ปัจจุบันผู้คนหันมาชอปปิ้งออนไลน์ ไม่เดินทางไปที่ร้านค้า กันแล้ว ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมพ่อค้าแม่ขายออนไลน์จึงเพิ่มขึ้นอย่างเร็ดเร็ว และเมื่อ 2-3 ปีผ่านมา ระบบอีคอมเมิร์ซก็ (E-Commerce) ได้รับความนิยมมากขึ้นในระกับที่เราคาดไม่ถึง ยิ่งเฉพาะในช่วงการระบาดของโรค Covide-19 ที่กระจายไปทั่วโลก การซื้อของออนไลน์จึงกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคนี้
อย่างไรก็ตามธุรกิจอีคอมเมิร์ซก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด เพราะความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แบรนด์ต่างๆ เลยจะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดตลอดเวลา และด้วยความแข่งขันที่ค่อนข้างสูง ทุกๆบริษัทต่างก็พยายามที่จะเป็นที่หนึ่งในตลาด และเราจะทำอย่างไรให้ธุรกิจโดดเด่นกว่าคนอื่นหล่ะ?
ตลาดออนไลน์ในเอเชียกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ธุรกิจจำนวนมากต่างก็ต้องการเจาะตลาดเพื่อแสวงหาผลกำไร ซึ่ง การมีซัพพลายเชนที่มั่งคงและยั่งยืน (Sustainable supply chain) นั้นสำคัญเลยทีเดียว ซัพพลายเชนเปรียนเสมือนกระดูกสันหลังของธุรกิจเลยก็ว่าได้ เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน แต่ก็ต้องมีการจัดการที่เหมาะสม เพื่อให้ระบบการทำงานทั้งหมดออกมามีประสิทธิภาพ
และทำไมมันถึงสำคัญกับธุรกิจหล่ะ? วันนี้ Locad มีคำตอบให้ใน
บทความนี้ ความรู้เรื่องซัพพลายเชนนี้ จะเป็นแนวทางให้คุณเพิ่มผลกำไรและปรับปรุงธุรกิจออนไลน์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น
‘ซัพพลายเชน’ (Supply Chain) คืออะไร?
ซัพพลายเชน หรือภาษาไทยเรียกว่า ห่วงโซ่อุปทาน เป็นระบบหรือเครือข่ายที่เชื่อมโยงส่วนต่างๆของธุรกิจคุณเข้าด้วยกัน โดยจะเริ่มต้นที่ ผู้ผลิต (Supplier) จะวัตถุดิบประกอบการผลิตสินค้ามาให้คุณเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการผลิต ไปจนถึงตรวจสอบก่อนที่จะจัดส่งถึงมือลูกค้านั่นเอง ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่กระบวนการเท่านั้นนะ แต่ยังรวมถึงหน่วยงาน บุคคล และข้อมูลต่างๆ อีกด้วย หรือพูดได้อีกนัยหนึ่งว่า ทางผ่านสินค้าก่อนจะกระจายไปถึงลูกค้า
ซัพพลายเชนนั้นสำคัญ ทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น หากคุณไม่จัดระบบต่างๆ ให้เป็นระเบียบ คุณจะส่งสินค้าให้ลูกค้าไม่ทันเวลา ลูกค้าอาจจะไม่พอใจและไม่อยากซื้อสินค้าของคุณอีกต่อไป นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมธุรกิจที่ต้องการขยับขยายมักจะมองหาวิธีจัดการซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แน่นอนที่ลูกค้าคาดหวังบริการจัดส่งที่รวดเร็วทันใจ และระบบการบริการลูกค้าที่ตอบสนองพฤติกรรมของพวกเขา
ในโลกปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการมีสินค้ามากมายนั้นไม่เพียงพอซะแล้ว คุณจะต้องระบบการจัดการซัพพลายเชนด้วย
การจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) คืออะไร?
คำถามแรกที่คิดมาในหัวคือ ต้องมีด้วยหรอ การจัดการซัพพลายเชนเนี่ย เหตุผลที่ธุรกิจของคุณต้องมีการจัด
การซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพ ก็เพราะมันช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและลดเวลาในการผลิตนั่นเอง ด้วยความต้องการซื้อในตลาดเพิ่มึ้นทุกวันๆ เจ้าของธุรกิจเลยต้องปรับปรุงระบบซัพพลานเชนอยู่เสมอ คุณสามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้บริการทางด้านนี้มาดูแลโดยเฉพาะ เพื่อให้คุณมีเวลาไปพัฒนาธุรกิจในด้านอื่นๆ แต่ยังสามารถติดตามข้อมูลและสินค้าผ่านระบบการจัดการซัพพลาย้ชนที่มีประสิทธิภาพได้อย่างง่ายดาย
นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณเห็นจุดที่ควรปรับปรุง เพื่อให้กระบวนการดังกล่างทำงานได้อย่างราบรื่นและะมีประสิทธิภาพ
และนี่ก็เป็นประโยชน์ของการจัดการซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพ จะมีอะไรบ้างไปดูกัน!
- ความสามารถในการติดตามข้อมูลการจัดการสินค้าผ่านระบบ จะช่วยให้คุณได้เห็นถึงปัญหาที่อาจะเกิดขึ้น และพร้อมหาทางแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ยกตัวอย่างเช่น ด้วยซอฟต์แวร์ซัพพลายเชนที่ล้ำสมัย จะทำให้คุณคาดการณ์ได้ว่าผลิตภัณฑ์กำลังจะหมดสต็อกในเร็วๆ วัน และประเมินว่าความต้องการลูกค้ามีมากแค่ไหน เพื่อที่จะสั่งผลิตสินค้าตัวนั้นได้ในปริมาณที่เพียพอ นี่แหละคือวิธีที่จะไม่ทำให้ลูกค้าของคุณนั้นผิดหวัง
- ด้วยข้อมูลของระบบที่จัดเก็บมาช่วงหนึ่ง คุณจะสามารถคาดการณ์ได้ว่าสินค้าตัวไหนเป็นที่ต้องการของตลาด
เวลาไหนที่จะเอาออกมาขาย และเมื่อไหร่ที่ยอดขายจะลดลง ยกตัวอย่างเช่น สินค้าบางอย่างขาย
ได้มากขึ้นในช่วงวันเทศกาลหรือวันหยุด แต่ยอดขายก็จะลดลงหลังจากจากนั้น หากคุณสามารถ
คาดการณ์แนวโน้มเช่นนี้ได้ผ่านการจัดการซัพพลายเชน คุณก็จะผลิตสินค้าออกมาขายได้ใน
ปริมาณที่เหมาะสมนั่นเอง
เป้าหมายหลักของการจัดการซัพพลายเชนคืออะไร?
เป้าหมายหลักของการจัดการซัพพลายเชนก็คือ เพื่อให้ขั้นตอนต่างๆ ของ สินค้าตั้งแต่จากแหล่งผลิตไปจนถือมือ
ลูกได้อย่งไร้ที่ติ
และทำไมต้องปรับปรุงการจัดการซัพพลายเชนอยู่ตลอดหล่ะ? ตอบง่ายๆ คือ ก็เพิ่มให้เจ้าของธุรกิจอย่างคุณเห็นถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการจัดการสินค้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อหาทางแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ให้สินค้าส่งไปถึงมือลูกค้าปลายทางได้ราบรื่นและรวกเร็วทันใจ
หนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง นั่นก็คือ ความสอดคล้องของ 3 สิ่งนี้ ได้แก่ ระบบการจัดการคลังสินค้า การเงิน และขนาดของบริษัท หากปัจจัยเหล่านี้สอดคล้องกัน ซัพพลายเชนของคุณก็จะบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ประเภทของซัพพลายเชน
3PLs หรือ ผู้ให้บริการซึ่งกระทำกิจกรรมทั้งหมดหรือบางส่วนของกิจกรรมโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็น บริการด้านการขนส่ง คลังสินค้า การกระจายสินค้า และการเงิน ทั้งหมดนี้ต้องเชื่อมโยงกันและรับช่วงต่อการขนส่งในแต่ละโหมด
ของการขนส่งสินค้าจากต้นทางไปยังจุดหมายปลายทางได้
เคยได้ยินหรือไม่ “พาร์ทเนอร์ที่ดีเป็นศรีแก่ธุรกิจ” 3PLs นั้นได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพ
สูงสุดในกระบวนการ Fulfillment เพื่อขยายธุรกิจ จัดการกับสินค้าจำนวนมาก และ จัดการกับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง บริษัท 3PL จะทำให้คุณส่งของไปยังลูกค้าได้เร็วขึ้น ด้วยค่าสจัดส่งที่เหมาะสม ไม่สูงจนเกินไป
กำลังสงสัยอยู่ใช่ไหมหล่ะว่า ผู้ให้บริการ 3PLs เขามีฟังก์ชันเกี่ยวกับโลจิสติกส์อย่างไรบ้าง ไม่ต้องห่วง Locad มีคำตอบให้
Fast Chain
หากคุณมีธุรกิจที่มีวงจรของตลาดแบบสั้นๆ โมเดลนี้ตอบโจทย์เลยแหละ มันเหมาะกับธุรกิจที่เปลี่ยนไลน์สินค้าอยู่บ่อยๆ อย่างแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย ธุรกิจลักษณะนี้จะต้องเกาะกระแส เพือโปรโมทสินค้าให้เป็นที่นิยม คุณจะต้องมีกลยุทธ์ทางการตลาดที่น่าสนใจและเปลี่ยนแปลงตามแทรนด์นั่นเอง
Agile
เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการซัพพลายเชน เหมาะสำหรับธุรกิจเฉพาะทาง เช่นพวกธุรกิจจำหน่ายสินค้าประเภทหัตกรรม ซึ่งเป็นงานที่เน้นความชำนาญและทักษะเฉพาะทางมากกว่าการใช้ระบบอัตโนมัติเข้าช่วย ก็ถ้าคุณอยากเน้นปริมาณ ไม่เน้นความประณีต โมเดลนี้อาจจะไม่เหมาะกับธุรกิจของคุณ
Flexible
Flexible แปลเป็นไทยว่า ยืดหยุ่น Flexible Supply Chain ก็คือการจัดการซัพพลายเชนแบบยืดหยุ่นนั่นเอง โมเดลนี้ก็ใช้กับธุรกิจที่ผลิตสินค้าทั้งช่วงที่ความต้องการตลาดสูงและต่ำหลายๆ ครั้งในแต่ละปี ธุรกิจที่ใช้โมเดล
นี้ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าอัลกอริธึมของสต็อกสินค้ามีความแม่นยำสูง เพื่อให้สต็อกสินค้าเพียงพอตลอดทั้งปี พร้อมทั้งวางแผนสินค้าคงคลังและการจัดส่งที่ยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ตัวอย่างเช่น บริษัทที่ขายสินค้าประเภทเครื่องเขียนจะขายสินค้าได้มากช่วยโรงเรียนเปิด เพราะฉะนั้นสต็อกห้ามขาด
Continuous Flow
ธุรกิจเก่าแก่นิยมใช้โมเดลนี้กันหลายแห่ง ซึ่งช่วยให้ธุรกิจมั่นใจว่าสินค้าที่หลั่งไหลเข้าสู่ตลาดตามเวลาที่กำหนด
บริษัทเหล่านั้นมีชื่อเสียงและฐานลูกค้าอยู่แล้ว ซึ่งก็เลยใช้โมเดลนี้ในการจัดการคลังสินค้า และช่วงทางในการขยับขยายธุจกิจในยังตลาดใหม่ๆ ในเวลาเดียวกัน
Efficient
โมเดลซัพพลายเชนชนิดนี้จะเน้นที่ประสิทธิภาพ ตามชื่อของมัน มักใช้ในธุรกิจที่มีสาขาย่อยๆ และมีการแข่งขันในตลาดค่อนข้างสูงกับสินค้าที่คล้ายคลึงกัน โมเดลนี้ช่วยจะช่วยในคุณจัดการสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ และรับผลผลิตสูงสุดจากแรงงานและอุปกรณ์การผลิตทั้งหมดที่มี
Custom-Configured
โมเดลนี้เป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบ Continuous flow และ Agile แต่แท้จริงแล้วทั้งซึ่งโมเดลนี้ทำงานต่างกันโดยสิ้นเชิง และถ้าบริษัทมียอดขาย
สม่ำเสมอตลอดทั้งปี และมีตัวเลือกในการปรับแต่งเองด้วย มันก็ทำให้สินค้านั้นพิเศษใช่ไหมหล่ะ?
กลยุทธ์ของซัพพลายเชน
เมื่อสักครู่เราได้พูดถึงซัพพลายเชนในรูปแบบต่างๆ ไปแล้ว และเพื่อให้
คุณสามารถปรับแต่งซัพพลายเชนของคุณให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เรามาต่อกันที่กลยุทธ์ของซัพพลายเชนกันต่อเลยดีกว่า จะมีกลยุทธ์อะไรน่าสนใจบ้างไปชมกันเลย!
คาดการณ์ด้วยเทคโนโลยี
When we are talking about an eCommerce business, there is always something that can go wrong and delay your supply chain. Machines can malfunction, and shipment or delivery might be delayed due to high traffic or bad weather. Even though you cannot change these phenomena, you can use predictive technology that will help you forecast some of these anomalies and plan your shipment and delivery around them.
ภายในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ อาจจะมีบางสิ่งบางอย่างที่อาจผิดพลาดจนทำให้ซัพพลายเชนของคุณล่าช้า เช่น เครื่องจักรทำงานผิดปกติ หรือ เนื่องด้วยการจราจรติดขัดหรือสภาพอากาศไม่ดี การจัดส่งสินค้าเลยล่าช้า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้คุณไม่อาจควบคุมได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่จะช่วยให้คุณคาดเดาปัญหาเหล่านี้ได้ล่วงหน้า พร้อมวางแผนการจัดส่งได้อย่างทันท่วงที
There is something called digital twin, which is a predictive solution many companies use to forecast when a machine might need servicing and warn the manufacturers about potential problems beforehand. Through this, you will be able to predict anomalies in devices.
มีเทคโนโลยีหนึ่งเรียกว่า ดิจิทัลทวิน (Digital Twin) หรือ ฝาแฝดดิจิทัล ซึ่งมันคือโมเดลจำลองเสมือนจากวัตถุทางกายภาพ ทำให้สามารถทำงานได้เหมือนกับวัตถุจริง และนี่ก็เป็นโซลูชันหนึ่งที่บริษัทหลายแห่งใช้เพื่อเช็คความผิดปกติ
ของอุปกรณ์ต่างๆ ดูว่าเครื่องจักรจะต้องได้รับการซ่อมบำรุงหรือไม่
กลยุทธ์พิชิตใจลูกค้า (Customer Centricity)
กลยุทธ์นี้จะเน้นที่ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ให้ดูว่าเขาต้องการอะไร ปรับกระบวนการซัพพลายเชน ให้ตรงใจพวกเขา ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ดีขึ้นอีกด้วย อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในสินค้าคงคลังและป้องกันการสูญเสียผลิตภัณฑ์อีกด้วย
การจัดการที่มาพร้อมกับระบบอัตโนมัติ
Integrating technology that makes a lot of the supply chain management work automated is another intelligent strategy that many companies use. Robotics processes, AIs, and other software are being used by many large businesses to automate many manufacturing processes. They are also being used in warehouses to make the inventory process smoother and more efficient.
เมื่อเทคโนโลยีเข้ามา การจัดการซัพพลายเชนก็ทำงานแบบอัตโนมัติที่ฉลาดมากขึ้น และหลายๆ บริษัทก็นิยมใช้กัน
ซึ่งปัจจุบันนี้ธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนมากใช้ AI (Artificial intelligence) หรือ หุ่มยนต์ที่เราเห็นๆ กันนี่แหละ และก็มีซอฟเเวร์ต่างๆ ก็เพื่อให้ผลิตสินค้าได้จำนวนมากโดยอัตโนมัติ ทำให้การจัดการสินค้าที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
มองได้ทั่วถึง จับตาดูทุกแง่มุม
นี่เป็นแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้กระบวนการจัดการซัพพลายเชนของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณจะสามารถเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ง่ายขึ้น มองเห็นอย่างทั่วถึงและจับตาดูทุกแง่มุม
ของเครือข่ายไม่ว่ามันจะซับซ้อนมากเพียงใด ดังนั้นทำให้ภาคส่วนต่างๆ ของซัพพลายเชนเชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้น และเปลี่ยนแปลงได้ตามต้องการ
การจัดการซัพพลายเชนกับโลจิสติกส์ธุรกิจ
การจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management หรือ SCM) และ โลจิสติกส์ของธุรกิจมีความเกี่ยวข้องและคล้ายคลึงกันอย่างมาก แต่ก็ยังมีความแตกต่างในหลายๆ จุด จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย!
- โลจิสติกส์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการ SCM ทั้งหมด ซึ่งเกี่ยวกับวางแผนกิจกรรมอื่นๆ เช่น การจัดการสินค้าคงคลัง การผลิต การวางแผนแรงงาน การส่งมอบ เป็นต้น
- กระบวนการของ SCM สร้างขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าให้กับธุรกิจและให้ธุรกิจสามารถ
แข่งขันในตลาดได้ ในทางกลับกัน โลจิสติกส์เน้นที่ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก
- ระบบ SCM จัดการกระบวนการซัพพลายเชนทั้งหมด ตั้งแต่หาวัสดุเพื่อการผลิต ผลิตสินค้า จัดการคลังสินค้า ขนส่ง และดูแลจนกว่าสินค้าจะถูกส่งไปยังลูกค้าขั้นสุดท้าย ในทางกลับกัน โลจิสติกส์มุ่งเน้นเฉพาะการส่งมอบสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ลูกค้าพอใจ
อะไรคือขั้นตอนภายในซัพพลายเชน?
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า ซัพพลายเชนเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ ของระบบการจัดการผลิตภัณฑ์ของธุรกิจ เริ่มต้นจากกระบวนการก่อนและหลังการผลิต การจัดการคลังสินค้า และการจัดส่ง และขั้นตอนของซัพพลายเชนจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้านั่นเอง
และนี่ก็เป็นองค์ประกอบหรือขั้นตอนสำคัญ 5 ประการของซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพ
วางแผน
ขั้นตอนแรกในระบบซัพพลายเชนคือ การวางแผน ในฐานะเจ้าของธุรกิจ นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่คุณจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนรูปแบบธุรกิจ ว่าลูกค้าต้องการอะไร เช่น จะจัดหาและผลิตอย่างไร ซึ่งการวางแผนเรียกได้ว่าเป็นวางรากฐานสำหรับกลยุทธ์อื่นๆ ที่จะตามมาอีกด้วย
การจัดหา
หลังจากขั้นตอนการวางแผนมาถึงการจัดหา ขั้นตอนนี้รวมถึงการระบุและว่าจ้างผู้ขายและซัพพลายเออร์ตามการคาดการณ์ในขั้นตอนสุดท้าย ธุรกิจต้องติดต่อซัพพลายเออร์ที่จะจัดหาวัสดุที่มีคุณภาพเพื่อรักษาความพึงพอใจของลูกค้า ผู้ค้ายังต้องจ้างเพื่อให้วัสดุถึงผู้ผลิตโดยไม่เสียหาย ขั้นตอนนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการซัพพลายเชน
การผลิต
ขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับผู้ผลิตที่กำลังจะผลิตสินค้าออกมาวางขาย คุณจะต้องจัดหาวัสดุ และควบคุมปริมาณการผลิตให้พอเหมาะกับความต้องการซื้อที่ขึ้นลงอยู่ตลอดเวลาในตลาด
รวมถึงการจัดการสินค้าคงคลังและการแพ็คสินค้าเพื่อจัดส่ง
การจัดส่ง
หลังจากการผลิตและการบรรจุหีบห่อ การจัดส่งและการส่งมอบสินค้าจะมาถึง กระบวนการนี้ต้องรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากลูกค้าเชื่อมโยงโดยตรงกับขั้นตอนนี้ เมื่อคลังสินค้าจัดส่งสินค้าหลังจากบรรจุแล้ว จะไปถึงศูนย์จัดส่งใกล้กับที่ที่ลูกค้าต้องการให้จัดส่ง หลังจากนั้นตัวแทนจัดส่งจะถูกกำหนดให้กับแพ็คเกจซึ่งจะส่งมอบให้กับลูกค้าปลายทางในที่สุด
คุณต้องตรวจสอบขั้นตอนนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาจได้รับความเสียหายหรือสูญหาย หรือความล่าช้าในการจัดส่งอาจเกิดขึ้นได้ในขั้นตอนนี้ หากคุณต้องการให้ลูกค้าของคุณพึงพอใจ คุณต้องจัดการขั้นตอนนี้ให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในกระบวนการจัดส่ง
คืนสินค้า
ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการซัพพลายเชนคือการส่งคืน หลายครั้งที่ลูกค้าคืนสินค้าด้วยเหตุผลต่างๆ พวกเขาส่งคืนหากได้รับสินค้าที่เสียหายหรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์หายไปจากบรรจุภัณฑ์ พวกเขาอาจส่งคืนได้หากไม่ต้องการผลิตภัณฑ์อีกต่อไป ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเพื่อจัดหมวดหมู่สาเหตุที่ลูกค้าส่งคืนผลิตภัณฑ์และทำงานเพื่อทำให้
ระบบของคุณมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับลูกค้ามากขึ้น
ซัพพลายเชน (Supply chain)
ซัพพลายเชนทั่วไปเป็นรูปแบบพื้นฐานที่สุดของห่วงโซ่อุปทาน ไม่ได้ระบุไว้สำหรับสาขาธุรกิจเฉพาะใดๆ แต่เป็นเพียงแบบจำลองที่แสดงระบบซัพพลายเชนตามปกติตั้งแต่ต้นจนจบ แม้ว่าห่วงโซ่อุปทานของบริษัทจะเริ่มต้นด้วยการจัดหาวัสดุเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ กระบวนการเริ่มต้นเมื่อความต้องการเกิดขึ้นในตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์เฉพาะ ความต้องการของผู้บริโภคคือสิ่งที่ขับเคลื่อนธุรกิจตั้งแต่แรก
หลังจากนั้น บริษัทวางแผนซัพพลายเชนทั้งหมด โดยคำนึงถึงเป้าหมายและกลยุทธ์ จากนั้นกระบวนการจะเริ่มขึ้นเมื่ออิงตามการวางแผนและข้อมูล พวกเขาเริ่มจัดหาวัสดุสำหรับผู้ผลิตเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ ต่อจากนั้น ผลิตภัณฑ์จะเข้าสู่กระบวนการจัดเก็บ บรรจุ และขนส่งเพื่อเข้าถึงลูกค้าปลายทางในที่สุด ห่วงโซ่อุปทานทั่วไปเป็นรูปแบบห่วงโซ่อุปทานพื้นฐานที่สุดที่แต่ละธุรกิจปรับปรุงขึ้นอยู่กับรูปแบบธุรกิจของตน
เป้าหมายหลักสองประการของห่วงโซ่อุปทานคือประสิทธิภาพและการตอบสนอง ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละธุรกิจและฐานลูกค้า พวกเขาตัดสินใจว่าจะใช้รูปแบบห่วงโซ่อุปทานแบบใดเพื่อการบริการลูกค้าที่ดีขึ้น
ซัพพลายเชนสำหรับบริษัทอีคอมเมิร์ซ
ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทอีคอมเมิร์ซมีความแตกต่างอย่างมากจากธุรกิจที่ทำงานจากร้านค้าจริง แม้ว่ากระบวนการจัดหาและการผลิตจะค่อนข้างเหมือนกัน แต่กระบวนการคลังสินค้า การบรรจุ และการขนส่งมีความแตกต่างกันอย่างมาก หลังจากการผลิตผลิตภัณฑ์ในบริษัททั่วไป ผลิตภัณฑ์มักจะถูกส่งไปยังร้านค้าจริงจากสินค้าคงคลัง ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าที่ต้องการซื้อได้โดยการดูและสัมผัส พวกเขาได้รับสินค้าทันทีหลังจากชำระเงิน
แต่ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ หลังจากที่ลูกค้าสั่งซื้อ กระบวนการปฏิบัติตามคำสั่งซื้อจะเริ่มต้นขึ้น สินค้าจะถูกเลือกจากสินค้าคงคลังและบรรจุและติดฉลากอย่างถูกต้องในศูนย์ปฏิบัติตามหรือคลังสินค้า หลังจากนั้นจะทำการจัดส่งและจัดส่งถึงมือลูกค้าในที่สุดภายใน 1-3 วันทำการ เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซึ่งรวมถึงหน่วยงานและบริการจำนวนมาก นั่นคือเหตุผลที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับส่วนนี้ของกระบวนการซัพพลายเชนในธุรกิจของคุณ
ประโยชน์ของการจัดการซัพพลายเชน
เราได้พูดถึงความสำคัญของการมีกระบวนการจัดการซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพแล้ว แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทานคืออะไร? ประการแรก มันช่วยให้คุณพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์ของคุณ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาร่วมมือกับธุรกิจของคุณมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อส่งมอบเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีที่สุดให้กับลูกค้าของคุณและสร้างฐานลูกค้าที่ภักดี นอกจากนี้ยังจะลดค่าใช้จ่ายของคุณ
หากทีมจัดการซัพพลายเชนของคุณสามารถวางแผนและดำเนินการระบบซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้แน่ใจได้ว่าคุณจะจ่ายน้อยลงเนื่องจากต้นทุนสินค้าคงคลังและต้นทุนค่าโสหุ้ย ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของคุณมีกำไรมากขึ้นในที่สุด การวิเคราะห์ข้อมูลของคุณจะดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากเป้าหมายของ SCP หรือการวางแผนซัพพลายเชนคือการสร้างระบบที่วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนห่วงโซ่อุปทานที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณมากที่สุด ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะสามารถจัดเตรียมแผนที่มีประสิทธิภาพสำหรับการสร้างเครือข่ายซัพพลายเชนของคุณ
แต่ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของระบบการจัดการซัพพลายเชนที่แข็งแกร่งก็คือ มันสามารถช่วยให้คุณได้รับความพึงพอใจสูงสุดจากลูกค้า กระบวนการจัดการซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้ซัพพลายเชนของคุณคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และตอบสนองมากขึ้น สุดท้ายทั้งลูกค้าและคุณจะได้ประโยชน์จากมัน
Supply Chain Planning
การวางแผนห่วงโซ่อุปทานหรือ SCP เป็นกระบวนการที่อาจฟังดูคล้ายกับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน แต่ในความเป็นจริงนั้นแตกต่างกันมาก SCP เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการทั้งหมดของการจัดการซัพพลายเชน การจัดการห่วงโซ่อุปทานหรือ SCM หมายถึงกระบวนการจัดการส่วนประกอบต่างๆ ของเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้ทำงานได้อย่างราบรื่นและให้ประสิทธิภาพสูงสุด การวางแผนห่วงโซ่อุปทานหรือ SCP หมายถึงการวางแผนการคาดการณ์ของห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดโดยอิงจากข้อมูลที่มีอยู่ในมือ
ซึ่งหมายความว่านี่คือระยะเริ่มต้นของ SCM ที่ผู้เชี่ยวชาญวางแผนห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด กระบวนการนี้เริ่มต้นก่อนที่ห่วงโซ่อุปทานจะถูกสร้างขึ้นด้วยซ้ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนห่วงโซ่อุปทานรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดในมือเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับรูปแบบห่วงโซ่อุปทานที่พวกเขาคิดว่าจะทำให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงสุด พวกเขาผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การวางแผนงาน การวางแผนความต้องการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การวางแผนการขนส่ง การออกแบบเครือข่ายเชิงกลยุทธ์ และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อให้ได้โซลูชันซัพพลายเชนที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจของบริษัทของคุณ
เป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายซัพพลายเชนสำหรับบริษัทของคุณ และด้วยเหตุนี้จึงสำคัญมาก อย่าลืมใช้ความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญและซอฟต์แวร์ยุคใหม่เพื่อพัฒนาแผนซัพพลายเชนที่ดีที่สุด เพื่อให้คุณวางใจได้ในอนาคต
ห่วงโซ่อุปทานและภาวะเงินฝืด
ในเชิงเศรษฐกิจ ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นเมื่อราคาของบริการและผลิตภัณฑ์ลดลงต่ำกว่า 0% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ โดยส่วนใหญ่ ภาวะเงินฝืดถูกมองว่าเป็นปรากฏการณ์เชิงลบสำหรับธุรกิจ เนื่องจากราคาสินค้าที่ตกต่ำหมายความว่าค่าใช้จ่ายในอนาคตจะน้อยลงกว่าที่อยู่ภายใต้ภาวะเงินฝืด แต่ในขณะที่เราก้าวไปข้างหน้าในยุคเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เราจะเห็นว่าภาวะเงินฝืดนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีในอีคอมเมิร์ซ
ในเครือข่ายซัพพลายเชน ประสิทธิภาพของการขนย้ายผลิตภัณฑ์จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ต้นทุนของการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพนี้ลดลงอย่างมาก และทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้าได้ในราคาที่ต่ำกว่า ดังนั้นในประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน ภาวะเงินฝืดสามารถมองเห็นได้ในเชิงบวก
การดำเนินการซัพพลายเชน
โดยปกติแล้ว SCM หรือการจัดการห่วงโซ่อุปทานสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือ SCP ซึ่งเราเพิ่งพูดถึง อีกส่วนหนึ่งเรียกว่าการดำเนินการซัพพลายเชนหรือ SCE หลังจากสร้างแผนเบื้องต้นผ่าน SCP แล้ว ธุรกิจจำเป็นต้องดำเนินการตามแผนผ่านหน่วยงานและขั้นตอนต่างๆ ที่เรียกว่าการดำเนินการในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งสองกระบวนการมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด
ในกระบวนการดำเนินการซัพพลายเชน บริษัทมีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมมากกว่า พวกเขาใช้สินทรัพย์และทรัพยากรทั้งหมดที่มีเพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพซึ่งทำการตัดสินใจแบบวันต่อวันและจัดการปัญหาทั้งหมดในเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน
กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการติดตามผลิตภัณฑ์ที่แม่นยำเหนือสิ่งอื่นใด เพื่อให้ธุรกิจรับทราบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในเครือข่าย กระบวนการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจ เพราะหากห่วงโซ่อุปทานไม่ดำเนินการอย่างถูกต้อง โอกาสที่ลูกค้าจะไม่พอใจก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก
บทสรุป
ห่วงโซ่อุปทานเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจใดๆ และส่วนประกอบหลายอย่างทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืนเพื่อให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น เมตริกซัพพลายเชนซึ่งอ้างถึงข้อมูลลอจิสติกส์ทั้งหมดที่เราพบในห่วงโซ่อุปทาน จะต้องได้รับการวิเคราะห์และควบคุมอย่างเหมาะสม หากคุณต้องการให้ซัพพลายเชนของคุณทำงานได้ดี นั่นคือเหตุผลที่จำเป็นต้องทำวิจัยและรวบรวมทีมผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ซึ่งจะสามารถช่วยคุณคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาห่วงโซ่อุปทานของคุณได้ นี่เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องจดจำเมื่อคุณเริ่มต้นธุรกิจอีคอมเมิร์ซของคุณ
โปรดทราบว่าตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า ดังนั้น การวางแผนห่วงโซ่อุปทานของคุณจะต้องยืดหยุ่นและคล่องตัวเพื่อให้คุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้เร็วยิ่งขึ้น ด้วยวิธีนี้ ธุรกิจของคุณจะสามารถอยู่เหนือคู่แข่งและทำให้แน่ใจว่าลูกค้าของคุณพึงพอใจกับผลิตภัณฑ์และบริการของคุณ