื้อหรือการผลิตสินค้านั่นเอง จากนั้นจึงคำนวณปริมาณสินค้าที่จะสั่งซื้อโดยการเพิ่มจำนวนสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า วิธีนี้จะช่วยลดต้นทุน เพราะสั่งซื้อสินค้าในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มวัตถุดิบในการผลิตโดยไม่ต้องสั่งซื้อสินค้ามากเกินจำเป็น
ปัจจัยที่มีผลต่อวิธีเติมสินค้าในสต็อก
ปัจจัยที่มีผลต่อแผนการเติมสต๊อกสินค้ามีดังนี้
คาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจคุณ
การเติมสต๊อกสินค้าขึ้นอยู่ความต้องการของลูกค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นที่ส่งผลให้การผลิตหงุดชะงัก
ยังไม่ได้ใช้พื้นที่ในคลังสินค้าอย่างเต็มที่
พื้นที่จัดเก็บสินค้าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการคลังสินค้า หากเก็บสินค้าไว้ในพื้นที่ “X” เกินจำนวน คุณก็จะไม่สามารถใช้เติมสต๊อกตามความต้องการได้
ข้อควรปฏิบัติในการเติมสต๊อกสินค้าเข้าคลังสินค้าอย่างเหมาะสม
เช็คสมดุลของสินค้าในคลังอย่างสม่ำเสมอ
การตรวจสอบระดับสต็อกนั้นสำคัญ เพราะคุณจะได้เตรียมสินค้าให้เพียวต่อความต้องการผู้บริโภคในตลาดอีคอมเมิร์ซ แถมยังช่วยลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าได้อีกด้วย
Locad Thailand ขอนำเสนอกลยุทธ์สำหรับการจัดการสินค้าคงคลังที่เรียกว่า ABC Analysis โดยวิธีนี้จะช่วยให้คุณสินค้าชนิดไหนมาก่อนมาหลัง
ในการจัดเก็บสินค้า เราจะแบ่งพื้นที่จัดเก็บตามชนิดของสินค้า ดังต่อไปนี้ กลุ่ม “A” คือสินค้าทั่วไปโดยเรียงลำดับตามยอดขายรวมหรือกำไรโดยรวม กลุ่ม “B” จะเป็นสินค้าที่ทางคลังให้ความสำคัญเป็นอันดับที่ 3 และสินค้าชั้น “C” จะเป็นสินค้าที่ทางคลังให้ความสำคัญน้อยที่สุด
ตั้งเป้าหมายของการบริการที่ทำได้จริง
หลายๆ คนอาจจะคิดว่าการจัดเก็บสินค้าที่ดีคือ สต๊อกสินค้าได้จำนวนมากในคลัง แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย เป้าหมายสูงสุดของการบริการลูกค้าคือ ทำให้ลูกค้าประทับใจ ส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพ เเพ็ค และจัดส่งได้อย่างถูกต้องตามคำสั่งซื้อ โดยเฉพาะกับสินค้าที่มีความต้องการสูงมากในตลาดอีคอมเมิร์ซ
เติมสินสต๊อกสินค้า
การเติมสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพ จะต้องวางแผนอย่างรอบคอบก่อนลงมีทำ เพราะถ้าคุณไม่วัดระดับสต๊อกก่อน อาจทำให้มีสินค้ามากเกินไป ทำให้ขายไม่ออกจนต้องนำสินค้ามาลดราคา ซึ่งส่งผลให้กำไรของธุรกิจถดถอย วิธีป้องกันสินค้าค้างสต๊อกมีอยู่ 2 ข้อด้วยกัน ดังนี้
- ตรวจสอบระดับสินค้าคงคลัง เช็คจำนวนและความเรียบร้อยของสินค้า สต๊อกที่ดีคือสต๊อกที่มีจำนวนสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในตลาดอีคอมเมิร์ซ สต๊อกที่มากเกินความต้องการ เรียกว่า สต๊อกส่วนเกิน คุณสามารถเเก้ไขปัญหานี้ได้โดยการลดปริมาณการสั่งซื้อหรือผลิตสินค้า หรือใช้กลยุทธ์ทางการตลาดมากระตุ้นยอดขายนั่นเอง
- ติดตั้งระบบติดตามสินค้าคงคลังไว้ เพื่อคุณจะได้ติดตามสินค้าได้ทั้งหมดถึงแม้ว่าจะสต๊อกสินค้าไว้หลายๆ ที่ เพื่อคุณจะได้ทราบจำนวนสินค้าในคลัง ซึ่งเป็นวิธีป้องกันทั้งสต๊อกขาดและสต๊อกส่วนเกินเลย
คาดการณ์ยอดขาย
ใช้ของมูลหลังบ้านที่ผ่านมาที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อทำการคาดการณ์ยอดขายของสินค้าหรือบริการในอนาคต เพื่อวางแผนการผลิต จัดการสต๊อกสินค้า และกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อให้การบริหารจัดการธุรกิจเป็นไปอย่างประสิทธิภาพนั่นเอง การคาดการณ์ความต้องการลูกค้าในอนาคตและปัจจัยเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญของคนทำธุรกิจ ช่วยให้คุณกำหนดว่าจำนวนสินค้าที่จะสั่งซื้อมาขายหรือสั่งผลิตได้อย่างเหมาะสม และความเสี่ยงที่จะขาดทุนก็ลดลงอีกด้วย
ติดตั้งโปรแกรมเพื่อจัดการสต๊อกสินค้า
ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนจัดการสินค้าในคลังอย่างรอบคอบ เพื่อลดข้อผลิตพลาดที่อาจะเกิดขึ้นได้ในกระบวนการด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ และวางแผนในการสื่อสารกับเครือข่ายธุรกิจ เช่น โรงงานผลิตสินค้าหรือซัพพลายเออร์ ตัวแทนขายสินค้า และบริษัทขนส่ง เพื่อให้ส่งมอบประสบการณ์การซื้อสินค้าที่น่าประทับใจให้กับลูกค้าปลายทางนั่นเอง
ระบบจัดการสต๊อกสินค้าที่มีคุณภาพช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานด้านคลังสินค้าและโลิจิสติกส์ ทำให้พนักงานในคลังเบิกสินค้าง่าย แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น ขยัดความยุ่งเหยิง แพ็คและจัดส่งสินค้าตรงตามออเดอร์ของลูกค้า แถมยังสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของออเดอร์และสินค้าในคลังได้แบบเรียลไทม์ พร้อมต่อยอดธุรกิจและแข่งขันกับคู่แข่งทางการตลาดของคุณในตลาดอีคอมเมิร์ซ
อีกอย่างหนึ่งที่เจ้าของธุรกกิจจะต้องให้ความสำคัญนั่นก็คือ การขายสินค้าหลายๆ ช่องทางเพิ่มเพิ่มการรับรู้ นอกจากจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองแล้ว คุณควรที่จะนำสินค้าไปวางขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างๆ ด้วย เพราะมันจะช่วยเพิ่มยอดขายและจัดการสต๊อกได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง และระบบจัดการออเดอร์และสต๊อกสินค้าที่คุณได้ติดตั้งขึ้นมา ก็จะช่วยดึงคำสั่งซื้อจากทุกๆ ช่องทางการขายมาไว้ในระบบเดียว หมดปัญหาออเดอร์ยุ่งเหยิง จัดการไม่ทันไปได้เลย
บทสรุป
ผู้ประกอบการทั้งหลายจำเป็นต้องเลือกกลยุทธ์การเติมสต๊อกสินค้าและวิธีแพ็คสินค้าที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลัง